วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2552

งานวิจัย Slipped tendon ในไก่เนื้อ

ประจำเดือน กันยายน 2009
แปลและเรียบเรียงโดย น.สพ.ชัชวาลย์ สอนศรี
ผช.ผจญ. วิชาการ-สุขภาพไก่เนื้อ


ปัญหา Slipped tendon ในฟาร์มไก่เนื้อ ไก่ประกัน ครั้งที่ 2
( Problem of Slipped tendon in broiler farms : 2nd )


บทนำ
ปัญหาของโรคเอ็นเลื่อนหลุด หรือ Slipped tendon นั้น จะเป็นโรคที่ไม่เกิดขึ้นบ่อยมากนัก ซึ่งโดยทั่วไปแล้วโรคนี้มักจะเกิดขึ้นจากการขาดสารอาหารที่เป็นส่วนประกอบของอาหารไก่ สารที่มักจะก่อให้เกิดปัญหาคือ manganese, choline, zinc ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว สารอาหารพวกนี้จะเป็นส่วนประกอบของ Pre-mix ที่ผสมอยู่ในอาหารไก่ หรือบางทีอาจจะเกิดจากการขาดสารจำพวกนี้ pyridoxine, biotin, folic acid, niacin ร่วมด้วยก็ได้
มีสัตว์หลายๆชนิดที่สามารถก่อให้เกิดโรคได้ เช่น ไก่ทั่วไป เป็ด หรือ ไก่งวง ในส่วนของไก่งวงมักจะมีส่วนของการขาด galactosamine ร่วมด้วยเสมอ
ในรายงานวิชาการเรื่อง ปัญหาของ Slipped tendon การเลี้ยงไก่เนื้อนี้ จะเป็นการนำเอา case ที่มีปัญหาของ Slipped tendon มาทำการศึกษาว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นมันเกิดขึ้นเนื่องจากอะไร และจะมีแนวทางในการแก้ไขอย่างไร โดยในรายงานการวิจัยครั้งที่ 2 นี้ จะพบอุบัติการณ์ของการเกิดดรคอยู่ 2 ฟาร์ม คือ ฟาร์ม ดอกรัก และฟาร์มน้ำอ้อย ซึ่งปัญหาของ Slipped tendon ที่ชัดเจนมากๆ คือ ฟาร์มน้ำอ้อย ส่วนฟาร์มดอกรัก นั้นจะพบอุบัติการณ์ของการเกิดโรคเพียงเล็กน้อยเท่านั้นเอง ดังนั้นในรายงานฉบับนี้ จะเป็นการนำเสนอข้อมูลเฉพาะฟาร์ม น้ำอ้อย เท่านั้น เพราะวิการของฟาร์มน้ำอ้อย ค่อนข้างที่จะชัดเจนมาก
ประวัติของการลงไก่เลี้ยงของฟาร์ม น้ำอ้อย มีดังนี้ เป็นฟาร์มที่ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดนครสวรรค์ อำเภอท่าตะโก ไก่เนื้อลงเลี้ยง 30,400 ตัว มีโรงเรือนเลี้ยงไก่ 2 หลัง หลังละ 15,200 ตัว เป็นลูกไก่ที่มาจากฟาร์มพ่อแม่พันธ์ SUB7 โรงฟัก 2 เป้นลูกไก่ A ลงลูกไก่วันที่ 24 กันยายน 2009 การสูญเสียที่อายุ 10 วัน โรงเรือนที่ 1 เท่ากับ 0.64% และโรงเรือนที่ 2 เท่ากับ 1.29% ส่วนอุบัติการณ์ของโรคที่พบภายในฝูงของทั้ง 2 โรงเรือนจะอยู่ประมาณ 1-2% อาหารไก่ที่กินจะเป็นหาร Lot เบอร์ 111 Lot วันที่ 24 กันยายน 2009 ทั้ง 2 โรงเรือน

ลักษณะอาการของโรค
ลักษณะอาการที่พบคือ จะไม่กินอาหาร ชอบเขี่ยอาหารทิ้งมากกว่ากิน ไก่จะกินอาหารช้าไป 3-4 วัน ซึ่งลูกไก่จะเริ่มแสดงอาการให้เห็นในช่วงอายุ 3-8 วันแรกของการเลี้ยง อาการที่พบอีก เช่น ไก่จะแสดงอาการขาเจ็บเวลาเดิน ข้อบวม ขยายใหญ่ ซึ่งอาการต่างๆ ดังที่กล่าวมาก็จะมีเขียนไว้ในรายงานวิชาการอีกหลายฉบับ ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้
· ขางอสั้น
· แสดงอาการขาเจ็บ
· ข้อบวม แดง ใหญ่
· เอ็นเลื่อนหลุดจากเบ้าของข้อ
· ไก่นั่งบนข้อ
· การเจริญเติบโตของไก่ผิดปกติไป

วิการของโรค
ในส่วนวิการของวิการของรอยโรคที่พบเมื่อทำการผ่าซากไก่ ก็จะพบว่า เส้นเอ็นเลื่อนหลุดออกจากร่องของกระดูกข้อเข่า ซึ่งอาจจะพบข้างเดียวหรือทั้งสองข้างก็ได้ พบลักษณะของร่องของกระดูกที่เข่าดื้นขึ้น การเจริญเติบโตของการดูกผิดไป และอาจจะพบ TD ร่วมด้วยก็ได้ หรือบางครั้งก็จะพบลักษณะของเส้นเอ็นอักเสบให้เห็นได้อย่างชัดเจน ซึ่งวิการต่างๆ สามารถสรุปได้ดังนี้
· การเจริญของกระดูกผิดปกติ
· กระดูกบิด งอ
· กระดูกบางลง
· ร่องกระดูกที่ข้อ จะตื้นขึ้น
· พบเส้นเอ็น เลื่อนหลุดไปอยู่ด้านข้างของข้อเข่า

การวินิจฉัยโรค
ในการวินิจฉัยโรคโดยทั่วไปนั้น สามารถที่จะวินิจฉัยได้แบบง่ายๆ คือ ดูลักษณธท่าทางการเดินของไก่ว่า เวลาเดินแสดงอาการขาเจ็บ หรือไม่ ซึ่งถ้าแสดงอาการขาเจ็บ ก็ให้นำไก่ตัวนั้นมาผ่าซากดู ถ้าพบวิการของ เส้นเอ็นเลื่อนหลุด ออกจากข้อของเข่าไปด้านใดด้านหนึ่งก็แสดงว่า เป็นโรค Slipped tendon 100% หรืออาจจะดูลักษณะอาการอื่นๆร่วมด้วยก็ได้ เช่น
· ดูจากผลการวิเคราะห์คุณภาพอาหารไก่
· ไก่ขา บิด งอ
· ข้อขาไก่อักเสบ
· ข้อขา ติดเชื้อ
· เส้นเอ็นที่ข้อ เกิออักเสบ

การรักษา
· ไม่มีวิธีการรักษา ที่แน่นอน
· ให้ทำการรักษาตามอาการ เช่น เสริมวิตามินให้ไก่แข็งแรง คัดไก่ที่ขาเจ็บ ข้อบวมออกจากฝูง หรือเปลี่ยนอาหารใหม่ เป็นต้น

การป้องกัน
· ปรับปรุงสูตรอาหารใหม่
· ทำการเสริม สารจำพวก manganese, choline, vitamins และ zinc ในสูตรอาหารให้เหมาะสม

รูปภาพประกอบ




เอกสารอ้างอิง
· http://www.thepoultrysite.com/diseaseinfo/30/chondrodystrophy-slipped-tendon-or-perosis
Chondrodystrophy, Slipped Tendon or Perosis

1 ความคิดเห็น:

beattiefabozzi กล่าวว่า...

Casinos that Accept PayPal - Casino Troopers
PayPal yesbet88 is an instant 플레이 포커 and easy way to make deposits at 스포츠스코어 online jeffdischerrealestate.com casinos and online poker sites. We list the top casinos that 룰렛사이트 accept PayPal - Get your bonus now!