วันศุกร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2554

งานแปลเดือน ธันวาคม 2010

ประจำเดือน ธันวาคม 2010 แปลและเรียบเรียงโดย น.สพ.ชัชวาลย์ สอนศรี ผช.ผจญ. วิชาการ-สุขภาพไก่เนื้อ ระบบสุขศาสตร์ป้องกันโรค มันเป็นการลงทุนที่ดีเยี่ยม ที่คุณสามารถทำได้ (Biosecurity – the best investment you can make) สิ่งหนึ่งที่มักพูดกันจนติดปากในหมู่ของคนที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับการปศุสัตว์ คือ ระบบสุขศาสตร์ป้องกันโรค หรือ Biosecurity system นั้นเอง ดังนั้นคำๆนี้มันคืออะไร ทำไมเราจึงต้องเน้นย้ำหรือพูดกันอยู่ทุกๆวัน เดียวมาฟังรายละเอียดต่อไป ในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงไก่นั้น สิ่งหนึ่งที่เราจะต้องพึงระมัดระวัง หรือป้องกันไม่ให้มันติดต่อมาสู่มนุษย์ได้นั้นก็คือ โรคไข้หวัดนก หรือโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส H5 : N1 ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสไข้หวัดนกที่มีความรุนแรงมาก สามารถที่จะก่อโรคในคนได้ เพื่อไม่ให้ติดต่อเข้ามาสู่คน ดังนั้นในระบบปศุสัตว์ทั่วไป จึงจะต้องมีระบบสุขศาสตร์ป้องกันโรค เพื่อที่จะได้ใช้เป็นด่านในการป้องกันเชื้อไข้หวัดนก หรือเชื้อไวรัส H5 : N1 ไม่ให้ติดต่อเข้ามาสู่คนนั้นเอง หลักการทางวิทยาศาสตร์ของการจัดการระบบนี้ โดยทั่วไปแล้ว ในการเลี้ยงสัตว์ปีก จะต้องมีการจัดการให้สัตว์ปีกมีสุขภาพที่ดี และมีสวัสดิภาพสัตว์ที่ดี ตามไปด้วย ซึ่งทั้งนี้ยังจะต้องรวมไปถึงไก่จะต้องได้รับอาหารที่ดีตามไปด้วย และนอกจากนั้นยังต้องมีระบบมาตรฐานต่างๆที่จะต้องเอามาคอยควบคุมขบวนการจัดการในการเลี้ยงไก่ด้วย ในทุกวันนี้ ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปีก หรือฟาร์มเลี้ยงไก่ ต่างก็ได้มีการปรับปรุงและพัฒนาระบบสุขศาสตร์ป้องกันโรคให้ดีขึ้นมาภายใต้พื้นฐานที่เป็นวิทยาศาสตร์ที่สามารถพิสูจน์ได้ จนทำให้สามารถที่จะนำระบบนี้ไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเป็นรูปธรรมภายในฟาร์มของตัวเอง ดังนั้นเมื่อฟาร์มต่างๆสามารถที่จะนำระบบพื้นฐานของระบบสุขศาสตร์ป้องกันโรคไปใช้อย่างจริงจังภายในฟาร์มได้แล้ว สิ่งหนึ่งที่ฟาร์มจะต้องมีการดำเนินการต่อไปก็คือ การที่จะพัฒนาระบบนี้ให้ดี หรือมีประสิทธิภาพที่เพิ่มมากขึ้น โดยหน่วยงานที่เรียกว่า OIE ก็ได้มีการออกข้อกำหนดของระบบนี้ให้สูงขึ้นกว่าระบบพื้นฐานที่ได้มีการทำกันอยู่ เพื่อที่จะได้ให้ทางฟาร์มนำไปปฏิบัติกัน ซึ่งต่อมาระบบนี้ ก็ได้ถูกเรียกว่า ระบบคอมพาทต์เม้น หรือ Compartmentalisation system นั้นเอง แต่ในความเป็นจริงแล้ว เราแทบที่จะไม่สามารถที่จะแยกระบบการเลี้ยงไก่ที่เป็นระบบอุสาหกรรมนี้ ออกจากเชื้อที่ก่อโรคที่มีอยู่ภายในพื้นที่ได้เลย แต่สิ่งหนึ่งที่เป็นสิ่งที่วิเศษสุดที่เรามองข้ามไปก็คือ ระบบการประเมินความเสี่ยงของโรคที่มีอยู่ภายในพื้นที่นั้น ซึ่งเจ้าสิ่งนี้เองมันจะเป็นตัวบอกเราว่า ฟาร์มที่ตั้งอยู่ในเขตนั้นๆมันมีความเสี่ยงต่อการระบาดของโรคต่างๆที่เรากลัวกันอยู่หรือไม่ แต่ปัญหาหลักที่ตามมาก็คือ ไม่ใช่ว่าระบบการประเมินความเสี่ยงที่เราทำอยู่นี้ มันจะสามารถที่จะป้องกันการปนเปื้อนได้จากทุกที่ได้ เพราะว่า เชื้อโรคที่ส่งผ่านมาจากโรงงานผลิตอาหารสัตว์ หรือมาจากโรงฟักไข่นั้น มันก็ก็ยังไม่มีความสัมพันธ์กับการประเมินความเสี่ยงที่มีอยู่ภายในฟาร์มนั้นๆเลย ดังนั้นโอกาสที่จะเกิดการส่งผ่านเชื้อโรคจากที่ดังกล่าวมันก็สามารถที่จะเกิดขึ้นได้ทั้งนั้น การจัดการสิ่งแวดล้อม ในฟาร์มเลี้ยงไก่ทุกฟาร์ม จะต้องมีการอธิบาย หรือมีการอบรมให้พนักงานทุกคนรู้ว่า พื้นที่ส่วนใหนในบริเวรฟาร์มที่เรามีการกำหนด หรือกั้นเขตแดนให้พนักงานทุกคนปฏิบัติตามหลักของระบบสุขศาสตร์การป้องกันโรคให้ชัดเจน และสิ่งนี้จะต้องกำหนดให้ชัดและจะต้องให้พนักงานทุกคนปฏิบัติตามให้ได้ด้วย โดยทั่วไปแล้ว การจัดการระบบฟาร์มเลี้ยงสัตว์ มักไม่ต้องการให้แขกเข้าไปเยี่ยม หรือเข้าไปภายในฟาร์มอยู่แล้ว ดังนั้นประตูทางเข้าฟาร์มจะต้องมีการปิดล็อกอยู่ตลอดเวลา และประตูทางเข้าโรงเรือนจะต้องทำการปิดล็อกทุกครั้งหลังจากที่ไม่มีพนักงานปฏิบัติงานอยู่ภายในโรงเรือนแล้ว ซึ่งการจัดการในลักษณะนี้ก็จะเป็นการช่วยป้องกันไม่ให้สิ่งแปลกปลอกต่างๆที่อยู่ภายนอกฟาร์ม หรือภายนอกโรงเรือนเข้าไปข้างในได้ เพื่อป้องกันไม่ให้มีผลกระทบกับไก่ที่อยู่ภายในฟาร์มตามมา ถึงอย่างไรก็ตาม ในการจัดทำระบบสุขศาสตร์ป้องกันโรคภายในฟาร์มนี้ เราจะต้องเลือกพื้นที่ที่เหมาะสม มีความเสี่ยงไม่มาก ซึ่งจะต้องเป็นฟาร์มที่ไม่อยู่ใกล้กับฟาร์มที่มีการเลี้ยงไก่อื่นๆ หรือ จะต้องเป็นฟาร์มที่ไม่อยู่ติดกับแหล่งที่มีการเลี้ยงไก่พื้นบ้าน เพื่อป้องกันการปนเปื้อนเชื้อต่างๆ เข้ามาภายในฟาร์ม การจัดการบุคคล ในการจัดการบุคคลนั้น สิ่งแรกที่จะต้องพิจารณาคือ ก่อนที่แขกจะเข้าฟาร์ม หรือโรงเรือนนั้น เค้าปลอดเชื้อแค่ไหน และหลังจากที่เค้าออกจากโรงเรือนแล้ว เค้าจะต้องไม่นำเชื้อต่างๆ ออกไปจากฟาร์มด้วย ซึ่งสิ่งนี้ จะต้องพึงระวังให้มากในกรณีที่มีแขกเข้าไปเยี่ยมฟาร์มด้วย และนอกจากนี้ เราจะต้องดูด้วยว่าแขกที่เข้าเยี่ยมนั้น เค้ามีเชื้อโรค หรือเค้ากำลังป่วยอยู่หรือเปล่า ดังนั้นก่อนที่เค้าจะเข้าฟาร์ม จะต้องให้กรอกประวัติ และรายละเอียดอื่นๆเอาไว้ด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้เค้าเอาเชื้อต่างๆเข้าไปภายในฟาร์ม และในส่วนที่เค้าจะเข้าไปภายในโรงเรือน จะต้องให้เค้าปฏิบัติตามข้อกำหนดของระบบสุขศาสตร์ป้องกันโรคของฟาร์มให้ถูกต้อง โดยก่อนเข้าโรคเรือนจะต้องมีการล้างฆ่าเชื้อ ทำความสะอาดมือ สวมชุมที่ทางฟาร์มจัดเตรียมไว้ให้ และสวมรองเท้าบูซ ให้ถูกต้อง ก่อนที่แขกจะเข้าไปภายในโรงเรือนและทำการสัมผัสตัวไก่ เจ้าของฟาร์มจะต้องทำการอธิบายระบบการป้องกันสัตว์พาหะให้แขกฟังก่อน เพื่อที่จะให้เค้ารู้ว่าเราใช้เหยื่อพิษอะไรบ้าง และเค้าจะต้องทำการล้างมือ ฆ่าเชื้อให้ถูกต้อง และนอกจากนี้จะต้องให้เค้าทำการจุ่มเท้าฆ่าเชื้อ หรือเปลี่ยนรองเท้าบูซใหม่ ก่อนเข้าไปภายในโรงเรือนเลยก็ได้ ซึ่งระบบการเปลี่ยนรองเท้าใหม่ก่อนที่จะมีการเข้าไปภายในโรงเรือนนั้น จะถือได้ว่าเป็นระบบที่มีความสำคัญมากที่จะช่วยในการลดการปนเปื้อนเชื้อที่ก่อนโรค ที่จะเข้าไปสู่ตัวไก่ได้ โดยทั่วไปแล้ว ทั่วโลกก็ได้มีการจัดการให้บุคคลทุกคนก่อนที่จะเข้าไปภายในโรงเรือนไก่ พ่อแม่พันธ์ มีการอาบน้ำเปลี่ยนเสื้อผ้ากันอยู่แล้ว และนอกจากนี้ ฟาร์มไก่เนื้อบางที่ก็ได้มีการประยุกต์นำระบบการอาบน้ำก่อนเข้าฟาร์มนี้ไปใช้ด้วย ในการเข้าตรวจเยี่ยมฟาร์มสัตว์โดยทั่วไปแล้ว แขกจะต้องเข้าฟาร์มที่ไก่มีอายุน้อยก่อนเข้าฟาร์มที่ไก่มีอายุมาก หรือเข้าฟาร์มเลี้ยงไก่เนื้อก่อนเข้าฟาร์มที่เลี้ยงไก่พันธ์รุ่น เป็นต้น สำหรับโปรแกรมการตรวจเยี่ยมฟาร์มที่หลักๆแล้วก็คือ แขกมักจะเข้าฟาร์มไก่มีอายุน้อยก่อนเข้าฟาร์มไก่ที่มีอายุมาก อยู่แล้ว และในส่วนอื่นๆที่มักจะพบคือ บางบริษัทที่ผลิตไก่ ก็มักจะให้ บุคคลที่ไม่ใช่พนักงานของบริษัทที่เข้ามาสังเกตการณ์เฉยๆ ออกจากเขตเลี้ยงไก่ไปก่อน ก่อนที่แขกที่จะเข้ามาเยี่ยมฟาร์มจะเข้าไปตรวจดูประสิทธิภาพของการเลี้ยงไก่ภายในฟาร์ม ซึ่งทั้งนี้น่าจะเป็นการลดความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนต่างๆ เข้าไปภายในฟาร์ม การจัดการยานพาหนะและอุปกรณ์ ถ้าไม่มียานพาหนะ หรือรถยนต์ไม่จำเป็นที่จะต้องเข้าไปภายในฟาร์ม ในหัวข้อนี้เราก็ไม่จำเป็นที่จะต้องกล่าวถึงกัน แต่ในทางกลับกันถ้ายานพาหนะจะต้องเข้าไปภายในฟาร์มด้วยแล้ว ยิ่งจำเป็นที่จะต้องมีการล้าง ฆ่าเชื้อให้มากขึ้น โดยจะต้องทำการล้างทั้งข้างในและข้างนอกตัวรถ และนอกจากนี้พนักงานขับรถก็จะต้องมีการปฏิบัติตามกฎระเบียบของระบบสุขศาสตร์ป้องกันโรคอย่างเคร่งครัดด้วย อุปกรณ์ และเครื่องมือต่างๆที่นำมาจากฟาร์มอื่นๆ แล้วจะนำมาเข้าฟาร์ม มันถือได้ว่าเป็นสิ่งที่มีความเสี่ยงต่อการนำพาเชื้อโรคเข้าไปภายในฟาร์มเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นภายในฟาร์มแต่ละฟาร์มจะต้องมีเครื่องมือและอุปกรณ์ เป็นของตัวเองจะดีที่สุด ไม่ควรไปนำมาจากฟาร์มอื่นๆ และนอกจากนี้อุปกรณ์ต่างๆจะต้องเก็บไว้ในเขตที่มีการจัดการระบบสุขศาสตร์อย่างเคร่งครัด ในส่วนของอุปกรณ์ที่แขกจำเป็นที่จะต้องนำเข้าไปภายในฟาร์มด้วยก่อนที่จะนำเข้าไปก็จำเป็นที่จะต้องมีการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อ ก่อนเสมอ ระบบสุขศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานที่ปฏิบัติภายในฟาร์ม ก็ไม่ได้เป็นตัวที่จะควบคุมความเสี่ยงของสิ่งที่จะเกิดขึ้นในช่วงที่ไม่มีไก่ หรือช่วงพักเล้าระหว่างการเลี้ยงได้ ดังนั้นภายในฟาร์มจะต้องมีการจัดการระบบ ควบคุมสัตว์พาหะภายในฟาร์มด้วย โดยเฉพาะหนู ซึ่งถ้าเป็นช่วงที่ข้างนอกฟาร์มมีอาหารน้อยมันก็จะเข้ามาหากินภายในฟาร์ม ซึ่งหนูมันก็จะเป็นตัวที่นำเชื้อโรคต่างๆเข้ามาติดไก่ได้ ดังนั้นเราจะต้องควบคุมและกำจัดมันโดยใช้ยาเบื่อ แต่ให้พึงระลึกเสมอว่า ภายในฟาร์มในช่วงที่ไม่มีไก่นั้นมัน ก็ยังคงจะมีเชื้อโรค และเชื้อโรคนี้ มันก็สามารถที่จะติดต่อไปยังไก่รุ่นต่อไปได้ การควบคุมสัตว์ปีกและนกหากินภายในฟาร์ม พนักงานของฟาร์มและแขกที่จะเข้าตรวจเยี่ยมฟาร์มจะต้องพึงระลึกเสมอว่า ไม่ให้ตัวเองไปปนเปื้อนสัตว์ปีกตามธรรมชาติที่มาหากินภายในฟาร์ม หรือสัมผัสก่อนที่จะเข้าฟาร์ม ไม่ว่าจะเป็นการสัมผัสโดยทางตรงหรือสัมผัสโดยทางอ้อมก็ตาม เพราะว่ามันจะมีความเสี่ยงสูงมากที่จะนำเชื้อโรคเข้าไปติดไก่ภายในโรงเรือน สำหรับนกป่าหรือนกอพยพ ก็จะเป็นอีกตัวหนึ่งที่เป็นพาหะนำเชื้อ H5N1 ไปปนเปื้อนให้หลายๆพื้นที่ ซึ่งถ้ามันเข้ามาหากินภายในฟาร์ม มันก็จะปล่อยเชื้อเอาไว้ในพื้นที่ของฟาร์ม หลังจากนั้นพนักงานภายในฟาร์มก็จะไปสัมผัสมันโดยไม่รู้ตัว และอีกอย่างหนึ่งจะต้องควบคุมดูแลให้ดีคือ สิ่งรองนอนของไก่ที่อยู่ภายนอกโรงเรือน มันก็มีโอกาสสัมผัสกับเชื้อนี้ได้มากเช่นกัน ดังนั้น สิ่งรองนอนของไก่ก่อนที่จะนำเข้าไปภายในโรงเรือน จะต้องตรวจสอบและป้องกันให้ดี ว่าไม่ได้มีการปนเปื้อนเชื้อโรค ที่มากับนกป่าหรือนกอพยพ และนอกจากนี้ โรงเรือนจะต้องเป็นโรงเรือนที่ปิดมิดชิด ป้องกันไม่ให้นกเข้าไปสัมผัสกับไก่ที่อยู่ภายในโรงเรือนได้ และการจัดการสิ่งแวดล้อมภายในฟาร์ม ก็จะต้องทำไม่ให้มีนกป่า หรือนกธรรมชาติเข้ามาอาศัย หรือเข้ามาหากินภายในฟาร์มอีกด้วย ในช่วงของการจับไก่ ก็มักจะมีไก่บางตัวที่เหลือที่ไม่ได้จับส่งโรงงาน ซึ่งก็อาจจะเป็นไก่ตัวเล็ก แคระแกร็น ดังนั้นเมื่อเราพบไก่กลุ่มนี้เหลืออยู่ภายในโรงเรือน เราก็จะต้องนำมาฆ่าทำลายโดยทันที เพื่อป้องกันไม่ให้มันเป็นตัวอมโรค และไม่ให้แพร่กระโรคไปยังที่อื่นๆต่อไป และนอกจากนี้ อาหารหกหล่น ที่อยู่ภายในโรงเรือน หรือตามถังไซโล ก็มักจะเป็นตัวที่ดึงดูดนก และหนูให้เข้ามาหากินภายในฟาร์ม ดังนั้นเมื่อเราพบเห็นก็จะต้องรีบทำความสะอาดโดยทันที การควบคุมหนูและแมลง หนูและแมลง ในที่นี่ก็มักจะหมายถึง แมลงวันและแมลงปีกแข็ง ซึ่งมักจะพบทั่วไปภายในโรงเรือน สัตว์ในกลุ่มพวกนี้มันมักจะเป็นตัวที่นำเชื้อโรคให้เข้ามาติดไก่ภายในโรงเรือน ซึ่งเราจะต้องมีการควบคุมมันให้ดี ในการกำจัดหนูนั้นเราก็มันจะใช้เหยื่อพิษ นำมาวางหล่อให้หนูมากิน ซึ่งก็ถือได้ว่าเป็นโปรแกรมที่สำคัญที่จะต้องทำภายในฟาร์มตลอดเวลา ในการจัดการสิ่งแวดล้อมภายในฟาร์ม ก็จำเป็นที่จะต้องทำให้ไม่มีหนูมาอาศัยอยู่ภายในบริเวณของฟาร์ม และในส่วนของหลังคาโรงเรือนก็จะเป็นอีกส่วนหนึ่งที่จะต้องมีการปิดให้มิดชิด เพื่อป้องกันไม่ให้หนูเข้ามาทางนี้ได้ บทสรุปและวิจารณ์ ระบบสุขศาสตร์ป้องกันโรคภายในฟาร์ม หรือ Biosecurity system นั้น ถือได้ว่าเป็นที่มีความสำคัญต่อการป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดโรคขึ้นภายในฟาร์มได้ และโดยมากแล้วระบบสุขศาสตร์ป้องกันโรคภายในฟาร์มตามที่ว่ามานี้ โดยมากแล้วมันก็ไม่ได้มีความแตกต่างจากระบบการปฏิบัติงานภายในฟาร์มประจำวันเท่าใดนั้น แต่ถ้าเราไม่มีการปฏิบัติตามระบบสุขศาสตร์ป้องกันโรค เราคิดว่าระบบของสมบรูณ์แบบแล้ว พนักงานภายในฟาร์มไม่มีการปฏิบัติตามข้อกำหนดตามโปรแกรม ซึ่งนั้นมันก็จะหมายความว่า ปัญหาสุขภาพไก่ ระบบสวัสดิภาพของสัตว์ ภายในฟาร์ม มันก็จะเกิดปัญหาตามมา เช่นกัน ยกตัวอย่าง อย่างเช่น ถ้าโปรแกรมระบบสุขศาสตร์ป้องกันโรคภายในฟาร์มของเราเป็นโปรแกรมที่สมบรูณ์แบบแล้ว แต่พนักงานยังปฏิบัติไม่ถูกต้อง หรือไม่ปฏิบัติตามโปรแกรม นั้นมันก็จะมีคำถามกับมาว่า ทำไมระดับหัวหน้างานไม่มีการ อบรมพนักงานให้เค้าเค้าใจ ให้เค้าปฏิบัติ ระบบที่เราได้ตั้งขึ้นมาให้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นภายในฟาร์ม ในการฝึกอบรมนั้น จะต้องประกอบไปด้วยส่วนสนับสนุนภายในฟาร์มและวิทยากรที่มีความรู้มาทำการอบรมให้ (ซึ่งวิทยากรในที่นี้ให้เน้นไปที่ ผู้ที่มีความชำนาญในด้านการจัดการฟาร์ม จะเป็นสิ่งที่ดี) ซึ่งจะเป็นความคุ้นเคยสำหรับงานในฟาร์มและจะเข้ากับพนักงานที่ปฏิบัติงานภายในฟาร์มไก่ดี โดยจุดมุ่งหมายก็เพื่อที่จะทำให้ไก่มีสุภาพที่ดี และปลอดโรค ประสิทธิภาพของโปรแกรมสุขศาสตร์ป้องกันโรคภายในฟาร์มนั้น มันจะไม่ไปสู่จุดมุ่งหมายได้ถ้าไม่มีคู่มือรายละเอียด ขั้นตอนในการปฏิบัติเอาไว้ที่ชัดเจน แต่บางที่มันก็มักจะไปขัดกับความเชื่อของคนที่เคยเลี้ยงไก่มานานๆ ว่าสิ่งที่เค้าปฏิบัติอยู่นั้นมันเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องก็ได้ ดังนั้นเราจะต้องอธิบายให้คนกลุ่มเหล่านี้เข้าใจ โดยอาจจะยังไม่รีบร้อนก็ได้ ซึ่งในขั้นแรกก็อาจจะต้องจัดคนให้เหมาะสมกับงานต่างๆภายในฟาร์ม หลังจากนั้นก็ค่อยให้คนที่เค้าเห็นด้วยค่อยปฏิบัติให้ดูจนเกิดผลสำเร็จ แล้วจากนั้นคนที่เค้าไม่เชื่อเค้าก็จะกับมาเห็นด้วยกับเราเอง ในตอนนี้ ระบบสุขศาสตร์ป้องกันโรคภายในฟาร์ม ได้ทำให้หลายๆบริษัทสามารถที่จะควบคุมและป้องกันปัญหาการติดเชื้อที่เกิดขึ้นภายในฟาร์มได้แล้ว ซึ่งจุดมุ่งหมายของระบบนี้ก็เพื่อที่จะทำให้ฟาร์มที่เลี้ยงไก่นั้นปลอกจากโรคระบาด และสามารถที่จะแข่งขันกับฟาร์มอื่นๆที่มีอยู่ทั่วโลกได้ ดังนั้นระบบสุขศาสตร์ป้องกันโรคที่ดี จึงเป็นสิ่งที่ฟาร์มจำเป็นจะต้องทำ เอกสารอ้างอิง · Roy Mutimer .2010. Biosecurity – the best investment you can make , International poultry production , V18(8) : 7-9 p.

วันจันทร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2553

ประจำเดือน มิถุนายน 2010
เรียบเรียงโดย น.สพ.ชัชวาลย์ สอนศรี
ผช.ผจญ. วิชาการ-สุขภาพไก่เนื้อ


การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของ อาร์ติฟอส และ แคลโกฟอส ในไก่เนื้อไก่ประกัน
( Comparison Evaluation of Athephos and Calgophos in broiler farms )


บทคัดย่อ
การทดลองวิจัยเรื่อง การศึกษาเปรียบเทียบประสิทิภาพของ อาร์ทีฟอส และ แคงโกฟอส ในไก่เนื้อไก่ประกัน ครั้ง จะมีการแบ่งการทดลองออกเป็น 3 กลุ่มการทดลอง คือ กลุ่มที่ 1: จะเป็นไก่กลุ่มที่มีการใช้อาร์ทีฟอส กลุ่มที่ 2: จะไก่กลุ่มที่มีการใช้แคลโกฟอส และไก่กลุ่มที่ 3 : จะเป็นไก่กลุ่มควบคุม ที่ไม่มีการใช้ผลิตภัณฑ์ทั้ง 2 อย่างเลย ไก่ที่ทดลองจะเลี้ยงไก่ที่อายุ 42-43 วัน ซึ่งจากผลการทดลอง จะมีการวัดผลอยู่ 2 อย่างคือ 1: เรื่องของไก่ขาเจ็บ หรือ ไก่ขาพิการที่พบอยู่ภายในฝูง และ 2 : ในส่วนของข้อมูลการเลี้ยงไก่ไก่ ซึ่งก็จะมี เปอร์เซ็นการสูญเสียสะสม น้ำหนักไก่จับ ค่า FCR และค่า PI จากการทดลอง จะสรุปได้ว่า การใช้ผลิตภัณฑ์ทั้ง 2 ชนิด เพื่อนำมาละลายน้ำให้ไก่กิน ไม่ได้มีส่วนช่วยทำให้ผลผลิตไก่ที่เลี้ยงดีขึ้นเลย และปัญหาของไก่ขาเจ็บ ไก่ขาพิการ ก็มีค่าอยู่ไกล้เคียงกัน ซึ่งรายละเอียดต่างๆ จะมีอยู่ในรายงานผลการทดลอง และมีอยู่ในส่วนของการสรุปและวิจารณ์ผลการทดลอง ซึ่งจากรายงานฉบับนี้จะถือได้ว่าเป้นข้อมูลที่จะได้มีกีนำไปประยุกต์ใช้ในการเลี้ยงไก่เนื้อไก่ประกันต่อไป

คำสำคัญ : อาร์ติฟอส , แคลโกฟอส , ไก่เนื้อ , ผลผลิต

บทนำ
ในการเจริญเติบโตของไก่นั้น แร่ธาตุหรือสารอาหารต่างๆ จะเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของไก่มาก ซึ่งถ้ามองไปที่ระบบโครงสร้งของร่างกายไก่แล้ว การเจริญเติบโตของกระดูกที่ไม่สมบรูณ์ ก็จะเป็นปัญหามากต่อการเลี้ยงการจัดการไก่เนื้อภายในฟาร์ม เพราะว่า ถ้าไก่ที่เลี้ยงเกิดปัญหาขาอ่อน ไก่แสดงอาการขาเจ็บ หรือแม้แต่เกิดความผิดปกติของขา มันก็ย่อมจะส่งผลทำให้การกินน้ำ การกินอาหารของไก่ไม่ดีตามไปด้วย ทำให้ไก่ที่เลี้ยงไม่มีสวัสดิภาพสัตว์ที่ดี และสุดท้ายก็จะทำให้ผลผลิตไก่เนื้อที่เลี้ยงนั้นไม่ดีตามไปด้วย ดังนั้นการใช้สารเสริมอย่างเช่น อาร์ติฟอส ก็จะเป็นอีกแนวทางเลือกอีกแนวทางหนึ่งที่จะช่วยลดปัญหาของไก่ขาเจ็บได้ หรือสามารถทำให้การเจริญเติบโตของกระดูกดีขึ้น ทำให้กระดูกแข็งแรงขึ้น สุดท้ายก็จะมีผลทำให้ไก่แข็งแรงและทำให้ผลผลิตไก่เนื้อที่ฟาร์มดีตามไปด้วย ดังนั้นถ้าจะกล่าวโดยสรุปก็คือ ผลิตภันฑ์อทีฟอส และผลิตภัณฑ์แคลโกฟอส มันจะสามารถไปมีผลช่วยส่งเสริมทำให้ระบบการเจริญเติบโตของกระดูกดีขึ้นนั้นเอง
ผลิตภัณฑ์อาร์ติฟอส และผลิตภัณฑ์แคลโกฟอส มันจะเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดหนึ่งที่ใช้ในการผสมในน้ำไก่กินหรือในน้ำที่สัตว์ต่างๆกิน เพื่อเพิ่มแร่ธาตุให้กับกับสัตว์ ซึ่งส่วนประกอบหลักของ อาทีฟอสและแคลโฟอสจะประกอบไปด้วย ฟอสฟอรัส แคลเชียม โซเดียม แมกนีเซียม และธาตุที่จำเป็นอื่นๆ ซึ่งจุดมุ่งหมายที่นำไปใช้ก็เพื่อจะทำให้ระบบโครงร่างของไก่เจริญเติบโต แข็งแรง ลดปัญหาเรื่องของไก่ขาอ่อน ลดปัญหาเรื่องของไก่ขาเจ็บ ทำให้ปัญหาไก่ขาเจ็บลดลง ช่วยทำให้ไก่ที่เลี้ยงอยู่ภายในฟาร์มมีสวัสดิภาพสัตว์ที่ดีมากขึ้น และช่วยให้ไก่กินน้ำกินอาหารได้มากขึ้น และกระตุ้นการเผาผลาญอาหาร ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายพัฒนาดีขึ้น สุดท้ายจะทำให้ผลผลิตในการเลี้ยงไก่ที่ฟาร์มดีขึ้นด้วย ดังนั้นในการทดลองนี้ จะเป็นการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของ อทีฟอส และ แคลโกฟอส ในฟาร์มไก่ประกัน โดยแบ่งการทดลองออกเป็น โรงเรือนทดลองผลิตภัณฑ์ อาร์ทีฟอส 1 โรงเรือน โรงเรือนทดลองแคลโกฟอส 1 โรงเรือน และโรงเรือนควบคุม หรือโรงเรือนที่ไม่มีการใช้สารทั้ง 2 อย่าง จำนวน 1 โรงเรือน ซึ่งการให้ อทีฟอส และ แคลโกฟอส นี้จะเป็นการให้โดยการละลายน้ำให้ไก่กิน โดยวัตถุประสงค์หลักคือ เพื่อที่จะดูว่าอัตราการเจริญเติบโตของไก่ทั้ง 3 กลุ่ม จะมีความแตกต่างกันหรือไม่ และสุดท้ายก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าการศึกษาวิจัยในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจต่อไป

อุปกรณ์และวิธีการทดลอง
อุปกรณ์การทดลอง
1. ผลิตภัณฑ์อาร์ติฟอส จากบริษัท ไบโอเว็ต อินเตอร์เทรด จำกัด
2. ผลิตภัณฑ์แคลโกฟอส จากบริษัท เวอร์แบค ประเทศไทย จำกัด
3. ไก่เนื้อ จำนวน 72,180 ตัว ซึ่งมีทั้งหมด 3 โรงเรือน โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 2 โรงเรือน และกลุ่มควบคุม 1 โรงเรือน ตามรายละเอียดที่ได้กล่าวมา
วิธีการทดลอง
1. เลือกทดลองในฟาร์มไก่ประกัน จำนวน 3 ฟาร์ม โดยจะเลือกมาฟาร์มละ 1 โรงเรือน ซึ่งจะแบ่งออกเป็นกลุ่มทดลอง ดังที่กล่าวมา
2. .แบ่งกลุ่มการทดลองออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มที่ใช้ อาร์ติฟอส จะให้เป็นกลุ่มทดลอง กลุ่มที่ 1 ( Treatment group 1 ) 2.กลุ่มที่ใช้ แคลโกฟอส จะให้เป็นกลุ่มทดลอง กลุ่มที่ 2 ( Treatment group 2 ) และ 3.กลุ่มที่ไม่ได้ใช้อาร์ติฟอส และ แคลโกฟอส จะให้เป็นกลุ่มควบคุม ( Control group )
3. ไก่เนื้อที่ใช้ในการทดลอง จะมีโรงเรือนละประมาณ 20,000 – 30,000 ตัวต่อโรงเรือน
4. เริ่มทำการทดลองโดยให้ อาร์ติฟอส และ แคลโกฟอส 1 ช่วง คือช่วงอายุ 10-15 วัน ( โดยขนาดของผลิตภัณฑ์ทั้ง 2 ชนิด ที่นำมาใช้ จะใช้ตามข้อแนะของบริษัท เป็นหลัก )
5. ทำการเก็บรวบรวมข้อมูล ผลผลิตต่างๆ เช่น อัตราการสูญเสียสะสม น้ำหนักไก่จับ FCR PI และผลกำไรต่อตัว
6. เมื่อได้ข้อมูลครบแล้ว ก็จะทำการรวบรวมและวิเคราะห์ผลทางสถิติ
7. สรุปผลงานทดลอง และนำเสนอกับผู้ที่เกี่ยวข้อง ต่อไป

การเก็บข้อมูล
· จะมีการเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการผลิตทั้งหมด คือ เปอร์เซ็นสูญเสียสะสม น้ำหนักไก่จับ FCR PI และกำไรต่อตัว

ผลการทดลอง
รายละเอียดของการทดลอง
ฟาร์ม
สาขา
กลุ่ม
จำนวนไก่ลง
วันที่ไก่ลง
PS/HAT.
Grade
สมชาย
บึงสามพัน
Athephos
17,040
11/5/2010
G1/G/HB
a
น้ำอ้อย
ชัยนาท
Calgophos
27,680
26/5/2010
GP/2/CB
A
สุริยน
บึงสามพัน
Control
27,460
17/5/2010
Mix/2/HB
A

ผลการเลี้ยงไก่เนื้อ
ฟาร์ม
กลุ่ม
อายุจับ(วัน)
สูญเสีย
น้ำหนัก
FCR
PI
สมชาย
Athephos
42
1.88
2.35
1.70
323.64
น้ำอ้อย
Calgophos
43
2.57
2.72
1.78
346.52
สุริยน
Control
42
4.95
2.33
1.76
299.46

ต้นทุนค่ายาและกำไรต่อตัว
ฟาร์ม
กลุ่ม
% อาหารที่ใช้
ค่ายา
กำไร/ตัว
สมชาย
Athephos
13.03%
0.76
15.89
น้ำอ้อย
Calgophos
15.75%
0.89
15.56
สุริยน
Control
12.87%
0.94
12.87

สรุปและวิจารณ์ผลการทดลอง
ในการทดลองนี้ ก็จะเป็นการนำเสนอ เปรียบเทียบประสิทธิภาพของผลิตภันธ์ 2 ชนิด คือ ผลิตภัณฑ์อาร์ทีฟอส และ ผลิตภัณฑ์แคลโกฟอส โดยจะแบ่งการทดลองออกเป็น 3 กลุ่ม ซึ่งกลุ่มทดลองจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม และกลุ่มควบคุมมีอีก 1 กลุ่ม ในการทดลองครั้งนี้ จะเป็นการทดลองกับไก่ที่เลี้ยงอายุมาก และเป็นไก่ที่ต้องการน้ำหนักที่ส่งเข้าโรงเชือดมาก ซึ่งเป็นขนาดไก่ที่โรงเชือดกำหนดไว้ให้เลี้ยงตามนี้ ดังนั้นจึงเป้นสิ่งที่ดีที่จะได้มีการทดสอบผลิตภัณฑ์ทั้ง 2 ชนิดนี้ เพราะว่า ผลิตภัณฑ์ทั้ง 2 ชนิดนี้ มันเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นแร่ธาตุที่ใช้ในการเสริมสร้างโครงร่างของร่างกายไก่ ดังถ้าเลี้ยงไก่ที่มีขนาดตัวโตๆ น้ำหนักไก่มากๆ ก็จะเป็นการชี้ชัดว่าผลิตใดที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดที่จะช่วยเสริมสร้างระบบโครงร่างของร่างกายไก่ ให้สามารถที่จะรับน้ำหนักได้ดี ซึ่งทั้งนี้เราสามารถที่จะ วิเคราะห์ได้โดยดูทั้ง จำนวนไก่ที่แสดงอาการขาเจ็บ จำนวนไก่พิการภายในโรงเรือน และดูผลผลิตไก่ที่เลี้ยงได้ด้วย แต่ในการทดลองนี้ จะเป็นการนำเสนอข้อมูลที่ข้อมูลเกี่ยวข้อกับการผลิตไก่เป็นหลัก เพราะว่าจากเท่าที่ดูปริมารของไก่ที่แสดงอาการขาเจ้บ หรือไก่พิการที่พบอยู่ภายในโรงเรือนที่ทำการทดลอง ก็พบว่ามีปริมาณที่ไม่แตกต่างกัน ซึ่งโดยเฉลี่ยก็จะพบอยู่ประมาณ 1-1.5 % ของฝูง โดยเปรียบเทียบกับไก่ปกติภายในโรงเรือน ดังนั้นในการทดลองนี้จึงเป็นการนำเอาเฉพาะข้อมูงที่เป็นผลผลิตไก่เนื้อมาเปรียบเทียบกันเท่านั้น ซึ่งรายละเอียดต่างๆ ก็มีดังต่อไปนี้
การสูญเสียสะสม : ไก่จับที่ อายุ 42 วัน จะพบว่าไก่ในกลุ่มทดลอง ทั้ง 2 กลุ่ม จะมีการสูญเสียที่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน แต่ไก่กลุ่มควบคุมจะพบว่ามีการสูญเสียที่สูงมาก โดยการสูญเสียนี้จะพบตั้งแต่ช่วงไก่เล็ก และก็จะพบการสูญเสียสูงอีกครั้งหนึ่งในช่วงไก่ก่อนจับ โดยปัญหาหลักของฟาร์มที่เป็นกลุ่มควบคุมก็จะเป็นเรื่องของการจัดการฟาร์มมากกว่า ซึ่งจะพบว่า ในช่วงไก่ก่อนจับประมาณ 5 วัน ภายในโรงเรือนจะไม่สามารถควบคุมชื้นได้ ดังนั้นก็จะมีผลทำให้ความชื้นภายในโรงเรือนสูงขึ้น และการจะไปมีผลต่อการระบายความร้อนออกจากร่างกายของไก่ ส่งผลทำให้ไก่ตัวโตๆ ตายสูงมากขึ้น จึงมีผลทำให้ไก่กลุ่มควบคุมมีอัตราการสูญเสียที่สูงกว่า แต่ถ้าตัดเปอร์เซ็นต์การสูญเสียของไก่กลุ่มควบคุมในช่วงท้ายออก ก็จะพบว่า การสูญเสียของไก่ทั้ง 3 กลุ่ม ไม่มีความแตกต่างกันเลย และจะพบว่าการสูญเสียของไก่ทั้ง 3 กลุ่ม จะต่ำกว่า มาตรฐาน อีกด้วย
น้ำหนักไก่จับ : ในการเลี้ยงไก่ในชุดที่มีการทดลองนี้ จะเป็นนดยบายให้มีการเลี้ยงไก่ที่มีขนาดใหญ่ หรือจะให้เลี้ยงไก่ขนาด 2.4 – 2.6 kg. เพื่อส่งเข้าโรงเชือด ผลิตเป็นสินค้าตามออร์เดอร์ที่ลูกค้าสั่งมา แต่จากผลการทดลองนี้จะพบว่า ลูกไก่ที่นำมาทดลองนั้นจะมีทั้ง 3 แบบเลย คือ เป็นลูกไก่ GP ลูกไก่ A และลูกไก่ a ซึ่งฟาร์มที่ได้น้ำหนักสูงที่สุด คือฟาร์มที่ใช้ผลิตภัณฑ์แคลโกฟอส แต่ว่าฟาร์มนี้ จะเป็นลูกไก่ที่มาจากพ่อ แม่ พันธุ์ GP ซึ่งลูกไก่กลุ่มนี้จะเป็นลูกไก่ที่มีขนาดใหญ่มากที่อายุ 1 วัน และจะเป็นไก่ที่มีอัตราการเจริญเติบโตที่สูงมาก ดังนั้นในการเลี้ยงที่อายุเท่ากัน จึงมีผลทำให้ฟาร์มที่เลี้ยงลูกไก่ GP มีน้ำหนักที่มากกว่า แต่ถ้าพิจารณาฟาร์มที่มีลูกไก่ a ที่ใช้ผลิตภัณฑ์อาร์ทีฟอส ก็พบว่า น้ำไก่ที่ได้นั้นไกล้เคียงกับกลุ่มควบคุม ซึ่งเป็นลูกไก่ A ดังนั้นในการทดลองนี้ ปัจจัยจากคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่นำมาใช้ ก็ไม่น่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับอัตราการเจริญเติบโตของไก่ หรือช่วยทำให้ไก่เจริญเติบดตดีขึ้น ปัจจัยหลักน่าจะเป็นเรื่องของ ขนาดของลูกไก่ที่นำมาเลี้ยง หรือแหล่งของลูกไก่ที่นำมาเลี้ยงมากกว่า จะมีผลทำให้อัตราการเจริญเติบโตของในการทดลองนี้
ค่า FCR : ในส่วนของค่า FCR นั้น จะพบว่าค่าที่มากที่สุดและค่าที่ต่ำที่สุด จะมีความแตกต่างกัน 8 จุด ซึ่งค่าของ FCR นี้จะมาจาก การที่ไก่กินอาหารเข้าไป แล้วผลิตเป็นเนื้อหรือน้ำหนัก ออกมา ดังนั้นถ้าไก่กินอาหารมากแล้วได้น้ำหนักน้อยก็จะเป้นสิ่งที่ไม่ดี แต่จากการทดลองนี้ จะพบว่า ไก่ที่มีน้ำหนักมากที่สุด กับมีค่า FCR สูงที่สุดด้วยเช่นกัน ดังนั้น ผลิตภัณฑ์ที่นำมาทดลองทั้ง 2 ชนิดนี้ ก็ไม่ได้บอกว่าจะช่วยลดค่า FCR ของไก่ให้ต่ำลงได้เลย โดยเมื่อเทียบกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมแล้ว จะพบว่ากลุ่มทดลองจะมีค่า FCR สูงกว่ากลุ่มควบคุมด้วยซ้ำไป แต่เมื่อวิเคราะห์ดูว่าค่า FCR ของทั้ง 3 กลุ่มนี้ จะมีเกณฑ์ที่ต่ำ และอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่ยอมรับได้ทั้ง 3 กลุ่ม นั้นแสดงว่า คุณภาพของอาหารที่นำมาทดลองในการทดลองนี้ อยู่ในเกณฑืที่ดี
ค่า PI : สำหรับค่า PI นี้ เมื่อทั้ง 3 กลุ่มทดลองแล้วจะพบว่า กลุ่มควบคุมจะมีค่า PI ที่ต่ำที่สุด แต่เมื่อมาวิเคราะห์กับปัญหาที่ทำให้ค่า PI ของกลุ่มทดลองต่ำที่สุดนั้น ก็มาจาเรื่องของอัตราการตายของไก่สูงกว่ากลุ่มอื่น แต่ถ้ามองอีกมุมหนึ่งที่ว่า ไก่กลุ่มควบคุมมีการใช้อาหารอาหารที่น้อยกว่า น้ำหนักไก่ก็ออกมาไกล้เคียงกับกลุ่มอื่น และค่า FCR ก็ออกมาไกล้เคียงกับกลุ่มอื่นแล้ว กลุ่มควบคุมน่าจะมีค่า PI ที่สูงที่สุด ถ้าไม่มีปัญหาเรื่องของการจัดการเข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนั้นก็สามารถที่จะสรุปได้ว่า ผลิตภัณฑ์ทั้ง 2 ชนิดที่นำมาทดลองนี้ ไม่เกี่ยวข้องกับการผลิตเลย หรือไม่มีส่วนเกี่ยวข้องที่ทำให้ไก่มีการเจริญเติบโตที่เพิ่มขึ้นเลย
ค่ายาและกำไรต่อตัว : จากทั้งหมด ทั้ง 3 กลุ่มการทดลองจะพบว่า ค่ายาที่ใช้ก็ไกล้เคียงกัน แต่จะมีกลุ่มควบคุมที่มีค่ายาสูงกว่ากลุ่มอื่นๆ เนื่องมาจากไก่กลุ่มนี้กระปัญหาการจัดการทำให้ไก่มีเสียงหวัดเล็กน้อย ก็เลยจะต้องให้ยาเพิ่มเติม จึงมีผลทำให้ค่ายาสูงกว่ากลุ่มอื่นๆ แต่ถ้ามองโดยภาพรวมแล้ว จะพบว่าก็อยุ่ในช่วงที่ไม่แตกต่างกันมาก ในส่วนของกำไรในการเลี้ยงไก่นั้น จะพบว่ากลุ่มควบคุมจะมีกำไรต่ำที่สุด เนื่องมาจากปัญหาดังที่กว่ามาทั้งงหมด ไม่ใช่ว่าไก่ทดลองกลุ่มนี้ไม่ได้ใช้ผลิตภัณฑ์ดังที่กล่าวมาเลยทำให้ ได้กำไรน้อน
กล่าวโดยสรุป ในการทดลองครั้งนี้ จะพบว่าผลการเลี้ยงไก่ทั้ง 3 กลุ่มนี้ จะให้น้ำหนักที่ไกล้เคียงกันมาก เพราะว่า ทางบริษัทต้องการไก่ที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งจากการทดลองการใช้ผลิตภัณฑ์ของทั้ง 2 บริษัท นี้จะพบว่า ไม่ได้มีส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเจรอญเตอบโตของไก่ที่เลี้ยงเลย ไม่ว่าลูกไก่ที่นำมาทดลองจะเป้นลูกไก่ที่แตกต่างกันก้ตาม สุดท้ายนี้ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ข้อมูลการวิจัยครั้งนี้ จะเป้นข้อมูลที่มีประดยชน์ ที่สามรถที่จะไปใหช้ให้เกิดประในครั้งต่อไป

ภาคผนวก
รายละเอียด เกี่ยวกับ อาร์ติฟอส
ส่วนประกอบ
1.เป็นแร่ธาตุที่มีความจำเป็นในการสร้างอวัยวะของร่างกาย ได้แก่ ฟอสเฟต แคลเซียม ใช้ในการสร้างกระดูก เปลือกไข่ แร่ธาตุที่มีหน้าที่ในการกระตุ้นการสร้างพลังงานของร่างกาย (ATP อะดีนาซีนไตรฟอสเฟต) ซึ่งเป็นพื้นฐานกิจกรรมของสัตว์ ในรูปแบบที่มีการดูดซึมอย่างรวดเร็วในปริมาณสูง
2.เป็นแร่ธาตุที่มีความจำเป็นในการสร้างขบวนการต่างๆ เช่น การสืบพันธุ์ การเผาผลาญอาหาร ได้แก่ สังกระสี เหล็ก ทองแดง แมกนีเซียม และแมงกานีส
3.เป็นสื่อที่ทำให้การกระจายตัวของแร่ธาตุเป็นไปได้อย่างสมดุล
สรรพคุณ
ในไก่เนื้อ : กระตุ้นการเจริญเติบโตทำให้ไก่มีโครงร่างที่แข็งแรง ไม่มีอาการพิการจากการขาดฟอสเฟต เช่น กระดูกเกิดการผิดรูปจนต้องคัดทิ้งเป็นลูกไก่สูญเสีย นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ กระตุ้นการเผาผลาญ ทำให้ไก่มีสุขภาพแข็งแรงต้านทานการติดเชื้อได้เป็นอย่างดี
ขนาดและวิธีใช้
ในไก่ และสัตว์ : ละลายน้ำให้กิน ขนาด 1 ส่วน ต่อน้ำ 1000 ส่วน ให้กินติดต่อกัน 3-5 วัน
ส่วนประกอบของอาร์ติฟอส
Phosphorus 110 g.
Calcium 15 g.
Sodium 15 g.
Magnexium 22 mg.
Zinc 2200 mg.
Iron 1500 mg.
Copper 110 mg.
Manganess 2500 mg.
จัดจำน่ายโดย
บริษัท ไบโอเว็ต อินเตอร์เทค จำกัด 2176 ซ.ลาดพร้าว 101 ถ.ลาดพร้าว แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุ่งเทพ 10240

รายละเอียดเกี่ยวกับแคลโกฟอส
สรรพคุณ
· ผสมในน้ำดื่ม ให้สัตว์ เพื่อเสริมแร่ธาตุ
วิธีใช้และอัตราส่วนผสม
· ผสม แคลโกฟอส 1.24 กิโลกรัม ( 1 ลิตร ) ต่อน้ำ 200 ลิตร ให้สัตว์กินติตต่อกัน 1 สัปดาห์
คำเตือนหรือข้อควรระวัง
· ควรเก็บไว้ในที่แห้งและเย็น พ้นจากแสงแดด
ส่วนประกอบของอาร์ติฟอส
Phosphorus 82.74 g.
Calcium 14.19 g.
Sodium 7.02 g.
Magnexium 9.69 g.
Zinc 2.07 g.
Cobol 0.019 g.
Copper 0.497 g.
Manganess 1.94 g.
สารปรุงแต่งอาหารสัตว์ 2.58 mg.
สื่อ เติมจนครบ 1 mg.
จัดจำน่ายโดย
บริษัท เวอร์แบค ประเทศไทย จำกัด 222 อาคารฐานเศรษกิจ ชั้น11 โชน ดี3 หมู่ 9 ถ.วิภาวดีรังสิต เขตจตุจักร กรุงเทพ 10240

เอกสารอ้างอิง
· เอกสาร รายละเอียดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ อาร์ติฟอส บริษัท ไบโอเว็ต อินเตอร์เทค จำกัด
· เอกสาร รายละเอียดเกี่ยวกับผลิตภันฑ์ แคลโกฟอส บริษัท เวอร์แบค แอนนิมอลเฮลล์ จำกัด

วันพุธที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ปัญหาโรคเลือดจางในไก่เนื้อ CAV

ประจำเดือน มกราคม 2010
แปลและเรียบเรียงโดย น.สพ.ชัชวาลย์ สอนศรี
ผช.ผจญ. วิชาการ-สุขภาพไก่เนื้อ


โรคเลือดจางในไก่เปรียบเสมือนปิศาจร้ายในเงามืด
( Chick Anaemia Virus is a hidden menace )


การติดเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคเลือดจางในไก่มันสามารถติดได้ 2 วิธีคือ 1.ติดมาจากแม่โดยผ่านมาทางไข่ฟัก และ 2.ติดจากสิ่งแวดล้อมภายในฟาร์ม ซึ่งการติดเชื้อทั้ง 2 วิธีนี้สามารถเกิดได้มากพอๆกัน ทุกวันนี้อาการของการเกิดโรคเลือดจางในไก่ที่จะแสดงอาการที่ชัดเจนเหมือนเมื่อก่อนนั้นจะพบได้น้อยมากในหลายประเทศ แต่สิ่งหนึ่งที่ยังคงพบอยู่คือ อัตราการสูญเสียเนื่องจากการติดเชื้อยังคงพบว่ามีอัตราที่สูงอยู่ ดังนั้นสิ่งหนึ่งที่เจ้าของฟาร์มจะต้องระลึกเสมอคือ จะต้องเข้าใจกลไกของการเกิดโรคและกลไกของการติดเชื้อให้ดีเพื่อที่จะได้ป้องกันแก้ไขปัญหาการติดเชื้อได้
ปัญหาของการเกิดโรคเลือดจางในไก่นั้นถือได้ว่าเป็นโรคที่ก่อให้เกิดผลเสียหายทางธุรกิจที่สูงมาก ซึ่งโรคที่เกิดนั้นมันจะมีทั้งที่แสดงอาการหรือไม่แสดงอาการก็ได้ แต่ในปัจจุบันนี้ปัญหาของโรคเลือดจางในไก่ที่มีผลกระทบต่อระบบธุรกิจคือการเกิดโรคที่ไม่แสดงอาการเป็นหลัก โรคเลือดจางในไก่ถูกค้นพบครั้งแรกเมื่อปี คศ. 1979 ซึ่งนับตั้งแต่นั้นมาโรคนี้ก็ได้ก่อให้เกิดความเสียหายทางธุรกิจการเลี้ยงไก่เป็นอย่างมาก โรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัสที่เรียกว่า โคโรน่าไวรัส ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสที่มีขนาดเล็กมาก ซึ่งมันจะมีความคงทนต่อค่าความเป็นกรด-ด่าง คงทนต่อยาฆ่าเชื้อกลุ่มอีเทอร์ กลุ่มโคโรฟอร์ม และคงทนต่อความร้อนด้วย ปัญหาหลักๆของโรคนี้คือ มันจะทำให้ไก่มีอัตราการตายที่สูงมาก ต้นทุนการใช้ยาเพื่อที่จะป้องกันการติดเชื้อแทรกซ้อนจะสูงขึ้นและสุดท้ายจะส่งผลทำให้อัตราการเจริญเติบโตต่ำลง ผลผลิตสุดท้ายก็จะต่ำลงด้วย สำหรับการเกิดโรคทั่วๆแล้วจะเกิดขึ้นในช่วงของการเลี้ยงไก่พ่อแม่พันธุ์ โดยเชื้อไวรัสจะเข้าไปภายในไก่ในช่วงที่เป็นไปพันธ์รุ่น หลังจากนั้นแม่ไก่ก็จะถ่ายเชื้อมาสู่ลูกและจะทำให้เกิดโรคกับลูกไก่เนื้อที่อายุตั้งแต่ 10-14 วันเป็นต้นไปจนถึงประมาณ 21 วัน อัตราการตายเนื่องจากการเกิดโรคนี้ประมาณ 60% อาการของไก่เนื้อที่พบคือ ไก่เนื้อจะแคระแกร็น ผิวหนังซีด แสดงอัตราการป่วยสูง ที่ผิวหนังจะพบการติดเชื้อแทรกซ้อนมาก พบการติดเชื้อราทั่วทั้งร่างกายและอวัยวะที่ใช้ในการสร้างภูมิคุ้มกันจะฝ่อลีบเล็กลง โดยทั่วๆไปแล้วไข่ที่มาจากแม่ที่ติดเชื้อมันจะมีผลกระทบกับลูกไก่ในช่วง 3-6 สัปดาห์แรกของการให้ไข่เท่านั้น ซึ่งในช่วงที่ว่านี้มันก็จะก่อให้เกิดความสูญเสียทางธุรกิจที่สูงมาก จากการประเมินความเสียหายที่ประเทศอเมริกาพบว่า ในปีหนึ่งๆจะเสียหายเนื่องจากโรคนี้ประมาณ 50 ล้านเหรียนเลยทีเดียว
วิการรอยโรคที่พบในปัจจุบันนี้จะพบวิการที่จำเพาะได้น้อยมากในฝูงพ่อแม่พันธุ์ที่มีการจัดการแบบสมัยใหม่ และอาการเนื่องจากโรคนี้มันก็จะไม่แสดงอาการที่ชัดเจนเหมือนเมื่อก่อนอีกแล้ว สาเหตุก็อาจจะเป็นเพราะว่า การจัดการที่ฟาร์มพ่อแม่พันธุ์มีการทำวัคซีนที่ดีขึ้นและมีการกระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกันก่อนที่ไก่จะเริ่มไข่ ดังนั้นเมื่อแม่พันธุ์ติดเชื้อแล้วมันก็จะมีการถ่ายเชื้อออกมาสู่ลูกไก่เนื้อที่น้อยลงทำให้อาการที่เกิดขึ้นกับไก่เนื้อนั้นน้อยลงตามไปด้วย ดังนั้นสิ่งหนึ่งที่ฟาร์มพ่อแม่พันธุ์จะต้องพิจารณาให้ดีคือ โปรแกรมวัคซีนที่ฟาร์มพ่อแม่พันธุ์จะต้องทำให้ถูกต้องและจะต้องตรวจให้มีความมั่นใจว่าภูมิคุ้มกันต่อโรคเลือดจางในไก่พ่อแม่พันธุ์ก่อนที่จะไข่อยู่ในระดับที่จะสามารถป้องกันการเกิดโรคในลูกไก่เนื้อได้
ในการป้องกันโรคเลือดจางในไก่นั้นเจ้าของฟาร์มจะต้องเข้าใจกลไกของการเกิดโรคให้ดีและจะต้องมีการวางแผนเลือกชนิดของวัคซีนที่จะนำมาใช้ให้ดีก็จะสามารถป้องกันการเกิดโรคเลือดจางแบบแสดงอาการได้ ถึงอย่างไรก็ตาม จากการวิจัยในห้องปฏิบัติการที่ประเทศไอร์แลนด์พบว่าไก่เนื้อกลุ่มที่ป่วยเป็นโรคเลือดจางแบบที่ไม่แสดงอาการนี้ มันสามารถส่งผลกระทบกับธุรกิจการเลี้ยงไก่เนื้อได้มากเช่นกัน คือ จะมีผลทำให้น้ำหนักไก่ลดลง ทำให้ผลการเลี้ยงไก่ต่ำลงได้ ซึ่งผลเสียหายทางธุรกิจนี้มันเทียบเท่าได้กับการเกิดโรคเลือดจางแบบแสดงอาการในไก่เนื้อเลยทีเดียว

การแพร่ระบาดของเชื้อแบบแนวระนาบ
การติดเชื้อ CAV ในการเลี้ยงไก่เนื้อนั้น สามารถที่จะเกิดขึ้นได้ทุกช่วงอายุของการเลี้ยงไก่ แต่การติดเชื้อนี้มันจะลดลงเมื่อไก่มีอายุที่มากกว่า 2-3 สัปดาห์เป็นต้นไป ในลูกไก่เนื้อเมื่อนำมาเลี้ยงที่ฟาร์มมันจะสามารถป้องกันการติดเชื้อที่อยู่ภายในพื้นที่ได้โดยภูมิคุ้มกันที่ได้รับมาจากพ่อแม่ ซึ่งภูมิคุ้มกันที่ได้รับมาจากพ่อแม่นั้นมันอาจจะเกิดขึ้นจากการทำวัคซีนในพ่อแม่พันธุ์หรือการสัมผัสเชื้อที่อยู่ภายในฟาร์มก็ได้ ซึ่งการส่งถ่ายภูมิคุ้มกันจากพ่อแม่ไปสู่ลูกนั้นถือได้ว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับการป้องกันไก่เนื้อไม่ให้เกิดโรค แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ความสม่ำเสมอของระดับภูมิคุ้มกันที่ส่งต่อไปให้ลูกนั้นมีก็จะมีความสำคัญเช่นเดียวกัน และนอกจากนี้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับโรคกดภูมิคุ้มกันในไก่ ก็ย่อมจะมีผลเกี่ยวข้องกับระดับการป้องกันการเกิดโรคเลือดจางในไก่ทั้งสิ้น นอกจากนี้ปัญหาของการติดเชื้อไวรัสอื่นๆร่วม เช่น การติดเชื้อเลือดจางร่วมกับโรคมาเร็ค โรคReo virus โรคกัมโบโร ก็ย่อมจะมีผลทำให้ความรุนแรงของการเกิดโรคเลือดจางในไก่เนื้อที่เลี้ยงภายในฟาร์มมีความรุนแรงมากขึ้นเท่านั้น จากที่ได้กล่าวมาแล้วการติดเชื้อโรคเลือดจางในไก่นั้นมันสามารถเกิดขึ้นได้ทั้ง 2 แบบคือ การติดมาจากพ่อแม่พันธุ์และการติดเชื้อที่ฟาร์มไก่เนื้อ แต่ถ้าเปรียบเทียบทั้ง 2 แบบจะพบว่าการติดเชื้อที่ก่อให้เกิดโรคที่รุนแรงมากที่สุดคือ การติดเชื้อที่ฟาร์มไก่เนื้อแบบระยะเวลานานๆ นั้นเอง
ในการทำวัคซีน CAV ในไก่พ่อแม่พันธุ์แบบละลายน้ำหรือวิธีการทำวัคซีนที่ไม่ดีนั้น มันจะมีผลทำให้ระดับของภูมิคุ้มกันในไก่พ่อแม่พันธุ์จะไม่ดีซึ่งมันก็จะมีผลกระทบลูกไก่ตามมา โดยระดับของภูมิคุ้มกันที่ส่งถ่ายจากพ่อแม่มาสู่ลูกนั้นจะต่ำซึ่งก็จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคตามมา
ในการเลี้ยงไก่เนื้อนั้น ในบางครั้งเมื่อมีการจับไก่เนื้องส่งเข้าโรงเชือดแล้วมันอาจจะสามารถตรวจพบภูมิคุ้มกันของโรคเลือดจางในไก่ที่ส่งโรงเชือดได้เช่นกัน ซึ่งจากที่กล่าวมาก็แสดงว่าไก่เนื้อที่เลี้ยงอยู่ภายในฟาร์มนั้นมันมีการติดเชื้อเชื้อโรคเลือดจางภายในฟาร์มแล้ว ในการติดเชื้ออีกส่วนหนึ่งที่มักจะเป็นปัญหาลูกไก่เนื้อที่มาจากจากฝูงที่แตกต่างกัน เพราะว่าแต่ละฝูงจะมีระดับภูมิคุ้มกันที่ไม่เท่ากันหรือมีบางฝูงที่ติดเชื้อมาจากพ่อแม่พันธุ์แล้วเมื่อนำมาฟักรวมกันมันก็จะมีผลทำให้เชื้อไวรัสที่ติดมากับลูกไก่แพร่กระจายไปสู่ฝูงอื่นๆได้ด้วยเช่นกัน หรือแม้หลังจากนั้น เมื่อไก่นื้อที่ไม่มีภูมิคุ้มนำมาเลี้ยงภายในฟาร์มแล้วไก่กลุ่มนี้มันก็จะสามารถติดเชื้อโรคเลือดจางภายในฟาร์มได้ด้วย แต่แนวทางการป้องกันแก้ไขก็สามารถที่จะทำได้เช่นกัน เช่น การล้างทำความสะอาดโรงเรือนจะต้องมีการล้างให้สะอาดและฆ่าเชื้อให้ดี ในการฆ่าเชื้อภายในโรงเรือนนั้นจะต้องรวมไปถึงสิ่งรองนอนของไก่ด้วยเพื่อป้องกันปัญหาเชื้อ CAV ปนเปื้อนมากับสิ่งรองนอนไก่

การสืบสวนย้อนกลับหาสาเหตุของโรค
การที่มีห้องปฏิบัติการที่ดีๆ และสามารถตรวจวิเคราะห์ได้อย่างรวดเร็วนั้น มันจะเป็นกุญแจที่สำคัญมากที่จะสามารถติดสาเหตุของการเกิดโรคได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะการป้องกันแก้ไขปัญหาการติดเชื้อโรคเลือดจางที่ฟาร์ม เพราะว่าในปัจจุบันนี้ โรคเลือดจางในฝูงไก่เนื้อนั้น มันมักจะไม่มีการแสดงอาการของโรคให้เห็นเหมือนสมัยก่อนแล้ว ดังนั้นฐานข้อมูลในการตรวจวิเคราะห์ในไก่เนื้อนั้นจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ซึ่งทั่วโลกก็ได้มีการจัดทำฐานข้อมูลมาตั้งแต่ปี 1984 แล้ว โดยฐานข้อมูลนี้สามารถที่จะวิเคราะห์แยกได้เลยว่าโรงเรือนที่ติดเชื้อกับโรงเรือนที่ไม่ติดเชื้อนั้นมันมีความแตกกัน ซึ่งนอกจากข้อมูลทางห้องปฏิบัติการแล้วข้อมูลผลผลิตทั้งหมดก็จะต้องมีการเก็บรวบรวมเอาไว้ด้วย โดยทั่วๆไปแล้วโรงเรือนที่ติดเชื้อมันมักจะมีผลผลิตที่ต่ำกว่าโรงเรือนที่ไม่ติดเชื้อเสมอ
จากการศึกษาอุบัติการณ์ของการเกิดโรคเมื่อปี 1989 ในไก่เนื้อจำนวน 50 ฝูง โดยศึกษาไก่เนื้อจำนวน 1 ล้านตัว โดยไก่ทั้ง 50 ฝูงจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มแรกจะมี 25 ฝูง จะเป็นไก่เนื้อฝูงที่มีการติดเชื้อ และอีกกลุ่มจะเป็น 25 ฝูงหลัง จะเป็นไก่เนื้อที่ไม่มีการติดเชื้อ ซึ่งเมื่อมีการตรวจไก่เนื้อกลุ่มที่ติดเชื้อแล้วจะพบว่าไก่เนื้อกลุ่มนี้จะตรวจพบภูมิคุ้มกันต่อโรค CAV ภายในตัวไก่เนื้อด้วย และนอกจากนี้เมื่อเลี้ยงไก่ไปแล้วจะพบว่าไก่จะแสดงอาการป่วย พบอาการปีกช้ำอย่างชัดเจน และจะพบอัตราการตายสูงที่สูงมาก
อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาที่ผ่านมา จะพบว่าไก่เนื้อกลุ่มที่ติดเชื้อกับไก่เนื้อกลุ่มปกติจะมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยเมื่อนำเอาผลการเลี้ยงระหว่าง 2 กลุ่มมาเปรียบเทียบกัน ระหว่างกลุ่มที่ปกติกับกลุ่มที่ป่วยด้วยโรค CAV จะได้ข้อมูลดังนี้ ค่า FCR ดีกว่า 2% , น้ำหนักไก่จับดีกว่า 2.5% , ผลกำไรจะดีกว่า 13.0%
จากการศึกษาปัญหาโรคเลือดจางในไก่เนื้อที่ผ่านมา จะมีคำพูดที่กล่าวว่า ไก่เนื้อที่มีการติดเชื้อไวรัสโรคเลือดจางกับไก่เนื้อกลุ่มที่ไม่ติดเชื้อ เมื่อดูที่ผลการเลี้ยงจะพบว่า ไก่เนื้อกลุ่มที่ไม่ติดเชื้อจะมีผลการเลี้ยงที่ดีกว่าและมีผลกำไรที่ดีกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
เมื่อไม่นานมานี้ มีการศึกษาพบว่า ไก่เนื้อกลุ่มที่มีการติดเชื้อ CAV แต่ไม่ป่วยแสดงอาการของโรค จะพบว่ามีผลการเลี้ยงที่แย่กว่าไก่เนื้อกลุ่มที่ไม่ติดเชื้ออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเช่นกัน ดังนั้นการจัดการโปรแกรมวัคซีนในฟาร์มพ่อแม่พันธุ์ที่ดีหรือจัดการวิธีการทำวัคซีนที่ดีจะเป็นสิ่งที่จะช่วยลดปัญหาการเกิดโรคเลือดจางในการเลี้ยงไก่ได้เป็นอย่างดี และสุดท้ายจะส่งผลทำให้ผลการเลี้ยงไก่เนื้อที่ฟาร์มดีขึ้นตามมาด้วย ซึ่งเป้าหมายของการทำวัคซีนที่ดีในฟาร์มพ่อแม่พันธุ์นั้นก็เพื่อที่จะป้องกันการติดเชื้อไวรัสโรคเลือดจางในลูกไก่เนื้อที่ฟาร์มนั้นเอง ประเด็นต่อมา ถ้าไก่เนื้อที่เลี้ยงอยู่ภายในฟาร์มมีการติดเชื้อไวรัสแบบกดภูมิแล้ว เช่น โรคมาเร็ค โรคกัมโบโร มันก็จะส่งผลทำให้ไก่เนื้อที่เลี้ยงอยู่ภายในฟาร์มสามารถที่จะติดเชื้อได้ แต่จะเป็นการติดเชื้อแล้วไก่เนื้อจะไม่แสดงอาการของโรคเลือดเลือดจางให้เห็น ซึ่งผลที่ตามมาก้คือมันจะส่งผลทำให้ผลการเลี้ยงไก่เนื้อที่ฟาร์มต่ำลงเช่นกัน ดังนั้นการเลี้ยงการจัดการไก่เนื้อที่ฟาร์มจะต้องมีการจัดการให้ดี โดยจะต้องเริ่มตั้งแต่การล้างทำความสะอาดโรงเรือนและการฆ่าเชื้อภายในโรงเรือน ภายในฟาร์มให้ดีก่อนที่จะมีการลงไก่ เพื่อที่จะป้องกันการติดเชื้อไวรัสกลุ่มที่ก่อให้การกดภูมิคุ้มกัน เช่น โรคมาเร็ค โรคกัมโบโร เป็นต้น ซึ่งจุดมุ่งหมายสูงสุดคือ ให้ลูกไก่มีภูมิคุ้มกันต่อการติดเชื้อโรคเลือดจางที่ฟาร์มไก่เนื้อ และเพื่อที่จะลดการสูญเสียต่างๆที่จะตามมา

การป้องกันปัญหาโดยภาพรวม
ได้มีการทดลองใช้ยาฆ่าเชื้อชื่อ Virucidol ในประเทศอังกฤษ เพื่อที่จะใช้ในการฆ่าเชื้อ CAV ซึ่งผลจะพบว่า ยาฆ่าเชื้อตัวนี้สามารถที่จะฆ่าเชื้อไวรัส CAV ได้ โดยใช้อัตราส่วน 1: 250 , ดังนั้นจึงสามารถที่จะใช้ยาฆ่าเชื้อตัวนี้ฆ่าเชื้อหรือทำลายเชื้อ CAV ได้ ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าการเลือกใช้ยาฆ่าเชื้อตามที่ผู้ผลิตแนะนำเพื่อที่จะใช้ในการฆ่าเชื้อไวรัสโรคเลือดจางนั้นจะเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก โดยการฆ่าเชื้อจะต้องมีการฆ่าเชื้อทั้งภายในโรงเรือนเลี้ยงไก่นื้อและอุปกรณ์กรต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงไก่ให้ดี
โดยทั่วไปแล้ว ประสิทธิภาพของยาฆ่าเชื้อและวิธีการฆ่าเชื้อที่ดีนั้นถือได้ว่าเป็นสิ่งมีความสำคัญมาก เช่น น้ำไก่กินจะต้องมีการฆ่าเชื้อให้ดี อุปกรณ์การให้น้ำภายในโรงเรือนจะต้องมีการฆ่าเชื้อให้สะอาด ไม่ว่าจะเป็นระบบรายน้ำ ถังให้น้ำหรือระบบ Nipple โดยยาฆ่าเชื้อที่ใช้ภายในฟาร์มนั้นก็ให้ขึ้นอยู่กับเจ้าของฟาร์มเป็นผู้พิจารณาว่ายาฆ่าเชื้อตัวใหนมีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้ในการฆ่าเชื้อภายในฟาร์ม โดยจุดมุ่งหมายสูงสุดก็เพื่อป้องกันการปนเปื้อนเชื้อต่างๆภายในระบบรายน้ำ และจะต้องทำให้น้ำสะอาดก่อนที่จะนำไปใช้ให้ไก่กิน และไก่เนื้อที่เลี้ยงอยู่ภายในฟาร์มนั้นก็จะไม่ป่วยด้วยโรคต่างๆตามมาด้วย
ในการป้องกันการติดเชื้อโรคเลือดจางภายในฟาร์มนั้นจะเป็นสิ่งที่ทำได้ยากมาก แต่สิ่งหนึ่งที่สำคัญมากก็คือจะต้องทำการป้องกันไม่ให้เชื้อ CAV ติดเข้ามาสู่ไก่หรือถ้าติดก็จะต้องให้น้อยที่สุดด้วย ดังนั้นการจัดการระบบสุขศาสตร์ป้องกันโรคภายในฟาร์มที่ดีนั้นจะเป็นสิ่งที่สำคัญมาก โดยเฉพาะเรื่องของการฆ่าเชื้อต่างๆ เช่น ก่อนเข้าฟาร์มจะต้องมีบ่อจุ่มฆ่าเชื้อล้อรถ มีโรงเรือนสเปรย์ฆ่าเชื้อก่อนที่จะเข้าฟาร์ม แขกที่จะเข้าตรวจเยี่ยมฟาร์มจะต้องมีการฆ่าเชื้อ อาบน้ำเปลี่ยนชุดก่อนที่จะเข้าฟาร์ม สุดท้ายก่อนที่จะเข้าไปภายในโรงเรือนเลี้ยงไก่เนื้อจะต้องมีการล้างมือและฆ่าเชื้อก่อนที่จะเข้าไปสำผัสไก่ก่อนทุกครั้ง จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้จะถือได้ว่าเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับการป้องกันโรคเลือดจางที่จะเกิดขึ้นกับไก่เนื้อที่ฟาร์มที่จะมีการติดเชื้อเป็นแบบแนวระนาบหรือเป็นการติดเชื้อที่ฟาร์มนั้นเอง

เอกสารอ้างอิง
· Stephen A.L. . 2008 . Chick Anaemia Virus is a hidden menace , world poultry , V24 (8) : 24-25 p.

วันจันทร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

งานวิจัย Atriphos ครั้งที่ 2

ประจำเดือน ตุลาคม 2009
แปลและเรียบเรียงโดย น.สพ.ชัชวาลย์ สอนศรี
ผช.ผจญ. วิชาการ-สุขภาพไก่เนื้อ


การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของ อาร์ติฟอส ในไก่เนื้อไก่ประกัน
ครั้งที่ 2
( Comparison Evaluation of Athephos in broiler farms )


บทคัดย่อ
ในการทดลองเปรียบเทียบประสิทธิภาพของ อาร์ติฟอส ในฟาร์มไก่เนื้อไก่ประกันนี้ ได้มีการแบ่งการทดลองออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่มีการใช้ อาร์ติฟอส ( Treatment group ) และกลุ่มที่ไม่มีการใช้ อาร์ติฟอส( Control group )
สำหรับการใช้อาร์ติฟอสนั้นจะให้โดยการละลายน้ำ ซึ่งขนาดของการให้นั้น จะให้ 1 ส่วนต่อน้ำ 1000 ส่วน โดยแบ่งให้เป็น 2 ช่วงอายุคือ ช่วงอายุ 10-13 วัน และช่วงอายุ 20-25 วัน ซึ่งผลการทดลองพบว่า ไก่เนื้อกลุ่ม Control จะมีผลการเลี้ยงที่ดีกว่าไก่เนื้อกลุ่ม Treatment ทั้งนี้ เพราะว่าสุขภาพของไก่กลุ่มควบคุมจะดีกว่ากลุ่มทดลอง ดังนั้นในการทดลองครั้งที่ 2 นี้อาจจะไม่สามารถสรุปได้ว่า การใช้อาร์ติฟอสในไก่เนื้อจะให้ผลดีกว่าไก่กลุ่มที่ไม่ได้ใช้ เพราะว่า ไก่กลุ่มที่ใช้อาร์ติฟอส ป่วย มีเสียงหวัดในช่วงระหว่างการเลี้ยง

คำสำคัญ : อาร์ติฟอส , ไก่เนื้อ , ผลผลิต , FCR , PI

บทนำ
ในการเจริญเติบโตของไก่นั้น แร่ธาตุหรือสารอาหารต่างๆ จะเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของไก่มาก ซึ่งถ้ามองไปที่ระบบโครงสร้งของร่างกายไก่แล้ว การเจริญเติบโตของกระดูกที่ไม่สมบรูณ์ ก็จะเป็นปัญหามากต่อการเลี้ยงการจัดการไก่เนื้อภายในฟาร์ม เพราะว่า ถ้าไก่ที่เลี้ยงเกิดปัญหาขาอ่อน ไก่แสดงอาการขาเจ็บ หรือแม้แต่เกิดความผิดปกติของขา มันก็ย่อมจะส่งผลทำให้การกินน้ำ การกินอาหารของไก่ไม่ดีตามไปด้วย ทำให้ไก่ที่เลี้ยงไม่มีสวัสดิภาพที่ดี และสุดท้ายก็จะทำให้ผลผลิตไก่เนื้อที่เลี้ยงนั้นไม่ดีตามไปด้วย ดังนั้นการใช้สารเสริมอย่างเช่น อาร์ติฟอส ก็จะเป็นอีกแนวทางเลือกอีกแนวทางหนึ่งที่จะช่วยลดปัญหาของไก่ขาเจ็บได้ หรือสามารถทำให้การเจริญเติบโตของกระดูกดีขึ้น ทำให้กระดูกแข็งแรงขึ้น สุดท้ายก็จะมีผลทำให้ไก่แข็งแรงและทำให้ผลผลิตไก่เนื้อที่ฟาร์มดีตามไปด้วย ดังนั้นถ้าจะกล่าวโดยสรุปก็คือ อทีฟอส จะสามารถไปมีผลช่วยส่งเสริมทำให้ระบบการเจริญเติบโตของกระดูกดีขึ้นนั้นเอง
อาร์ติฟอส เป็นสารชนิดหนึ่งที่ใช้ในการผสมในอาหรสัตว์เพื่อเพิ่มแร่ธาตุให้กับกับสัตว์ ซึ่งส่วนประกอบหลักของ อาทีฟอสจะประกอบไปด้วย ฟอสฟอรัส แคลเชียม โซเดียม แมกนีเซียม และธาตุที่จำเป็นอื่นๆ ซึ่งจุดมุ่งหมายที่นำไปใช้ก็เพื่อจะทำให้ระบบโครงร่างของไก่เจริญเติบโต แข็งแรง ลดปัญหาเรื่องของไก่ขาอ่อน ลดปัญหาเรื่องของไก่ขาเจ็บ ทำให้ปัญหาไก่ขาเจ็บลดลง ช่วยทำให้ไก่ที่เลี้ยงอยู่ภายในฟาร์มมีสวัสดิภาพที่มากขึ้น และช่วยให้ไก่กินน้ำกินอาหารได้มากขึ้น และกระตุ้นการเผาผลาญอาหาร ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายพัฒนาดีขึ้น สุดท้ายจะทำให้ผลผลิตในการเลี้ยงไก่ที่ฟาร์มดีขึ้นด้วย ดังนั้นในการทดลองนี้ จะเป็นการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของ อทีฟอส ในฟาร์มไก่ประกัน โดยกำหนดให้มีการทดลองสาขาละ 2 ฟาร์ม โดยแบ่งเป็นโรงเรือนทดลอง 1 โรงเรือนต่อฟาร์ม และโรงเรือนควบคุม 1 โรงเรือนต่อฟาร์ม ซึ่งการให้ อทีฟอสนี้จะเป็นการให้โดยการละลายน้ำ โดยวัตถุประสงค์หลักคือ เพื่อที่จะดูว่าอัตราการเจริญเติบโตของไก่ และคุณภาพซากไก่ที่เข้าโรงเชือดของไก่ทดลองทั้ง 2 กลุ่ม จะมีความแตกต่างกันหรือไม่ และสุดท้ายก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าการศึกษาวิจัยในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจต่อไป

อุปกรณ์และวิธีการทดลอง
อุปกรณ์การทดลอง
1. สารอาร์ติฟอส จากบริษัท ไบโอเว็ต อินเตอร์เทรด จำกัด
2. ไก่เนื้อ จำนวน 40,000 จาก จำนวน 3 โรงเรือน

วิธีการทดลอง
1. เลือกฟาร์มไก่ประกัน สาขาละ 2 ฟาร์ม โดยจะเลือกเอาฟาร์มที่มี 2 โรงเรือนเป็นหลัก
2. .แบ่งกลุ่มการทดลองออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มที่ใช้ อาร์ติฟอส จะให้เป็นกลุ่มทดลอง ( Treatment group ) และ 2.กลุ่มที่ไม่ใช้อาร์ติฟอส จะให้เป็นกลุ่มควบคุม ( Control group )
3. ไก่เนื้อที่ใช้ในการทดลอง จะมีโรงเรือนละประมาณ 10,000 – 20,000 ตัวต่อโรงเรือน
4. เริ่มทำการทดลองโดยให้ อาร์ติฟอส 2 ช่วง คือช่วงอายุ 10-13 วัน และ 20-25 วัน ตามลำดับ ( โดยขนาดของ อาร์ติฟอสที่ใช้ จะใช้ตามที่บริษัทกำหนดคือ 2-3 ลิตร ต่อน้ำ 1000 ลิตร และให้กินหมดภายใน 3 ชั่วโมง )
5. ทำการเก็บรวบรวมข้อมูล ผลผลิตต่างๆ เช่น อัตราการสูญเสียสะสม น้ำหนักไก่จับ FCR PI และผลกำไรต่อตัว
6. เมื่อได้ข้อมูลครบแล้ว ก็จะทำการรวบรวมและวิเคราะห์ผลทางสถิติ
7. สรุปผลงานทดลอง และนำเสนอกับผู้ที่เกี่ยวข้อง

การเก็บข้อมูล
1. ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการผลิตทั้งหมด คือ เปอร์เซ็นสูญเสียสะสม น้ำหนักไก่จับ FCR PI และกำไรต่อตัว

ผลการทดลอง
รายละเอียดของการทดลอง
ฟาร์ม
สาขา
กลุ่ม
จำนวนไก่ลง
วันที่ไก่ลง
PS
Grade
สุเทพ
บึงสามพัน
Treatment
10710
18/8/2009
ไก่นอก
A
ทนง
บึงสามพัน
Treatment
20400
18/8/2009
ไก่นอก
A
มาโนช
บึงสามพัน
Control
10200
18/8/2009
ไก่นอก
A

ผลการเลี้ยงไก่เนื้อ
ฟาร์ม
กลุ่ม
อายุจับ(วัน)
สูญเสีย
น้ำหนัก
FCR
PI
สุเทพ
Treatment
40
3.98
2.32
1.89
294.66
ทนง
Treatment
40
8.19
2.07
1.93
246.17
มาโนช
Control
40
3.00
2.40
1.80
323.33

ต้นทุนค่ายาและกำไรต่อตัว
ฟาร์ม
กลุ่ม
ค่ายา
กำไร/ตัว
สุเทพ
Treatment
1.39
7.79
ทนง
Treatment
1.47
3.59
มาโนช
Control
1.39
11.15


สรุปและวิจารณ์ผลการทดลอง
จากผลการทดลองดังที่กล่าวมา สามารถสรุปได้ดังนี้
การสูญเสียสะสม : ไก่จับที่ อายุ 40 วัน ไก่กลุ่มควบคุมจะมีการสูญเสียที่ต่ำกว่ากลุ่มทดลอง ซึ่งฟาร์มทนงจะมีการสูญเสีย 8.19% จะเป็นฟาร์มที่มีการสูญเสียสูงที่สุด เพราะว่าไก่ป่วย มีเสียงหวัด ในช่วงระหว่างการเลี้ยง สาเหตุเนื่องมาจากกระอากาศเย็นช่วงฝนตก
น้ำหนักไก่จับ : จะพบว่า ไก่กลุ่มควบคุมคือฟาร์มมาโนช จะมีน้ำหนักไก่จับ สูงกว่ากลุ่มทดลอง อย่างชัดเจน เพราะว่าไก่ฟาร์มมาโนช กินอาหารได้มาก สุขภาพดี
ค่า FCR และ PI : จะพบว่า ฟาร์มมาโนช จะมีค่า FCR ต่ำกว่ากลุ่มทดลอง ซึ่งส่งผลทำให้ค่า PI สูงกว่าไก่กลุ่มทดลองตามไปด้วย เพราะว่า สุขภาพของไก่ฟาร์ม มาโนช ดีกว่าไก่ ทั้ง 2 ฟาร์ม
ค่ายาและกำไรต่อตัว : ค่ายาของทั้ง 2 กลุ่มทดลองจะพบว่ามีค่าใกล้เคียงกัน แต่กำไรต่อตัว จะพบว่าฟาร์ม มาโนช มีกำไรสูงที่สุด เนื่องมาจากค่า FCR ที่ต่ำ และค่า PI ที่สูงนั้นเอง

ภาคผนวก
รายละเอียด เกี่ยวกับ อาร์ติฟอส
ส่วนประกอบ
1.เป็นแร่ธาตุที่มีความจำเป็นในการสร้างอวัยวะของร่างกาย ได้แก่ ฟอสเฟต แคลเซียม ใช้ในการสร้างกระดูก เปลือกไข่ แร่ธาตุที่มีหน้าที่ในการกระตุ้นการสร้างพลังงานของร่างกาย (ATP อะดีนาซีนไตรฟอสเฟต) ซึ่งเป็นพื้นฐานกิจกรรมของสัตว์ ในรูปแบบที่มีการดูดซึมอย่างรวดเร็วในปริมาณสูง
2.เป็นแร่ธาตุที่มีความจำเป็นในการสร้างขบวนการต่างๆ เช่น การสืบพันธุ์ การเผาผลาญอาหาร ได้แก่ สังกระสี เหล็ก ทองแดง แมกนีเซียม และแมงกานีส
3.เป็นสื่อที่ทำให้การกระจายตัวของแร่ธาตุเป็นไปได้อย่างสมดุล
สรรพคุณ
ในไก่เนื้อ : กระตุ้นการเจริญเติบโตทำให้ไก่มีโครงร่างที่แข็งแรง ไม่มีอาการพิการจากการขาดฟอสเฟต เช่น กระดูกเกิดการผิดรูปจนต้องคัดทิ้งเป็นลูกไก่สูญเสีย นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ กระตุ้นการเผาผลาญ ทำให้ไก่มีสุขภาพแข็งแรงต้านทานการติดเชื้อได้เป็นอย่างดี
ขนาดและวิธีใช้
ในไก่ และสัตว์ : ละลายน้ำให้กิน ขนาด 1 ส่วน ต่อน้ำ 1000 ส่วน ให้กินติดต่อกัน 3-5 วัน
ส่วนประกอบของอาร์ติฟอส
Phosphorus 110 g.
Calcium 15 g.
Sodium 15 g.
Magnexium 22 mg.
Zinc 2200 mg.
Iron 1500 mg.
Copper 110 mg.
Manganess 2500 mg.
จัดจำน่ายโดย
บริษัท ไบโอเว็ต อินเตอร์เทค จำกัด 2176 ซ.ลาดพร้าว 101 ถ.ลาดพร้าว แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุ่งเทพ 10240

เอกสารอ้างอิง
· เอกสาร รายละเอียดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ อาร์ติฟอส บริษัท ไบโอเว็ต อินเตอร์เทค จำกัด

วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2552

งานวิจัย Slipped tendon ในไก่เนื้อ

ประจำเดือน กันยายน 2009
แปลและเรียบเรียงโดย น.สพ.ชัชวาลย์ สอนศรี
ผช.ผจญ. วิชาการ-สุขภาพไก่เนื้อ


ปัญหา Slipped tendon ในฟาร์มไก่เนื้อ ไก่ประกัน ครั้งที่ 2
( Problem of Slipped tendon in broiler farms : 2nd )


บทนำ
ปัญหาของโรคเอ็นเลื่อนหลุด หรือ Slipped tendon นั้น จะเป็นโรคที่ไม่เกิดขึ้นบ่อยมากนัก ซึ่งโดยทั่วไปแล้วโรคนี้มักจะเกิดขึ้นจากการขาดสารอาหารที่เป็นส่วนประกอบของอาหารไก่ สารที่มักจะก่อให้เกิดปัญหาคือ manganese, choline, zinc ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว สารอาหารพวกนี้จะเป็นส่วนประกอบของ Pre-mix ที่ผสมอยู่ในอาหารไก่ หรือบางทีอาจจะเกิดจากการขาดสารจำพวกนี้ pyridoxine, biotin, folic acid, niacin ร่วมด้วยก็ได้
มีสัตว์หลายๆชนิดที่สามารถก่อให้เกิดโรคได้ เช่น ไก่ทั่วไป เป็ด หรือ ไก่งวง ในส่วนของไก่งวงมักจะมีส่วนของการขาด galactosamine ร่วมด้วยเสมอ
ในรายงานวิชาการเรื่อง ปัญหาของ Slipped tendon การเลี้ยงไก่เนื้อนี้ จะเป็นการนำเอา case ที่มีปัญหาของ Slipped tendon มาทำการศึกษาว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นมันเกิดขึ้นเนื่องจากอะไร และจะมีแนวทางในการแก้ไขอย่างไร โดยในรายงานการวิจัยครั้งที่ 2 นี้ จะพบอุบัติการณ์ของการเกิดดรคอยู่ 2 ฟาร์ม คือ ฟาร์ม ดอกรัก และฟาร์มน้ำอ้อย ซึ่งปัญหาของ Slipped tendon ที่ชัดเจนมากๆ คือ ฟาร์มน้ำอ้อย ส่วนฟาร์มดอกรัก นั้นจะพบอุบัติการณ์ของการเกิดโรคเพียงเล็กน้อยเท่านั้นเอง ดังนั้นในรายงานฉบับนี้ จะเป็นการนำเสนอข้อมูลเฉพาะฟาร์ม น้ำอ้อย เท่านั้น เพราะวิการของฟาร์มน้ำอ้อย ค่อนข้างที่จะชัดเจนมาก
ประวัติของการลงไก่เลี้ยงของฟาร์ม น้ำอ้อย มีดังนี้ เป็นฟาร์มที่ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดนครสวรรค์ อำเภอท่าตะโก ไก่เนื้อลงเลี้ยง 30,400 ตัว มีโรงเรือนเลี้ยงไก่ 2 หลัง หลังละ 15,200 ตัว เป็นลูกไก่ที่มาจากฟาร์มพ่อแม่พันธ์ SUB7 โรงฟัก 2 เป้นลูกไก่ A ลงลูกไก่วันที่ 24 กันยายน 2009 การสูญเสียที่อายุ 10 วัน โรงเรือนที่ 1 เท่ากับ 0.64% และโรงเรือนที่ 2 เท่ากับ 1.29% ส่วนอุบัติการณ์ของโรคที่พบภายในฝูงของทั้ง 2 โรงเรือนจะอยู่ประมาณ 1-2% อาหารไก่ที่กินจะเป็นหาร Lot เบอร์ 111 Lot วันที่ 24 กันยายน 2009 ทั้ง 2 โรงเรือน

ลักษณะอาการของโรค
ลักษณะอาการที่พบคือ จะไม่กินอาหาร ชอบเขี่ยอาหารทิ้งมากกว่ากิน ไก่จะกินอาหารช้าไป 3-4 วัน ซึ่งลูกไก่จะเริ่มแสดงอาการให้เห็นในช่วงอายุ 3-8 วันแรกของการเลี้ยง อาการที่พบอีก เช่น ไก่จะแสดงอาการขาเจ็บเวลาเดิน ข้อบวม ขยายใหญ่ ซึ่งอาการต่างๆ ดังที่กล่าวมาก็จะมีเขียนไว้ในรายงานวิชาการอีกหลายฉบับ ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้
· ขางอสั้น
· แสดงอาการขาเจ็บ
· ข้อบวม แดง ใหญ่
· เอ็นเลื่อนหลุดจากเบ้าของข้อ
· ไก่นั่งบนข้อ
· การเจริญเติบโตของไก่ผิดปกติไป

วิการของโรค
ในส่วนวิการของวิการของรอยโรคที่พบเมื่อทำการผ่าซากไก่ ก็จะพบว่า เส้นเอ็นเลื่อนหลุดออกจากร่องของกระดูกข้อเข่า ซึ่งอาจจะพบข้างเดียวหรือทั้งสองข้างก็ได้ พบลักษณะของร่องของกระดูกที่เข่าดื้นขึ้น การเจริญเติบโตของการดูกผิดไป และอาจจะพบ TD ร่วมด้วยก็ได้ หรือบางครั้งก็จะพบลักษณะของเส้นเอ็นอักเสบให้เห็นได้อย่างชัดเจน ซึ่งวิการต่างๆ สามารถสรุปได้ดังนี้
· การเจริญของกระดูกผิดปกติ
· กระดูกบิด งอ
· กระดูกบางลง
· ร่องกระดูกที่ข้อ จะตื้นขึ้น
· พบเส้นเอ็น เลื่อนหลุดไปอยู่ด้านข้างของข้อเข่า

การวินิจฉัยโรค
ในการวินิจฉัยโรคโดยทั่วไปนั้น สามารถที่จะวินิจฉัยได้แบบง่ายๆ คือ ดูลักษณธท่าทางการเดินของไก่ว่า เวลาเดินแสดงอาการขาเจ็บ หรือไม่ ซึ่งถ้าแสดงอาการขาเจ็บ ก็ให้นำไก่ตัวนั้นมาผ่าซากดู ถ้าพบวิการของ เส้นเอ็นเลื่อนหลุด ออกจากข้อของเข่าไปด้านใดด้านหนึ่งก็แสดงว่า เป็นโรค Slipped tendon 100% หรืออาจจะดูลักษณะอาการอื่นๆร่วมด้วยก็ได้ เช่น
· ดูจากผลการวิเคราะห์คุณภาพอาหารไก่
· ไก่ขา บิด งอ
· ข้อขาไก่อักเสบ
· ข้อขา ติดเชื้อ
· เส้นเอ็นที่ข้อ เกิออักเสบ

การรักษา
· ไม่มีวิธีการรักษา ที่แน่นอน
· ให้ทำการรักษาตามอาการ เช่น เสริมวิตามินให้ไก่แข็งแรง คัดไก่ที่ขาเจ็บ ข้อบวมออกจากฝูง หรือเปลี่ยนอาหารใหม่ เป็นต้น

การป้องกัน
· ปรับปรุงสูตรอาหารใหม่
· ทำการเสริม สารจำพวก manganese, choline, vitamins และ zinc ในสูตรอาหารให้เหมาะสม

รูปภาพประกอบ




เอกสารอ้างอิง
· http://www.thepoultrysite.com/diseaseinfo/30/chondrodystrophy-slipped-tendon-or-perosis
Chondrodystrophy, Slipped Tendon or Perosis

งานเปล เรื่อง salmonella กับ ไก่เนื้อ

ประจำเดือน สิงหาคม 2009
แปลและเรียบเรียงโดย น.สพ.ชัชวาลย์ สอนศรี
ผช.ผจญ. วิชาการ-สุขภาพไก่เนื้อ


Salmonella กับการเลี้ยงไก่เนื้อ
( Salmonella in broiler farms )

จากการศึกษาในประเทศอเมริการพบว่า ลูกไก่ที่เลี้ยงอยู่ภายในฟาร์มที่ได้กินแมลงปีกแข็งภายในโรงเรือน (darking beetle) จะมีการติดเชื้อ Salmonella จากแมลงปีกแข็งก่อนที่ติดเชื้อจากการกินอาหารถึง 72 ชม. ซึ่งจากการศึกษาโดยปล่อยไก่ให้กินแมลงที่อยู่ภายในกรงเลี้ยงโดยเฉพาะ 0-50% ของทั้งฝูง จะพบว่าไก่เนื้อกลุ่มนี้สามารถที่จะติดเชื้อ Salmonella ที่ปนมากับแมลงได้ถึง 20-40% หลังจากกินไปแล้ว 3 สัปดาห์ และหลังจากนั้นจะพบว่า ไก่เนื้อที่เลี้ยงจะมีการติดเชื้อ Salmonella อีกครั้ง 6 สัปดาห์ ซึ่งจากการศึกษานี้สรุปได้ว่า ไก่เนื้อที่กินแมลปีกแข็งจะสามารถติดเชื้อ Salmonella จากแมลงที่กินเข้าไปได้(1)ซึ่งจากที่กล่าวมา ก็จะเป็นการแสดงให้เห้นว่าเชื้อ Salmonella สามารถติดมาได้จากสิ่งที่เราคาดไม่ถึงและนอกจากนี้เชื้อ Salmonella ก็ยังสามารถที่จะติดมาได้กับ น้ำ อาหาร อุปกรณ์ ยานพาหนะ บุคคล โรงเรือนเลี้ยงไก่ได้ ถ้าเราไม่มีการควบคุมให้ดี
แต่ในรายงานฉบับนี้จะเป็นการกล่าวถึงการควบคุมเชื้อ Salmonella ที่ปนเปื้อนมาในอาหารสัตว์โดยการใช้กรด เชื้อ Salmonella นี้จะเชื้อที่สามารถติดต่อไปยังมนุษย์ด้วย ซึ่งอาการที่แสดงในคนนั้นจะพบอาการที่แสดงออกคือ ท้องเสีย อาเจียร และมีไข้ เชื้อ Salmonella เมื่อมันมาสู่ร่างกายแล้ว มันจะไปเกาะที่ลำไส้และมันยังสามารถที่จะปนเปื้อนไปสู่โรงงานแปรรูปได้ด้วย
เชื้อ Salmonella นี้จะสามารถปนเปื้อนได้ทั้งในเนื้อและไข่ไก่ได้ด้วย ซึ่งทั้งนี้ทางประเทศกลุ่มสหภาพยุโรปได้มีการออกกฏระเบียบที่เกี่ยวข้องในการควบคุมเชื้อ Salmonella มาหลายฉบับโดยจุดมุ่งหมายก็เพื่อที่จะป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อไปสู่ไข่และไก่เนื้อที่เลี้ยงเพื่อการบริโภค

แหล่งของการปนเปื้อนเชื้อ Salmonella
วิธีการลดการปนเปื้อนเชื้อ Salmonella จะมีอยู่หลายวิธี ในอนาคตข้างหน้าการใช้ยาปฏิชีวนะในการควบคุมหรือลดการปนเปื้อนเชื้ออาจจะมีการระงับหรือห้ามใช้เพราะอาจจะทำให้เกิดการดื้อยาตามมาได้ ในการควบคุมเชื้อ Salmonella นั้นจะเน้นไปที่การปนเปื้อนเชื้อในไข่และเนื้อที่ใช้ในการบริโภคเป็นหลัก และอาจจะเป็นการควบคุมในเชื้อในบางกรุ๊ปด้วย ในการเคลื่อนย้ายอาหารไก่จะเป็นส่วนหนึ่งที่เป็นปัจจัยเสี่ยงสูงมากที่จะนำเชื้อ Salmonella ไปปนเปื้อนเชื้อสู่ที่อื่นๆ โดยการทำการทดลองที่ประเทศสเปน โดยทำในฟาร์มไก่เนื้อ 44 ฟาร์ม และฟาร์มไก่รุ่น 51 ฟาร์ม ซึ่งจะเป็นการทดสอบความเสี่ยงของการปนเปื้อนเชื้อ Salmonella ภายในฟาร์ม
การจัดการระบบสุขศาสตร์ป้องกันโรคภายในฟาร์มจะเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากในการป้องกันโรค Salmonella ภายในฟาร์ม ในการทดลองครั้งนี้ พบว่าได้มีการสุ่มอาหารไก่กินมา 3.8% และได้มีการตรวจพบ 1.5% ของทั้งหมด ดังนั้นการจัดการเรื่องของการขนส่งอาหารไปที่ฟาร์ม หรือการจัดการการเคลื่อนย้ายอาหารภายในฟาร์มจึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก การจัดการที่ดีจะช่วยลดปัญหาการปนเปื้อนเชื้อ Salmonella ได้ดี และนอกจากนี้การควบคุมการปนเปื้อนเชื้อในวัตถุดิบที่จะนำมาผลิตอาหารสัตว์ก็มีความสำคัญด้วย ซึ่งวิธีที่นิยมก็คือการใช้กรดในการควบคุมการปนเปื้อนเชื้อในวัตถุดิบที่จะนำมาใช้ในการผลิตอาหารสัตว์
การใช้กรดนี้สามารถที่จะควบคุมเชื้อ Salmonella ได้ ซึ่งวิธีการใช้กรดก็ง่ายมากโดยการใช้กรดผสมในอาหารสัตว์ ซึ่งกรดนี้มันจะเข้าฆ่าเชื้อ Salmonella ทันที ซึ่งการผสมกรดนี้อาจจะผสมในช่วงที่ทำการอัดเม็ดอาหารได้เลย หลังจากนั้น กรดที่ผสมอยู่ในอาหารเมื่อไก่มันกินเข้าไปมันก็จะแตกตัวภายในลำไส้ของไก่ ซึ่งในบริเวณนี้กรดมันก็จะสามารถที่จะฆ่าเชื้อ Salmonella ได้อีกครั้งหนึ่ง และการใช้กรดในส่วนสุดท้าย สามารถที่จะนำมาใช้ในการผสมน้ำให้ไก่กินได้ด้วย เพราะว่าเมื่อไก่กินน้ำที่ผสมกรดเข้าไปแล้วมันก็จะสามารถเข้าไปฆ่าเชื้อได้ด้วย ในการเพิ่มจำนวนของเชื้อ Salmonella เป้าหมายหลักมันจะทำการเพิ่มที่ลำไส้เป้นหลัก
เชื้อ Salmonella ที่อยู่ภายในลำไส้มันจะแพร่กระจายออกมากับมูลไก่อกสู่ภายนอกได้ โดยจะปนออกมากับไข่ไก่ มูลไก่ และสิ่งแวดล้อม ภายในฟาร์ม ในการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อการใช้กรดก็จะเป็นการปฏิบัติที่ดี หรือวิธีการจัดการที่ดี แต่กี่ใช้ยาปฏิชีวนะก็ยังเป็นวีธีการที่ยังใช้ได้ดีอยู่ แต่ในอนาคตอาจจะมีกรห้ามใช้ก็ได้
แต่ถึงอย่างไรก็ตาม วิธีการใช้กรดก็เป็นวิธีในการควบคุมการแพร่กระจายเชื้อ Salmonella ในไก่เนื้อได้ดี แต่วิธีการจัดการก็อาจจะสามารถใช้กรดรวมกับยาปฏิชีวนะในการฆ่าเชื้อภายในตัวไก่ได้ และนอกจากนี้การใช้กรดและกรดไขมันที่จำเป็นในการควบคุมเชื้อ Salmonella ก็สามารถที่จะควบคุมการแพร่ หรือเพิ่มจำนวนของเชื้อได้ ในการทดลองครั้งนี้ได้มีการฉีดเชื้อพิษทับ โดยใช้เชื้อ Salmonella ฉีดในไก่เนื้อ ซึ่งเชื้อนี้จะเป็นชนิด paratyphi B. var. java ซึ่งเป็นเชื้อ Salmonella ที่มักจะพบบ่อยในพื้นที่ทั่วๆไป

การทดลองในพื้นที่ หรือภายในฟาร์ม
เป้าหมายของการทดลองนี้ หรือ รายงานการวิจัยฉบับนี้ เพื่อที่จะใช้กรดในการควบคุมการปนเปื้อเชื้อ Salmonella โดยกรดที่นำมาใช้นั้นจะเป็นหลายๆชนิดรวมกัน และรวมทั้งไขมันที่จำเป็นด้วย ซึ่งกรดทั้งหมดนี้จะผสมในอาหารแล้วอัดเป็นเม็ดออกมา ไก่ที่นำมาทดลองจะเป็นลูกไก่เพศเมีย อายุ 1 วัน จำนวน 120 ตัว และอาหารที่ให้จะเป็นอาหาร 3 ชนิด และจะมีไก่อีกกลุ่มที่ให้อาหารปกติ โดยผสม feed additive จัดเป็นกลุ่มควบคุม ในกลุ่มอาหารทั้ง 3 ชนิด ชนิดแรกจะผสมกรดเพียงชนิดเดียว ปริมาณ 0.3% และอีก 2 ชนิด จะเป็นการผสมกรดแบบรวมกรดหลายๆชนิด
ที่อายุ 8 วัน และที่ 13 จะทำการ Cloacal swab เพื่อนำมาตรวจหาเชื้อ Salmonella โดยการส่งตรวจที่ห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรอง ซึ่งผลการทดลองพบว่า ไก่ที่กินอาหารที่ผลกรดแบบรวมทั้ง 2 ชนิด จะให้ผลไม่แตกต่างกัน แต่จะมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญกับไก่กลุ่มที่กินอาหารอีก 2 กลุ่มที่เหลือ ดังนั้นสรุปได้ว่าไก่กลุ่มที่กินอาหารที่ผสมกรดและกินน้ำที่ผสมกรด จะมีผลทำให้ระงับการเพิ่มจำนวนของเชื้อ Salmonella ภายในตัวไก่ได้
ในรายงานฉบับนี้ ไม่ได้บอกว่ากรดที่ผสมในอาหารนั้น สามารถที่จะฆ่าเชื้อ Salmonella ทั้งหมด โดยเฉพาะเชื้อที่ผสมในอาหาร แต่จะสามารถฆ่าเชื้อได้ดีในระบบทางเดินอาหารเป็นหลัก และนอกจากนี้ยังสามารถที่จะช่วยลดการกระจายของเชื้อออกสู่สิ่งแวดล้อมหรือภายในฟาร์มได้ ในอนาคตข้างหน้า การใช้กรดที่เป้นชนิดรวมกันหลายๆอย่างจะเป้นสิ่งที่จะนำมาใช้เป้นส่วนมาก และถ้าจะให้ดีอาจจะผสมไขมันที่จำเป็นเข้าไปด้วยก็จะดียิ่งขึ้น เพื่อให้ผลที่ได้มีประสิทธิภาพในการควบคุมเชื้อ Salmonella ในตัวไก่ได้ดีขึ้น

เอกสารอ้างอิง
1. Poult. Sci. 88 , 44-48
2. Albert van dijk .2009.The use of organic acids to reduce salmonella infection , international poultry production , V17(5) : 13-14p.

งานวิจัย เรื่อง อาร์ติฟอส

ประจำเดือน กันยายน 2009
แปลและเรียบเรียงโดย น.สพ.ชัชวาลย์ สอนศรี
ผช.ผจญ. วิชาการ-สุขภาพไก่เนื้อ


การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของ อาร์ติฟอส ในไก่เนื้อไก่ประกัน
( Comparison Evaluation of Athephos in broiler farms )


บทคัดย่อ
ในการทดลองเปรียบเทียบประสิทธิภาพของ อาร์ติฟอส ในฟาร์มไก่เนื้อไก่ประกันนี้ ได้มีการแบ่งการทดลองออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่มีการใช้ อาร์ติฟอส ( Treatment group ) และกลุ่มที่ไม่มีการใช้ อาร์ติฟอส( Control group )
สำหรับการใช้อาร์ติฟอสนั้นจะให้โดยการละลายน้ำ ซึ่งขนาดของการให้นั้น จะให้ 1 ส่วนต่อน้ำ 1000 ส่วน โดยแบ่งให้เป็น 2 ช่วงอายุคือ ช่วงอายุ 10-13 วัน และช่วงอายุ 20-25 วัน ซึ่งผลการทดลองพบว่า ไก่เนื้อกลุ่ม Control จะมีผลการเลี้ยงที่ดีกว่าไก่เนื้อกลุ่ม Treatment ถึงม้าว่าไก่เนื้อกลุ่ม Control จะมีการสูญเสียที่สูงกว่าก็ตาม และถ้าพิจารณาที่คุณภาพซากของไก่ที่ส่งเข้าโรงเชือด ก็จะพบว่าไก่ทดลองทั้ง 2 กลุ่ม มีคุณภาพซากที่ไม่แตกต่างกัน และสุดท้ายถ้าพิจารณาที่กำไรของการเลี้ยงไก่เนื้อ ก็จะพบว่าไก่เนื้อกลุ่ม Control จะมีผลกำไรมากกว่าไก่เนื้อกลุ่ม Treatment ซึ่งทั้งนี้ก็เพราะว่า ไก่เนื้อกลุ่ม Control มีน้ำหนักที่ดีกว่า และมีค่า FCR ที่ต่ำกว่านั้นเอง

คำสำคัญ : อาร์ติฟอส , ไก่เนื้อ , ผลผลิต , คุณภาพซาก

บทนำ
ในการเจริญเติบโตของไก่นั้น แร่ธาตุหรือสารอาหารต่างๆ จะเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของไก่มาก ซึ่งถ้ามองไปที่ระบบโครงสร้งของร่างกายไก่แล้ว การเจริญเติบโตของกระดูกที่ไม่สมบรูณ์ ก็จะเป็นปัญหามากต่อการเลี้ยงการจัดการไก่เนื้อภายในฟาร์ม เพราะว่า ถ้าไก่ที่เลี้ยงเกิดปัญหาขาอ่อน ไก่แสดงอาการขาเจ็บ หรือแม้แต่เกิดความผิดปกติของขา มันก็ย่อมจะส่งผลทำให้การกินน้ำ การกินอาหารของไก่ไม่ดีตามไปด้วย ทำให้ไก่ที่เลี้ยงไม่มีสวัสดิภาพที่ดี และสุดท้ายก็จะทำให้ผลผลิตไก่เนื้อที่เลี้ยงนั้นไม่ดีตามไปด้วย ดังนั้นการใช้สารเสริมอย่างเช่น อาร์ติฟอส ก็จะเป็นอีกแนวทางเลือกอีกแนวทางหนึ่งที่จะช่วยลดปัญหาของไก่ขาเจ็บได้ หรือสามารถทำให้การเจริญเติบโตของกระดูกดีขึ้น ทำให้กระดูกแข็งแรงขึ้น สุดท้ายก็จะมีผลทำให้ไก่แข็งแรงและทำให้ผลผลิตไก่เนื้อที่ฟาร์มดีตามไปด้วย ดังนั้นถ้าจะกล่าวโดยสรุปก็คือ อทีฟอส จะสามารถไปมีผลช่วยส่งเสริมทำให้ระบบการเจริญเติบโตของกระดูกดีขึ้นนั้นเอง
อาร์ติฟอส เป็นสารชนิดหนึ่งที่ใช้ในการผสมในอาหรสัตว์เพื่อเพิ่มแร่ธาตุให้กับกับสัตว์ ซึ่งส่วนประกอบหลักของ อาทีฟอสจะประกอบไปด้วย ฟอสฟอรัส แคลเชียม โซเดียม แมกนีเซียม และธาตุที่จำเป็นอื่นๆ ซึ่งจุดมุ่งหมายที่นำไปใช้ก็เพื่อจะทำให้ระบบโครงร่างของไก่เจริญเติบโต แข็งแรง ลดปัญหาเรื่องของไก่ขาอ่อน ลดปัญหาเรื่องของไก่ขาเจ็บ ทำให้ปัญหาไก่ขาเจ็บลดลง ช่วยทำให้ไก่ที่เลี้ยงอยู่ภายในฟาร์มมีสวัสดิภาพที่มากขึ้น และช่วยให้ไก่กินน้ำกินอาหารได้มากขึ้น และกระตุ้นการเผาผลาญอาหาร ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายพัฒนาดีขึ้น สุดท้ายจะทำให้ผลผลิตในการเลี้ยงไก่ที่ฟาร์มดีขึ้นด้วย ดังนั้นในการทดลองนี้ จะเป็นการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของ อทีฟอส ในฟาร์มไก่ประกัน โดยกำหนดให้มีการทดลองสาขาละ 2 ฟาร์ม โดยแบ่งเป็นโรงเรือนทดลอง 1 โรงเรือนต่อฟาร์ม และโรงเรือนควบคุม 1 โรงเรือนต่อฟาร์ม ซึ่งการให้ อทีฟอสนี้จะเป็นการให้โดยการละลายน้ำ โดยวัตถุประสงค์หลักคือ เพื่อที่จะดูว่าอัตราการเจริญเติบโตของไก่ และคุณภาพซากไก่ที่เข้าโรงเชือดของไก่ทดลองทั้ง 2 กลุ่ม จะมีความแตกต่างกันหรือไม่ และสุดท้ายก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าการศึกษาวิจัยในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจต่อไป

อุปกรณ์และวิธีการทดลอง
อุปกรณ์การทดลอง
1. สารอาร์ติฟอส จากบริษัท ไบโอเว็ต อินเตอร์เทรด จำกัด
2. ไก่เนื้อ จะนวน 60,000 จาก จำนวน 3 โรงเรือน

วิธีการทดลอง
1. เลือกฟาร์มไก่ประกัน สาขาละ 2 ฟาร์ม โดยจะเลือกเอาฟาร์มที่มี 2 โรงเรือนเป็นหลัก
2. .แบ่งกลุ่มการทดลองออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มที่ใช้ อาร์ติฟอส จะให้เป็นกลุ่มทดลอง ( Treatment group ) และ 2.กลุ่มที่ไม่ใช้อาร์ติฟอส จะให้เป็นกลุ่มควบคุม ( Control group )
3. ไก่เนื้อที่ใช้ในการทดลอง จะมีโรงเรือนละประมาณ 10,000 – 15,000 ตัวต่อโรงเรือน
4. เริ่มทำการทดลองโดยให้ อาร์ติฟอส 2 ช่วง คือช่วงอายุ 10-13 วัน และ 20-25 วัน ตามลำดับ ( โดยขนาดของ อาร์ติฟอสที่ใช้ จะใช้ตามที่บริษัทกำหนดคือ 2-3 ลิตร ต่อน้ำ 1000 ลิตร และให้กินหมดภายใน 3 ชั่วโมง )
5. ทำการเก็บรวบรวมข้อมูล ผลผลิตต่างๆ เช่น อัตราการสูญเสียสะสม น้ำหนักไก่จับ FCR PI และผลกำไรต่อตัว
6. ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลคุณภาพซากไก่ที่เข้าโรงเชือด เช่น ไก่ตายช่วงขนส่ง ไก่พิการ ซากผอม CRD Avian cellulites ปีกช้ำ น่องช้ำ เป็นต้น
7. เมื่อได้ข้อมูลครบแล้ว ก็จะทำการรวบรวมและวิเคราะห์ผลทางสถิติ
8. สรุปผลงานทดลอง และนำเสนอกับผู้ที่เกี่ยวข้อง

การเก็บข้อมูล
1. ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการผลิตทั้งหมด คือ เปอร์เซ็นสูญเสียสะสม น้ำหนักไก่จับ FCR PI และกำไรต่อตัว
2. ข้อมูลคุณภาพซากไก่ที่ส่งเข้าโรงเชือด คือ ไก่ตายระหว่างการขนส่ง ไก่พิการ ไก่ซากผอม ปีกช้ำ หน่องช้ำ CRD และ Avian cellulites

ผลการทดลอง
รายละเอียดของการทดลอง
ฟาร์ม
สาขา
กลุ่ม
จำนวนไก่ลง
วันที่ไก่ลง
PS
Grade
ชัยวฒน์
บึงสามพัน
Treatment
13000
20/7/2009
ไก่นอก
A
ศิริพร
บึงสามพัน
Treatment
9500
20/7/2009
ไก่นอก
A
ทัศนี
บึงสามพัน
Control
9000
20/7/2009
ไก่นอก
A

ผลการเลี้ยงไก่เนื้อ
ฟาร์ม
กลุ่ม
อายุจับ(วัน)
สูญเสีย
น้ำหนัก
FCR
PI
ชัยวฒน์
Treatment
40
3.17
2.41
1.82
319.82
ศิริพร
Treatment
40
0.86
2.35
1.84
317.01
ทัศนี
Control
40
4.92
2.6
1.75
352.97

ต้นทุนค่ายาและกำไรต่อตัว
ฟาร์ม
กลุ่ม
ค่ายา
กำไร/ตัว
ชัยวฒน์
Treatment
0.93
11.15
ศิริพร
Treatment
1.19
10.26
ทัศนี
Control
0.99
14.89

คุณภาพซากไก่เข้าโรงเชือด
ฟาร์ม
กลุ่ม
พิการ %
ข้อเข่าเท้าฯ %
น่องช้ำ %
อกช้ำ %
ปีกช้ำ %
ชัยวฒน์
Treatment
0.03
92.75
0.31
0.07
0.97
ศิริพร
Treatment
0.07
92.33
0.55
0.07
0.93
ทัศนี
Control
0.06
96.50
0.44
0.08
0.57

ฟาร์ม
กลุ่ม
ซากผอม %
ผิวหนังฯ %
เข่าอักเสบ %
Callulitis %
C.R.D. %
ชัยวฒน์
Treatment
0.38
0.00
12.31
0.91
0.05
ศิริพร
Treatment
0.53
0.00
13.54
0.75
0.10
ทัศนี
Control
0.27
0.00
16.87
0.30
0.06

สรุปและวิจารณ์ผลการทดลอง
จากผลการทดลองดังที่กล่าวมา สามารถสรุปได้ดังนี้
การสูญเสียสะสม : ไก่จับที่ อายุ 40 วัน ไก่กลุ่มควบคุมจะมีการสูญเสียที่สูงกว่ากลุ่มทดลอง ซึ่งฟาร์มทัศนีจะสูญเสีย 4.92% เพราะว่าไก่หายที่โรงเชือดประมาณ 2% จึงส่งผลทำให้การสูญเสียสะสมสูงกว่ากลุ่มทดลอง
น้ำหนักไก่จับ : จะพบว่า ไก่กลุ่มควบคุมคือฟาร์มทัศนี จะมีน้ำหนักไก่จับ สูงกว่ากลุ่มทดลอง อย่างชัดเจน เพราะว่าช่วงท้ายไก่ฟาร์มทัศนีกินอาหารได้มาก โดยภาพรวมแล้วสุขภาพไก่ทั้ง 3 ฟาร์ม ปกติดี
ค่า FCR และ PI : จะพบว่า ฟาร์มทัศนีจะมีค่า FCR ต่ำกว่ากลุ่มทดลอง ซึ่งส่งผลทำให้ค่า PI สูงกว่าไก่กลุ่มทดลองตามไปด้วย ซึ่งเหตุผลก็เพราะว่า ฟาร์มทัศนีมีน้ำหนักไก่จับที่สูง ถึงแม้การสูญเสียจะสูงก็ตาม
ค่ายาและกำไรต่อตัว : ค่ายาของทั้ง 2 กลุ่มทดลองจะพบว่ามีค่าใกล้เคียงกัน คือประมาณ 1 บาทต่อตัว แต่ถ้ามาวิเคราะห์ที่ผลกำไรของการเลี้ยงจะพบว่า ฟาร์มทัศนี ซึ่งเป็นไก่กลุ่มควบคุมจะมีกำไรสูงที่สุด เพราะว่าค่า FCR ที่ต่ำและ น้ำหนักไก่จับมากนั้นเอง
คุณภาพซาก : ถ้านำเฉพาะค่าของ %ซากผอม มาวิเคราะห์แล้วจะพบว่า ไก่กลุ่มควบคุมจะมีค่าที่ต่ำกว่าไก่กลุ่มทดลอง หรือแม้กระทั้งว่า ดูภาพรวมของคุณภาพซากแล้วก็จะพบว่า ไก่กลุ่มควบคุมก็จะมีแนวโน้มคุณภาพซากที่ดีกว่าไก่กลุ่มทดลอง ซึ่งทั้งนี้อาจจะบอกไม่ได้เลยว่า อาร์ติฟอส สามารถที่จะช่วยทำให้คุณภาพซากของไก่ที่ส่งเข้าโรงเชือดดีขึ้น

ภาคผนวก
รายละเอียด เกี่ยวกับ อาร์ติฟอส
ส่วนประกอบ
1.เป็นแร่ธาตุที่มีความจำเป็นในการสร้างอวัยวะของร่างกาย ได้แก่ ฟอสเฟต แคลเซียม ใช้ในการสร้างกระดูก เปลือกไข่ แร่ธาตุที่มีหน้าที่ในการกระตุ้นการสร้างพลังงานของร่างกาย (ATP อะดีนาซีนไตรฟอสเฟต) ซึ่งเป็นพื้นฐานกิจกรรมของสัตว์ ในรูปแบบที่มีการดูดซึมอย่างรวดเร็วในปริมาณสูง
2.เป็นแร่ธาตุที่มีความจำเป็นในการสร้างขบวนการต่างๆ เช่น การสืบพันธุ์ การเผาผลาญอาหาร ได้แก่ สังกระสี เหล็ก ทองแดง แมกนีเซียม และแมงกานีส
3.เป็นสื่อที่ทำให้การกระจายตัวของแร่ธาตุเป็นไปได้อย่างสมดุล
สรรพคุณ
ในไก่เนื้อ : กระตุ้นการเจริญเติบโตทำให้ไก่มีโครงร่างที่แข็งแรง ไม่มีอาการพิการจากการขาดฟอสเฟต เช่น กระดูกเกิดการผิดรูปจนต้องคัดทิ้งเป็นลูกไก่สูญเสีย นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ กระตุ้นการเผาผลาญ ทำให้ไก่มีสุขภาพแข็งแรงต้านทานการติดเชื้อได้เป็นอย่างดี
ขนาดและวิธีใช้
ในไก่ และสัตว์ : ละลายน้ำให้กิน ขนาด 1 ส่วน ต่อน้ำ 1000 ส่วน ให้กินติดต่อกัน 3-5 วัน
ส่วนประกอบของอาร์ติฟอส
Phosphorus 110 g.
Calcium 15 g.
Sodium 15 g.
Magnexium 22 mg.
Zinc 2200 mg.
Iron 1500 mg.
Copper 110 mg.
Manganess 2500 mg.
จัดจำน่ายโดย
บริษัท ไบโอเว็ต อินเตอร์เทค จำกัด 2176 ซ.ลาดพร้าว 101 ถ.ลาดพร้าว แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุ่งเทพ 10240

เอกสารอ้างอิง
· เอกสาร รายละเอียดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ อาร์ติฟอส บริษัท ไบโอเว็ต อินเตอร์เทค จำกัด