วันเสาร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2551

งานวิชาการ ครับ

การจัดการลูกไก่ใน 24 ชั่วโมงแรกของการเลี้ยง
( Broiler Management : The First 24 Hours )


แปลและเรียบเรียงโดย น.สพ.ชัชวาลย์ สอนศรี
นายสัตวแพทย์ฝ่ายสุขภาพไก่เนื้อ ฟาร์มบริษัท
บ.สหฟาร์ม จำกัด และ บริษัท โกลเด็นไลน์ จำกัด 99 ม4 ต,ศิลาทิพย์ อ.ชัยบาดาล
จ.ลพบุรี 15130, Broiler red box. เดือน ตค 2551


ในช่วง 30 ปี ที่ผ่านมานี้ ทั่วโลกได้มีการเลี้ยงไก่เนื้อรวมทั้งหมดไม่น้อยกว่าปีละ 3 หมื่นล้านตัว ซึ่งไก่เนื้อประมาณ 1.5 หมื่นล้านตัวของทั้งหมดจะมีการเลี้ยงอยู่ในประเทศอเมริกา ดังนั้นระบบการเลี้ยงการจัดการต่างๆจึงได้มีการพัฒนามากขึ้นมาก โดยอุปกรณ์การเลี้ยงไก่ทั้งหมดก็จะเป็นระบบอัตโนมัติ ดังนั้นจึงเป็นต้นเหตุที่ทำให้การผลิตไก่เนื้อโดยรวมนั้นมีจำนวนที่เพิ่มขึ้นมาก ในทางเดียวกันลูกไก่ที่ฟักออกมาจากโรงฟักเพื่อที่จะนำมาเลี้ยงในฟาร์มไก่เนื้อนั้น ก็ย่อมจะต้องมีจำนวนที่มากขึ้นตามไปด้วยซึ่งก็จะเป็นต้นเหตุที่ทำให้ลูกไก่หลังจากที่ฟักออกมา 24 ชั่วโมงแรกนั้นเกิดความเคลียดที่สูงมากเมื่อนำมาเลี้ยงที่ฟาร์ม เพราะว่าลูกไก่หลังจากที่ฟักออกมาแล้วมันไปอยู่ในโรงเรือนที่มีสภาวะที่ไม่เหมาะสม แล้วก็จะส่งผลทำให้ลูกไก่มีอัตราการสูญเสียที่สูงขึ้น ซึ่งปัจจัยความเคลียดที่อยู่ภายในโรงเรือนที่ลูกไก่ได้รับในช่วงแรกนั้นมันจะส่งผลต่อผลผลิตของไก่เนื้อตามมา เช่น ทำให้น้ำหนักไก่จับลดลง ทำให้ FCR สูงขึ้นและทำให้ต้นทุนการผลิตต่อกิโลกรัมของไก่สูงขึ้นมากด้วย ดังนั้นลูกไก่เนื้อที่นำมาเลี้ยงที่ฟาร์มนั้น ผู้จัดการฟาร์มหรือเจ้าของฟาร์มจะต้องมีการเลี้ยงลูกไก่เปรียบเสมืองดั่ง ลูกของตัวเอง มิเช่นนั้นแล้ว กำไรที่ฟาร์มจะได้ก็จะหายไปโดยสิ้นเชิง ในรายงานฉบับนี้จะมีรายละเอียดของการจัดการลูกไก่เนื้อที่ฟาร์มดังต่อไปนี้

ระบบสุขศาสตร์ป้องกันโรคที่ฟาร์ม
ดังคำกล่าวที่ว่า สุขภาพไก่ไม่ดี กำไรไม่มา นั้นถือได้ว่าเป็นคำกล่าวที่ถูกต้องที่สุด ซึ่งจุดมุ่งหมายสูงสุดของเจ้าของฟาร์มก็คือ จะต้องทำให้ไก่ที่เลี้ยงภายในฟาร์มมีสุขภาพที่ดีที่สุด ปัญหาของไก่ป่วย ไก่เคลียด น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ปัญหาการแห้งน้ำ หรือสุขภาพอ่อนแอ โดยมากแล้วมักจะขึ้นกับความต้านทานของสายพันธุ์ไก่เนื้อที่นำมาเลี้ยงด้วย ซึ่งถ้าลูกไก่ที่นำมาเลี้ยงภายในโรงเรือนเป็นลูกไก่ที่มีสุขภาพที่ดีแล้วทางฟาร์มจำเป็นที่จะต้องเตรียมโรงเรือนที่จะเลี้ยงไก่ให้สะอาดด้วย ไม่เช่นนั้นเชื้อโรคต่างๆมันก็จะสามารถที่จะติดเข้าไปลูกไก่ที่จะนำมาเลี้ยงได้ ซึ่งโดยปกติของการเลี้ยงไก่เนื้อแล้วก่อนที่จะมีการลงลูกไก่เลี้ยงในรุ่นต่อไปทางฟาร์มไก่เนื้อจะต้องมีการล้างทำความสะอาดโรงเรือนให้ดี ฆ่าเชื้อให้ดีและจะต้องมีระยะการพักโรงเรือนที่เหมาะสมด้วย เพื่อที่จะป้องกันไม่ให้เชื้อต่างๆที่อยู่ภายในโรงเรือนเข้ามาติดลูกไก่ โดยมากแล้วการติดเชื้อที่ก่อโรคทั้งหมดในไก่เนื้อมักจะมีการติดเชื้อจากฟาร์มที่มีการจัดการระบบสุขศาสตร์ป้องกันโรคที่ไม่ดี หรือฟาร์มที่เลี้ยงไก่นั้นสกปรก ซึ่งสุดท้ายแล้วถ้าฟาร์มเลี้ยงไก่สกปรกหรือมีเชื้อโรคมากก็จะมีผลทำให้ไก่ติดเชื้อ ป่วย และทำให้ผลผลิตไก่เนื้อที่ได้นั้นลดต่ำลง ในการจัดการระบบสุขศาสตร์ป้องกันโรคที่ดี ทางฟาร์มไก่เนื้อจำเป็นจะต้องมีระบบที่ดีตั้งเริ่มลงเลี้ยงไก่เนื้อ เพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อต่างๆภายในฟาร์มไก่เนื้อ ซึ่งสาเหตุของการแพร่กระจายก็มาจากหลายๆสาเหตุ เช่น แขกที่เข้าเยี่ยมฟาร์ม สภาพสิ่งแวดล้อมของฟาร์ม สัตว์พาหะ เป็นต้น ดังนั้นฟาร์มที่มีระบบสุขศาสตร์การป้องกันโรคที่ดี จำเป็นจะต้องปฏิบัติให้ถูกต้อง เช่น แขกที่จะเข้าเยี่ยมฟาร์มจำเป็นจะต้องมีการเปลี่ยนชุดใหม่ รองเท้าใหม่ ก่อนที่จะเข้าฟาร์มทุกครั้ง ในส่วนของการอาบน้ำก่อนเข้าฟาร์มนั้นถ้าทำได้ก็ถือได้ว่าเป็นระบบสุขศาสตร์ป้องกันโรคขั้นดีเยี่ยม และนอกจากนี้ในการเข้าเยี่ยมฟาร์มไก่เนื้อนั้นแขกที่เข้าฟาร์มจำเป็นจะต้องตรวจเยี่ยมฟาร์มไก่ที่อายุน้อยไปหาฟาร์มไก่เนื้อที่อายุมากเท่านั้น และที่สำคัญที่สุด การตรวจเยี่ยมฟาร์มจะต้องมีการเข้าฟาร์มไก่เนื้อที่สุขภาพดีก่อนแล้วค่อยเข้าฟาร์มไก่ที่ป่วยเป็นอันดับท้ายสุดของการตรวจเยี่ยม ในการเลี้ยงการจัดการไก่เนื้อนั้นเจ้าของฟาร์มจำเป็นที่จะต้องไม่ทำให้ไก่ที่เลี้ยงนั้นเคลียดเพราะว่ามันจะมีผลกระทบกับสุขภาพของไก่และผลผลิตไก่ตามมา ในส่วนของการทำวัคซีนไก่นั้นจำเป็นที่จะต้องมีโปรแกรมการจัดการที่เหมาะสมและแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นการจัดการที่ฟาร์มไก่เนื้อหรือการทำวัคซีนที่โรงฟัก ทั้งนี้เพื่อที่จะทำให้ไก่ที่นำมาเลี้ยงมีภูมิคุ้มกันต่อโรคต่างๆได้ ลักษณะของโปรแกรมวัคซีนที่ดีนั้นจะต้องทำวัคซีนที่เฉพาะต่อโรคที่พบภายในฟาร์ม และเมื่อมีการทำวัคซีนก็จะต้องเลือกชนิดที่ทำแล้วไม่ก่อให้เกิดความเคลียดกับเนื้อที่เลี้ยงด้วย ซึ่งการเลือกทำวัคซีนทุกชนิดจำเป็นจะต้องอยู่ภายใต้คำแนะนำของนายสัตวแพทย์และใช้ตามคำแนะนำของบริษัทผู้ผลิตวัคซีนอย่างเคร่งครัดด้วย

การตรวจสอบคุณภาพของลูกไก่ก่อนลงเลี้ยง
เมื่อลูกไก่มาถึงที่ฟาร์มแล้ว การจัดการไก่เนื้อในช่วง 24 ชั่วโมงแรกนั้น ถือได้ว่าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก ซึ่งเมื่อลูกไก่มาถึงที่ฟาร์มแล้วทางฟาร์มไก่เนื้อจะต้องทำการตรวจคุณภาพของลูกไก่ให้ดี ซึ่งคุณภาพของลูกไก่ที่จะตรวจวิเคราะห์ก็จะตามข้อกำหนดของแต่ละฟาร์ม หลังจากที่ตรวจวิเคราะห์เสร็จแล้ว เจ้าของฟาร์มจะต้องเร่งจัดการลูกไก่ในช่วง 1 ชั่วโมงแรกให้ดี ซึ่งถ้ามีการจัดการที่ดีแล้วก็จะส่งผลทำให้ไก่เนื้อที่เลี้ยงนั้นมีสุขภาพที่ดีตลอดช่วงการเลี้ยงและผลผลิตสุดท้ายก็จะได้ดีตามไปด้วย

พันธุกรรมของไก่
เมื่อ 2 ทศวรรษที่ผ่านมา ถ้าเราต้องการไก่เนื้อหนัก 4.4 ปอร์นต่อตัวเราจะต้องเลี้ยงไก่ที่อายุ 60 วัน แต่ถ้าเป็นปัจจุบันนี้เราจะใช้เวลาเลี้ยงที่อายุ 40 วันเท่านั้นเอง พันธ์ไก่เนื้อที่นำมาเลี้ยงในปัจจุบันี้พบว่า น้ำหนักไก่ที่สัปดาห์แรกจะเพิ่มขึ้นประมาณ 10% เมื่อเทียบกับเมื่อ 20 ปีที่แล้ว ไก่เนื้อในปัจจุบันนี้จะเป็นสายพันธ์ที่มีการเจริญเติบโตที่รวดเร็วมาก ดังนั้นการเลี้ยงการจัดการไก่เนื้อในปัจจุบันนี้จะต้องมีการปรับเปลี่ยนวิธีการให้เหมาะสมด้วย เพื่อให้ไก่เนื้อที่เลี้ยงเจริญเติบโตได้เหมาะสมกับสายพันธ์ที่นำมาเลี้ยง ดังนั้นถ้าฟาร์มไก่เนื้อที่มีการเลี้ยงการจัดการที่ไม่เหมาะสมกับสายพันธ์ของไก่ที่เลี้ยงแล้ว ย่อมจะทำให้ผลผลิตที่ได้มานั้นก็จะไม่คุ้มกับที่ลงทุนไป

คุณภาพของอากาศที่ใช้ในการเลี้ยงไก่
หลังจากที่มีการเตรียมโรงเรือน ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อแล้ว ก่อนที่จะทำการลงไก่เจ้าของฟาร์มไก่เนื้อจะต้องเข้าไปเตรียมอุปกรณ์สำหรับการกกไก่ภายในโรงเรือนให้เรียบร้อย ซึ่งสิ่งหนึ่งที่จำเป็นมากสำหรับลูกไก่ก็คืออากาศที่อยู่ภายในโรงเรือนเลี้ยงไก่เพราะว่าถ้าอากาศที่อยู่ภายในโรงเรือนไม่ดีแล้วมันก็จะมีผลกับลูกไก่ที่นำมาเลี้ยงด้วย ซึ่งก่อนที่จะนำลูกไก่เข้าไปภายในโรงเรือนเจ้าของฟาร์มจะต้องทำให้อากาศภายในโรงเรือนอุ่นก่อนเพื่อป้องกันไม่ให้ลูกไก่เครียด ลักษณะของอากาศภายในโรงเรือนที่ดีก็คือจะต้องเป็นอากาศแบบเดียวกับที่ใช้ในตู้ฟักขณะที่ฟักลูกไก่อยู่ที่โรงฟัก ลูกไก่ที่ขนส่งมาจากโรงฟักนั้นบางครั้งเราจะพบว่าลูกไก่มีอาการทางระบบหายใจเล็กน้อยเนื่องมาจากลูกไก่เกิดอาการระคายเคืองเนื่องจากแก็สที่อยู่ในตู้เกิดแต่อาการนี้มันจะเป็นเพียงชั่วคราวเท่านั้นเอง แก็สที่อยู่ในตู้เกิดก็คือแก็สฟอร์มันดีไฮด์ ซึ่งโรงฟักเค้าจะใส่เข้าไปในตู้เกิดเพื่อฆ่าเชื้อในอากาศและในไข่ที่เอาเข้าฟัก และนอกจากนี้รถขนส่งลูกไก่มาที่ฟาร์มก็จะต้องแน่ใจว่าอากาศที่อยู่ภายในรถนั้นสะอาดบริสุทธิ์ด้วย อากาศในรถขนส่งลูกไก่นั้นจะต้องมีการควบคุมแก็สคาร์บอนไดออกไซด์และแก็สแอมโมเนียให้อยู่ในเกณฑ์ที่มาตรฐานด้วยเพื่อป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับลูกไก่ที่ขนส่งไปที่ฟาร์มไก่เนื้อ ปัญหาที่กระทบกับลูกไก่ตามที่กล่าวมาแล้วนั้น เจ้าของฟาร์มจะเห็นได้ชัดเจนคือ ลูกไก่จะแสดงอาการซึม แห้งน้ำ ผอมแกร็น และในท้ายที่สุดลูกไก่ก็จะตาย ในช่วงของการกกลูกไก่ก็จะเป็นอีกช่วงหนึ่งที่มีความเสี่ยงมากคือ ถ้าเจ้าของฟาร์มเดินลมหรือปรับการระบายอากาศที่ต่ำๆแล้ว มันก็จะเกิดการสะสมของแก็สแอมโมเนียภายในโรงเรือนที่สูงขึ้นได้ ซึ่งถ้ามันมีมากจนถึงระดับที่เป็นพิษกับไก่แล้วมันก็จะส่งผลทำให้ลูกไก่ตายตามมาได้ วิธีการแก้ไขที่ง่ายมากๆสำหรับปัญหาการสะสมของแก็สพิษภายในโรงเรือนเลี้ยงที่สูงๆคือ เจ้าฟาร์มจะต้องเพิ่มการระบายอากาศให้มากขึ้นเท่านี้ก็จบแล้ว แต่ก็มีข้อแม้ว่าเจ้าของฟาร์มจะต้องรู้สาเหตุให้เร็วเท่านั้นเอง การจัดการอากาศภายในโรงเรือนให้สะอาดบริสุทธิ์นั้นเป็นสิ่งที่เจ้าของฟาร์มจะต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ ซึ่งวิธีการจัดการในรายละเอียดนั้นก็เป็นสิ่งที่แต่ละฟาร์มเลือกปฏิบัติให้เหมาะสมกับฟาร์มนั้นๆ ซึ่งจุดมุ่งหมายหลักก็เพื่อ ทำให้อากาศที่อยู่ภายในโรงเรือนเลี้ยงมีคุณภาพที่ดี ลูกไก่ไม่หนาวสั่น ลูกไก่ไม่ขนหยอง และจะต้องไม่ใช้พลังงานในการจัดการที่มากจนเกินไป และนอกจากนี้ ผู้จัดการฟาร์มจะต้องเข้าใจว่าลักษณะของอากาศที่อุ่นภายในโรงเรือนนั้นเป็นอย่างไร อากาศที่บริสุทธิ์จะต้องนำเข้าไปภายในโรงเรือนตลอดเวลา ไม่ว่าสภาพอากาศจากสิ่งแวดล้อมภายนอกโรงเรือนจะเป็นแบบใหนก็ตาม

การจัดการอุณหภูมิการกกไก่
ในการเลี้ยงไก่เนื้อปัจจุบันนี้จะใช้เวลาเลี้ยงที่สั้นมาก จากผลการศึกษาจะพบว่า หนึ่งในสามของช่วงชีวิตของไก่เนื้อจะเป็นช่วงที่มันไม่สามารถที่จะควบคุมอุณหภูมิภายในร่างกายของมันได้ อุณภูมิภายในร่างกายของมันจะมีการแปรผันไปตามอุณหภูมิของสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก เพราะว่าอวัยวะที่ใช้ในการควบคุมอุณหภูมิภายในร่างกายของไก่ยังพัฒนาไม่เต็มที่ ซึ่งถ้าพูดง่ายๆก็คือ ถ้าพูดถึงลูกไก่ก็จะเปรียบเสมือนเป็นสัตว์เลือดเย็นนั้นเอง ดังนั้นระบบการกกไก่จึงถือได้ว่าเป็นระบบที่มีความสำคัญมาก สำหรับการกกไก่ถ้ามีการจัดการที่ดีแล้วมันก็ย่อมจะส่งผลทำให้การเจริญเติบโตของไก่ที่เลี้ยงนั้นมีการเจริญเติบโตที่ดี ในการจัดการการกกไก่นั้นโดยทั่วๆไปแล้ว จะขึ้นอยู่กับสภาพของฟาร์ม พื้นที่ตั้งของฟาร์ม สภาพของบรรยากาศและสภาพภูมิประเทศนั้นๆ แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ในการกกไก่ที่ 24 ชั่วโมงแรก อุณหภูมิภายในโรงเรือนที่ยอมรับได้จะต้องอยู่ในช่วง 88 – 92 องศา F. ซึ่งจากการทดลอง ตามตารางที่ 1: เป็นการทดลองการกกไก่ที่อุณหภูมิที่แตกต่างกัน ทั้งหมดแบ่งออกเป็น 3 ช่วง ซึ่งพบว่าการกกไก่ที่อุณหภูมิไม่เหมาะสมจะมีกระทบต่อการเจริญเติบโตของไก่เช่น น้ำหนักไก่ลดลง ค่า FCR สูงขึ้น อัตราการตายสูงขึ้น และจะพบว่าค่าบ่งชี้การผลิตจะมีค่าลดลงเฉลี่ย 40 จุด ตามตารางที่ 1:
จากตารางจะพบว่า ที่อุณหภูมิการกกแบบหนาว จะทำให้ต้นทุนการผลิตต่อน้ำหนักไก่เป็นปอร์นมีค่าเพิ่มขึ้นเท่ากับ 1.6 เซนต์ต่อเปอร์น ในส่วนของเปอร์เซนต์การตายสะสมจะพบว่ามีค่ามากกว่า 8% และนอกจากนี้จะพบว่าเปอร์เซนต์ท้องมานจะมีค่า 5% ดังนั้นสรุปได้ว่าถ้าอุณหภูมิของการกกต่ำเท่าใรก็ยิ่งจะทำให้ผลผลิตต่ำลงเท่านั้น
ในการจัดการการกกที่ฟาร์มไก่เนื้อ ก่อนจะลงลูกไก่ เจ้าของฟาร์มจะต้องทำการวัดอุณหภูมิที่บริเวณกกไก่ก่อนทุกครั้ง โดยความสูงของจุดที่จะวัดอุณหภูมินั้นให้วัดสูงจากพื้นสิ่งรองนอนประมาณ 2 ซม. หลังจากเมื่อเราเตรียมทุกอย่างพร้อมแล้วก็ให้ทางฟาร์มลงไก่ และหลังจากที่มีการลงไก่แล้วเจ้าของฟาร์มก็จะต้องทำการตรวจติดตามพฤติกรรมของไก่ภายในโรงเรือนอย่างไกล้ชิด ซึ่งถ้าอุณหภูมิภายในโรงเรือนเหมาะสมก็จะพบว่าลูกไก่ที่ลงไปนั้นมีการกระจายตัวกันอย่างสม่ำเสมอภายในกก และที่สำคัญจะต้องจัดการให้ระบบการระบายอากาศมีความสม่ำเสมอด้วย ในความเป็นจริงแล้วสิ่งหนึ่งที่เจ้าของฟาร์มไม่ควรทำเป็นอย่างยิ่งคือ การสร้างสิ่งต่างๆขึ้นมาเพื่อโกหกตัวเอง เช่น การวัดอุณหภูมิกก ทั้งที่อุณหภูมิไม่ได้ตามกำหนดแต่ก็บอกว่าไม่เป็นไรสามารถที่จะลงไก่ได้ แบบนี้ถือได้ว่าเป็นสิ่งที่กระทำผิดอย่างมาก ดังนั้นผู้จัดการฟาร์มจะต้องมีความเข้าใจเป็นอย่างดีเกี่ยวกับพฤติกรรมของไก่ที่เลี้ยงและรู้ว่าไก่ที่เลี้ยงอยู่นั้นมันแสดงอาการเคลียดอยู่หรือไม่




การจัดการน้ำไก่กิน
โดยปกติแล้วไก่เนื้อที่เลี้ยงจะต้องได้รับน้ำและอาหารติดต่อกันอย่างน้อย 100 ชม.แรก หรือมากกว่า เพื่อที่จะนำไปใช้ในการกระตุ้นการดูดซึมสารอาหารต่างๆจากถุงไข่แดงมาใช้ได้อย่างเต็มที่ อย่างไรก็ตาม การให้น้ำและอาหารไก่กินก็มีข้อจำกัดอยู่เหมือนกัน ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ก่อนที่ลูกไก่จะนำมาลงเลี้ยงที่ฟาร์มลูกไก่ที่ฟักออกมาที่โรงฟักมันก็ไม่ได้รับน้ำและอาหารเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 8 ชม.อยู่แล้ว ซึ่งในช่วงระยะเวลาดังกล่าวนี้มันจะมีผลทำให้ลูกไก่เกิดการแห้งน้ำและน้ำหนักของลูกไก่วันแรกจะลดลงด้วย ในทางเดียวกันถ้าเรารู้ว่าการขนส่งลูกไก่จากโรงฟักไปที่ฟาร์มไก่เนื้อจะต้องใช้ระยะเวลาที่นานมากๆทางโรงฟักก็อาจจะต้องใส่อาหารพิเศษลงไปในกล่องลูกไก่ด้วยเพื่อให้ลูกไก่ได้กินในช่วงระหว่างการเดินทางจากโรงฟักมาที่ฟาร์ม ที่ฟาร์มไก่เนื้อเมื่อลูกไก่มาลงแล้วเจ้าของฟาร์มก็จะต้องทำการตรวจสอบคุณภาพของน้ำไก่กิน ความสะอาดของน้ำไก่กิน และอุณหภูมิภายในโรงเรือนตลอดเวลาด้วย ในกรณีที่ลูกไก่ได้รับน้ำที่สกปรกมันอาจจะเหนี่ยวนำทำให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรคได้และสุดท้ายมันก็จะส่งผลทำให้เกิดอาการท้องเสียตามมา หลังจากนั้นไก่มันก็จะป่วย เกิดอาการแห้งน้ำและก็จะตายในขณะที่ยังเป็นไก่รุ่นอยู่ ถ้าย้อนกลับมาที่เรื่องของการขนส่งลูกไก่อีกครั้งในกรณีที่มีการขนส่งลูกไก่ในระยะเวลาที่นานๆนั้น ผู้ที่ทำการขนส่งลูกไก่อาจจะให้น้ำกับลูกไก่ทุกๆ 3-4 ชม. ก็ได้และในส่วนของอาหารไก่นั้นอาจจะมีการพิจารณาตามความเหมาะสม ก็จะช่วยลดปัญหาที่เกิดกับการขนส่งลูกไก่ได้ และเมื่อนำลูกไก่มาลงที่ฟาร์มแล้วลูกไก่ที่ถูกขนส่งมาในช่วงระยะเวลาที่นานๆนั้น มันจะแสดงความอ่อนเพียรให้เห็นอย่างชัดเจน ดังนั้นเจ้าของฟาร์มอาจจะต้องเตรียมสารละลายที่มีรสหวานผสมกับน้ำให้ไก่กินด้วยเพื่อทำให้ลูกไก่สดชื่อ แข็งแรง ซึ่งสารละลายที่ว่านี้อาจจะเป็นน้ำตาลก็ได้ ซึ่งน้ำตาลนี้มันจะเป็นตัวที่จะเข้าไปแตกตัวให้พลังงานกับลูกไก่และไปกระตุ้นทำให้ลูกไก่สามารถที่จะกินน้ำกินอาหารได้มากขึ้นด้วย และนอกจากนี้น้ำตาลมันยังช่วยในการเจริญเติบโตของเซลล์ในลำไส้และช่วยในการย่อยอาหารภายในลำไส้ของลูกไก่ได้อีกด้วย หลังจากที่ให้น้ำตาลแล้วเจ้าของฟาร์มก็จะต้องให้วิตามินกับลูกไก่ต่อไปอีกประมาณ 3 วัน ซึ่งมันจะช่วยทำให้ร่างกายลูกไก่แข็งแรงสมบรูณ์ ในส่วนของน้ำที่ใช้ในการทำวัคซีนนั้น น้ำที่ใช้ในการทำวัคซีนจะต้องไม่มีสารคลอรีนผสมอยู่เพราะว่ามันจะทำให้วัคซีนตายได้ซึ่งจะมีผลทำให้การทำวัคซีนไม่ได้ผลตามมา ในส่วนของความเข้มข้นของคลอรีนในน้ำไก่กินควรที่จะอยู่ในช่วง 1-3 ppm. จะเหมาะสมที่สุด

ลูกไก่กับสภาพสิ่งแวดล้อม
การฟักลูกไก่ทุกวันนี้จะมีการทำในโรงฟักที่เป็นระบบปิดทั้งหมดแล้ว ซึ่งลูกไก่ที่ถูกฟักออกมานั้นก็จะอยู่ภายในระบบที่ถูกควบคุมทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นในส่วน อุณหภูมิ ความชื้น สภาพของอากาศ ดังนี้ลูกไก่ที่ถูกฟักออกมามันจึงมีความไวต่อสภาพสิ่งแวดล้อมมาก ซึ่งถ้าอุณหภูมิสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปนิดเดียวก็จะมีผลกระทบกับลูกไก่ทันที ดังนั้นสิ่งแวดล้อมต่างๆจะต้องจัดการให้ดี เช่น สิ่งรองนอนของไก่จะต้องนุ่มสะบาย อากาศภายในโรงเรือนจะต้องอุ่น สภาพพื้นที่ภายในโรงเรือนต้องสะอาด ดังนั้นลูกไก่ที่มาลงที่ฟาร์มภายใน 24 ชม. แรก เจ้าของฟาร์มจะต้องดูแลให้ดีเป็นพิเศษ

อุปกรณ์ภายในโรงเรือนเลี้ยงไก่
ก่อนที่จะมีการนำลูกไก่มาลงที่ฟาร์ม ผู้จัดการฟาร์มจะต้องแน่ใจว่าอุปกรณ์การกกไก่พร้อมเรียบร้อยแล้ว และพื้นที่ที่จะใช้ในการกกจะต้องมีเพียงพอด้วย ในพื้นที่กกไก่จะต้องประกอบไปด้วยอุปกรณ์การให้น้ำ อุปกรณ์การให้อาหาร อุปกรณ์ให้ความร้อน อย่างเพียงพอ และนอกจากนี้จะต้องตรวจสอบความพร้อมของอุปกรณ์ต่างๆว่าสามารถที่จะใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในส่วนของสิ่งรองนอนของไก่ก็จะต้องใหม่ สะอาดด้วย ในการจัดการพื้นที่กกไก่นั้นเจ้าของฟาร์มจะต้องตรวจสอบอุปกรณ์ต่างๆว่าวางถูกต้องหรือไม่ มีการกระจายตัวกันของอุปกรณ์ดีหรือไม่ ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นที่สำคัญที่ผู้จัดการฟาร์มจะต้องตรวจสอบให้ดีก่อนที่จะมีการลงไก่ เพราะนั้นหมายถึงว่าสุขภาพของไก่ที่เลี้ยงอยู่ การเจริญเติบโตของไก่ที่เลี้ยงอยู่ จะดีหรือไม่ดีตามมา

คุณภาพของสิ่งรองนอนไก่
ต่อไปเป็นเรื่องเกี่ยวกับสิ่งรองนอนของไก่ สิ่งรองนอนของไก่ที่มีลักษณะเน่า เหม็น ดำเก่า เปียกน้ำเหนียว จะต้องทำการตัดออกแล้วทำการเปลี่ยนใหม่โดยทันที โดยแกลบใหม่ที่เอาเข้าไปเปลี่ยนจะต้องเป็นแกลบที่สดใหม่เท่านั้น ในบางพื้นที่มีการเลี้ยงไก่แบบไม่เอาสิ่งรองนอนเก่าออก ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่ดีถึงแม้ว่าจะเป็นการลดต้นได้อีกแบบหนึ่งก็ตาม ในการเลี้ยงไก่นั้นลูกไก่ที่นำมาลงใหม่จำเป็นจะต้องกกในพื้นที่ที่เป็นแกลบใหม่ สด สะอาด เท่านั้น ดังนั้นถ้าจะเลี้ยงไก่โดยการไม่นำแกลบเก่าออกบริเวณที่จะกกไก่ก็จะต้องใช้แกลบใหม่เท่านั้น แต่ถ้าไม่สามารถที่จะเปลี่ยนแกลบเก่าบริเวณกกออกได้ ก็ให้เอากระดาษหนังสือพิมพ์ปูบริเวณกกแทนก็ได้ แต่วิธีนี้จะใช้ได้แค่ 24 ชม.แรกของการกกไก่เท่านั้น จุดมุ่งหมายของการทำแบบนี้ก็เพื่อที่จะลดการปนเปื้อนของเชื้อต่างๆจากสิ่งรองนอนเก่าเข้าไปสู่ตัวลูกไก่เพราะว่าในช่วงแรกๆนั้นระบบภูมิคุ้มกันในตัวลูกไก่ยังเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่ และนอกจากนี้ลูกไก่บางตัวที่สะดือปิดไม่สนิทก็จะมีโอกาศที่เชื้อต่างๆจะผ่านเข้าไปทางช่องรูสะดือได้ สภาพของสิ่งรองนอนที่จะนำมาใช้กับไก่ เจ้าของฟาร์มจะต้องพิจารณาให้ดีไม่ว่าจะเป็น ชนิดของสิ่งรองนอน ความละเอียดของสิ่งรองนอน อุณหภูมิของสิ่งรองนอน ความชื้นของสิ่งรองนอน ซึ่งทั้งหมดนี้มันก็จะมีผลกระทบกับลูกไก่วันแรกที่นำมาเลี้ยงที่ฟาร์มได้ ในการสูญเสียอุณหภูมิออกจากตัวไก่นั้นเป็นเรื่องที่ง่ายมากคือ เมื่อไก่ยืนอยู่บนสิ่งนอนที่เย็นๆความร้อนจากตัวไก่ก็จะใหลออกไปสู่สิ่งรองนอนนั้นทางขาของไก่ที่สัมผัสกับพื้น ซึ่งมันจะมีผลกระทบกับสุขภาพของไก่ตามมาได้ ดังนั้นก่อนที่จะมีการลงลูกไก่เจ้าของฟาร์มจะต้องมีการให้ความร้อนกับแกลบใหม่ก่อนเพื่อที่จะป้องกันปัญหาดังที่กล่าวมา ซึ่งโดยทั่วไปแล้วการให้ความร้อนกับสิ่งรองนอนใหม่ก่อนที่จะมีการลงลูกไก่นั้น มักจะมีการทำก่อนที่จะมีการลงลูกไก่ไม่น้อยกว่า 24 ชม. และก่อนที่จะลงลูกไก่จริงๆเจ้าของฟาร์มจะต้องตรวจสอบให้แน่ใจอีกครั้งหนึ่งว่าแกลบบริเวณกกไก่นั้นมันอุ่นแล้วจริงๆ จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้จะเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมาก การวัดอุณหถภูมิของสิ่งรองนอนของไก่นั้นถือได้ว่าเป็นเรื่องที่สำคัญ เจ้าของฟาร์มจำเป็นจะต้องมีอุปกรณ์ที่ใช้ในการวัดอุณหภูมินี้ ซึ่งโดยมากก็มักจะใช้เทอร์โมมิเตอร์ในการวัดอุณภูมิ แต่ถ้าจะให้ง่ายที่สุดถ้าไม่มีเครื่องมือวัด เจ้าของฟาร์มจะต้องถอดรองเท้าออกแล้วเดินเท้าเปล่าลงไปบนพื้นแกลบนั้นก็จะรู้ว่าแกลบนั้นมันอุ่นหรือมันเย็น

การจัดาการน้ำและอาหารของไก่เนื้อ
การจัดการสภาพสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวไก่ให้เหมาะสมจะช่วยทำให้ไก่เนื้อที่เลี้ยงอยู่ภายในโรงเรือนกินน้ำ กินอาหารได้ดีมากขึ้น โดยมากแล้วปริมาณการกินน้ำของไก่มักจะขึ้นอยู่กับสภาพอากาศภายนอกโรงเรือน ส่วนปริมาณการกินอาหารมักจะขึ้นอยู่ขนาดของเม็ดอาหารที่ให้ไก่กิน ลูกไก่ที่ฟักออกมาโดยปกติแล้วจะพบว่า 85% ของทั้งหมดจะมีสภาพที่เป็นปกติ และจะพบประมาณ 10% จะอยู่ในสภาพที่สูญเสียน้ำ ซึ่งนี่เป็นที่มาว่าเราทำไมจะต้องคัดไก่ในสัปดาห์แรก และจะพบว่าอีกประมาณ 20% จะอยู่ในสภาพที่แห้งน้ำ ซึ่งลูกไก่กลุ่มนี้อีกไม่นานมันก็จะตาย ดังนั้นสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ เจ้าของฟาร์มจะทำยังไงที่จะให้ลูกไก่ที่มาลงที่ฟาร์มวันแรกได้รับน้ำอย่างรวดเร็วหรือให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ และจะต้องกระตุ้นให้กินมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ด้วย ถ้าเจ้าของฟาร์มสามารถที่จะจัดการได้แบบนี้แล้วนั้นก็หมายถึงว่าน้ำหนักลูกไก่สัปดาห์แรกก็จะดีตามไปด้วย การจัดการต่างๆไม่ว่าจะเป็น การกกไก่ การจัดการน้ำ การจัดการอาหาร การจัดการสภาพสิ่งแวดล้อม อากาศ ที่มีความเหมาะสมกันแล้วก็ย่อมจะทำให้น้ำหนักไก่สัปดาห์แรกนั้นดีตามไปด้วยเสมอ สำหรับการกระตุ้นการกินอาหารของลูกไก่นั้นวิธีตรวจสอบได้ง่ายๆว่าลูกไก่กินอาหารได้ดีหรือไม่คือ ให้เจ้าของฟาร์มจับ Crop ของลูกไก่ใน 24 ชม.แรกดูว่ามีอาหารมากน้อยขนาดใหน ซึ่งถ้าจับดูแล้วพบว่าอาหารเต็ม Crop ในเวลาที่รวดเร็วนั้นก็แสดงว่าลูกไก่มีความแข็งแรงสมบรูณร์มาก แต่ถ้าจับดูแล้วพบว่าอาหารไม่เต็ม Crop นั้นแสดงว่าเจ้าของฟาร์มมีการจัดการที่ผิดพลาดอะไรสักอย่างหนึ่งแล้วล่ะ เจ้าของฟาร์มจะต้องหาสาเหตุและแก้ไขทันที ในการจัดการฟาร์มไก่เนื้อที่ดีนั้นทางฟาร์มจะต้องมีคู่มือการจัดการฟาร์มที่ถูกต้อง เมื่อเกิดปัญหาขึ้นจะต้องรีบหาทางแก้ไขปัญหาและเขียนวิธีการแก้ไขปัญหานั้นๆไว้อย่างชัดเจนด้วย แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ ปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นเจ้าของฟาร์มวิเคราะห์ได้ถูกต้องหรือไม่ และวิธีการแก้ไขปัญหานั้นถูกต้องหรือไม่ เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นอีกในครั้งต่อๆไป
สรุปและวิจารณ์
ก่อนที่ลูกไก่เนื้อจะมาถึงที่ฟาร์ม เจ้าของฟาร์มจะต้องทำการตรวจสอบสภาพของโรงเรือนว่าอยู่ในสภาพพร้อมที่จะรับลูกไก่หรือไม่ ตรวจสอบอุปกรณ์การกกไก่ว่าอยู่ในสภาพที่พร้อมที่จะกกไก่หรือไม่ ซึ่งลักษณะต่างๆดังที่กล่าวมาจะต้องอยู่ในสภาพที่ดีเท่านั้นเจ้าของฟาร์มถึงจะลงไก่ได้ แต่ถ้าสภาพดังกล่าวอยู่ในสภาพที่แย่หรือไม่ดีแล้ว เมื่อเจ้าของฟาร์มลงลูกไก่ไปแล้วและเลี้ยงไก่ต่อไปจนถึงไก่จับก็จะพบว่าการเจริญเติบโตของไก่ที่เลี้ยงนั้นจะช้าออกไปอีก 1000 ชม. โดยทั่วไปแล้วจะพบว่าถ้าการจัดการที่ไม่ดีแล้วไก่จะมีการเจริญเติบลดลงประมาณชั่วโมงละ 0.10% ต่อชั่วโมง และถ้าการจัดการใน 24 ชม.แรกไม่ดีแล้ว จะพบว่าลูกไก่มีการเจริญเติบที่ลดลดถึง 2.4% เลยทีเดียว ดังนั้นก็สรุปได้ง่ายๆว่า การเลี้ยงไก่เนื้อถ้าเจ้าของฟาร์มทำให้ไก่วันแรกหรือสัปดาห์แรกเจริญเติบโตที่ไม่ดีแล้ว มันก็ย่อมจะส่งกระทบกับการเลี้ยงไก่ทั้งวงจรการเลย และที่สำคัญที่สุดก็คือผลผลิตที่ได้ก็จะลดลงตามไปด้วย

ภาคผนวก
ตารางที่ 1: ตารางแสดงข้อมูลเกี่ยวกับการผลิตไก่ ว่ามีความสอดคล้องกับอุณหภูมิการกก ที่ระดับต่างๆอย่างไร ( ค่าในตารางจะเป็นค่าเฉลี่ยของไก่ที่เลี้ยงทั้งเพศผู้และเพศเมีย )
ค่าต่างๆที่ใช้วัดผลการทดลอง
88-90 F.
อากาศเย็น
อากาศหนาว
น้ำหนักเป็นกรัมที่อายุ 7 วัน
138.11
129.10
120.78
น้ำหนักไก่จับ เป็น กรัม
2335.98
2298.47
2258.38
น้ำหนักไก่จับ เป็น ปอร์น
5.145
5.063
4.974
ค่า FCR
1.803
1.829
1.862
ค่า ADG
55.62
54.73
53.77
% การคัดไก่
0.42
2.92
3.75
% ท้องมาน
1.67
1.67
5.00
% ตายสะสม
2.92
5.83
8.33
ค่าดัชนีผลผลิต ที่อายุ 42 วัน
299.42
281.72
264.68
ต้นทุนที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม (เซนต์ )
0.00
0.78
1.66


เอกสารอ้างอิง
· Butcher G.D.and Amir H. N. . 2008 . Broiler management : The first 24 hours , Institute of food and agricultural sciences , 7 July : 1 – 5 p.

ไม่มีความคิดเห็น: