วันพฤหัสบดีที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2551

งานวิชาการเดือน สค 2008

ปัญหาความผิดปกติของขาไก่ในการเลี้ยงไก่เนื้อ : อัตราการพบโรค , ปัจจัยเสี่ยงต่อโรค และแนวทางการป้องกันแก้ไข
( Leg Disorders in Broiler Chickens : Prevalence, Risk Factors and Prevention )

แปลและเรียบเรียงโดย น.สพ.ชัชวาลย์ สอนศรี
นายสัตวแพทย์ฝ่ายสุขภาพไก่เนื้อ ฟาร์มบริษัท
บ.สหฟาร์ม จำกัด และ บริษัท โกลเด็นไลน์ จำกัด 99 ม4 ต,ศิลาทิพย์ อ.ชัยบาดาล
จ.ลพบุรี 15130, Broiler red box. เดือน สค 2551
บทคัดย่อ
ปัจจุบันนี้การเลี้ยงไก่เนื้อในเชิงอุตสาหกรรม สายพันธุ์ไก่เนื้อที่นำมาเลี้ยงมักจะเป็นสายพันธุ์ที่มีการเจริญเติบโตที่รวดเร็วมาก เมื่อเปรียบเทียบกับการเลี้ยงเมื่อ 50 ปีที่ผ่านมาพบว่า อัตราการเจริญเติบโตของไก่เนื้อมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 300% ( คือจากเดิมจะเจริญเติบโตอยู่ที่ 25 g.ต่อวัน ในปัจจุบันนี้จะเจริญเติบโตอยู่ที่ 100 g.ต่อวัน ) ซึ่งปัญหาที่ตามมาคือ ไก่เนื้อที่มีการเจริญเติบโตที่รวดเร็วนั้นมันจะส่งผลทำให้ลักษณะการเดิน ท่าทางการเดิน ผิดปกติไป หรือถ้าเป็นมากๆไก่เนื้ออาจจะไม่สามารถเดินได้เลย ซึ่งในรายงานการวิจัยฉบับนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อที่จะศึกษาปัจจัยที่มีความเสี่ยงต่อปัญหาการเดินที่ผิดปกติของไก่เนื้อที่เลี้ยงอยู่ภายในฟาร์ม โดยได้มีการศึกษาท่าทางการเดินของไก่ทั้งหมดจำนวน 51,000 ตัว จากจำนวนไก่ทั้งหมด 4.8 ล้านตัว ในฟาร์มไก่เนื้อทั้งหมด 176 ฝูง ซึ่งจากการศึกษาทั้งหมดนี้พบว่าข้อมูลของการเลี้ยงการจัดการมีแตกต่างกันถึง 150 แบบ ในการศึกษาครั้งนี้จะทำที่ไก่อายุ 40 วัน พบว่าไก่เนื้อที่แสดงอาการเดินที่ผิดปกติหรือเดินได้น้อยจะเท่ากับ 27.6% และจะพบไก่อยู่เท่ากับ 3.3% ที่ไม่สามารถเดินได้เลย ซึ่งในการเลี้ยงไก่เนื้อนี้ ถ้าเราพบว่าไก่เนื้อที่เลี้ยงนั้นมีปัญหาการเดิน หรือเดินไม่ค่อยได้แล้วแนวทางการแก้ไขก็คือ ทางฟาร์มจะต้องทำการคัดไก่ที่มีปัญหาในการเดินนั้นออกจากฝูงทันที นอกจากนี้ในรายงานการวิจัยฉบับนี้ก็ได้มีการรายงานถึงปัญหาความเสี่ยงว่าเกิดขึ้นมาจากอะไรบ้างและเมื่อเป็นแล้วมันย่อมจะมีผลกระทบกับอัตราการเจริญเติบโตของไก่ตามมา ปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อปัญหาการเดินของไก่อย่างมีนัยสำคัญได้แก่ อายุของไก่เนื้อที่เลี้ยง ซึ่งจะพบว่า ถ้าเลี้ยงไก่ที่มีอายุมากๆก็จะพบปัญหาการเดินของไก่ หรือพบไก่แสดงอาการขาเจ็บอย่างมีนัยสำคัญ หลังจากนั้น ผู้ทำการวิจัยรายงานฉบับนี้ได้มีการเข้าไปตรวจเยี่ยมฟาร์มไก่เนื้อกลุ่มเดิมเป็นครั้งที่สอง โดยในครั้งที่สองนี้ได้ทำการสุ่มตรวจเป็นบางฟาร์ม จากสิ่งได้พบเมื่อเข้าไปตรวจเยี่ยมคือ เบื้องต้นก็จะมีการดูที่สายพันธุ์ของไก่ที่เลี้ยง อาหารที่ให้จะเป็นอาหารที่ไม่มีการผสมข้าวสาลี โปรแกรมแสงที่ใช้ในช่วงนั้นจะเป็นการปิดแสงในช่วงระยะเวลาสั้นๆในหนึ่งวัน เมื่อประเมินที่ความหนาแน่นของไก่ที่ลงเลี้ยงแล้วพบว่ามีความหนาแน่มาก เป็นไก่ที่ไม่มีการใช้ยาปฏิชีวนะ และอาหารที่ใช้นั้นจะเป็นอาหารชนิดเดียวกันกับที่ใช้ในไก่พันธุ์รุ่นด้วย นอกจากนี้ยังพบว่าฟาร์มนี้มีการนำระบบสวัสดิภาพของสัตว์มาใช้ภายในฟาร์มอย่างจริงจังด้วย ซึ่งจากข้อมูลทั้งหมดก็เชื่อแน่เลยว่าการจัดการของฟาร์มดังที่กล่าวมานี้จะเหมือนกับการจัดการฟาร์มของนักสัตวบาลประจำฟาร์มที่มีการดูแลไก่เนื้ออยู่ทั่วโลก โดยไก่เนื้อที่มีการจัดการแบบนี้น่าจะมีไม่น้อยกว่าสองหมื่อนล้านตัวทั่วโลก ซึ่งในรายละเอียดของรายงานนี้ได้มีการจำแนกปัจจัยต่างๆที่จะส่งผลกระทบต่อปัญหาขาเจ็บของไก่เนื้อออกเป็นส่วนๆ แต่ว่าอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ ถ้าเลี้ยงไก่ให้มีอัตราการเจริญเติบโตที่ต่ำลงและไม่เน้นไปที่ผลผลิตที่สูงมากนักปัญหาดังที่กล่าวมาก็จะลดลงตามไปด้วย และที่สำคัญที่จะขาดไม่ได้เลยคือ ข้อมูลสูตรอาหารไก่เนื้อที่นำมาใช้ในการเลี้ยงไก่เนื้อนั้นจำเป็นจะต้องมีมาประกอบกันด้วย ถึงจะทำให้การวิเคราะห์ปัญหาไก่ขาเจ็บในรายงานการวิจัยนี้ครบด้วยสมบรูณ์

คำสำคัญ : ความผิดปกติของขาไก่ , ไก่เนื้อ , ไก่ขาเจ็บ

บทนำ
ถ้าจะกล่าวถึงเรื่องของธุรกิจในเชิงเกษตรกรรมแล้ว อุตสาหกรรมการเลี้ยงไก่นั้นถือได้ว่าเป็นอุตสาหกรรมที่มีการพัฒนาและเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วมาก โดยเฉพาะการคัดสายพันุ์ของไก่เนื้อ ซึ่งทั่งนี้ในเชิงอุตสาหกรรมแล้วการเลี้ยงไก่เนื้อที่มีอัตราการเจริญเติบโตที่รวดเร็วและต้นทุนที่ต่ำนั้นถือได้ว่าเป็นสิ่งที่ต้องการของทุกๆคน ในปัจจุบันนี้สายพันธุ์ของไก่เนื้อที่เลี้ยงเพื่อนำเนื้อมาเป็นอาหารนั้นก็มักจะเป็นสายพันธุ์ที่มีลักษณะที่คล้ายๆกัน และนอกจากนี้รูปแบบของการเลี้ยงการจัดการไก่เนื้อก็จะเป็นรูปแบบที่ใหม่ ทั้งอุปกรณ์การเลี้ยงและการจัดการ และที่สำคัญก็คือการลงไก่เนื้อในปัจจุบันนี้จะมีความหนาแน่มากกว่าเมื่อสมัยก่อนมาก ส่วนอายุของการเลี้ยงทุกวันนี้ก็จะไม่เกิน 40 วันแล้ว แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ถึงแม้การเลี้ยงไก่เนื้อจะมีผลผลิตที่สูงขึ้น มีต้นทุนการเลี้ยงที่ต่ำลง แต่ปัญหาบางอย่างมันก็ยังคงพบได้อยู่ดี เช่น ระบบสวัสดิภาพของสัตว์ที่เลี้ยงภายในฟาร์มมักจะแย่ลง จะพบไก่แสดงอาการขาเจ็บเพิ่มมากขึ้น ไก่จะมีการเคลื่อนที่หรือเดินลดลง ซึ่งปัญหาดังที่กล่าวมานี้เจ้าของฟาร์มจำเป็นจะต้องตระหนักให้มากขึ้น
จุดเด่นของงานวิจัยฉบับนี้คือ จะเป็นการศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างวิธีการเลี้ยงการจัดการในฟาร์มไก่เนื้อกับปัญหาความผิดปกติของขาไก่เนื้อที่พบภายในฟาร์ม โดยหลักการแล้วในรายงานนี้จะมีการศึกษาวิจัยเน้นไปที่ส่วนประกอบของอาหารไก่เนื้อที่ใช้ว่ามีส่วนประกอบอะไรบ้างและส่วนผสมของอาหารนี้มันจะมีความเกี่ยวโยงไปหาปัญหาความผิดปกติของขาไก่เนื้อภายในฟาร์มได้หรือไม่ ส่วนเรื่องของโปรแกรมแสงนั้นจะมีการเปิดตลอด 24 ชั่วโมงเพื่อเป็นการกระตุ้นให้ไก่มีการลุกเดินที่มากขึ้น นอกจากนี้ปัญหาของขาไก่ที่ผิดปกตินี้ยังมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรมและสายพันธุ์ของไก่ด้วย ดังนั้นในการศึกษาวิจัยนี้ถ้าไม่มีการวางแผนการศึกษาที่ดีแล้ว มันก็ย่อมจะเป็นงานที่ยากมากๆ เพราะว่าฟาร์มเลี้ยงไก่เนื้อนั้นมีหลายรูปแบบ ดังนั้นในการศึกษาวิจัยนี้จะมีการใช้ฟาร์มไก่เนื้อที่เป็นฟาร์มที่มีการทำธุรกิจแบบครบวงจร หรือเป็นฟาร์มที่มีการเลี้ยงไก่เนื้อแบบที่เป็นระบบอุตสากรรมนั้นเอง ในการดูปัญหาของขาไก่ที่ผิดปกตินั้นจะเน้นไปที่คุณภาพของงานมากกว่าที่จะเป็นการวัดปริมาณของตัวไก่ที่พบ ในการวิจัยนี้ทางคณะผู้ที่ทำการวิจัยได้รับความร่วมมือจากหน่ายงานด้านสวัสดิภาพสัตว์ของประเทศอังกฤษ และหน่ายงานทางด้านการเกษตรของประเทศอังกฤษช่วยในการดำเนินงานให้งานเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ได้มีการวางเอาไว้

อุปกรณ์และวิธีการทดลอง
ในการทดลองวิจัยนี้ ได้มีการทำในฟาร์มไก่เนื้อที่อยู่ในประเทศอังกฤษจำนวน 5 ฟาร์ม ซึ่งทั้ง 5 ฟาร์มนี้ถ้านับจำนวนไก่เนื้อแล้วก็จะมีจำนวนไก่เนื้อมากกว่า 50% ของจำนวนไก่เนื้อทั้งหมดที่เลี้ยงในประเทศอังกฤษ แต่หลักๆแล้วจะมีการศึกษาวิจัยอยู่ภายใน 2 ฟาร์มหลักๆเท่านั้น ในการเก็บข้อมูลของการทดลองนั้นจะมีระบบการเก็บข้อมูลที่เป็นระบบโดยข้อมูลจะแยกกันในแต่ละฟาร์มอย่างชัดเจน ในส่วนของการตรวจเยี่ยมฟาร์มนั้นจะมีการตรวจเยี่ยมแบบสุ่ม ซึ่งจะเป็นการสุ่มทั้งฟาร์มที่ตรวจเยี่ยมและฝูงไก่ที่เลี้ยงในฟาร์มนั้นๆ เมื่อเข้าตรวจเยี่ยมที่ฟาร์มเพื่อดูปัญหาไก่ขาเจ็บและวิเคราะห์ไก่ขาเจ็บ จะมีการทำโดยนายสัตวแพทย์ ซึ่งนายสัตวแพทย์ที่ทำการวิเคราะห์ไก่ขาเจ็บนี้จะได้รับการฝึกอบรมเรื่องของการตรวจประเมินไก่ขาเจ็บก่อนเป็นเวลา 5 วันถึงจะสามารถที่จะไปปฏิบัติงานตรวจประเมินภายในฟาร์มได้ สัตวแพทย์ทั้งหมดที่ใช้ในการวิเคราะห์จะมีจำนวน 18 คน ซึ่งเป็นสัตวแพทย์ที่จบมาโดยตรงและผ่านทั้งการฝึกอบรมและการเลี้ยงไก่มาก่อนทั้งหมด และนอกจากนี้สิ่งที่มีความสำคัญมากที่สุดก็คือ สัตวแพทย์ทั้งหมดจะต้องผ่านการอบรมเรื่องระบบสวัสดิภาพของสัตว์ที่เน้นไปทางด้านการวิเคราะห์ปัญหาท่าทางการเดินของไก่ ซึ่งทั้งนี้ท่าทางการเดินของไก่จะประกอบไปด้วย 6 ระดับ หรือ 6 scores ( จะมีตั้งแต่ score 0 คือ ไก่เดินปกติ ไม่แสดงอาการเจ็บขา จนถึง score 5 คือ ไก่จะมีสามารถที่จะเดินได้เลย ไก่จะมีแต่นั่งอย่างเดียว ) ปัญหาของการวิเคระห์ไก่ขาเจ็บนั้น มันจะมีผลเกี่ยวโยงกับเรื่องอื่นๆของการเลี้ยงไก่มากกว่าที่จะคุยกันเฉพาะเรื่องการเดินของไก่ ดังนั้นบุคคลที่จะทำการวิเคราะห์ท่าทางการเดินของไก่ว่ามีปัญหาหรือไม่นั้น จะต้องเป็นผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมเรื่องท่าทางการเดินของไก่มาโดยเฉพาะ หัวข้อการอบรมหลักๆก็คือ ท่าทางการเดินของไก่ การวิเคราะห์ปัญหาไก่ขาเจ็บ ไก่เดินขโหยกขเยหยก ไก่เดินขากระตุก ปัญหาการเคลื่อนที่ไม่ปกติหรือไม่เป็นไปตามธรรมชาติ และปัญหาการเคลื่อนที่แบบต่างๆของไก่ภายในโรงเรือนที่แสดงออกมาผิดปกติจากธรรมชาติของมันออกไป ซึ่งหัวข้อที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น ทางผู้ที่ทำการวิเคราะห์ปัญหา หรือผู้ที่ทำการตรวจสอบจะต้องมีความเชี่ยวชาญในทุกหัวข้อทั้งหมดก่อนที่จะมาทำการเป็นผู้ตรวจ และนอกจากนี้วิธีการวิเคราะห์ปัญหาไก่ขาเจ็บ หรือท่าทางการเดินของไก่นั้นก็สามารถที่จะทำได้อีกหลายๆวิธีซึ่งทั้งนี้ วิธีที่ดีที่เหมาะก็น่าจะเป็นวิธีที่ใช้กันเป็นแบบสากลและทุกคนทั่วโลกให้การยอมรับด้วย ในหลักการของการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ก็เพื่อที่จะศึกษาปัญหาของไก่ขาเจ็บที่พบอยู่ภายในโรงเรือน และสามารถที่จะสืบย้อนกลับไปหาสาเหตุว่ามันน่าจะมีสาเหตุมาจากอะไรถึงเกิดปัญหาขึ้น ซึ่งจุดที่ยอมรับได้ของ score ที่ทำการวิเคราะห์จะอยู่ที่ค่ากลางของระดับของ score ทั้งหมด ซึ่งในที่นี้ก็คือ ที่ระดับ score 3 นั้นเอง โดยถ้า score ที่มากกว่า 3 จะทำการคัดไก่ออกจากโรงเรือนแล้วก็นำมาทำลาย ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้จะมีการใช้เวลาทั้งหมด 18 เดือน ซึ่งผู้ที่ทำการประเมินจะทำการส่งข้อมูลที่ทำการประเมินเพื่อทำการรวบรวมทั้งหมด 3 ครั้งคือ ครั้งที่ 1 ในช่วง 6 เดือนแรกของการวิจัย ครั้งที่ 2 คือในช่วงเดือนที่ 12 ของการวิจัย และครั้งสุดท้ายก็คือเดือนที่ 18 ของการวิจัย และเป็นเดือนที่จะทำการสรุปผลของการทดลองทั้งหมดด้วย ในการประเมินครั้งนี้จะมีการจัดทำเป็นวีดีโอด้วย เพื่อให้ง่ายต่อการวิเคราะห์และให้เป็นภาพที่ทุกคนสามารถที่จะนำไปศึกษาหรือนำไปอบรมต่อได้โดยสะดวก ระดับของ score ต่างๆที่ทำออกมาเป็นรูปแบบวีดีโอนั้นจะผ่านการประเมินจากหลายๆคนแล้ว่า สิ่งที่เห็นหรือท่าทางการเดินที่เห็นนั้นมันเป็นระดับของ score ที่ถูกต้องแล้ว ซึ่งในรายงานวิจัยนี้ก็ได้ทำการแนบไฟร์วีดีโอท่าทางการเดินของไก่ทั้ง 6 score มาด้วย จากไก่ทั้งหมดที่ใช้ในการศึกษา 176 ฝูงในการศึกษาครั้งนี้ จะเป็นการเข้าไปตรวจประเมินท่าทางการเดินของไก่ก่อนที่จะมีการจับไก่เข้าโรงเชือด ประมาณ 3 วัน ซึ่งทั้งนี้พอที่จะสรุปได้ง่ายๆคือ เมื่อเข้าไปทำการประเมินท่าทางการเดินของไก่ภายในโรงเรือนนั้น จะต้องเดินตรวจเป็นแบบสุ่ม ไม่เลือกไก่เฉพาะเจาะจง ซึ่งเมื่อเดินไปในโรงเรือนถ้าพบไก่นั่งไม่ลุกเดินก็จะนับเป็น 1 ตัว ซึ่งผลที่ได้คร่าวๆจากการเดินสำรวจคือ กลุ่มไก่เนื้อภายในโรงเรือนประมาณ 250 ตัวเดินตรวจ จะพบไก่ที่ไม่เดินประมาณ 10 ตัว อยู่ภายในฝูง หรือคิดเป็น 4% ของฝูงก็ว่าได้
ในการศึกษาครั้งนี้ จะพบว่าจะมีไก่เนื้อที่ทำการศึกษาทั้งหมด 56 ฝูงจากทั้งหมด 176 ฝูงของทั้งหมด ที่ไม่ได้มีการจับระบายไก่ก่อนส่งโรงงาน แต่ว่าก็มีอีกหลายฝูงหรือหลายๆฟาร์มที่มีการจับไก่ระบายออกก่อนที่จะจับไก่ส่งโรงงานอย่างน้อย 1 วันถึง 1 สัปดาห์ หลักการเลี้ยงไก่เนื้อทั่วไปแล้ว อัตราการเจริญของไก่เนื้อที่เป็นผู้จะมีการเจริญเติบโตที่มากกว่าไก่ตัวเมียเสมอ ปัญหาเนื่องจากการจับระบายในฟาร์มไก่เนื้อที่ได้ข้อมูลจากการเข้าตรวจเยี่ยมทั้งหมด 30 ฟาร์มจากฟาร์มทั้งหมด 176 ฟาร์ม พบว่ามันเป็นปัญหามาก โดยเฉพาะปัญหาในส่วนของการจับระบายก่อนจับไปจริงทั้งหมด 1 – 3 วัน ดังนั้นการตรวจวิเคราะห์ปัญหาไก่ขาเจ็บหรือท่างการเดินของไก่จะต้องมีการตรวจแบบสุ่ม เพื่อให้ได้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือที่มากขึ้น
จุดมุ่งหมายหลักของการทดลองวิจัยในครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายหลักคือ เพื่อที่จะศึกษาหาสาเหตุของปัญหาไก่ขาเจ็บที่เกิดขึ้นในการเลี้ยงไก่เนื้อ และนอกจากนี้เพื่อให้ได้เป็นข้อมูลที่ใช้ในการเลี้ยงการจัดการไก่เนื้อของนักสัตวบาลที่ทำงานอยู่ภายในฟาร์ม เพื่อป้องกันไม่ให้ไก่เนื้อที่เลี้ยงอยู่มีปัญหาขาเจ็บตามมา ซึ่งข้อมูลต่างๆที่ได้มานี้ ก็จะได้มาจากการสัมภาษณ์เจ้าหน้าของฟาร์มนั้นๆ โดยคำถามที่นำมานั้น ก็จะเป็นคำถามเหมือนกันทั้งหมด ซึ่งชุดคำถาม 1 ชุดจะมีคำถามอยู่ทั้งหมด 136 คำถาม ซึ่งรายละเอียดของคำถามก็จะเริ่มตั้งแต่เรื่องของ พ่อ-แม่พันธุ์ที่นำลูกไก่ลงมาเลี้ยงภายในฟาร์ม ประสิทธิภาพของการฟักของไก่ที่โรงฟัก ระยะห่างระหว่างโรงฟักกับฟาร์มไก่เนื้อ ระยะเวลาในการขนส่งลูกไก่จากโรงฟักมาที่ฟาร์มไก่เนื้อ และรวมถึงการทำวัคซีนที่โรงฟักด้วย ในส่วนที่ฟาร์มไก่เนื้อก็จะมีข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ จำนวนของไก่เนื้อที่ลงเลี้ยง น้ำหนักลูกไก่วันแรก เพศของไก่ และเวลาทั้งหมดที่ใช้ในการลงลูกไก่ และยังรวมไปถึงวันที่ทำการลงลูกไก่ด้วย ส่วนของคำถามที่เกี่ยวข้องกับนักสัตวบาลประจำฟาร์มคือ ความหนาแน่นของไก่ที่ลงเลี้ยง และในการเลี้ยงฝูงนี้จะมีการจับไก่ระบายหรือไม่ ถ้าจับจะจับออกจำนวนเท่าใหร่ สูตรอาหารที่ใช้ในการเลี้ยงไก่มีอะไรบ้าง ลักษณะของฟาร์มและลักษณะของโรงเรือนที่ใช้ในการเลี้ยงไก่ นอกจากนี้จะต้องมีบันทึกสุขภาพของไก่ในฝูงนั้นๆ อัตราการเจริญเติบโต อัตราการตายต่อวันและสะสม และนโยบายการคัดไก่ว่าจะทำการคัดไปแบบใหนบ้าง ในส่วนสุดท้ายของชุดคำถาม ก็จะเป็นเรื่องของพนักงานที่ทำงานภายในฟาร์ม โดยจต้องบอกว่า ในหนึ่งวันเดินตรวจไก่ภายในโรงเรือนกี่ครั้ง ระบบสุขศาสตร์ป้องกันโรคภายในฟาร์มปฏิบัติอย่างไร และนโยบายในการเลี้ยงไก่ของฟาร์มนี้เป็นยังไง หลังจากที่ได้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัวแล้ว หลังนาจากนั้น นายสัตวแพทย์ก็จะต้องมีการนำข้อมูลนั้นมาพิจารณาดูว่า มันสัมพันธ์กับระบบการระบายอากาศหรือไม่ หรือในขณะนั้นการระบายอากาศของโรงเรือนเป็นยังไงบ้าง ตลอดจนอุณหภูมิ สภาพบรรยากาศโดยทั่วไปและ คุณภาพของอาหารไก่ที่กินด้วย

ระบบการวิเคราะห์ข้อมูล
ในรายงานการวิจัยนี้จะใช้รูปแบบการวิเคราะห์เป็นแบบเชิงสถิติ ซึ่งค่าต่างๆที่นำมาวิเคราะห์จะเป็นค่าเฉลี่ยของคะแนนท่าทางการเดินของไก่ที่ตรวจประเมินได้ที่ฟาร์ม โดยโปรแกรมสถิติที่ใช้จะเป็นโปรแกรมสำเร็จรูปที่เรียกว่า MLwiN 2.01 ซึ่งค่าที่จะทำการวิเคราะห์นั้น จะทำการวิเคราะห์ทั้งข้อมูลที่อยู่ภายในฝูงไก่เอง และจะทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบข้อมูลระหว่างฝูงไก่ในฟาร์มอื่นๆด้วย

ผลการทดลอง
สรุปข้อมูลทั้งหมดที่ได้จากการสำรวจในฟาร์มไก่เนื้อ ซึ่งเป็นข้อมูลที่พบในส่วนของคะแนนท่าทางการเดินของไก่ในฟาร์มไก่เนื้อก่อนที่จะมีการจับไก่ส่งโรงงาน ซึ่งรายละเอียดของข้อมูลที่ได้จะมีรายละเอียดตามตารางที่ 1: ซึ่งในรายละเอียดตามตารางที่ 1: นั้น จะเป็นการคำนวนตัวเลขที่ได้จากการตรวจประเมินท่าทางการเดินของไก่ภายในฟาร์มไก่เนื้อ โดยจำนวนของไก่ที่ทำการตรวจประเมินในแต่ละฟาร์มนั้น จะดูจากจำนวนของไก่เนื้อที่ลงเลี้ยงในฟาร์มนั้นๆว่า มีจำนวนไก่เนื้อมากน้อยขนาดใหนแล้วจะทำการสุ่มตรวจไก่จำนวนกี่ตัว ค่าต่ำสุดและค่าสูงสุดที่ได้ในตารางที่ 1: นั้น จะเป็นค่าที่ทำการวิเคราะห์ได้ในหลายๆฟาร์มที่ทำการตรวจประเมิน แต่จากข้อมูลทั้งหมดที่วิเคราะห์ได้ จะพบว่าระดับคะแนนท่าทางการเดินของไก่ตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไปจนถึง 5 นั้น จะพบว่ามีจำนวนถึง 27.6 % ของฝูงเลยทีเดียว
จากตารางที่ 2 : จะเป็นข้อมูลที่แสดงจำนวนของไก่ที่พบปัญหาขาเจ็บทั้งหมด 5 ฟาร์มที่เข้าตรวจประเมิน ซึ่งข้อมูลที่แสดงจะเป็นข้อมูลที่ได้มาจากการตรวจประเมินทั้งครั้งที่ 1 และ 2 จากข้อมูลที่ได้จะพบว่า มันจะมีความหลากหลายของข้อมูลมาก ซึ่งจากการตรวจประเมินครั้งที่ 1: พบว่าปัญหาไก่ขาเจ็บที่มีระดับท่าทางการเดินที่มากกว่า 3 ขึ้นไปนั้น ฟาร์มที่ 4: จะพบ 8.5% ส่วนฟาร์มอื่นๆจะพบ 22.7% หรือ 29.7% หรือถ้าจะประเมินตั้งแต่ ระดับคะแนนการเดินที่มากกว่า 4 ขึ้นไป จะพบว่าฟาร์มที่ 4: จะพบ 0.6% ส่วนฟาร์มอื่นๆ จะพบ 1.3% หรือ 4.2% เลยทีเดียว ในตารางที่ 2 : จะเห็นว่าฟาร์มที่ 1,4 และ 5 จะมีค่าระดับคะแนนการเดินที่แย่กว่าฟาร์มอื่นๆเสมอเมื่อมีการตรวจประเมินครั้งที่ 2
ค่าเฉลี่ยของระดับคะแนนการเดินของไก่ที่ได้จะการตรวจประเมินในครั้งนี้จะเป็นค่าที่ได้จากการประเมินของนายสัตวแพทย์ที่ได้รับการฝึกอบรมมา แต่ถ้าเป็นการประเมินโดยบุคคลอื่น หรือนักสัตวบาลประจำฟาร์มแล้วละก็ ผลของการประเมินท่าทางการเดินของไก่นั้นอาจจะมีส่วนเบี่ยงเบนที่สูงมาก หรือได้ค่าคลาดเคลื่อนที่สูงมากก็ได้ อีกปัจจัยหนึ่งที่มีผลกระทบมากคือ อายุของไก่ที่เลี้ยง ซึ่งถ้าอายุมากก็จะพบมากตามไปด้วย และอีกอย่างหนึ่งปัญหานี้มีจะมีความแปรผัวกับฤดูกาลที่พบอีกด้วย ดังนั้นในการทดลองวิจัยนี้จึงได้มีการนำปัจจัยทั้ง 2 อย่างเข้ามาวิเคราะห์ร่วมด้วย ซึ่งการพิจารณาปัจจัยที่เกี่ยวข้องนี้จะได้รับความร่วมมือที่ดีจากนักสัตวบาลประจำฟาร์มเป็นอย่างมาก ซึ่งจากการประเมินในครั้งนี้จะมีการทำอยู่ทั้งหมด 12 เดือน ซึ่งเมื่อได้ข้อมูลมาก็จะนำมาทำเป็นกราฟแล้วก็จะพบว่า ปัญหาไก่ขาเจ็บที่พบนั้นมีจะมีความแปรผันขนาดใหนซึ่งทั้งนี้ให้ทำการดูได้ที่กราฟรูปที่ 1: ซึ่งถ้าดูจากกราฟแล้วจะพบว่า ในแต่ละเดือนจะพบความเปลี่ยนแปลงของระดับท่าทางการเดินของไก่ที่ชัดเจน ซึ่งค่าที่นำมาแสดงนั้นมันจะเป็นค่าเฉลี่ยของข้อมูลที่ได้จากการประเมินในแต่ละเดือนรวมทั้งหมด 12 เดือน ซึ่งภาพก็จะเห็นตามกราฟ
ในการออกตรวจประเมินในครั้งนี้ ทุกครั้งที่คณะผู้ออกตรวจประเมินไปประเมินที่ฟาร์ม ก็จะได้มีการจดบันทึกข้อมูลต่างๆไว้อย่างครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นระดับคะแนนท่าทางการเดินของไก่ ปัจจัยที่มีผลต่อการทดลองต่างๆ ซึ่งรายละเอียดสามารถที่จะดูได้จากตารางที่ 3: ซึ่งในรายละเอียดนั้น ในการทดลองก็จะต้องมีการวางแผนเอาไว้แล้วว่าจะมีการเฉลี่ยปัจจัยที่มีผลกี่ยวข้องในแต่ละช่วงของการทดลองยังไงดี เพื่อไม่ให้ปัจจัยต่างๆมีผลทำให้การทดลองนั้นผิดพลาด และส่วนที่สำคัญอย่างหนึ่งก็คือ ปัจจัยแต่ละฟาร์มที่เข้าไปทดลองนั้นก็ไม่เหมือนกัน ดังนั้นผู้ที่จะเข้าไปตรวจประเมินจะต้องกำจัดปัจจัยดังที่กล่าวมานี้ด้วย แต่ว่าในการทดลองครั้งนี้ทางคณะผู้วิจัยก็ได้มีความพยายามที่กำหนดปัจจัยในแต่ละฟาร์มที่เข้าตรวจประเมินนั้นให้มีค่าที่เหมือนๆกันเพื่อลดปัจจัยที่จะกระทบดังที่กล่าวมา โดยปัจจัยที่กล่าวมาทั้งหมดที่เป็นตัวที่รบกวนการทดลองก็จะมีการแสดงรายละเอียดไว้ในตารางที่ 3: ในส่วนของค่าที่วัดได้คือ ค่าเฉลี่ย ค่าต่ำสุดและค่าสูงสุดนั้น จะมีการแสดงเอาไว้ดังตารางที่ 4 :
จากการทดลองนี้ ถ้าเรามีการกำหนดปัจจัยต่างๆดังที่กล่าวมาให้มีค่าคงที่ เมื่อทำการวิเคราะห์ที่ได้ก็จะได้ข้อมูลดังตารางที่ 3 : และรูปที่ 1: และถ้าดูจากรูปที่ 1 : แล้วจะเห็นว่า เดือน มีนาคม จะเป็นเดือนที่มีค่าปัญหาไก่ขาเจ็บต่ำที่สุด และเดือนที่จะพบมากที่สุดคือ เดือน กันยายน ดังภาพที่ 1 : แต่ถ้ากลับมาพิจารณาเรื่องของปัจจัยที่เราได้กล่าวมา เช่น เรื่องของอายุไก่ที่จับนั้น มันจะเป็นปัญหาที่มีส่วนที่เกี่ยวข้องกับปัญหาไก่ขาเจ็บมาก ซึ่งถ้าดูตัวเลขของไก่ขาเจ็บที่อายุตั้งแต่ 28 วัน ถึง 56 วัน จะมีค่าที่แตกต่างกันมาก ซึ่งถ้าเอาตัวเลขจากช่วงที่กล่าวมา มาหาค่าเฉลี่ยของปัญหาไก่ขาเจ็บ จะพบว่าในแต่ละวันที่อายุไก่เพิ่มขึ้น จะมีผลทำให้พบปัญหาไก่ขาเจ็บเพิ่มขึ้น 0.048 % ต่อวัน จากตัวอย่างที่กล่าวมา เราจะเห็นได้ง่ายมากคือ หลังจากที่เรามีการเข้าไปตรวจประเมินที่ฟาร์มไก่เนื้อแล้ว ก็พบปัญหาไก่ขาเจ็บที่มากๆนั้น หลังจากนั้นก็ให้เราสืบย้อนกลับไปที่โรงเชือดว่าน้ำหนักไก่ที่จับส่งเข้าโรงเชือดนั้นมันมากน้อยขนาดใหน ซึ่งจากข้อมูลโดยมากแล้วจะพบว่าปัญหาไก่ขาเจ็บมากที่พบที่ฟาร์มก็มักจะพบว่าน้ำหนักของไก่ที่จับส่งเข้าที่โรงเชือดนั้นมันก็จะมากติดตามไปด้วยเสมอ แต่ถ้ากลับมาดูที่ไก่กลุ่มที่มีการจับระบายภายในฝูงนั้น จะพบว่าช่วงที่มีการจับระบายนั้นจะมีค่าคะแนนท่าทางการเดินของไก่นั้นจะมีค่าตั้งแต่ 0.25 ขึ้นไป และหลังจากนั้นจะพบว่าไก่กลุ่มที่เหลือที่เลี้ยงอยู่ภายในฟาร์มนั้นมันจะมีการพัฒนาระดับของคะแนนท่าทางการเดินของไก่เพิ่มขึ้นตามอายุที่มีการเลี้ยง การจับไก่แบบระบายนั้น มันจะส่งผลทำให้ไก่เกิดความชื้นมาก ปัญหาไก่ขาเจ็บที่พบมากขึ้นนั้นมันมักจะมีความแปรผันตามน้ำหนักไก่ที่มากขึ้น ซึ่งมักพบกับไก่ที่เป็นสายพันธุ์ที่มีการเจริญเติบโตที่รวดเร็ว ไก่เพศผู้มักพบมากกว่าเพศเมีย
ในการจัดการปัญหาไก่ขาเจ็บนั้น จะต้องมีการฝึกอบรมนักสัตวบาลประจำฟาร์มให้ดีด้วยเพื่อที่จะได้ช่วยป้องกันไม่ให้ไก่ที่เลี้ยงอยู่ภายในฟาร์มไม่ให้พบไก่ขาเจ็บขึ้นภายในฟาร์ม
ถ้าจะกล่าวกันโดยทั่วไปแล้ว ปัญหาหลักๆที่จะทำให้เกิดปัญหาไก่ขาเจ็บนั้นโดยส่วนมากแล้วมักจะเกิดจากสายพันธุ์ของไก่ที่เลี้ยง ซึ่งไก่เนื้อที่เลี้ยงอยู่ในโลกนี้มักจะมีอยู่ 2 สายพันธุ์ แต่ในการทดลองนี้จะกำหนดสายพันธุ์ ที่เป็นระหัสคือ สายพันธุ์ A. และสายพันธุ์ B. แต่ว่าถ้าการเลี้ยงการจัดการภายในฟาร์มหนึ่ง ที่ประกอบด้วยทั้งไก่ 2 พันธุ์นี้ แต่ว่าวิธีการเลี้ยงทั้ง 2 พันธุ์ไม่เหมือนกันก็ย่อมจะมีผลทำให้ปัญหาไก่ขาเจ็บของทั้ง 2 สายพันธุ์นั้นแตกต่างกันด้วย ซึ่งโดยมากแล้วจะพบในไก่สายพันธุ์ที่มีการเจริญเติบโตที่มากกว่า หรือมีการเจริญเติบโตที่รวดเร็วกว่าเท่านั้น
ในส่วนเรื่องของอาหารไก่ที่กินนั้น ถ้ามีการผสมข้าวสาลีเข้าไปด้วยแล้ว มันจะช่วยทำให้ประสิทธิภาพของการย่อยของอาหารในลำไส้ไก่ดีขึ้น โดยปริมาณของข้าวสาลีที่จะนำมาใช้นั้นโดยมากแล้วจะใส่ประมาณ 0-30% ของสูตรอาหาร การใช้อาหารแบบนี้จะมีการใช้อยู่ประมาณ 3 สัปดาห์ของการเลี้ยงไก่ ซึ่งผลที่ได้จะพบว่า จะมีผลทำให้พบปัญหาไก่ขาเจ็บลดลง 0.017 % ของไก่ที่เลี้ยงภายในฝูง
หลักของการเลี้ยงไก่เนื้อ โดยทั่วไปแล้วจะมีการใช้แสงที่มาจากหลอดไฟฟ้าเป็นตัวให้แสงสว่างภายในโรงเรือน ซึ่งในการทดลองนี้จะมีการปิดแสง 1 ชม. ต่อวัน โดยวิธีการปิดแสงคือ จะมีการปิดแสงเพิ่มขึ้นวันละ 1 ชม. ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะมีช่วงของการปิดอยู่ 0 ถึง 8.5 ชม. จากผลการทดลองจะพบว่าปัญหาไก่ขาเจ็บจะลดลง 0.079 % ของฝูง
ในส่วนของระดับความหนาแน่นของไก่ที่เลี้ยงภายในฝูงนั้น มันก็จะเป็นปัจจัยอีกอย่างหนึ่งที่จะมีผลกระทบกับปัญหาไก่ขาเจ็บที่พบภายในฝูง ซึ่งถ้าความหนาแน่นของไก่ที่ลงภายในฝูงนั้นน้อยไม่มากจนเกินไปก็จะมีผลทำให้ขาไก่แข็งแรงขึ้นมาก แต่จากงานทดลองนี้จะพบว่า ถ้าน้ำหนักไก่เพิ่มขึ้นทุกๆ 1 kg/ตร.ม. ของทุกครั้งที่เข้าตรวจเยี่ยมแล้ว ( การตรวจสอบจะเริ่มจาก น้ำหนัก 15.99 – 44.8 kg/ตร.ม. ) มันจะมีผลทำให้ปัญหาไก่ขาเจ็บที่เพิ่มขึ้นในฝูงประมาณ 0.013 %
ในส่วนเรื่องของยาปฏิชีวนะที่ใช้ในการเลี้ยงไก่เนื้อนั้น โดยมากแล้วก็จะมีการใช้ในรูปแบบที่แตกต่างกันไปและจุดประสงค์ของการใช้ก็จะแตกต่างกันไปด้วย โดยปกติแล้วการใช้ยาปฏิชีวนะในฟาร์มนั้น เกษตรกรที่เลี้ยงไก่ก็จะมีการใช้กันเองภายในฟาร์ม และปัญหานี้ก็มักจะเป็นปัญหามากเพราะว่า การใช้ยาปฏิชีวนะโดยฟาร์มเองนั้นมักจะมีการใช้ในปริมาณที่มากๆ หรือใช้นอกเหนือจากที่กำหนด ซึ่งก็ย่อมจะส่งผลทำให้เกิดผลเสียตามมาได้ แต่จากการสอบถามถึงประวัติของการใช้ยาจะพบว่า ถ้าฟาร์มเกษตรกรมีการใช้ยาจะมีผลทำให้ปัญหาไก่ขาเจ็บลดลง 0.17% ของฝูง
สำหรับลักษณะของอาหารไก่ที่ใช้นั้น ถ้าไก่ได้กินอาหารที่มีลัษณะที่เป็นเม็ดโดยตลอดแล้ว มันจะมีผลทำให้ปริมาณการกินอาหารของไก่นั้นดีขึ้น ซึ่งในการทดลองนี้จะเป็นกรศึกษาความแตกต่างของอาหารไก่กินที่ใช้ระหว่างอาหารที่เป็นเม็ดกับอาหารที่เป็นผงว่าจะส่งผลกับปัญหาไก่ขาเจ็บหรือไม่ ซึ่งผลการทดลองจะพบว่า ไก่ที่กินอาหารที่เป็นผงจะทำให้ปัญหาไก่ขาเจ็บลดลง 0.15 % ของฝูง ซึ่งจากที่ผู้แปลเข้าใจน่าจะเกิดขึ้นเนื่องจาก ไก่กินอาหารผงได้น้อย อัตราการเจริญเติบโตน้อย ก็เลยทำให้ปัญหาไก่ขาเจ็บลดลงตามไปด้วย
ในการทดลองนี้ ถ้าดูที่ตารางที่ 3 : แล้วจะพบว่า ค่าปัจจัยต่างๆ นั้นโดยมากแล้วมันไม่สามารถที่จะบอกได้เลยว่าจะเป็นปัจจัยหลักที่จะทำให้ไก่ขาเจ็บเพิ่มขึ้นหรือลดลง เพราะว่าโดยหลักแล้วในการประมาณค่าต่างๆของการจัดการนั้นเราได้มีการประมาณแต่ค่าที่เป็น kg. , ชม. , หรือเป็น วัน เท่านั้น ในกรทดลองครั้งต่อไป จะต้องมีการควบควบคุมปัจจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้องให้ดีกว่านี้ และนอกจากนี้ในการปฏิบัติงานของนักสัตวบาลประจำฟาร์มก็จะต้องเน้นไปที่คุณภาพของงานมากกว่าที่จะเน้นไปถึงเรื่องของการลดต้นทุนในการเลี้ยงไก่ภายในฟาร์ม จากผลการเลี้ยงไก่ภายในฟาร์มซึ่งพบว่า ถ้าเลี้ยงไก่ระหว่างสายพันธุ์ A กับสายพันธุ์ B ถ้านักสัตวบาลเลี้ยงด้วยวิธีการที่แตกต่างกันแล้วมันจะส่งผลทำให้ปัญหาไก่ขาเจ็บที่พบแตกต่างกันถึง 0.24% และนอกจากนี้ ในเรื่องของความหนาแน่นของการเลี้ยง จะพบว่าถ้าลดความหนาแน่นของการเลี้ยงมาอยู่ที่ 18.5 kg./ตร.ม. แล้วจะส่งผลทำให้ปริมาณของไก่ขาเจ็บที่พบภายในฟาร์มนั้นน้อยมาก และนอกจากนี้ ปัจจัยอย่างหนึ่งที่ไม่ได้นำมาวิเคราะห์คือ คุณภาพของฟาร์มไก่เนื้อที่เลี้ยงนั้นดีมากน้อยขนาดใหน และการบันทึกในแต่ละครั้งที่เข้าไปตรวจประเมินนั้นมีการบันทึกข้อมูลดีมากน้อยขนาดใหนด้วย ซึ่งจากรูปภาพที่ 2: จะพบว่า ปริมาณของไก่ขาเจ็บที่มีระดับคะแนนท่าทางการเดินที่น้อยกว่า 2.5 นั้น จะแสดงให้เห็นว่าแนวโน้มของปัญหาไก่ขาเจ็บที่พบจะมีตั้งแต่ 0 ไปจนถึงค่ากลางของคะแนนท่าทางการเดิน ซึ่งถือได้ว่าเป็นสิ่งที่ดีมาก แต่จากที่แสดงให้เห็นนั้นก็ไม่ได้หมายความว่ามันจะเป็นสิ่งที่ทำได้ง่ายๆ เพราะว่าจะต้องคำนึงถึงอายุของไก่ที่ส่งเข้าโรงเชือด ระยะเวลาของแสงที่ใช้ปิดภายในโรงเรือนด้วย จึงจะพบลักษณะท่าทางการเดินของไก่ที่ดีขึ้น

สรุปและวิจารณ์
จากการเปรียบเทียบการเข้าตรวจประเมินในครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 นั้น จุดหนึ่งที่ทางคณะผู้เข้าตรวจประเมินให้ความสนใจมากก็คือ ท่าทางการเดินของไก่ที่ระดับคะแนนตั้งแต่ 3 ขึ้นไป ซึ่งจะเป็นระดับคะแนนการเดินของไก่ที่จะใช้ในการวิเคราะห์ปัญหาของไก่ขาเจ็บในการทดลองในครั้งนี้ ปัจจัยอีกอย่างหนึ่งที่มักจะเกี่ยวข้องกับการให้คะแนนท่าทางการเดินของไก่ในครั้งนี้นั้นคือ การใช้ยาเพื่อลดอาการอักเสบ หรือการเจ็บของขาไก่ซึ่งผลก็คือมันจะทำให้ไก่แสดงอาการเจ็บที่ขาลดลง ซึ่งจะทำให้เราให้คะแนนท่าทางการเดินผิดพลาดไป จากผลของการสำรวจในครั้งนี้จะพบว่า ในแต่ละประเทศในแถบยุโรปเองจะมีผลของการสำรวจที่แตกต่างกัน ซึ่งค่าที่ได้จะอยู่ระหว่าง 14.1% ถึง 30.1% เลยทีเดียว ซึ่งปัจจัยหนึ่งที่ผู้ทำการวิจัยไม่สามารถที่จะควบคุมได้คือน้ำหนักไก่ที่จับส่งโรงงานเพราะว่าไก่เนื้อที่เลี้ยงแต่ละฟาร์มนั้นมักจะนโยบายของแต่ละที่ที่ใช้ในการบริหารงานแตกต่างกัน สิ่งหนึ่งที่มักพบอยู่เป็นประจำก็คือ ปัญหาของไก่ขาเจ็บที่ส่งเข้าโรงงานประเทศกลุ่มสหภาพยุโรปและปัญหานี้มันก็จะมีแนวโน้มที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆด้วย และนอกจากนี้ปัญหานี้ก็มักจะเริ่มพบกับฟาร์มไก่เนื้อที่มีการจับแบบระบายด้วยเช่นกัน ซึ่งปัญหาไก่ขาเจ็บดังที่ได้มีการรายงานนี้ มันจะเป็นปัญหาที่มีความแตกต่างจากสมัยก่อนมากเพราะว่า แม้แต่ฟาร์มที่มีระบบการจัดการที่ดี เป็นฟาร์มที่ได้รับรองระบบมาตรฐานต่างๆแล้ว ปัญหาไก่ขาเจ็บก็ยังคงพบได้มากเช่นกัน
ในการเลี้ยงไก่เนื้อโดยทั่วไปแล้ว ทุกฟาร์มจะมีนโยบายในการคัดไก่เนื้อที่แตกต่างกัน และลักษณะการคัดไก่ในแต่ละฟาร์มก็จะมีความแตกต่างกันด้วย ซึ่งก็จะเป็นปัญหามากสำหรับข้มมูลที่ได้มาเพื่อที่จะทำการวิเคราะห์ต่างๆ แต่จากเท่าที่มีการสำรวจจะพบว่า ถ้าฟาร์มใหนมีการคัดไก่เนื้อที่มากๆแล้ว จะพบว่าไก่เนื้อที่ส่งเข้าโรงเชือดนั้นมันจะมีคุณภาพซากที่ดีมากกว่าฟาร์มที่ไม่ได้คัดไก่ แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ในการศึกษาครั้งนี้ทางคณะผู้วิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยของปัญหาไก่ขาเจ็บระหว่างฟาร์มต่างๆ จะมีค่าที่ไม่แตกต่างกันเลย แต่ถึงอย่งไรก็ตาม ข้อดีของการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ก็มันก็ยังทำให้ได้ข้อมูลที่เป็นมาตรฐานของระดับคะแนนท่าทางการเดินของไก่เพื่อให้ทุกคนได้มีการศึกษาในครั้งต่อๆไป
ในการศึกษาครั้งนี้พบว่าการเลี้ยงการจัดการของฟาร์มที่นักสัตวบาลประจำฟาร์มได้มีการปฏิบัติอยู่นั้นพบว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดีเมื่อเทียบกับการจัดการฟาร์มครั้งที่ผ่านมา ซึ่งเมื่อผู้ที่เข้าไปประเมินได้ตรวจสอบรายละเอียดต่างๆแล้วก็จะพบว่าปัญหาที่จะก่อให้เกิดความเสี่ยงต่างๆที่พบอยู่ภายในฟาร์มนั้นมีน้อยมาก ซึ่งเมื่อทำการสำรวจเสร็จแล้วข้อมูลก็แสดงให้เห็นว่าปัญหาของไก่ขาเจ็บที่พบมากนั้นจะพบในช่วงฤดูร้อนเป็นส่วนใหญ่ ในส่วนของพันธุกรรมของไก่นั้นจะพบว่า มันก็จะมีปัญหากระทบบ้างโดยเฉพาะไก่เนื้อกลุ่มที่มีอัตราการเจริญเติบโตที่รวดเร็ว แต่จากที่ได้มีการสอบถามนักสัตวบาลประจำฟาร์มจะพบว่า ปัญหาไก่ขาเจ็บมันก็อาจจะมีผลกระทบกับสายพันธุของไก่ทั้งทางตรงและทางอ้อม ในส่วนของอาหารไก่กินที่มีการผสมเมล็ดข้าวสาลีนั้นจะพบว่า เมื่อมันกินอาหารกลุ่มนี้เข้าไปก็จะไปมีผลทำให้มันกินอาหารรวมทั้งหมดได้น้อยจึงมีผลทำให้อัตราการเจริญเติบโตน้อยและสุดท้ายปัญหาของไก่ขาเจ็บก็จะน้อยตามไปด้วย แต่ถ้ากลับไปดูเรื่องของเม็ดอาหารที่กินแล้วจะพบว่า ไก่กินอาหารที่เป็นเม็ดได้มากกว่าที่เป็นผง ซึ่งก็จะขัดแย้งกับลักษณะที่ฟาร์มไก่เนื้อที่ผู้แปลได้ทำงานอยู่ ซึ่งจากเท่าที่ดูแล้วไก่ที่ฟาร์มมันจะกินอาหารที่เป็นเม็ดได้ดีกว่าอาหารที่เป็นผง แต่จากรายงานฉบับนี้เค้าก็สรุปว่าบางทีมันก็อาจจะกินอาหารที่เป็นผงได้น้อยกว่าอาหารที่เป็นเม็ดก็ได้ ซึ่งรานละเอียดในเรื่องนี้ก็ยังไม่มีความชัดเจนมากเท่าใหร่
ในเรื่องของโปรแกรมแสงจะพบว่า ช่วงของการปิดแสงก็จะมีผลกระทบต่อการกินอาหารของไก่ด้วย โดยจะพบว่าถ้าชั่วโมงของการปิดแสงที่มากขึ้นไก่ก็จะกินอาหารนั้นได้น้อยลงเช่นกัน แต่ข้อดีที่สุดของโปรแกรมแสงก็คือ มันจะช่วยลดปัญหาของไก่ขาเจ็บภายในฟาร์มได้เป็นอย่างดี ในส่วนปัญหาของการลงไก่หนาแน่นนั้นปัญหาที่พบเจอได้มากที่สุดก็คือ การเคลื่อนที่ของไก่ภายในโรงเรือน ซึ่งมันจะแปรผันตามความหนาแน่นของการลงไก่ โดยถ้าลงไก่ที่หนาแน่นมากไก่ที่อยู่ภายในโรงเรือนก็จะเคลื่อนที่และออกกำลังกายได้ลดลง และนอกจากนี้มันยังมีผลกระทบกับปัญหาของสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรือนเพิ่มขึ้นด้วย เช่น สิ่งรองรองนอนของไก่ก็จะเสียเร็วขึ้น แก็สแอมโมเนียภายในโรงเรือนก็จะมากขึ้นด้วย สุดท้ายนี้ ในส่วนของการใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษาโรคในไก่มันก็จะสามารถที่จะช่วยได้ส่วนหนึ่งคือ เชื้อที่ก่อให้เกิดปัญหาไก่ขาเจ็บนั้น เมื่อมีการใช้ยารักษาแล้วมันก็จะช่วยลดปัญหาไก่ขาเจ็บลงได้อีกส่วนหนึ่งด้วย แต่ข้อเสียมันก็มีคือ มันจะมีผลทำให้ผู้ที่เข้าไปทำการตรวจประเมินระดับคะแนนท่าทางการเดินของไก่ตรวจประเมินผิดพลาดได้ซึ่งทั้งนี้ไก่ที่มันเจ็บขามันก็จะไม่แสดงอาการให้เห็นเพราะว่ามันได้รับยานั้นเอง
งานศึกษาวิจัยฉบับนี้ จะเป็นการศึกษาวัดค่าต่างๆที่เกี่ยวข้องกับปัญหาไก่ขาเจ็บภายในฟาร์ม ไม่ว่าจะเป็นความสามารถของนักสัตวบาลที่ปฏิบัติงานภายในฟาร์ม ทักษะของนักสัตวบาลในการทำงาน พันธ์ของไก่เนื้อที่ใช้เลี้ยง นโยบายของบริษัท ซึ่งทั้งหมดนี้จุดมุ่งหมายหลักก็เพื่อที่จะทำให้ไก่เนื้อที่เลี้ยงอยู่ภายในฟาร์มีสวัสดิภาพที่ดี ไม่มีไก่ขาเจ็บภายในฟาร์ม แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ปัญหาต่างๆหรือปัจจัยที่มีผลกระทบกับการทดลองนี้ก็มีอยู่หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของลักษณะฟาร์มที่มีความแตกต่างกัน ไก่ที่ทดลองมีการเลี้ยงหลายฝูงและมีการเลี้ยงหลายฤดู และนอกจากนี้ในการประเมินท่าทางการเดินของไก่บางฝูงยังให้นักสัตวบาลประฟาร์มเป็นผู้ประเมินซึ่งมันก็ส่งผลทำให้ปัจจัยที่จะนำมาวิเคราะห์ก็จะมีมากขึ้นด้วย ปัจจัยอีกอย่างหนึ่งที่ขาดไม่ได้คือ ปัจจัยในส่วนของความเสี่ยงในเชิงธุรกิจที่จะนำมาวิเคราะห์ เพราะว่าถ้ามีแต่สวัสดิภาพของสัตว์ภายในฟาร์มแต่เลี้ยงแล้วขาดทุนการดำเนินการของฟาร์มก็จะอยู่ไม่ได้ ดังนั้นระหว่างระบบสวัสดิภาพของสัตว์และผลผลิตของฟาร์มจะต้องดำเนินการกันควบคู่ไปเสมอ การจัดการฟาร์มไก่เนื้อที่ดีจะต้องมีการฝึกอบรมให้ทุกคนเข้าใจถึงระบบสวัสดิภาพของสัตว์ที่เลี้ยงอยู่ได้เป็นอย่างดีและจะต้องมีการนำระบบนี้มาใช้อย่างเป็นรูปธรรมด้วย เมื่อเดือน พฤษภาคม 2007 ที่ผ่านมา ทางกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปได้มีการอนุมัติกฏระเบียบเกี่ยวกับระบบสวัสดิภาพของไก่เนื้อสายพันธ์ใหม่ออกมาบังคับใช้ ซึ่งระเบียบฉบับนี้ก็จะเป็นตัวเริ่มต้นที่จะนำไปใช้ภายในฟาร์มไก่เนื้อ โดยเนื้อหาก็จะประกอบด้วยข้อกำหนดในเรื่องของ ความหนาแน่นของไก่ที่ลงเลี้ยง ปัญหาของการเลี้ยงไก่เนื้อสายพันธุ์ใหม่ การบันทึกข้อมูลต่างๆและการเก็บรักษาข้อมูลต่างๆภายในฟาร์ม และนอกจากนี้จะประกอบไปด้วยระบบการตรวจติดตามต่างๆที่เป็นวิทยาศาสตร์ที่ฟาร์มไก่เนื้อจำเป็นจะต้องปฏิบัติทุกวัน ระเบียบฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้อย่างจริงจังเมื่อปี 2010 ซึ่งอย่างแรกที่ระเบียบฉบับนี้จะมีการบังคับใช้คือ ความหนาแน่นของการลงไก่จะต้องไม่เกิน 39 kg./ตร.ม. ซึ่งจากการสุ่มตรวจติดตามฟาร์มไก่เนื้อทั้งหมด 7 ฟาร์มก็จะพบว่า มีค่าที่เกินจากข้อกำหนดทั้งหมดเลย ระบบสวัสดิภาพของสัตว์ส่วนหนึ่งที่จะต้องมีการตรวจติดตามอย่างไกล้ชิดก็คือ อัตราการตายและอัตราการคัดไก่ภายในฝูง ซึ่งไก่คัดส่วนหนึ่งที่จำเป็นจะต้องมีการคัดก็คือ ปัญหาไก่ขาเจ็บและไก่ที่ป่วยที่พบอยู่ภายในฟาร์มนั้นเอง ถึงอย่างไรก็ตามระเบียบฉบับนี้ที่จะมีการนำมาบังคับใช้ในฟาร์มไก่เนื้อนั้น ในอนาคตข้างหน้าจะต้องมีการนำมาบังคับใช้กับฟาร์มไก่พันธุ์ด้วยอย่างแน่นอน โดยจุดประสงค์หลักก็เพื่อที่จะลดปัญหาไก่ขาเจ็บที่พบในฟาร์มนั้นเอง
ในรายงานฉบับนี้ จะเป็นข้อมูลที่แสดงเฉพาะฟาร์มไก่เนื้อเท่านั้น ซึ่งข้อมูลของฟาร์มไก่เนื้อที่นำมาแสดงนี้มันก็เป็นข้อมูลที่น่าตกใจเป็นอย่างมาก เพราะไก่เนื้อที่ผลิตเพื่อส่งขายนั้นจะเป็นไก่เนื้อที่มาจากฟาร์มที่ผู้กินเชื่อถือเท่านั้นซึ่งฟาร์มไก่เนื้อดังกล่าวนี้อาจจะเป็นฟาร์มที่ไม่ได้มีการปฏิบัติตามระเบียบของระบบสวัสดิสัตว์เลยก็ได้ แต่ผู้บริโภคในปัจจุบันนี้เค้าได้มีการรับข่าวสารสมัยใหม่จะพบว่าค่านิยมของผู้บริโภคจะมีการเปลี่ยนแปลงไปมาก เค้ามักจะกินไก่เนื้อที่มาจากฟาร์มที่นำระบบสวัสดิภาพของสัตว์ไปใช้อย่างเป็นรูปธรรมมากกว่าเพราะว่า ฟาร์มที่เลี้ยงไก่เนื้อเพื่อการค้าโดยไม่มีระบบสวัสดิภาพของสัตว์เข้าไปใช้นั้น ไก่เนื้อที่อยู่ภายในฟาร์มก็จะมีลักษณะที่เป็นการเลี้ยงแบบหุ่นยนต์มากกว่า โดยเค้ามักจะเห็นว่ามันเป็นการทรมานสัตว์มากเกินไป ในปัจจุบันี้จะพบว่า พันธุ์ไก่ที่เปลี่ยนแปลงไป ระบบการเลี้ยงการจัดการที่เปลี่ยนแปลงไป ระบบโรงเรือนที่ดีขึ้น ระบบอุปกรณ์การเลี้ยงที่ดีขึ้น วิธีการเลี้ยงการจัดการที่ดีขึ้น ตลอดจนความรู้ใหม่ของนักสัตวบาลปะจำฟาร์มที่จะมีการนำมาใช้ภายในฟาร์มที่ดีขึ้น ก็ย่อมจะส่งผลทำให้ระบบของสวัสดิภาพของไก่เนื้อที่เลี้ยงอยู่ภายในฟาร์มมันลดลง เพราะทุกคนคิดแต่ว่าจะเลี้ยงไก่อย่างไรให้ได้ผลผลิตที่มากที่สุดเท่านั้นเอง

ภาคผนวก
ตารางที่ 1 : แสดงปริมาณเป็นเปอร์เซ็นต์ของคะแนนท่าทางการเดินของไก่ที่พบจากการสำรวจไก่ที่อยู่ภายในฝูง

ระดับคะแนนท่าทางการเดินของไก่
0
1
2
3
4
5
ค่าเฉลี่ย
2.2
26.6
43.5
24.3
3.1
0.2
ค่า SD
4.8
21.1
15.9
21.3
7.0
0.5
ค่าต่ำสุด
0.0
0.0
1.6
0.0
0.0
0.0
ค่าสุงสุด
34.7
82.7
74.6
83.7
45.9
3.2
หมายเหตุ : ค่าเฉลี่ย , ค่าต่ำสุด และค่าสูงสุด ของข้อมูลที่แสดงอยู่ภายในฝูงนั้น จะเป็นค่าที่คำนวนได้จากกลุ่มไก่ที่มีค่าเฉลี่ยของน้ำหนักไก่ภายในฝูงที่ไกล้เคียงกัน ซึ่งการเข้าตรวจเยี่ยมทั้ง 2 ครั้งจะปฏิบัติที่เหมือนๆกัน จำนวนไก่ที่เข้าไปตรวจวิเคราะห์ทั้งหมดจำนวน 4,845,962 ตัว วิธีการคำนวนจะหาได้จาก เอาจำนวนไก่ที่มีปัญหาขาเจ็บที่พบ – 206 ฝูง แล้ว × ค่าต่ำสุดของจำนวนไก่ที่พบ 250 ตัวในฝูงที่สำรวจ ซึ่งจำนวนที่คำนวนได้จะประมาณ 51,000 ตัว






ตารางที่ 2 : จำนวนเป็นเปอร์เซ็นต์ของค่าที่พบในการสำรวจปัญหาไก่ขาเจ็บที่พบได้ในฝูงไก่ที่เข้าไปทำการประเมินในครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2

ระดับคะแนนท่าทางการเดินของไก่
0
1
2
3
4
5
ค่าเฉลี่ย
จำนวนไก่ที่ลงเลี้ยง
ฝูงที่
ตรวจเยี่ยมครั้งที่ 1
1
2.9
27.0
47.4
20.4
2.1
0.2
1.92
1,484,392
71

2
1.0
21.9
49.1
25.3
2.2
0.5
2.07
191,295
10

3
1.0
21.3
48.0
28.4
1.2
0.1
2.08
486,258
20

4
3.7
44.1
43.6
7.9
0.5
0.1
1.58
773,145
26

5
1.5
29.0
41.2
24.2
3.9
0.3
2.01
1,225,925
49


0
1
2
3
4
5
ค่าเฉลี่ย
จำนวนไก่ที่ลงเลี้ยง
ฝูงที่
ตรวจเยี่ยมครั้งที่ 2
1
2.2
8.2
40.3
40.6
8.0
0.7
2.46
206,360
11

3
1.5
53.2
43.1
2.2
0.0
0.0
1.46
34,000
1

4
3.5
26.6
37.5
31.1
1.2
0.1
2.00
119,150
4

5
0.3
4.2
23.7
59.4
11.9
0.4
2.80
329,037
14
หมายเหตุ : ข้อมูลนี้แสดงจำนวนค่าเฉลี่ยของไก่ที่พบปัญหาขาเจ็บภายในฝูง ต่อจำนวนของไก่ที่ลงเลี้ยงภายในฝูงนั้นทั้งหมด

ตารางที่ 3 : ค่าของการวิเคราะห์ในการทดลองนี้ ซึ่งจะเป็นการวิเคราะห์ส่วนเบี้ยงเบนมาตรฐานและค่าควาน่าจะเป็นทางสถิติ ซึ่งค่าที่นำมาวิเคราะห์จะเป็นค่าเฉลี่ยของระดับคะแนนท่าทางการเดินของไก่
ค่าที่ใช้วิเคราะห์
ลักษณะการวิเคราะห์
ค่าที่วิเคราะห์ได้โดยประมาณ
ส่วนเบี้ยงเบนมาตรฐาน
ความน่าจะเป็น
ค่าคงที่

2.52
0.158
0.000
ฤดูกาล
Continuous
-0.099
0.0408
0.016
ฤดูกาล
Continuous
-0.035
0.0442
0.463
อายุไก่ (วัน)
Continuous
0.048
0.0049
0.000
การตรวจเยี่ยมครั้งที่ 2
Binary
0.25
0.089
0.005
พันธุ์ไก่ A(%ในฝูง)
Continuous
-0.0024
0.00108
0.025
การให้อาหารที่มีสาลี
(% ที่ใช้ 3wk)
Continuous
-0.017
0.078
0.027
การปิดแสง(ชม/วัน)
Continuous
-0.079
0.0283
0.005
ความหนาแน่นของไก่ที่ลงเลี้ยง(กก/ตร.ม.)
Continuous
0.013
0.0057
0.024
การใช้ยาฏิชีวนะ
Binary
-0.17
0.069
0.011
ลักษณะอาหารที่เป็นเม็ด
Binary
-0.15
0.063
0.017
หมายเหตุ : ค่าที่ใช้ในการวิเคราะห์ในการทดลองวิจัยนี้จะเป็นการนำค่าที่เป็นค่าเฉลี่ยของปัญหาท่าทางการเดินของไก่มาทำการวิเคราะห์ ซึ่งผลก็คือจะทำให้เกิดการแปรปรวนของข้อมูลสูง ดังนั้นมันอาจจะเป็นปัญหามากสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลในการทดลองครั้งนี้ ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ถ้าจำนวนของกลุ่มตัวอย่างที่นำมาวิเคระห์ไม่มากพอแล้ว มันจะทำให้ค่าความแปรปรวนของข้อมูลท่าทางการเดินของไก่จะไปในทิศทางเดียวกันกับจำนวนตัวอย่างที่นำมาวิเคราะห์ ด้วย

ตารางที่ 4 : ค่าเฉลี่ย , ค่าต่ำสุด และค่าสูงสุด ของข้อมูลที่ทำการวิเคราะห์ได้ทั้งหมด ซึ่งค่าต่างๆที่ทำการวิเคราะห์ในปัญหาท่าทางการเดินของไก่ภายในฟาร์มจะสรุปได้ดังตารางนี้
ค่าความแปรปรวนต่างๆที่นำมาวิเคราะห์
ค่าเฉลี่ย
ค่าต่ำสุด
ค่าสูงสุด
การประเมินอายุไก่ (วัน)
39.8
28
56
พันธุ์ A (%ที่พบในฝูง)
85.8
0
100
อาหารที่ผสมข้าวสาลี(% ที่อายุ 3 wk)
9.2
0
30
ค่าเฉลี่ยการปิดแสง (ชม.ต่อวัน )
2.9
0
8.5
ความหนาแน่น(กก.ต่อ ตร.ม.)
31.3
15.9
44.8

รูปที่ 1 : ค่าของปัญหาไก่เจ็บที่เป็นค่าเฉลี่ยที่พบได้ในแต่ละเดือน หรือในแต่ละฤดูกาลของในช่วงปีนั้นๆ


รูปที่ 2 : กราฟแสดงข้อมูลเฉลี่ยของปัญหาไก่ขาเจ็บ ที่เกิดขึ้นเนื่องจากปัจจัยต่างๆที่นำมาวิเคราะห์ ซึ่งค่าที่ได้จะพบว่าจะเป็นค่าคะแนนท่าทางการเดินของไก่ที่ต่ำกว่า 2.5 ลงมา ซึ่งถือได้ว่าเป็นค่าระดับคะแนนท่าทางการเดินของไก่ที่อยู่ในระดับที่ดีมากในการศึกษาวิจัยในครั้งนี้















เอกสารอ้างอิง

· Toby G. Knowles , Steve C. Kestin , Susan M. Haslam , Steven N. Brown , Laura E. Green , Andrew Butterworth , Stuart J. Pope , Dirk Pfeiffer , Christine J. Nicol .2008. Leg Disorders in Broiler Chickens : Prevalence, Risk Factors and Prevention , PLoS ONE , V 2 : 1 – 5 p.

ไม่มีความคิดเห็น: