วันพฤหัสบดีที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2551

งานวิจัย เดือน ตุลาคม 2008

โรคกัมโบโรกับปิศาจที่มองไม่เห็น
( Gumboro disease countering the hidden threat )


แปลและเรียบเรียงโดย น.สพ.ชัชวาลย์ สอนศรี
นายสัตวแพทย์ฝ่ายสุขภาพไก่เนื้อ ฟาร์มบริษัท
บ.สหฟาร์ม จำกัด และ บริษัท โกลเด็นไลน์ จำกัด 99 ม4 ต,ศิลาทิพย์ อ.ชัยบาดาล
จ.ลพบุรี 15130, Broiler red box. เดือน กย 2551


โรคกัมโบโร หรือโรค IBD จะเป็นโรคที่มักจะเกิดกับไก่ที่เลี้ยงอยู่ไก่ภายในฟาร์ม ซึ่งเป้าหมายของเชื้อที่มันจะเข้าไปทำลายคือ เซลล์ในกลุ่มลิมโฟไซด์ ซึ่งเซลล์ที่ว่านี้มันจะอยู่ที่ต่อมเบอร์ซ่าของไก่ เซลล์ที่ต่อมเบอร์ซ่านี้มันจะมีหน้าที่ในการผลิตสารที่เป็นภูมิคุ้มกันในร่างกายชนิด B – cell ถ้าต่อมเบอร์ซ่าของไก่ถูกทำลายมันก็จะไม่สามารถผลิตภูมิคุ้มกันภายในร่างกายได้
กลไกการทำลายของต่อมเบอร์ซ่าของเชื้อ IBD นี้ เชื้อมันจะเข้าไปทำลายเซลล์ที่เป็นชนิดลิมโฟไซด์ที่อยู่ภายในต่อมเบอร์ซ่าตอนที่มันยังไม่เจริญเติบโตไม่เต็มที่ เมื่อไก่มันป่วยเป็นโรคแล้วมันจะแสดงอาการป่วยที่รุนแรงมาก อาการที่พบเมื่อไก่ป่วยคือ ไก่จะแสดงอาการซึม ขนหยองและท้องเสียให้เห็นอย่างชัดเจน ส่วนวิการรอยโรค IBD ที่แสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนคือ จะพบรอยเลือดออกตามหล้ามเนื้อ และที่ต่อมเบอร์ซ่าจะมีลักษณะบวม มีวุ้นหุ้ม
ไก่ที่ป่วยในฟาร์มมันจะมีอัตราการตายที่สูงมาก แต่เมื่อมันหายป่วยแล้วไก่มันจะอยู่ในสภาวะที่กดภูมิคุ้มกันอย่างรุนแรง และเมื่อไก่รุ่นมันป่วยด้วยโรคนี้มันก็จะมีปัญหาของการกดภูมิคุ้มกันที่รุนแรงมากกว่าไก่ที่โตเต็มที่แล้ว

รุปแบบของการเกิดโรคในประเทศกลุ่มสหภาพยุโรป
ในปัจจุบันนี้ ประเทศกลุ่มสหภาพยุโรปก็กำลังประสบปัญหาเกี่ยวกับการเกิดโรคกัมโบโรในการเลี้ยงไก่เช่นเดียวกับประเทศในแถบเอเชียเช่นกัน เมื่อปี คศ. 1980 พบว่าได้มีการระบาดของโรคกัมโบโรทั้งที่เป็นแบบฉับพลันและเป็นแบบชนิดรุนแรง ซึ่งพบว่าไก่เนื้อจะมีอัตราการตายสูงถึง 30% ของฝูง และนอกจากนี้ยังพบว่าในประเทศแถบยุโรปบางประเทศจะพบอัตราการระบาดที่สูงมากด้วย
เชื้อกัมโบโรที่ก่อให้เกิดการตายอย่างรุ่นแรงในการเลี้ยงไก่นั้นจะเป็นเชื้อกัมโบโรในกลุ่มที่มีความรุนแรงสูงมาก หรือที่เรียกว่า vvIBD โดยทั่วไปแล้วเชื้อ vvIBD นี้มันจะมีรหัสพันธุกรรมที่คล้ายกับเชื้อกัมโบโรในกลุ่มอื่นด้วยและมันยังสามารถที่จะถ่ายทอดยีนที่มีความรุนแรงให้กับเชื้อกัมโบโรใรกลุ่มอื่นได้ด้วยเช่นกัน ปัญหาของการเกิดโรคกัมโบโรในการเลี้ยงไก่เนื้อนั้น โดยหลักแล้วมันจะไปมีผลทำให้ผลผลิตไก่หรือผลการเลี้ยงไก่ต่ำลง ซึ่งปัญหานี้ก็ถือได้ว่าใหญ่ที่สุดสำหรับการเลี้ยงไก่เนื้อแล้ว
ปัญหาของการติดเชื้อกัมโบโรมันมีอยู่หลายๆปัจจัยร่วมกัน อย่างเช่น ระบบสุขศาสตร์ป้องกันโรคของฟาร์มดีหรือไม่ คุณภาพลูกไก่ที่นำมาเลี้ยงดีหรือไม่ ชนิดของวัคซีนที่ทำและวิธีการทำวัคซีนถูกต้องหรือไม่ นอกจากนี้ปัจจัยที่สำคัญที่สุดสำหรับการป้องกันโรคกัมโบโรคือ ระบบสุขศาสตร์ป้องกันโรค การล้างทำควาสะอาดและการใช้ยาฆ่าเชื้อ สำหรับฆ่าเชื้อไวรัสในกลุ่มนี้สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ ซึ่งจากที่กล่าวมาถ้าสามารถปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้วก็จะช่วยป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรคได้เป็นอย่างดี
ในพื้นที่ที่ทำการเลี้ยงไก่นั้น เจ้าของฟาร์มจำเป็นที่จะต้องเน้นระบบสุขศาสตร์ป้องกันโรคภายในฟาร์มให้ดี การล้างทำความสะอาดโรงเรือน การฆ่าเชื้อทั้งภายในโรงเรือนและภายในฟาร์มก็จะเป็นสิ่งหนึ่งที่จะช่วยในการป้องกันการเกิดโรคนี้ได้ แต่สิ่งหนึ่งที่เจ้าของฟาร์มจำเป็นที่จะต้องพึงระลึกไว้เสมอก็คือ เชื้อไวรัสกัมโบโรนี้มันมีความทนทานต่อสภาพสิ่งแวดล้อมมาก ดังนั้นการที่จะใช้ยาฆ่าเชื้อเพื่อที่จะทำลายมัน เจ้าของฟาร์มจำเป็นที่จะต้องแน่ใจว่ายาฆ่าเชื้อนั้นสัมผัสหรือโดนตัวเชื้อโรค 100% แล้ว การใช้ยาฆ่าเชื้อนั้นถึงจะได้ผล

ระบบสุขศาสตร์ป้องกันโรค
ระบบสุขศาสตร์ป้องกันโรคขั้นพื้นฐานที่ฟาร์มไก่เนื้อ จะเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นมากที่จะต้องมีการปฏิบัติให้ถูกต้องตามคู่มือของระบบสุขศาสตร์ป้องกันโรคขั้นพื้นฐานของฟาร์ม ระบบสุขศาสตร์ป้องกันโรคขั้นพื้นฐานของฟาร์มจะเริ่มจาก 1.แขกที่จะเข้าตรวจเยี่ยมฟาร์ม /2.การฆ่าเชื้อเครื่องมืออุปกรณ์และยานพาหนะต่างๆก่อนที่จะเข้าไปภายในฟาร์ม จำเป็นที่เจ้าของฟาร์มจะต้องมีการปฏิบัติให้ถูกต้อง นอกจากนี้ในคู่มือการปฏิบัติของฟาร์มจำเป็นที่จะต้องเขียนให้ชัดเจนว่า แขกที่เข้าฟาร์มจะต้องมีการอาบน้ำสระผม เปลี่ยนชุดใหม่ เปลี่ยนรองเท้าใหม่ และทุกอย่างที่นำเข้าไปในฟาร์มจะต้องฆ่าเชื้อรมควัน ก่อนทุกครั้งเสมอ
ในฟาร์มเลี้ยงไก่หลายๆฟาร์ม ถ้าพบว่าฝูงที่เลี้ยงอยู่นี้มีการระบาดของเชื้อกัมโบโร ชนิด vvIBD แล้ว ในการเลี้ยงไก่รุ่นต่อไปเจ้าของฟาร์มก็อาจจะพิจารณาระยะพักโรงเรือนให้นานขึ้นก็ได้ เพื่อให้แน่ใจว่าเชื้อที่ก่อโรคนั้นมันได้ตายหมดไปจากฟาร์มแล้ว สำหรับคุณลักษณะโดยทั่วไปของเชื้อไวรัสกัมโบโรนี้ มันสามารถที่จะอาศัยอยู่ภายในสภาพสิ่งแวดล้อมได้นานมากดังนั้นก่อนที่จะมีการลงไก่รุ่นถัดไป เจ้าของฟาร์มก็จำเป็นที่จะต้องกำจัดเชื้อไวรัสนี้ให้หมดไปทั้งที่อยู่ภายในโรงเรือนเลี้ยงไก่และรอบๆโรงเรือนเลี้ยงไก่ด้วย สัตว์พาหะต่างๆไม่ว่าจะเป็น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม นก หนู และแมลงต่างๆ ( Alphitobius diaperinus ) สามารถที่จะนำเชื้อไวรัสกัมโบโรเข้าไปภายในโรงเรือนและนำไปติดไก่ได้ แต่ว่าตามหลักความเป็นจริงแล้วก่อนที่จะมีการลงเลี้ยงไก่รุ่นต่อไป เจ้าของฟาร์มจำเป็นที่จะต้องแน่ใจว่าสามารถที่จะกำจัดเชื้อไวรัสกัมโบโรออกไปจากโรงเรือนได้หมดแล้วจริงๆก่อนเท่านั้น
ก่อนที่จะมีการลงไก่ เจ้าของฟาร์มจำเป็นจะต้องแน่ใจว่ามีการเตรียมโรงเรือนสะอาด ไม่มีเชื้อโรค หรือไม่มีการปนเปื้อนของเชื้อกัมโบโรอยู่ภายในโรงเรือนเลี้ยงไก่ เพราะว่าเมื่อมีการทำวัคซีนแล้วจะมีอยู่ช่วงหนึ่งที่ไก่ภายในโรงเรือนไม่มีภูมิ ซึ่งจะถือได้ว่าเป็นช่วงที่อันตรายมากเพราะว่าถ้าภายในโรงเรือนมีเชื้ออยู่แล้ว เชื้อกลุ่มนี้แหละที่มันจะเข้าไปภายในตัวของไก่ ดังที่กล่าวมาแล้วไก่เนื้อที่มีอายุน้อยๆมันจะมีโอกาศสัมผัสกับเชื้อกัมโบโรได้มากกว่าไก่เนื้อที่มีอายุมาก ซึ่งเมื่อไก่ที่อายุน้อยๆติดเชื้อเข้าไปแล้วเชื้อไวรัสมันก็จะเข้าไปทำลายอวัยวะที่สร้างระบบภูมิคุ้มกันขึ้นภายในร่างกาย เช่น ต่อมเบอร์ซ่าและต่อมไทมัส เป็นต้น ซึ่งเมื่ออวัยวะที่ใช้ในการสร้างเซลล์ภูมิคุ้มกันถูกทำลายแล้ว และเมื่อมีการทำวัคซีนกัมโบโร ตัวไก่ก็จะไม่สามารถที่จะตอบสนองต่อวัคซีนที่ทำได้ ดังนั้จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้การทำวัคซีนต่างๆไม่ได้ผลตามมา

การควบคุมและป้องกันโรค
ในการควบคุมป้องกันการเกิดโรคในการเลี้ยงไก่เนื้อนั้น เบื้องต้นเลยลูกไก่เนื้อที่นำมาเลี้ยงจะต้องเป็นลูกไก่ที่มีสุขภาพดี แข็งแรง และมีภูมิคุ้มกันที่ได้รับมาจากแม่สูงเพียงพอ ดังนั้นสิ่งหนึ่งที่เจ้าของฟาร์มจะต้องคำนึงถึงคือ สุขภาพของพ่อแม่พันธุ์ โปรแกรมวัคซีนของพ่อแม่พันธุ์ ซึ่งวัคซีนที่ทำในพ่อแม่พันธุ์ก็จะต้องมีทั้งวัคซีนเชื้อเป็นและวัคซีนเชื้อตาย โดยจุดมุ่งหมายสูงสุดคือ พ่อแม่พันธุ์จะต้องมีระดับภูมิคุ้มกันต่อโรคที่สูงเพียงพอเพื่อที่จะสามารถส่งต่อมายังลูกไก่เนื้อได้
และนอกจากนี้ การจัดการการฟักไข่ที่โรงฟักก็จะต้องเหมาะสมหรือมีการจัดการที่ดีด้วย โรงฟักจะต้องสะอาดเพื่อป้องกันการปนเปื้อนเชื้อเข้าไปสู่ลูกไก่ หลังจากนั้นการขนส่งลูกไก่จากโรงฟักไปที่ฟาร์มไก่เนื้อก็จำเป็นที่จะต้องจัดการให้ดี รถขนส่งจะต้องสะอาดไม่มีเชื้อโรค
สุดท้าย เมื่อลูกไก่มาถึงฟาร์มแล้วเจ้าของฟาร์มก็จะต้องกระตุ้นให้ลูกไก่กินน้ำ กินอาหารให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อที่ลูกไก่จะได้มีการดูดซึมภูมิคุ้มกันในถุงไข่แดงให้ได้มากที่สุด เพราะว่าภูมิกันของโรคกัมโบโรนี้มันจะถ่ายถอดจากพ่อแม่มาทางถุงไข่แดง ภูมิคุ้มกันที่ลูกไก่เนื้อได้รับมาจากพ่อแม่นี้มันจะสามารถป้องกันการติดเชื้อในฟาร์มได้ในช่วงสัปดาห์แรกของการเลี้ยงซึ่งเมื่อเชื้อไวรัสกัมโบโรในพื้นที่เข้ามาในตัวลูกไก่ภูมิคุ้มกันที่มันได้มาจากพ่อแม่ก็จะไปทำลายเชื้อนั้นทันที
ถึงอย่างไรก็ตาม ภูมิคุ้มกันที่ลูกไก่รับมาจากพ่อแม่นี้มันจะอยู่ได้เพียงระยะเวลาสั้นๆเท่านั้นเองและภูมิคุ้มกันที่ว่านี้มันจะทำงานได้ดีก็ต่อเมื่อตัวของมันเองจะต้องมีภูมิคุ้มกันก่อนที่ตัวไก่จะได้รับเชื้อเข้าไปไม่เช่นนั้นแล้วถึงแม้ตัวของมันจะมีภูมิก็จะไม่มีประโยชน์อะไรเลย และนอกจากนี้ถ้าฟาร์มที่เลี้ยงไก่อยู่นั้นเป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคแล้วเจ้าของฟาร์มอาจจะต้องมีการทำวัคซีนเชื้อเป็นที่ฟาร์มอีกครั้งหนึ่งก็ได้ ซึ่งอายุที่เหมาะสมที่จะทำคือ ช่วง 1 – 2 สัปดาห์ของการเลี้ยงไก่

วัคซีนกัมโบโร
หลักของการทำวัคซีนกัมโบโร คือ วิธีการทำและช่วงระยะเวลาของการทำจะต้องถูกต้อง ซึ่งวัคซีนกัมโบโรที่ใช้ในไก่เนื้อนั้นโดยมากแล้วจะเป็นชนิดเชื้อเป็น ซึ่งเมื่อทำวัคซีนไปแล้วภูมิคุ้มกันเนื่องจากการทำวัคซีนจะเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว อวัยวะที่ใช้ในการกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันภายในร่างกายคือ ต่อมเบอร์ซ่าของไก่ โดยมากแล้วการทำวัคซีนกัมโบโรในการเลี้ยงไก่เนื้อนั้นจะถือได้ว่าเป็นสิ่งที่เหมาะสมมากกว่าการไม่ทำวัคซีนแน่นอน
ในทางปฏิบัติแล้ว การทำวัคซีนกัมโบโรภายในฟาร์มไก่เนื้อนั้น เจ้าของฟาร์มก็จะต้องคำนึงว่า ชนิดของวัคซีนที่ใช้นั้นดีหรือไม่ วิธีการทำสะดวกหรือไม่ และเมื่อทำไปแล้วจะแน่ใจได้หรือไม่ว่าไก่เนื้อทุกตัวภายในฟาร์มได้รับวัคซีนทั้งหมดและได้รับอย่างเพียงพอด้วย
วัคซีนกัมโบโรที่มีการใช้ในฟาร์มนั้น จำเป็นที่จะต้องใช้ให้ถูกต้องกับชนิดของเชื้อที่มีการระบาดอยู่ในพื้นที่ โดยทั่วไปแล้ววัคซีนกัมโบโรที่มีการใช้อยู่ในฟาร์มไก่เนื้อทั่วโลกนี้จะเป็นวัคซีนกัมโบโรชนิดที่มีความรุนแรงปานกลาง ซึ่งวัคซีนชนิดนี้จะเหมาะกับเชื้อกัมโบโรที่มีความรุนแรงแบบต่ำๆแต่ถ้าฟาร์มไก่เนื้อที่มีการระบาดของเชื้อกัมโบโรชนิดรุนแรง หรือ vvIBD แล้วการใช้วัคซีนชนิดนี้คงจะไม่ค่อยได้ผล
ในกรณีที่ลูกไก่เนื้อที่นำมาเลี้ยงมีภูมิคุ้มกันจากพ่อแม่สูงอยู่แล้ว การใช้วัคซีนกัมโบโรชนิดที่มีความรุนแรงสูงจะเป็นสิ่งที่เหมาะสมมากกว่า ซึ่งภูมิคุ้มกันในลูกไก่ตั้งแต่ 500 (ELISA) ลงไปมันจะสามารถไปทำลายได้ทั้งหมดแต่ถ้าใช้วัคซีนกัมโบโรชนิดอ่อนก็จะต้องพิจารณาภูมิคุ้มกันจากแม่ด้วยว่าสูงหรือไม่ซึ่งปกติระดับภูมิคุ้มกันจากแม่จะต้องอยู่ระหว่าง 125 – 250 (ELISA) ถึงจะเหมาะที่จะใช้วัคซีนกัมโบโรชนิดอ่อน
แต่โดยทั่วไปแล้วการใช้วัคซีนกัมโบโรชนิดที่มีความรุนแรงแบบสูงๆนั้นจะสามารถนำมาใช้ในพื้นที่ที่มีการระบาดของเชื้อกัมโบโรได้ดีกว่าแบบอื่นๆ เพราะว่าตัวของมันเองจะเดินทางไปถึงต่อมเบอร์ซ่าและกระตุ้นให้ต่อมเบอร์ซ่าสร้างภูมิคุ้มกันได้เร็วขึ้น ซึ่งจะมีผลทำให้ความเข้มข้นของระดับภูมิคุ้มกันภายในกระแสเลือดของไก่สูงเร็วมากขึ้น และโดยมากแล้วเค้ามักจะนิยมใช้วัคซีนที่มีความรุนแรงสูงในการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อกัมโบโรชนิดรุนแรงหรือ vvIBD ภายในฟาร์มไก่เนื้อด้วย
สำหรับโปรแกรมการทำวัคซีนกัมโบโรในฟาร์มไก่เนื้อแต่ละฟาร์มนั้นจะมีความแตกต่างกันซึ่งทั้งนี้ก็จะขึ้นอยู่กับพื้นที่และการระบาดของเชื้อกัมโบโรในฟาร์มนั้นๆด้วย อย่างเช่น บางฟาร์มจะมีการใช้วัคซีนกัมโบโรชนิดที่มีความรุนแรงสูงและชนิดที่มีความรุนแรงอ่อนๆ ประกอบกัน ซึ่งจุดประสงค์หลักก็เพื่อที่จะกระตุ้นให้ไก่เนื้อสามารถที่จะสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกายไม่ว่าจะเป็นในกระแสเลือดและภายในร่างกายให้ได้เพียงพอกับระดับที่จะป้องกันโรคได้ รายละเอียดดูที่ตารางที่ 1:



ระยะเวลาการทำวัคซีน
การทำวัคซีนในฟาร์มไก่เนื้อนั้นเจ้าของฟาร์มจะต้องพิจารณาช่วงเวลาของการทำวัคซีนให้เหมาะสมด้วย ซึ่งทั้งนี้อาจจะมีการพิจารณาหลายๆปัจจัยประกอบกัน เช่น ความรุนแรงของเชื้อไวรัสภายในฟาร์ม ระดับของภูมิคุ้มกันที่ถ่ายทอดมาจากพ่อแม่ เป็นต้น แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ภูมิคุ้มกันที่ได้รับมาจาพ่อแม่ก็จะเป็นสิ่งหนึ่งที่จะมีผลในการทำลายวัคซีนได้เมื่อเจ้าของฟาร์มมีการทำวัคซีนที่เร็วเกินไป อย่างเช่น เมื่อทำวัคซีนในไก่เนื้อที่อายุน้อยเกินไป ภูมิคุ้มกันที่ถ่ายทอดมาจากแม่มันก็ยังคงสูงอยู่ซึ่งเมื่อทำวัคซีนเข้าไปแล้วภูมิคุ้มกันกับวัคซีนมันก็จะไปทำลายซึ่งกันละกันจนหมด ทำให้ภายในร่างกายไก่ไม่มีทั้งวัคซีนและภูมิคุ้มกันอยู่เลย ซึ่งจะเป็นช่วงที่จะทำให้เชื้อไวรัสกัมโบโรที่อยู่ภายในพื้นที่สามารถที่จะเข้าไปภายในร่างกายของไก่ได้ง่ายและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
ซึ่งเมื่อเชื้อไวรัสกัมโบโรที่อยู่ภายในพื้นที่มันสามารถที่จะเข้าไปภายในตัวของไก่ได้แล้ว มันก็จะทำการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนขึ้นภายในร่างกายของไก่จนในที่สุดก็จะมีผลทำให้ไก่นั้นป่วยด้วยโรคกัมโบโร ตามมา
แต่ในทางกลับกันถ้าระดับของภูมิคุ้มกันในร่างกายไก่มีสูงอยู่แล้ว เมื่อเชื้อไวรัสกัมโบโรมันเข้าไปในร่างกายของไก่ ภูมิคุ้มกันที่มีอยู่มันก็จะเข้าไปจับและทำลายเชื้อไวรัสนั้นมีผลทำให้ร่างกายไก่ไม่ติดเชื้อ และนอกจากนี้ภูมิคุ้มกันในร่างกายของไก่นี้มันก็สามารถที่จะผลิตเพิ่มขึ้นได้ตลอดเวลาอีกด้วย

ค่าครึ่งชีวิตของภูมิคุ้มกันที่ถ่ายทอดมาจากพ่อแม่ไก่
ภูมิคุ้มกันที่ถ่ายทอดมาจากพ่อแม่ไก่นั้นมันจะมีลักษณะเป็นสารเคมีแข็ง มีผนังห่อหุ้ม และมันจะมีค่าที่สูงที่สุดเมื่อมันอยู่ในไข่ในตู้เกิด และหลังจากนั้นเมื่อลูกไก่ฟักออกมาแล้วระดับของภูมิคุ้มกันมันก็จะลดต่ำลงไปเรื่อยๆ ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว จากการคำนวนค่าครึ่งชีวิตของภูมิคุ้มที่ถ่ายทอดมาจากพ่อแม่ไก่จะมีค่าเท่ากับ 3.5 วัน
แต่เมื่อไก่โตขึ้นและมีการทำวัคซีนแล้ว ภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นเนื่องจากวัคซีนนี้มันก็จะถูกสร้างขึ้นแทนและมีประสิทธิภาพที่ดีมากกว่าภูมิคุ้มกันที่ถ่ายทอดมาจากพ่อแม่ แต่ถึงอย่างไรก็ตาม การสร้างภูมิคุ้มกันเนื่องจากวัคซีนนี้มันก็จะใช้ระยะเวลาที่ยาวนานมาก ถ้าเกิดเชื้อไวรัสภายในพื้นที่สามารถที่จะเข้าไปภายในตัวของไก่ได้ก่อน มันก็ย่อมที่จะมีผลทำให้ไก่นั้นป่วยด้วยโรคกัมโบโรตามมาได้ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วเรามักจะเรียกช่วงนี้ว่า ช่องว่างของภูมิคุ้มกัน หรือ Immunity gap ซึ่งมันถือได้ว่าเป็นช่วงที่มีความเสี่ยงสูงมากเพราะว่า จะเป็นช่วงที่ร่างกายกำลังสร้างภูมิคุ้มกันจากวัคซีนกับช่วงที่เชื้อจากพื้นที่พยายามที่จะเข้าไปก่อโรคภายในร่างกายของไก่ แต่จุดมุ่งหมายหลักของการทำวัคซีนโดยทั่วไปแล้วก็เพื่อที่จะทำให้ระดับของภูมิคุ้มกันของวัคซีนสูงขึ้นพอที่จะชนะเชื้อไวรัสจากพื้นที่นั้นเอง ดังนั้นระยะเวลาการทำวัคซีนที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากที่เจ้าของฟาร์มจะต้องพิจารณาให้ดี
ในการคำนวนช่วงระยะเวลาของการทำวัคซีนที่เหมาะสมนั้น โดยทั่วไปแล้วจะมีการใช้สูตรในการคำนวนอยู่ 2 แบบคือ 1.แบบ Kouwenhoven formula และ 2.แบบ Deventer formula
ถึงอย่างไรก็ตาม การใช้สูตรการคำนวนระยะเวลาที่เหมาะสมของการทำวัคซีนนั้น ก็ไม่ใช่สิ่งที่จะบอกได้อย่างแน่นอนว่ามันถูกต้อง 100% เพราะว่า สภาพพื้นที่ที่ใช้ในการเลี้ยงไก่ ฟาร์มแต่ละฟาร์มที่ใช้ในการเลี้ยงไก่ หรือแม้กระทั้งพันธุ์ไก่ที่นำมาเลี้ยงก็ถือได้ว่าเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญสูงมากที่เจ้าของฟาร์มจะต้องนำมาพิจารณาระยะเวลาหรือวันที่เหมาะสมของการทำวัคซีนด้วย
และนอกจากนี้ปัจจัยที่เกี่ยวข้องอื่นๆกับการทำวัคซีนกัมโบโรก็จะมีอย่างเช่น พื้นที่นั้นมีการระบาดของโรคมากน้อยแคร่ใหน พันธุ์ไก่ที่เลี้ยงมีอยู่ทั้งหมดกี่สายพันธุ์ ไก่ที่เลี้ยงในฟาร์มมีทั้งหมดกี่อายุ สายพันธุ์ของเชื้อกัมโบโรในพื้นที่มีกี่สายพันธุ์ และนอกจากนี้ยังรวมไปถึงการติดเชื้อกัมโบโรระหว่างการขนส่งไก่ด้วย



การตรวจติดตามไก่เนื้ออายุ 1 วัน
ในการตรวจติดตามไก่เนื้ออายุ 1 วันนั้นจะมีความจำเป็นมากเพราะจะใช้เป็นตัวบ่งชี้ระยะเวลาของการทำวัคซีน ดังรูปที่ 1: จะเป็นการแสดงกลุ่มของระดับไตเตอร์ลูกไก่เนื้อและยูนิฟอร์มของไตเตอร์ของลูกไก่เนื้อ ซึ่งถ้าดูจากแผนภาพที่ 1: แล้วอายุไก่เนื้อที่เหมาะสมที่จะทำวัคซีนคืออายุ 12 วัน นั้นเอง
จุดมุ่งหมายสูงสุดของการออกโปรแกรมวัคซีนเพื่อป้องกันโรคกัมโบโรคือ จะต้องสามารถควบคุมและป้องการการติดเชื้อกัมโบโรจากพื้นที่มาสู่ตัวไก่ให้ได้ หรือเพื่อป้องกันไม่ให้ไก่ป่วยเนื่องจากการติดเชื้อไวรัสในพื้นนั้นเอง แต่ผลประโยชน์อื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการทำวัคซีนกัมโบโรนั้นเจ้าของฟาร์มจะต้องวางแผนในการทำวัคซีนเอง
การเตรียมการหรือการจัดการการทำวัคซีนที่ดีนั้นจะช่วยทำให้ประสิทธิภาพของการทำวัคซีนนั้นประสบผลสำเร็จและยังช่วยป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัวจากพื้นเข้ามาก่อโรคที่ต่อมเบอร์ซ่อของไก่ได้ด้วย และสุดท้ายก็จะส่งผลทำให้ไก่เนื้อที่เลี้ยงนั้นสุขภาพดี และมีผลผลิตที่ดีตามมาด้วย
จากประสบการณ์ที่ผ่านมา การคำนวนอายุของไก่ที่จะทำวัคซีนก็มักจะประมาณเอาช่วงที่ไก่เนื้อเริ่มจะมีการเจริญเติบโตนั้นเอง แต่ในอนาตคข้างหน้าเราอาจจะไม่จำเป็นต้องคำนวนอายุของไก่ที่จะทำวัคซีนแล้วก็ได้ แต่อาจจะดูที่ฟาร์มที่เลี้ยงไก่ อายุของการเลี้ยงไก่ การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสในพื้นที่แทนก็ได้

โรคที่รักษาไม่ได้
เรามักจะรู้เสมอว่าโรคกัมโบโรจะเป็นโรคที่รักษาไม่ได้ แต่ว่าการจัดการกับการเกิดโรคจะเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากกว่า ซึ่งในที่นี้ก็คือ เจ้าของฟาร์มจะมีจัดการโปรแกรมวัคซีนเพื่อป้องกันโรคอย่างไร มีการจัดการฟาร์มหรือการจัดการระบบสุขศาสตร์ป้องกันโรคภายในฟาร์มอย่างไร นั้นถือได้ว่าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากกว่าการรักษา
ดังนั้นโปรแกรมวัคซีนที่ทำในไก่เนื้อจำเป็นจะต้องจัดการให้ดีและจะต้องป้องกันการติดเชื้อไวรัสกัมโบโรจากพื้นที่ให้ได้ ซึ่งโปรแกรมวัคซีนที่ดีๆในโลกนี้ก็จะมีอยู่หลายแบบและที่นำมาประยุกต์ใช้แล้วประสบผลสำเร็จก็จะมีหลายฟาร์มเช่นกัน ในการศึกษาวิจัยประสิทธิภาพของการทำวัคซีนกัมโบโรในฟาร์มไก่เนื้อนั้นก็สามารถที่จะทำได้หลายแบบ เช่น การตรวจวิเคราะห์ค่าไตเตอร์ในเลือดไก่ การตรวจววิคราะห์หายีนโดยวิธี PCR เป็นต้น
ซึ่งจากการตรวจวิเคราะห์ลำดับยีนของเชื้อไวรัสกัมโบโรที่ผ่านมา เราจะพบว่ามีลำดับของยีน VP2 ที่พบแตกต่างจากที่ได้มีการศึกษามา ดังนั้นแสดงว่าเชื้อไวรัสกัมโบโรในปัจจุบันนี้อาจจะมีลักษณะที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งทั่งนี้จากความคิดเห็นของผู้เรียบเรียงมันน่าจะจัดอยู่ในกลุ่มที่ไม่ก่อให้เกิดโรคก็ได้ หรือที่เรียกว่า แวเรียน สเตนร์
วิธีการวิเคราะห์อีกวิธีหนึ่งที่นิยมนำมาใช้ในปัจจุบันนี้คือ วิธี RT- PCR ซึ่งจะเป็นวิธีการที่มีความแม่นยำสูง ใช้ระยะเวลาตรวจที่รวดเร็ว และเหมาะที่จะนำไปประยุกต์ใช้ภายในฟาร์มไก่เนื้อ แต่ว่าวิธีการวิเคราะห์ลำดับของยีนของเชื้อไวรัสนั้นก็ยังถือได้ว่าเป็นวิธีที่เหมาะที่จะนำมาแยกชนิดของเชื้อไวรัสว่าเป็นชนิดของวัคซีนหรือเป็นชนิดของเชื้อที่ก่อโรค ซึ่งจากรูปที่ 2: จะพบว่าสายพันธุกรรมของเชื้อไวรัสที่ก่อโรคกับสายพันธุกรรมที่อ้างอิงจะมีความเหมือนกันมากแต่ถ้าดูที่สายพันธุกรรมของเชื้อไวรัสที่นำมาทำเป็นวัคซีนจะมีความแตกต่างกันมากเมื่อเทียบกับสายพันธุกรรมมาตรฐาน
โดยทั่วไปแล้วถ้าไก่เนื้อมีการวัคซีนกัมโบโรมันก็จะสามารถป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสไปสู่ที่อื่นๆภายในฟาร์มได้ แต่ในทางกลับกันถ้าไก่ได้รับเชื้อไวรัสกัมโบโรเข้าไปก่อนการทำวัคซีนและเชื้อสามารถที่จะเข้าไปสู่ต่อมเบอร์ซ่าได้แล้วนั้นหมายถึงว่าการทำวัคซีนกัมโบโรนั้นจะไม่ได้ผลเลย
สุดท้ายแล้ว แนวทางการป้องกันการเกิดโรคกัมโบโรในไก่เนื้อนั้นสามารถที่จะทำได้ง่ายมาก เช่น การจัดการฟาร์มจะต้องสะอาด การล้างทำควาทสะอาดโรงเรือนและการฆ่าเชื้อภายในโรงเรือนจะต้องทำให้สะอาดซึ่งมันจะสามารถกำจัดเชื้อไวรัสกัมโบโรภายในฟาร์มออกไปได้ และนอกจากนี้สิ่งที่สำคัญที่สุดคือเจ้าของฟาร์มจะต้องป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัสกัมโบโรเข้าไปติดไก่ก่อนที่ภูมิคุ้มกันเนื่องจากวัคซีนจะสามารถทำงานได้เต็มที่ไม่เช่นนั้นแล้วการทำวัคซีนกัมโบโรก็จะไม่มีประโยชน์เลย
หลังจากที่มีการทำวัคซีนกัมโบโรแล้วประมาณ 3-7 วัน เจ้าของฟาร์มอาจจะมีการตรวจดูว่าเชื้อไวรัสที่อยู่ในวัคซีนนั้นมันสามารถที่จะเข้าไปอาศัยอยู่ที่ต่อมเบอร์ซ่าของไก่ได้อย่างสมบรูณ์หรือไม่ ซึ่งถ้าเจ้าของฟาร์มตรวจดูแล้วพบว่าต่อมเบอร์ซ่าไม่มีวิการเนื่องจากการทำวัคซีนแล้ว เจ้าของฟาร์มอาจจะพิจารณาทำวัคซีนกัมโบโรซ้ำอีกครั้งหนึ่งก็ได้เพื่อให้มั่นใจได้ว่าวัคซีนที่เราทำไปนั้นมันสามารถที่จะป้องกันการเกิดโรกัมโบโรในไก่ได้

ทิศทางของการป้องกันการติดเชื้อไวรัสกัมโบโรในฟาร์ม
หลักของการทำวัคซีนกัมโบโรในไก่เนื้อนั้น เจ้าของฟาร์มจะต้องมีการวางโปรแกรมการทำวัคซีนให้ถูกต้องโดยจุดมุ่งหมายก็เพื่อที่จะให้ภูมิคุ้มกันเนื่องจากวัคซีนสามารถที่จะป้องกันการติดเชื้อไวรัสภายในพื้นได้ โดยข้อมูลการวิจัยนี้จะเป็นสิ่งมีความสำคัญมากที่เจ้าของฟาร์มจะต้องใช้ในการป้องกันปัญหาการเกิดโรคกัมโบโรในการเลี้ยงรุ่นต่อๆไป
นอกจากนี้ เจ้าของฟาร์มก็จำเป็นที่จะต้องมีการศึกษาสภาพของต่อมเบอร์ซ่าด้วยว่ามันมีลักษณะเป็นอย่างไร ต่อมเบอร์ซ่ามีการฝ่อลีบ มีจุดเลือดออกหรือไม่ ซึ่งถ้าเรารู้สถานะแล้วเราก็จะสามารถวางแผนป้องกันโรคต่อไปได้
สิ่งสุดท้ายถ้าฟาร์มนั้นๆสามารถทำได้คือ การวิเคราะห์หาสายพันธุกรรมของเชื้อไวรัสกัมโบโรภายในฟาร์มเพราะว่า เราจะได้รู้ว่าเชื้อไวรัสกัมโบโรที่ระบาดอยู่ภายในฟาร์มเรานั้นเป็นชนิดอะไร มีความรุนแรงมากน้อยขนาดใหน ซึ่งข้อมูลตรงจุดนี้จะทำให้เจ้าของฟาร์มสามารถที่จะตัดสินใจได้ว่า จะเลือกใช้วัคซีนชนิดอะไร และจะมีการวางโปรแกรมการทำวัคซีนอย่างไรได้ด้วย เพื่อไม่ให้โรคที่เรียกว่า ปิศาจที่มองไม่เห็น เกิดขึ้นภายในฟาร์ม

ภาคผนวก
รูปภาพที่ 1: แสดงผลการวิเคราะห์ค่า ELISA ของซีรัมไตเตอร์ต่อเชื้อกัมโบโร จากจำนวนตัวอย่าง 20 ตัวอย่าง ในตัวอย่างไก่อายุ 1 วัน ซึ่งระดับไตเตอร์ที่วัดได้นี้จะเป็นระดับของไตเตอร์ที่ถ่ายทอดมาจากพ่อแม่ของไก่
ซึ่งจากภาพจะแสดงให้เห็นว่า อายุไก่ที่ใช้ในการทดสอบทั้งหมด จะมีอายุ 1 วัน : จำนวนลูกไก่ที่ใช้ในการทดสอบทั้งหมด 20 ตัว : ค่าเฉลี่ย Mean ที่วัดได้ = 6600 : ค่า %CV = 27 : ค่า GMT = 5950 : ซึ่งอายุที่จะทำวัคซีนที่คำนวนได้จะเท่ากับ 12 วัน

รูปภาพที่ 2: จะเป็นการแยกชนิดยีนของเชื้อไวรัสกัมโบโร เปรียบเทียบกันระหว่างเชื้อที่นำมาทำเป็นวัคซีนกับเชื้อที่ก่อโรคกัมโบโรในไก่ ซึ่งการวิเคราะห์นี้จะเป็นศึกษาลำดับของยีนของเชื้อไวรัสทั้ง 2 ชนิด ว่ามีความแตกต่างกันหรือไม่ โดยการศึกษานี้จะมีตัวเปรียบเทียบของเชื้อไวรัสกัมโบโรเป็นตัวมาตรฐานไว้เป็นตัวอ้างอิงด้วย
จากรูปที่แสดงจะพบว่า เชื้อไวรัสกัมโบโรที่ก่อโรคหรือ vvIBD นั้นจะมีลักษณะของสายพันธุกรรมที่คล้ายกับสายพันธุกรรมของไวรัสมาตรฐานที่นำมาเปรียบเทียบเป็นอย่างมาก ซึ่งถ้าดูที่เปอร์เซ็นต์ระหว่างสายพันธุกรรมที่ก่อโรคกับสายพันธุกรรมมาตรฐานจะพบว่ามีค่า 99.2 % กับ 99.0% ตามลำดับ แต่ถ้าดูที่ไวรัสสายพันธุกรรมที่นำมาทำเป็นวัคซีนจะมีความเหมือนของสายพันธ์เพียง 96% เท่านั้นเอง






ตารางที่ 1: การเปรียบเทียบการทำวัคซีนกัมโบโร 1 และ 2 ครั้ง เพื่อดูผลการฉีดเชื้อพิษทับ
จากผลการฉีดเชื้อพิษทับที่แบ่งออกเป็น ความรุนแรงสูงกับความรุนแรงต่ำ ผลจะพบว่า ถ้าเป็นเชื้อไวรัสกัมโบโรที่มีความรุนแรงสูง การทำวัคซีนวัคซีนกัมโบโรที่ดีที่สุดจะต้องทำ 2 ครั้ง แต่ถ้าเป็นเชื้อกัมโบโรที่มีความรุนแรงแบบต่ำๆ การทำวัคซีนกัมโบโรครั้งเดียวก็เพียงพอแล้ว



เอกสารอ้างอิง
· Marcos B. , Hipra and Ava S. . 2008 . Gumboro disease countering the hidden threat , International hatchery practice , V22 (8) : 13-15 p.

ไม่มีความคิดเห็น: