วันพุธที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2551

งานวิชาการ เดือน มีนาคม 2008

ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมการกินน้ำของไก่เนื้อ
( Understanding broiler drinking behaviour )


แปลและเรียบเรียงโดย น.สพ.ชัชวาลย์ สอนศรี
นายสัตวแพทย์ฝ่ายสุขภาพไก่เนื้อ ฟาร์มบริษัท
บ.สหฟาร์ม จำกัด และ บริษัท โกลเด็นไลน์ จำกัด 99 ม4 ต,ศิลาทิพย์ อ.ชัยบาดาล
จ.ลพบุรี 15130, Broiler red box. เดือน พฤษภาคม 2551



การจัดการน้ำไก่กินภายในฟาร์มไก่เนื้อ ถือได้ว่าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก ซึ้งผู้ที่ทำการเลี้ยงไก่ภายในฟาร์มจะต้องเข้าใจพฤติกรรมการกินน้ำของไก่ที่ตัวเองเลี้ยงอยู่ภายในฟาร์มให้ดีด้วย ซึ่งการจัดการการให้น้ำไก่กินนั้น ถ้าจัดการไม่ถูกต้อง เช่น ไก่ได้รับน้ำน้อย หรือรายน้ำไก่กินสูงเกินไป ก็จะทำให้ไก่ไม่โต น้ำหนักน้อย สิ่งรองนอนแห้ง ส่วนการจัดการรายน้ำแบบที่ต่ำเกินไปนั้นก็จะทำให้ไก่เล่นน้ำ สิ่งนอนเปียก เน่า เหม็นตามมา ซึ่งจากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ มันก็เป็นปัญหาเนื่องมาจากการจัดการน้ำไก่กินไม่ถูกต้องนั้นเอง
ลักษณะของการกินน้ำของไก่ภายในโรงเรือนนั้น ไก่จะแสดงอาการจิกที่หัว Nipple ที่ส่วนปลายของ Pin ของ Nipple โดยการจิกจะจิกอย่างรวดเร็ว เป็นจังหวะสั้นๆ ซึ่งปริมาณน้ำที่ใหลออกมาจากหัว Nipple จะมากหรือน้อยนั้น มันจะขึ้นอยู่กับ ความแรง และจำนวนครั้งของการจิกที่หัว Nipple ด้วย ซึ่งจากปัญหาที่กล่าวมาจะพบว่า จะมีไก่อยู่ 2 กลุ่มที่กินน้ำได้แตกต่างกันโดยเฉพาะไก่กลุ่มที่ตัวเล็กๆ ก็จะได้รับน้ำน้อย หรือกินน้ำได้น้อย ซึ่งหลังจากนั้นมันก็จะเกิดความเครียด และมันก็จะแสดงพฤติกรรมที่ดุร้ายเกิดขึ้นตามมา โดยมันจะแสดงอาการจิกไก่ตัวที่ใหญ่กว่าให้เห็นภายในโรงเรือนได้
โดยปกติแล้ว ช่วงเวลาในการที่จะเข้าไปกินน้ำของไก่ในแต่ละตัวนั้นจะใช้เวลาเพียงนิดเดียวเท่านั้น ซึ่งก็อาจจะไม่ถึง 1 นาที ด้วยซ้ำไป ในการเข้าไปกินน้ำของไก่ในแต่ละวันนั้นจะพบว่า ไก่ที่เลี้ยงภายในฟาร์มจะเข้าไปกินหลายๆครั้งในหนึ่งวัน และลักษณะหนึ่งที่พบที่สำคัญคือ การกินน้ำและกินอาหารของไก่ภายในโรงเรือนนั้น มันมักจะมีการหยุดและการกินพร้อมๆกันเสมอ คือ กินก็กินพร้อมกันและหยุดก็จะหยุดพร้อมกัน
พฤติกรรมทางสังคมที่แสดงออกของไก่ จะพบว่าเป็นพฤติกรรมที่แสดงออกมาแบบง่ายๆ หรือการทำอะไรที่มักจะเลียนแบบกัน หรือการทำอะไรก็มักจะทำแบบพร้อมกันเสมอ ซึ่งก็มักจะเห็นได้ง่ายๆภายในฝูงไก่ เช่น การแสดงออกของไก่ภายในฝูงนั้นๆมันมักจะมีการแสดงออกเป็นกลุ่มมากกว่าที่จะแสดงออกเป็นแบบตัวเดี่ยวๆ เสมอ
ในการกินน้ำของไก่ มันสามารถที่จะกินได้อย่างรวดเร็ว และสามารถที่จะกินได้ในปริมาณที่มากๆเสมอ ดังนั้นผู้ที่ทำการเลี้ยงไก่ไม่จำเป็นที่จะต้องไปไล่หรือไปกระตุ้นให้ไก่กินน้ำเลย หรือแม้กระทั้งยังมีความคิดที่ผิดๆอยู่เลยว่า การจัดการการกินน้ำของไก่นั้น จะต้องปิดรายน้ำไก่กิน เพื่อให้ไก่อดน้ำ แล้วเมื่อเปิดน้ำเข้าไปในรายน้ำแล้วไก่มันจะได้กินน้ำมากๆ ซึ่งถ้าเป็นความคิดที่กล่าวมานี้มันจะเป็นความคิดที่ผิดอย่างมหันต์เลยทีเดียว หรือแม้แต่กระทั้งการจัดการเรื่องของการเพิ่มแรงดันในรายน้ำที่มากขึ้นมากๆ เมื่อไก่มันไปจิกกินที่หัว Nipple แล้ว น้ำมันก็จะใหลออกมามากซึ่งมันก็จะทำให้น้ำหยดลงที่พื้นหรือสิ่งรองนอนของไก่ที่มากขึ้น สุดท้ายก็จะทำให้สิ่งนอนนั้นเสีย หรือเปียกชื้นตามมาได้ ดังนั้นควรที่จะจัดการแรงดันของน้ำภายในรายน้ำให้เหมาะสม ซึ่งโดยนิสัยของไก่แล้ว ในการกินน้ำต่อหนึ่งครั้งนั้น มันสามารถที่จะจิกที่ Pin ของ Nipple แบบนานๆและรุนแรงเพื่อที่จะทำให้น้ำนั้นสามารถที่จะใหลออกมาได้มากๆต่อ 1 ครั้งของการกิน อยู่แล้ว
ปัญหาอีกอย่างหนึ่ง ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการน้ำไก่กินที่ไม่ถูกต้องนั้นก็คือ เมื่อมีการจัดการแล้วมักจะทำให้สิ่งรองนอนของไก่เปียกชื้น เสีย เน่าเหม็น แล้วเกิดปัญหาการผลิตก๊าซแอมโมเนียเพิ่มขึ้นมากตามมา ซึ่งก๊าซแอมโมเนียนี้มันจะไปกระตุ้นทำให้เกิดปัญหาระบบทางเดินหายใจของไก่ที่มากขึ้น และสุดท้ายก็จะเหนี่ยวนำทำให้เกิดการติดเชื้อโรคอื่นๆตามมาได้ และข้อเสียอื่นๆที่มักจะพบตามมาเมื่อสิ่งรองนอนเสีย คือ จะเหนี่ยวนำทำให้ผ่าเท้าอักเสบเป็นหนอง หน้าอกเป็นหนอง ผิวหนังใหม้อักเสบ และเป็นแผลตามตัว ตามมา จากที่กล่าวมาจะพบว่า ผลกระทบเมื่อไก่เกิดปัญหาและเกิดการติดเชื้อตามมานั้น จะพบว่า มันจะมีผลต่อการนำอาหารไปไช้ภายในร่างกาย ทำให้การใช้อาหารที่กินเข้าไปนั้นไม่ได้เต็มที่ และในทางเดียวกันจะพบว่า เมื่อไก่เกิดการติดเชื้อขึ้นมาแล้ว มันจะไปมีผลทำให้สุขภาพของไก่ไม่ดีและสุดท้ายก็จะกระทบกับคุณภาพซากไก่ที่ส่งเข้าโรงเชือด ตามมาด้วย
ในการเลี้ยงไก่บางพื้นที่ จะพบว่า ผู้เลี้ยงไก่จะมีการประมาณการกินน้ำของไก่ภายในโรงเรือนโดยดูจากอัตราการใหลของน้ำภายในรายน้ำไก่กินที่มีการจัดการอยู่ภายในโรงเรือน โดยจะพบว่า น้ำที่ใหลออกมาจากหัว Nipple ของรายน้ำนั้นจะมากหรือน้อย จะขึ้นอยู่กับ จำนวนครั้งของการจิกที่ Pin และความแรงของการจิกในแต่ละครั้งด้วย และข้อเสียที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ ในการจิกที่หัว Nipple นั้น มันจะพบว่า มีน้ำส่วนหนึ่งที่ใหล หรือหยดออกมาจากหัว Nipple ซึ่งน้ำส่วนที่หกออกมานี้ มันก็จะเป็นส่วนหนึ่งที่ไก่จะไม่ได้กิน ทำให้การวัดปริมาณการกินน้ำของไก่โดยดูจากอัตราการใหลของน้ำนั้นไม่สามารถที่จะบอกความถูกต้องของปริมาณน้ำที่ใช้ได้อย่างแม่นยำ หรือจะกล่าวได้อย่างง่ายๆก็คือ น้ำที่ใหลเข้าไปภายในโรงเรือนเลี้ยงไก่นั้นจะประกอบไปด้วย น้ำที่ไก่กินและน้ำที่หยดลงสิ่งรองนอนของไก่ด้วย หรือจะกล่าวกันให้แคบเข้าไปอีก ก็จะสามารถที่จะอธิบายได้ว่า การดูปริมาณน้ำที่ใช้ภายในโรงเรือนโดยดูจากเลขมิเตอร์หน้าโรงเรือนเลี้ยงไก่นั้น คงจะบอกไม่ได้แล้วว่าไก่ภายในโรงเรือนนั้นกินน้ำตามจำนวนที่ตัวเลขของมิเตอร์หน้าโรงเรือนแสดงเอาไว้
แต่ในทางปฏิบัติแล้ว การจัดการที่สามารถที่จะบอกได้ว่า การจัดการน้ำไก่กินภายในโรงเรือนนั้นถูกต้องเหมาะสมหรือไม่นั้น ผู้เลี้ยงโดยส่วนมากมักจะดูที่อัตราการใหลของน้ำภายในรายน้ำไก่กิน และ ดูที่ความสูงของรายน้ำในแต่ละวันเป็นหลัก ซึ่งในส่วนของอัตราการใหลของน้ำภายในรายน้ำนั้น เค้ามักจะดูว่าเหมาะสมหรือไม่นั้น โดยดูจาก สิ่งรองนอนของไก่ว่าเปียกหรือไม่ ซึ่งถ้าเปียกชื้นมาก ก็แสดงว่าแรงดันน้ำภายในรายน้ำไก่กินนั้นแรงเกินไป หรือจะอธิบายได้ว่า ถ้าสิ่งรองนอนของไก่ที่อยู่ใต้รายน้ำไก่กินนั้นเปียกชื้นก็แสดงว่า ไก่ได้รับน้ำน้อยกว่า ปริมาณของน้ำที่หยดลงสู่สิ่งรองนอนของไก่ ซึ่งถ้าผู้เลี้ยงไก่เจอปัญหาดังที่กล่าวมานี้ จะต้องทำการแก้ไขปัญหาโดยการลด ความดันของน้ำภายในท่อรายน้ำลง จนกว่าจะพบว่าสิ่งรองนอนของไก่เริ่มจะแห้งมากขึ้น
แต่ในทางกลับกัน ถ้าดูสิ่งรองนอนของไก่แล้วพบว่า แห้งมาก เป็นฝุ่นผง นั้นแสดงว่า ไก่ภายในโรงเรือนนั้นได้น้ำในปริมาณที่น้อยมาก เพราะแรงดันน้ำภายในรายน้ำนั้นต่ำ ดังวิธีการแก้ไขก็คือ จะต้องทำการเพิ่มความดันภายในรายน้ำให้มากขึ้นให้เหมาะสมกับอายุของไก่ที่เลี้ยงในขณะนั้น ซึ่งปัญหาที่ตามมาเมื่อแรงดันน้ำภายในรายน้ำต่ำคือ ไก่จะกินอาหารน้อย ทำให้อัตราการเจริญเติบโตต่อวันของไก่ต่ำลง ในการเพิ่มแรงดันของน้ำภายในรายน้ำนั้น มีหลักปฏิบัติอยู่ว่า ให้ทำการเพิ่มแรงดันขึ้น 2 นิ้วต่อวันทุกวัน จนกว่าสิ่งรองนอนใต้รายน้ำจะมี ลักษณะที่เปียกชื้นเป็นจุดๆ ให้เห็น แล้วหลังจากนั้นก็จะต้องทำการหยุดเพิ่มแรงดันน้ำภายในรายน้ำ แล้วทำการจัดการกับสิ่งรองรองนอนที่เปียกนั้นต่อไป
ในหลักของความเป็นจริงแล้ว เราสามารถที่จะพิสูตรได้อย่างง่ายๆเลยว่าความชื้นของสิ่งรองนอนของไก่ใต้รางน้ำภายในโรงเรือนนั้นเหมาะสมหรือไม่ โดยดูจากเวลาที่เรากำแกลบขึ้นมา 1 กำมือ แล้วบีบให้แน่นแล้วปล่อยออก จะพบว่า มีแกลบบางส่วนที่ยังคงเป็นก้อนและมีแกลบบางส่วนจะแตกออกเป็นเม็ดๆ ให้เห็น นั้นหมายความว่า สิ่งรองนอนของไก่ภายในโรงเรือนนั้น อยู่ในลักษณะที่เหมาะสมแล้ว
ในการเลี้ยงไก่ทุกๆวันนั้น ทางผู้เลี้ยงไก่นั้นจะต้องมีการตรวจสอบความสมบรูณ์ของรางน้ำไก่กิน และแรงดันของน้ำภายในรางน้ำไก่กินด้วยว่าเหมาะสม ถูกต้องหรือไม่ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วระบบการให้น้ำไก่แบบ Nipple นั้นจะเป็นระบบปิดเสมอ ถ้าเมื่อใดก็ตามที่รายน้ำนั้นมันมีรูรั่ว หรือมีรูเปิดออกสู่สิ่งแวดล้อม มันก็จะเป็นช่องทางที่จะทำให้เชื้อที่ก่อโรคต่างๆเข้ามาภายในระบบการให้น้ำไก่กินได้ ซึ่งทั้งนี้จะเห้นได้อย่างง่ายๆก็คือ ในระบบการให้น้ำไก่กินแบบเปิดนั้น มักจะกระทบกับปัญหาดังที่กล่าวมานี้มาก คือ เมื่อไก่อยู่ภายในโรงเรือน มันก็จะมีการจิกกินสิ่งรองนอนบ้าง จิกเล่นกันบ้าง เสร็จแล้วมันก็จะมาจิกกินน้ำที่เป็นระบบเปิด ซึ่งสิ่งที่พบตามมาก็คือ มันก็จะนำเชื้อที่ก่อโรคต่างๆ เข้ามาปนเปื้อกับระบบน้ำนั้น ซึ่งเมื่อไก่ตัวอื่นมากิน มันก็จะได้รับเชื้อ หรือติดเชื้อนั้นไปด้วย ซึ่งในทางเดียวกัน เมื่อไก่ตัวหนึ่งได้รับเชื้อแล้ว มันก็จะแพร่เชื้อไปให้ไก่ตัวอื่นที่อยู่ภายในฝูงต่อไป ทำให้ไก่ทุกตัวที่อยู่ภายในฝุงนั้น ติดเชื้อตามไปด้วย
น้ำจัดได้ว่าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญกับไก่เป็นอย่างมาก เพราะว่ามันจะต้องใช้เพื่อการดำรงชีพของมัน และนอกจากนี้น้ำที่ไก่มันกินเข้าไปนั้น มันจะนำไปทำให้เม็ดอาหารนุ่ม อ่อนตัวลง และช่วยในการย่อยอาหารของไก่ที่กินเข้าไปด้วย ซึ่งถ้ามันย่อยอาหารได้มากขึ้นมันก็สมารถที่จะนำสารอาหารนั้นเข้าไปใช้ภายในร่างกายให้ได้มากขึ้นด้วย แต่ในกรณีที่ไก่กินน้ำที่น้อยลงแล้ว มันจะทำให้อาหารไก่ที่กินเข้าไปนั้นจับกันเป็นก้อนแข็ง และเมื่อไก่มันกลืนอาหารลงไป อาหารที่เป็นก้อนแข็งนี้มันจะไปกดทับกับเส้นเลือดแดงใหญ่ ซึ่งผลที่ตามมาก็คือ มันจะทำให้เลือดแดงไปเลี้ยงสมองลดลง ซึ่งก็จะมีผลกับสมองและตัวของไก่ตามมา ซึ่งผลสุดท้ายที่ตามมาก็คือ มันอาจจะทำให้ไก่เกิดการพิการขึ้นกับไก่ ขาเดินไม่ได้ หรือถ้าถึงขั้นรุนแรงก็อาจจะทำให้ไก่ตายได้
โดยทั่วไปแล้ว ลักษณะโครงสร้างของไก่นั้น ที่ตรงบริเวณของปากไก่มันจะมีช่องเปิดที่ต่อกับรูจมูก ออกมาต่อกับที่ช่องปากด้วย ซึ่งช่องเปิดที่ว่านี้มันก็มีประโยชน์อยู่เหมือน ก็คือ มันจะทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้ช่องว่างภายในปากไก่เกิดสภาพที่เป็นสูญญากาศตามมา แต่ข้อเสียของมันก็มี ซึ่งก็คือ เวลาไก่กินอาหารเข้าไป ถ้าเกิดการอุดตันบริเวณนี้ มันจะไปมีผลทำให้ไก่ตายได้มากขึ้น หรือที่เรียกได้ง่ายว่า ไก่น๊อก อาหารตาย ทางแก้ไขก็คือ เวลาไก่กินอาหารที่มากขึ้น ไก่ก็จะต้องกิน้ำที่มากขึ้นตามไปด้วย
ในการกินน้ำของไก่โดยทั่วๆนั้น มันจะอาศัยหลักของแรงโน้มถ่วงของโลกช่วยในการดึงดูดน้ำที่กินนั้นลงไปภายในกระเพาะพักของไก่ จากข้อได้เปรียบนี้ ผู้ที่ทำการลี้ยงไก่สามารถที่จะใช้ข้อได้เปรียบนี้ในการจัดการกินน้ำและระดับความสูงของรายน้ำไก่กินของไก่ได้ ซึ่งการจัดการการกินน้ำของไก่ในช่วง 1-3 วันแรกที่ลงลูกไก่นั้น ถือได้ว่าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะวันแรกของไก่ลงเลี้ยง ทางผู้เลี้ยงจะต้องสอนให้ไก่รู้จักการกินน้ำที่อยู่ที่รายน้ำไก่กินให้ดี และต่อไปพอไก่อายุมากขึ้นมันก็จะรู้จักกินน้ำด้วยตัวของมันเองที่ดีขึ้น ในช่วงแรกของการปรับระดับความสูงของรายน้ำไก่กินนั้น ให้ทำการปรับความสูงของระดับรายน้ำไก่กินให้สูงประมาณ ระดับตาของลูกไก่ ให้ไก่ได้จิกกินน้ำที่หัวของ Nipple ได้พอดี และนอกจากนี้ ระดับความเข้มของแสงที่อยู่ภายในโรงเรือนนั้นจะต้องมีปริมาณความเข้มแสงที่เพียงพอด้วย เพื่อให้ไก่สามารถที่จะเข้าไปกินน้ำได้อย่างสะดวกและทั่วถึง
ในช่วงไก่อายุ 2-3 วันแรกของการเลี้ยงไก่ ทางผู้เลี้ยงไก่จำเป็นจะต้องมีการปรับระดับของความสูงของรายน้ำไก่กินให้สูงพอประมาณ โดยลักษณะของลูกไก่ที่กินจะต้องยืนทำมุมประมาณ 45 องศา กับหัวของ Nipple ซึ่งถ้ามองดูไก่เห็นเป็นลักษณะแบบนี้แสดงว่าเรามีการจัดการได้ถูกต้องแล้ว
แต่ถ้าไก่ที่เลี้ยงอายุที่มากขึ้น ทางผู้เลี้ยงไก่ก็จำเป็นที่จะต้องมีการปรับระดับของรายน้ำให้สูงขึ้นตามไปด้วย ซึ่งเมื่อไก่ที่เลี้ยงอายุได้ 4 สัปดาห์ จะต้องมีการปรับระดับความสูงของรายน้ำไก่กินให้มีความสูงที่พอเหมาะโดยดูจาก เวลาที่ไก่ยืนกินน้ำนั้น หัวของไก่จะต้องทำมุมกับ Nipple ประมาณ 50-55 องศา ซึ่งถือได้ว่าเป็นจุดที่เหมาะสมแล้ว
สิ่งที่ไม่ถูกต้องที่สุดในการปรับระดับของรายน้ำไก่กินก็คือ ไม่ควรที่จะปรับระดับรายน้ำไก่กินให้สูงมากๆ หรือเมื่อดูแล้วไก่ยืดคอกินน้ำทำมุมเป็น 90 องศา หรือ ไก่ก้มหัวกินน้ำที่ต่ำมากๆ ซึ่งถ้าผู้เลี้ยงมองเห้นไก่กินน้ำภายในโรงเรือนแสดงอาการแบบนี้แล้ว นั้นก็แสดงว่า การจัดการระดับรายน้ำไก่กินภายในโรงเรือน นั้นยังทำไม่ถูกต้องแน่นอน กล่าวโดยสรุปแล้ว ในการปรับระดับความสูงของรายน้ำไก่กินที่ถูกต้องนั้น ไม่ควรให้ไก่ยืนกินน้ำทำมุมน้อยกว่า 45 องศา ซึ่งในทางที่ดีจะต้องให้ไก่ยืนกิน ทำมุมประมาณ 45 – 55 องศา กับหัว Nipple จะถือได้ว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องที่สุด
ในท้ายที่สุดนี้ การจัดการน้ำไก่กินถือได้ว่าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อการเลี้ยงไก่มาก เพราะว่า น้ำถือได้ว่าเป็นสารอาหารที่สำคัญต่อร่างกายไก่มาก และนอกจากนี้ยังเป็นส่วนที่ช่วยในการย่อยอาหาร ดูดซึมสารอาหารที่เป็นประโยชน์เข้าไปใช้ในร่างการต่อไป ซึ่งถ้าฟาร์มไก่เนื้อมีการจัดการระบบน้ำไก่กินที่ถูกต้องแล้ว สิ่งที่แสดงออกให้เห้นได้อย่างชัดเจนก็คือ ผลการเลี้ยงไก่ที่ได้นั้นจะอยู่ในเกณฑ์ที่ดี เสมอ


เอกสารอ้างอิง
· Zyggity system . 2004. Understanding broiler drinking behaviour, International poultry production , : 37 - 37 p.

ไม่มีความคิดเห็น: