วันอังคารที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2551

งานทดลอง วิจัย Pro-biotic ไก่เนื้อ

การทดลองเปรียบเทียบการใช้ Pro-biotic ในการเลี้ยงไก่เนื้อ

( Comparison Evaluation of Pro-biotic in broilers farms )


เรียบเรียงโดย น.สพ.ชัชวาลย์ สอนศรี
นายสัตวแพทย์ฝ่ายสุขภาพไก่เนื้อ ฟาร์มบริษัท
บ.สหฟาร์ม จำกัด และ บริษัท โกลเด็นไลน์ จำกัด 99 ม4 ต,ศิลาทิพย์ อ.ชัยบาดาล
จ.ลพบุรี 15130, Broiler red box. เดือน มีนาคม 2551



บทคัดย่อ
ในรายงานการวิจัยฉบับนี้ จะเป็นการทดลองเพื่อที่จะดูผลของการใช้ Pro-biotic ในไก่เนื้อ เปรียบเทียบกับการใช้ยาปฏิชีวนะ ซึ่งดรรชนีที่ใช้ชี้วัดประสิทธิภาพพของการทดลองนี้จะประกอบไปด้วย น้ำหนักไก่จับ , อัตราการสูญเสียสะสม , FCR , ADG , PI , ต้นทุนการผลิตรวมทั้งหมด , ต้นทุนยาวิตามิน ซึ่งผลของการทดลองทั้ง 2 กลุ่มระหว่าง ไก่เนื้อกลุ่มที่ใช้ Pro-biotic กับ ไก่เนื้อกลุ่มที่ใช้ยาปฏิชีวนะ จะได้ผลการทดลองตามลำดับดังนี้ น้ำหนักไก่จับ = 2.10±0.17 : 2.12±0.11 : อัตราการสูญเสียสะสม = 7.90±2.89 : 5.29±0.60 , FCR = 2.08±0.13 : 1.98±0.07 , ADG = 49.34±3.97 : 49..77±2.49 , PI = 220.33±36.75 : 246.33±23.86 , ต้นทุนการผลิตรวมทั้งหมด = 33.97±2.53 : 31.74±1.42 , ต้นทุนยาวิตามิน = 0.12±0.03 : 0.13±0.01 ซึ่งดูจากข้อมูลแล้วจะพบว่า ไก่เนื้อกลุ่มที่มีการใช้ Pro-biotic จะมีผลผลิตที่ต่ำกว่า ไก่เนื้อกลุ่มที่ไม่ได้ใช้ Pro-biotic ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า การใช้ยาปฏิชีวนะในไก่เนื้อ จะให้ผลผลิตที่ดีกว่า การใช้ Pro-biotic แต่จากการทดลองนี้ ปัจจัยหนึ่งที่มีผลเกี่ยวข้องกับการทดลองเป็นอย่างมากก็คือ สุขภาพของไก่เนื้อที่เลี้ยง โดยเฉพาะไก่เนื้อกลุ่มที่ใช้ Pro-biotic ซึ่งจะพบการติดเชื้อ E.coli และไก่แตกไซด์มาก ซึ่งประเด็นดังกล่าวมันอาจจะเป็นปัจจัยที่สำคัญมากที่มีผลทำให้ไก่กลุ่มทดลอง มีผลการเลี้ยงที่ต่ำกว่า กลุ่มควบคุม

คำสำคัญ : Pro-biotic , Broiler , FCR , ADG , PI , ไก่เนื้อ

บทนำ
การนำโปรไบโอติกไปเสริมให้กับสัตว์ เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงและภูมิต้านทานโรคให้กับสัตว์ ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่มีผู้สนใจศึกษามากขึ้น โดยประเทศไทยมีการประกาศใช้โปรไบโอติกไว้ในประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2539 โดยใช้ชื่อว่า สารเสริมชีวนะ ซึ่งหมายถึง จุลินทรีย์ที่ไม่ก่อโรค ที่ทำให้อาหารเป็นกรดแล้วไปมีผลต่อจุลินทรีย์ก่อโรค โดยที่แบคทีเรียโปรไบโอติกเองก็ไม่ก่อโรคในคน และสามารถเพิ่มจำนวนได้อย่างรวดเร็ว ทนต่อกรดและน้ำดีได้ดี เก็บไว้ได้นานโดยไม่สูญเสียสภาพการทำงาน
ในรายงานการวิจัยฉบับนี้ จะเป็นการศึกษาถึง ประสิทธิภาพของการใช้ Pro-biotic ในไก่เนื้อ ว่าจะให้ผลอย่างไรกับการเลี้ยงไก่เนื้อ ซึ่งจุดประสงค์หลักๆ ของการใช้ Pro-biotic ในไก่เนื้อ คือ มันจะไปช่วยลดการใช้ยาปฏิชีวนะในการเลี้ยงไก่เนื้อ ซึ่งถ้าเราสามารถที่จะลดการใช้ยาปฏิชีวนะลงได้แล้ว ไก่เนื้อที่ได้นั้นก็จะมีความปลอดภัยจากยาตกค้างในเนื้อไก่ และผู้ที่จะบริโภคไก่ก็จะมีความปลอดภัยตามมา และส่วนหนึ่งที่สำคัญก็คือ มันจะไปช่วยการติดเชื้อก่อโรคต่างๆ ในไก่ ไม่ว่าจะเป็น เชื้อ Samonella spp. , E.coli หรือเชื้อแบคทีเรียต่างๆ ที่เป็นอันตรายต่อไก่เนื้อที่เลี้ยง ( 2 ) : ( 4 ) แต่ว่าในรายงานการวิจัยฉบับนี้ จะไม่ขอกล่าวถึงในส่วนของการตรวจวิเคราะห์การปนเปื้อนเชื้อก่อโรคต่างๆในไก่ แต่จะเป็นการวิเคราะห์รายละเอียดและเปรียบเทียบในส่วนของผลการเลี้ยงระหว่างไก่เนื้อทั้ง 2 กลุ่มทดลองแทน ซึ่งรายละเอียดต่างๆ จะได้มีการกล่าวต่อไป
ในการทดลองวิจัยนี้ จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง ( ไก่เนื้อกลุ่มที่มีการใช้ Pro – biotic : ซึ่งรายละเอียดต่างๆจะอยู่ในภาคผนวก ) และ กลุ่มควบคุม (ไก่เนื้อกลุ่มที่ไม่มีการใช้ Pro – biotic : ซึ่งรายละเอียดต่างๆ จะอยู่ในภาคผนวก )
ในส่วนของการจัดการ การใช้ Pro – biotic ในไก่เนื้อ จะใช้ตามข้อกำหนดที่ วว. กำหนดมาให้ ซึ่งก็ถ้าคิดเฉลี่ยปริมาณของ Pro-biotic ที่ใช้ก็จะประมาณ 0.1 cc. ต่อน้ำ 1 ลิตร แต่ถ้าต้องการดูในรายละเอียด ว่าการใช้ในแต่ละวัน หรือในแต่ละช่วงอายุ ของไก่นั้นมีการใช้แบบใหน ก็สามารถที่จะดูได้ที่หัวข้ออุปกรณ์และวิธีการทดลอง ในส่วนของการเลี้ยงการจัดการภายในฟาร์มนั้น จะมีการจัดการต่างๆ ที่เหมือนกันทั้ง 2 กลุ่ม ( แต่ว่าปัจจัยอื่นๆ ที่อาจจะมีผลได้ก็อย่างเช่น พนักงานที่เลี้ยงไก่ในแต่ละโรงเรือนในการทดลองนี้จะเป็นคนละคนกัน โดยในการทดลองนี้จะไม่มีการนำมาคิด หรือ นำมาวิเคราะห์ร่วมด้วย )
จากรายละเอียดดังที่ได้กล่าวมาทั้งหมด วัตถุประสงค์ของการทดลอง ในฉบับนี้ก็คือ เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการใช้ Pro – biotic ในไก่เนื้อว่า ระหว่างกลุ่มที่ใช้และกลุ่มที่ไม่ใช้ Pro – biotic นั้น จะมีผลการเลี้ยงที่แตกต่างกันหรือไม่ โดยมีการตั้งสมมุติฐานเอาไว้ว่า ไก่เนื้อกลุ่มที่ใช้ Pro – biotic นั้นจะให้ผลการเลี้ยงไก่เนื้อโดยภาพรวมที่ดีกว่า ไก่เนื้อกลุ่มที่ไม่ได้ใช้ Pro – biotic ซึ่งกำหนดให้ค่า µ1 = µ2 : และกำหนดค่า ความเชื่อมั่นของการวิเคราะห์ข้อมูลเอาไว้ที่ 95% ( p < 0.05 )
ค่าทางสถิติ หรือ วิธีทางสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ในงานการวิจัยฉบับนี้ จะใช้วิธีการวิเคราะห์ ข้อมูลแบบ Independent sample T - test

อุปกรณ์ และ วิธีการทดลอง
อุปกรณ์การทดลอง
1. ทดลองที่ฟาร์มไก่เนื้อ GLB4 ทั้งหมด 6 โรงเรือน ซึ่งรายละเอียดของข้อมูลไก่เนื้อที่ใช้ในการทดลองนั้น จะอยู่ที่หัวข้อ ภาคผนวก
2. โรงเรือนเลี้ยงไก่เนื้อ ทั้งหมดจะใช้ 6 โรงเรือน โดยแบ่งออกเป็นกลุ่ม ทดลอง 3 โรงเรือน และ กลุ่มควบคุม อีก 3 โรงเรือน
3. ในส่วนของอาหารที่ใช้ในการเลี้ยงไก่ อุปกรณ์ที่ใช้ในการเลี้ยงไก่ และน้ำที่ใช้ในการเลี้ยงไก่นั้น ทางฟาร์มไก่เนื้อ GLB4 จะเป็นผู้ควบคุมดูแล และทำการจัดหาให้เพียงพอ เหมาะสมกับการทดลองนี้


วิธีการทดลอง
1. ไก่ทดลองคละเพศ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง Pro – biotic และ กลุ่มควบคุม ซึ่งเป็นไก่เนื้อกลุ่มที่ใช้ยาปฏิชีวนะ โดยรายละเอียดต่างๆ จะสามารถดูได้ที่ภาคผนวก ของงานวิจัยฉบับนี้
2. รายละเอียด ของการให้ Pro – biotic จะเป็นดังตารางนี้

แบ่งกลุ่มไก่
จำนวนฟาร์ม
จำนวน โรงเรือน
จำนวน
ตัว
อายุที่ให้
โปรไบโอติก
หมายเหตุ
1.โปรไบโอติก
1
3
73,520
วันที่ 4 - อายุจับ
ได้รับโปรไบโอติก 1-2 ชั่วโมงต่อวัน
(อายุ 1-3วัน รับยาปฏิชีวนะตามโปรแกรม)
2.ควบคุมให้ยา
1
3
73,680
-
ไม่ได้รับโปรไบโอติก แต่ให้ยา
รวม

6
147,200



หมายเหตุ 1. โปรไบโอติกผสมน้ำความเข้มข้น 10 กำลัง 7 ในไก่กิน 10 มิลลิลิตรต่อตัว โดยกินให้หมดภายใน 1-2 ชั่วโมง
และช่วงเวลาที่ให้ยาปฏิชีวนะ งดการให้โปรไบโอติกอย่างน้อย 6 ชั่วโมง
2. การให้วิตามิน สามารถให้ต่อจากการให้โปรไบโอติกได้ไปแล้วอย่างน้อย 3 ชั่งโมง
3. การให้ยาปฏิชีวนะพิจารณาตามดุลยพินิจของสัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์ม

3. ก่อนลงไก่ทดลอง ควรคัดเลือกลูกไก่จากพ่อแม่พันธุ์เดียวกันในสัดส่วนกลุ่มทดลองต่อกลุ่มควบคุม ให้เท่าๆ กัน
4. สุ่มชั่งน้ำหนักตัวลูกไก่ต่อกลุ่มทุกโรงเรือนๆ ละ 80 ตัว เพื่อเป็นน้ำหนักตัวไก่ทดลองเริ่มต้น ซึ่งรายละเอียดจะอยู่ใน
ภาคผนวกของงานวิจัยฉบับนี้

ผลการทดลอง
จากผลการทดลองทั้งหมด ทั้ง 2 กลุ่มทดลอง จะมีรายละเอียดต่างๆ ตามตารางข้างล่าง ซึ่งรายละเอียดต่างๆ ก็จะแบ่งเป็นทั้ง 2 กลุ่มทดลอง ดังนี้
ข้อมูลผลการเลี้ยงที่ได้จากการทดลอง :
· กลุ่มทดลอง ( Treatment group )
โรงเรือนที่
อายุไก่จับ(วัน)
น้ำหนักไก่จับ(kg)
%ไก่ตายสะสม
FCR
ADG
PI
ต้นทุนการผลิต(บาท/kg.)
ค่ายา(บาท/ตัว)
H2
42.65
2.19
6.01
2.01
51.23
239
32.63
0.14
H4
42.54
1.90
11.23
2.23
44.77
178
36.89
0.08
H6
42.49
2.21
6.47
2.00
52.01
244
32.39
0.14

· กลุ่ม ควบคุม ( Control group )
โรงเรือนที่
อายุไก่จับ(วัน)
น้ำหนักไก่จับ(kg)
%ไก่ตายสะสม
FCR
ADG
PI
ต้นทุนการผลิต(บาท/kg.)
ค่ายา(บาท/ตัว)
H1
42.65
2.24
4.92
1.83
52.58
273
30.17
0.13
H3
42.62
2.04
5.99
1.98
47.79
227
32.92
0.14
H5
42.47
2.08
4.98
1.94
48.99
239
32.13
0.13


ข้อมูลที่วิเคราะห์ได้ โดยวิธีทางสถิติ :
วิเคราะห์ค่าทางสถิติ ของภาพรวมทั้งหมด


AGE
BW
MORT
FCR
ADG
PI
COST
DRUG

N
Valid
6
6
6
6
6
6
6
6


Missing
0
0
0
0
0
0
0
0

Mean

42.5700
2.1100
6.6000
1.9983
49.5617
233.3333
32.8550
.1267

Std. Deviation

8.075E-02
.1290
2.3504
.1311
2.9770
31.1555
2.2040
2.338E-02

Variance

6.520E-03
1.664E-02
5.5242
1.718E-02
8.8627
970.6667
4.8574
5.467E-04

Minimum

42.47
1.90
4.92
1.83
44.77
178.00
30.17
.08

Maximum

42.65
2.24
11.23
2.23
52.58
273.00
36.89
.14

หมายเหตุ :
AGE = อายุไก่จับ เป็น วัน
BW = น้ำหนัก ไก่จับ เป็น กิโลกรัม
MORT = เปอร์เซ็นต์ การสูญเสียสะสม ถึงจับ
FCR = อัตราการแลกเนื้อ
ADG = อัตราการเจริญเติบโต ต่อ วัน
PI = ดรรชนี ชี้วัดผลผลิต หรือ Production index
COST = ต้นการผลิตรวมทั้งหมด เป็น บาทต่อกิโลกรัม
DRUG = ต้นทุน ยา และ วิตามิน เป็น บาทต่อตัว

วิเคราะห์ค่าทางสถิติ โดยการแบ่งแยกกลุ่มทดลอง
Group

AGE
BW
MORT
FCR
ADG
PI
COST
DRUG

A
Mean
42.5600
2.1000
7.9033
2.0800
49.3367
220.3333
33.9700
.1200

N
3
3
3
3
3
3
3
3

Std. Deviation
8.185E-02
.1735
2.8901
.1300
3.9740
36.7469
2.5316
3.464E-02

B
Mean
42.5800
2.1200
5.2967
1.9167
49.7867
246.3333
31.7400
.1333

N
3
3
3
3
3
3
3
3

Std. Deviation
9.644E-02
.1058
.6012
7.767E-02
2.4924
23.8607
1.4159
5.774E-03

Total
Mean
42.5700
2.1100
6.6000
1.9983
49.5617
233.3333
32.8550
.1267

N
6
6
6
6
6
6
6
6

Std. Deviation
8.075E-02
.1290
2.3504
.1311
2.9770
31.1555
2.2040
2.338E-02

หมายเหตุ : A = กลุ่มทดลองที่ใช้ Pro – biotic : B = กลุ่มทดลองที่ไม่ใช้ Pro - biotic

วิเคราะห์ค่าทางสถิติ โดยดูที่ค่า F - test






Levene's Test for Equality of Variances

t-test for Equality of Means


F
Sig.
t
df
Sig. (2-tailed)
Mean Difference
Std. Error Difference
95% Confidence Interval of the Difference











Lower
Upper

AGE
Equal variances assumed
.211
.670
-.274
4
.798
-2.0000E-02
7.303E-02
-.2228
.1828

Equal variances not assumed


-.274
3.897
.798
-2.0000E-02
7.303E-02
-.2249
.1849

BW
Equal variances assumed
1.695
.263
-.170
4
.873
-2.0000E-02
.1173
-.3458
.3058

Equal variances not assumed


-.170
3.307
.875
-2.0000E-02
.1173
-.3745
.3345

MORT
Equal variances assumed
9.100
.039
1.529
4
.201
2.6067
1.7043
-2.1254
7.3387

Equal variances not assumed


1.529
2.173
.256
2.6067
1.7043
-4.1952
9.4085

FCR
Equal variances assumed
1.828
.248
1.868
4
.135
.1633
8.743E-02
-7.9418E-02
.4061

Equal variances not assumed


1.868
3.267
.151
.1633
8.743E-02
-.1025
.4292

ADG
Equal variances assumed
1.446
.296
-.166
4
.876
-.4500
2.7083
-7.9695
7.0695

Equal variances not assumed


-.166
3.363
.878
-.4500
2.7083
-8.5665
7.6665

PI
Equal variances assumed
1.305
.317
-1.028
4
.362
-26.0000
25.2960
-96.2330
44.2330

Equal variances not assumed


-1.028
3.432
.371
-26.0000
25.2960
-101.0640
49.0640

COST
Equal variances assumed
2.237
.209
1.332
4
.254
2.2300
1.6747
-2.4197
6.8797

Equal variances not assumed


1.332
3.140
.271
2.2300
1.6747
-2.9680
7.4280

DRUG
Equal variances assumed
10.811
.030
-.658
4
.547
-1.3333E-02
2.028E-02
-6.9628E-02
4.296E-02

Equal variances not assumed


-.658
2.111
.575
-1.3333E-02
2.028E-02
-9.6321E-02
6.965E-02



สรุปและวิจารณ์
ในรายงานการวิจัยฉบับนี้ จุดประสงค์หลักก็เพื่อที่จะศึกษาถึงผลของการใช้ Pro – biotic ในไก่เนื้อ ว่ามันจะสามารถที่จะช่วยทำให้ไก่เนื้อมีการเจริญเติบโตที่ดีมากน้อยขนาดใหน และคุณภาพซากของไก่ที่ส่งไปที่โรงงานดีหรือไม่ รวมไปถึงเรื่องของต้นทุนการผลิต ต้นทุนค่ายาและ วิตามิน และนอกจากนี้ยังรวมถึง การวิเคราะห์ในส่วนของการปนเปื้อนเชื้อ Salmonella spp. การปนเปื้อนเชื้อ E.coli ในไก่เนื้อที่จะจับส่งโรงเชือดด้วย แต่ว่า ในงานวิจัยฉบับนี้จะศึกษาเฉพาะในส่วนของการเจริญเติบโตของไก่และต้นทุนของยาที่ใช้ในการเลี้ยงไก่เท่านั้น
จากผลการทดลอง ในรายงานฉบับนี้ จะพบว่า ไก่กลุ่มที่ให้ Pro-biotic จะมีผลการเลี้ยงที่แย่ หรือ ต่ำกว่าไก่เนื้อกลุ่ม ที่ไม่ได้ใช้ Pro-biotic อย่างชัดเจน แต่เมื่อนำข้อมูลมาทำการวิเคราะหืโดยวิธีทางสถิติโดดยใช้ Independent sample T – test เป็นตัววิเคราะห์ จะพบว่า มีค่า Parameter อยู่ 2 ตัวที่ให้ผลที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ อัตราการสูญเสียสะสม และ ต้นทุนค่ายาวิตามิน ซึ่งจะพบว่า ไก่เนื้อกลุ่มควบคุม จะมีการสูญเสียต่ำกว่าไก่เนื้อกลุ่มทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( p < 0.05 ) และ ไก่เนื้อกลุ่มควบคุม จะมีการต้นทุนค่ายาสูงกว่าไก่เนื้อกลุ่มทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( p < 0.05 )
แต่ถ้ามาพิจารณากันที่ ข้อมูลผลการเลี้ยง ระหว่างไก่เนื้อทั้ง 2 กลุ่มแล้ว จะพบว่า ค่า Parameter ที่ใช้ในการวัดประสิทธิภาพของการทดลองทั้งหมดของไก่เนื้อกลุ่มควบคุมจะดีกว่าไก่เนื้อกลุ่มทดลองอย่างชัดเจน ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า ไก่เนื้อกลุ่มที่ไม่ใช้ Pro-biotic จะมีผลการเลี้ยงดีกว่า ไก่เนื้อกลุ่มที่ใช้ Pro-biotic
สุดท้ายนี้ ทางคณะผู้ที่ทำการวิจัย ขอสรุปว่า ไก่เนื้อกลุ่มที่ใช้ Pro-biotic จะมีผลการเลี้ยงที่แย่ หรือ ต่ำกว่า ไก่เนื้อกลุ่มที่ไม่ใช้ Pro-biotic แต่ตามความคิดเห็นของผู้ที่ทำการวิจัยแล้ว สาร Pro-biotic ที่นำมาใช้กับไก่เนื้อนั้น ไม่ใช่ว่ามันจะไม่ดี หรือ ไม่มีประโยชน์ เพราะว่าจากรายงานวิจัยต่างๆ ก็ชี้ให้เห็นว่า การใช้ Pro-biotic สำหรับการเลี้ยงไก่เนื้อ จะส่งผลทำให้ไก่มีการเจริญเติบโตมากขึ้นทั้งนั้น (2) : (4) : (6) แต่ก็จะขัดแย้งกับ (5) ที่กล่าวว่า การใช้ยา Flavomycin ในการเลี้ยงไก่จะส่งผลทำให้ไก่ที่เลี้ยงมีการเจริญเติบโตที่ดีกว่า ไก่กลุ่มที่ใช้ Pro-biotic ซึ่งก็ตรงกับการทดลองนี้จะพบว่า ไก่เนื้อกลุ่มที่ใช้ Pro-biotic จะมีการเจริญเติบโตที่ต่ำกว่า ไก่กลุ่มที่ใช้ยาปฏิชีวนะ ถ้ากับมามองที่ปัญหาจริงๆแล้วจะพบว่า ไก่เนื้อกลุ่มที่ให้ใช้ Pro-biotic มันจะมีสุขภาพที่ไม่ดี ป่วย และตายสูงมาก ซึ่งปัญหาสุขภาพที่พบก็คือ ไก่แตก Size ติดเชื้อ E.coli ที่สูงมาก จึงส่งผลทำให้ไก่เนื้อกลุ่มนี้ ตายสูง น้ำหนักต่ำ FCR สูงตามมา และสุดท้ายก็จะพบว่า ไก่เนื้อกลุ่มที่ใช้ Pro-biotic จึงมีผลการเลี้ยงแย่กว่า หรือ ต่ำกว่า ไก่เนื้อกลุ่มที่ไม่ได้ใช้ Pro-biotic ตามมา ในการทดลองนี้จะมีส่วนของข้อมูลที่อาจจะเป็นปัจจัยที่มีผลที่เกี่ยวข้องที่จะทำให้ การวิเคราะห์ข้อมูลเบี่ยงเบนไปได้ คือ ลูกไก่ที่มาจากฟาร์มพ่อ – แม่พันธุ์นั้น ไม่ได้มาจากฟาร์มพ่อ – แม่พันธุ์เดียวกัน ถึงแม้ไก่เนื้อจะเป็น พันธุ์เดียวกันก็ตาม ดังนั้น ในการทดลองในครั้งหน้า จะต้องมีการจัดการกลุ่มการทดลองให้มีความเหมาะสม ให้มากกว่านี้

กิตติกรรมประกาศ
ในการทดลองครั้งนี้ จะเป็นการทดลองที่เกิดจากการร่วมมือกัน ระหว่าง 3 หน่วยงาน คือ สถาบันวิจัย ที่เรียกว่า วว. และ หน่วยงานห้องปฏิบัติการของบริษัท สหฟาร์ม และหน่วยงานฟาร์มไก่เนื้อ ที่ใช้เป็นฟาร์มทดลอง ซึ่งแต่ละส่วนก็จะมีผู้ที่ทำงาน ปฏิบัติงานอยู่ในแต่ละส่วน ที่ทำให้การปฏิบัติงานในครั้งนี้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ซึ่งในการทดลองทดลองในครั้งหน้า ก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่า คงจะได้รับความร่วมมือด้วยดี อีกต่อไปในภายภาคหน้า ขอขอบคุณครับ

เอกสารอ้างอิง
1. ผลผลิตไก่เนื้อ วงรอบเดือน มกราคม ถึง กุมภาพันธ์ 2008 ฟาร์ม GLB4
2. ดอเล๊าะ ดาลี .2549.การดื้อยาต้านจุลชีพในฟาร์มสุกรและไก่เนื้อในเขตจังหวัดนครพนมและจังหวัดสกลนคร
3. จินตนา อิทรมงคล.2008.กระบวนการสารธรรมชาติทดแทนการใช้สารเคมีภัณฑ์สังเคราะห์ในการเลี้ยงสัตว์
4. Priyankarage el.al. Comparison of efficacies of different probiotic for broiler chickens
5. Muzaffer D.,Ferda O. and Kemal Q..2003.Effect of dietary probiotic organic acid and antibiotic supplementation to diets on broiler performance and carcass yield, Pakistan journal of nutrition , V2(2) : 89-91 p.
6. Aksu MR..2005.Effect of a dietary probiotic on some quality characteristics of raw broiler drumstics and breast meats , j. of muscle feeds , V6(4) : 306-317 p.

ภาคผนวก
ประวัติของไก่เนื้อ ทั้ง 2 กลุ่ม
· กลุ่มทดลอง ( Treatment group )
โรงเรือนที่
จำนวนไก่ลงเลี้ยง
พันธุ์
ฟาร์มพ่อ-แม่พันธุ์
เกรดไก่
เพศ
โรงฟัก
น้ำหนักลูกไก่วันแรก(g)
%ความสม่ำเสมอของลูกไก่
H2
24480
UY
SB9
A
คละ
GL1
41.00
83.00
H4
24480
UY
GL3
a
คละ
GL3
36.00
88.00
H6
24560
UY
SB9
A
คละ
SB3
41.00
83.00
*** หมายเหตุ
UY = ไก่เนื้อพันธุ์ Hubbard UY
SB9 = ไก่เนื้อที่มาจากฟาร์ม พ่อ-แม่พันธุ์ ซับสมบรูณ์ 9 / หรือ ลูกไก่ที่มาจากโรงฟัก ซับสมบรูนณ์ 9
GL3 = ไก่เนื้อที่มาจากฟาร์ม พ่อ-แม่พันธุ์ โกลเด้นไลน์ 3 / หรือ ลูกไก่ที่มาจากโรงฟัก โกลเด้นไลน์ 3

· กลุ่ม ควบคุม ( Control group )
โรงเรือนที่
จำนวนไก่ลงเลี้ยง
พันธุ์
ฟาร์มพ่อ-แม่พันธุ์
เกรดไก่
เพศ
โรงฟัก
น้ำหนักลูกไก่วันแรก(g)
%ความสม่ำเสมอของลูกไก่
H1
24560
UY
SB9
A
คละ
GL1
41.00
88.00
H3
24560
UY
GL3
a
คละ
SB3
36.00
86.00
H5
24560
UY
SB2
A
คละ
GL1
38.00
94.00
*** หมายเหตุ
UY = ไก่เนื้อพันธุ์ Hubbard UY
SB9 = ไก่เนื้อที่มาจากฟาร์ม พ่อ-แม่พันธุ์ ซับสมบรูณ์ 9 / หรือ ลูกไก่ที่มาจากโรงฟัก ซับสมบรูนณ์ 9
GL3 = ไก่เนื้อที่มาจากฟาร์ม พ่อ-แม่พันธุ์ โกลเด้นไลน์ 3 / หรือ ลูกไก่ที่มาจากโรงฟัก โกลเด้นไลน์ 3


ประวัติการให้ยา วิตามิน และ วัคซีน
กลุ่มทดลอง ( Treatment group ) กลุ่ม ควบคุม ( Control group ) จะมีการใช้ยา วิตามิน และ วัคซีน จะมีรายละเอียด ดังนี้ โดยยาที่ใช้จะใช้ในกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง ก็คือ ที่อายุ 1-3 วัน จะใช้ AV-RO100 ( Enrofloxacin 10% ) ให้โดยการละลายน้ำ โรงเรือนละ 0.5 ลิตรต่อโรงเรือนต่อวัน ซึ่งการให้กินนั้นจะแบ่งให้ 2 ครั้งต่อวัน และที่อายุไก่ 16-18 วัน กลุ่มควบคุมจะใช้ Cosultrim ( Sulfadiazine + Trimethoprim 25% ) โดยใช้ 2 kg.ต่อโรงเรือนต่อวัน ซึ่งการให้จะแบ่งให้ 2 ครั้งต่อวัน ส่วนไก่กลุ่มทดลองจะไม่มีใช้ยาในช่วงอายุนี้ การใช้วิตามิน จะมีการใช้เหมือนกันทั้ง 2 กลุ่มทดลอง โดยใช้ Pool mix ( Vitamin B. complex ) ให้ที่อายุ 1-3 วัน แรกของไก่ที่ลงเลี้ยง โดยใช้ 0.5 kg. ต่อโรงเรือนต่อวัน ในการให้วิตามินนั้น จะให้ 1 ครั้งต่อวัน และในส่วนของวัคซีนนั้น ทั้ง 2 กลุ่มทดลอง จะมีการทำวัคซีนที่เหมือนกัน คือ ที่อายุ 1 วันที่โรงฟัก จะมีการทำวัคซีน NDW+IB(H120) โดยการ Coarse spray ที่โรงฟัก และที่อายุ 8-10 วัน จะทำวัคซีน ND(B1)+IB(H120) โดยวิธี Spray ภายในโรงเรือน และที่อายุ 15 วัน จะทำวัคซีน IB (Blen ) โดยวิธี ละลายน้ำ

ยาฆ่าเชื้อ และ การเตรียมโรงเรือน
ยาฆ่าเชื้อต่างๆ ที่ใช้ภายในฟาร์ม จะใช้หลายๆตัว คือ ยาฆ่าเชื้อกลุ่มคลอส AV-Clean ( Quaternary ammonium compound + glutaraldeheid ) ยาฆ่าเชื้อกลุ่ม BKC , Quazanium ( Benzakonium choline ) ยาฆ่าเชื้อกลุ่มฟอร์มาลีน Formalin และยาฆ่าเชื้อกลุ่มคลอลีน Chlorine
ในส่วนของกระบวนการ การเตรียมโรงเรือนนั้น จะมีขั้นตอนดังนี้ คือ 1.ล้างทำความสะอาดฆ่าเชื้อภายในโรงเรือนหลังเอามูลไก่เก่าออกแล้วโดย AV-Clean ซึ่งจะเป็นการ Spray ให้ทั่วภายในโรงเรือน ขั้นตอนที่ 2. ก็จะเป็นการลงแกลบ และเกลี่ยกระจายให้ทั่วทั้งโรงเรือน ขั้นตอนที่ 3. การฆ่าเชื้อครั้งที่สุดท้ายโดยใช้ Formalin แล้วหลังจากนั้นก็จะทำการปิดโรงเรือน เอาไว้อย่างน้อย 5-7 วัน ก่อนที่จะลงไก่ ซึ่งทั้ง 2 กลุ่ม ทดลองจะมีขั้นตอนของการเตรียมโรงเรือนที่เหมือนกัน

ไม่มีความคิดเห็น: