วันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

การกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ในลูกไก่

การกระตุ้นระบบภูมิคุ้นกันของร่างกายไก่ โดยเน้นวิธีการให้อาหารในลูกไก่แรกเกิด
( Boosting the chick’s immune system through early nutrition )

แปลและเรียบเรียงโดย น.สพ.ชัชวาลย์ สอนศรี
นายสัตวแพทย์ฝ่ายสุขภาพไก่เนื้อ ฟาร์มบริษัท
บ.สหฟาร์ม จำกัด และ บริษัท โกลเด็นไลน์ จำกัด 99 ม4 ต,ศิลาทิพย์ อ.ชัยบาดาล
จ.ลพบุรี 15130, Broiler red box. เดือน มีนาคม 2551


งานวิชาการฉบับนี้จะเป็นการศึกษาถึงประโยชน์ของการให้อาหารในลูกไก่หลังจากฟักออกมาจากไข่ในช่วงแรก ซึ่งการให้อาหารแบบนี้จะมีประโยชน์หลายๆอย่าง เช่น ทำให้สุขภาพของไก่ที่เลี้ยงดี แข็งแรง มีภูมิคุ้มกันที่ดี และสุดท้ายจะทำให้ผลการเลี้ยง หรือการผลิตไก่ในฝูงนั้นๆดี ตามไปด้วย
ในช่วง 3 ทศวรรษที่ผ่านมา การเลี้ยงการจัดการไก่เนื้อได้มีการพัฒนาไปอย่างมาก อย่างเช่น สายพันธุ์ของไก่ อาหารไก่กิน ตลอดจนการเลี้ยงการจัดการต่างๆ ซึ่งจะเห็นได้ชัดเจนในการเลี้ยงไก่เนื้อที่เป็นระบบอุตสาหกรรม ครบวงจร ในการเลี้ยงไก่เนื้อ จุดมุ่งหมายสูงสุดก็คือ ไก่เนื้อจะต้องโตเร็ว ใช้อาหารน้อยและใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสายพันธุ์ไก่เนื้อที่นำมาเลี้ยงในปัจจุบันนี้ โดยมากแล้วก็มักจะเป็นแบบนี้ทั้งนั้น และที่สำคัญกว่านั้นก็คือ ไก่เนื้อที่เลี้ยงนั้นก็จะเน้นไปที่การพัฒนาของเนื้อหน้าอกไก่เป็นหลัก ถึงอย่างไรก็ตาม เมื่อการเลี้ยงไก่เนื้อมีการกระตุ้นให้มีการเจริญเติบโตที่มากแล้ว ในทางตรงกันข้าม ผลเสียต่างๆมันก็ย่อมจะมีตามมาเสมอ อย่างเช่น ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายไก่จะไม่ดี จะเหนี่ยวนำทำให้เกิดปัญหา Metabolic disorder ที่มากขึ้นตามมา นอกจากนี้ระบบการป้องกันโรคหรือการป้องกันเชื้อต่างๆก็จะลดลง และสุดท้ายก็จะพบอัตราการตายของไก่ที่เลี้ยงสูงมากขึ้นตามไปด้วย มีรายงานการวิจัยบางฉบับได้มีการกล่าวเอาไว้ว่า ลูกไก่หลังจากฟักออกมาแล้ว มันจะมีภูมิคุ้นกันต่างๆ ที่ได้รับมาจากพ่อแม่ ซึ่งมันก็จะมีปริมาณที่เพียงพอและอยู่ได้ไปจนถึง 1 สัปดาห์แรกของอายุของมัน แต่สิ่งที่นึกไม่ถึงก็คือ ลูกไก่กลุ่มนี้มันกับจะมีการติดเชื้อที่เพิ่มมากขึ้น และพบการตายที่มากขึ้นด้วย ซึ่งเป็นสาเหตุที่กล่าวมา เดี๋ยวจะมีการถึงรายละเอียดต่อไป ในการเจริญเติบโตของลูกไก่นั้น หลังจากที่ลูกไก่ฟักของออกมาแล้ว ระบบร่างกายส่วนต่างๆของมันจะมีการพัฒนาไปเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นระบบโครงสร้างของร่างกาย ระบบกล้ามเนื้อ ระบบประสาท ระบบทางเดินอาหาร ตลอดจนระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ซึ่งระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายนั้น ก็จะแบ่งออกเป็น 2 ระบบคือ ระบบพึ่งเซลล์ และระบบในกระแสเลือด ระบบภูมิคุ้มกันพวกนี้มันจะมีความจำเป็นมากสำหรับลูกไก่ที่เจริญเติบโตในช่วงแรก ซึ่งมันจะใช้ในการป้องกันการติดเชื้อต่างๆจากสิ่งแวด้อม โดยระบบภูมิคุ้มกันที่ลูกไก่สร้างขึ้นมานี้ มันจะมีประโยชน์ช่วยในการควบคุมและป้องการติดเชื้อต่างๆ จากสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ลูกไก่ปลอดภัย และมีสุขภาพแข็งแรง

ระบบการสร้างภูมิคุ้มกันภายในร่างกายของไก่
ในระบบการสร้างภูมิคุ้มกันของไก่นั้น จะมีส่วนประกอบของระบบโครงสร้างอยู่หลายส่วน และหน้าที่ของภูมิคุ้มกันไก่ที่สร้างขึ้นมานั้น ก็จะมีอยู่หลายๆหน้าที่ ตามรายละเอียดใน ตารางที่ 1: ภูมิคุ้มกันที่อยู่ภายในร่างกายนั้น มันจะมีการกระจยออกไปทั้วร่างกายของไก่ ซึ่งชนิดของภูมิคุ้มกันที่มีอยู่นั้น มันจะมีทั้งชนิดที่เป็นเซลล์ต่างๆ เคลื่อนที่อยู่ภายในร่างกาย และส่วนที่เป็น สารเคมี ที่มันจะวิ่งไปตามเส้นเลือดที่อยู่ภายในร่างกายไก่ นั้นเอง
สัตว์ปีกก็เหมือนกับสัตว์ชนิดอื่นๆ ภูมิคุ้มกันชนิดต่างๆ จะมีการสร้างมาจาก ส่วนที่มีลักษณะคล้ายต่อมน้ำเหลือง หรือที่เรียกว่า Lymphoid system ซึ่งอวัยวะที่ใช้ในการสร้างภูมิคุ้มกันภายในร่างกายนั้น จะแบ่งออกเป็นหลายระดับชั้น คือ อวัยวะส่วนที่ใช้ในการสร้างภูมิคุ้มกันโดยตรง ซึ่งถือได้ว่าเป็นส่วนที่ 1 หรือถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางของระบบการสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายเลยก็ว่าได้ และในส่วนต่อมาก็คือ ส่วนเสริมที่ใช้ในการสร้างภูมิคุ้มกัน ซึ่งก็ได้แก่ ระบบ Lymphoid system ต่างๆของร่างกาย ซึ่งระบบนี้ถือได้ว่าเป็นส่วนที่ 2 ของการสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย ก็ว่าได้ ดังแสดงใน รูปที่ 1: ในร่างกายของไก่ จะประกอบไปด้วย ต่อม เบอร์ซ่า และต่อมไทมัส ซึ่งเป็นอวัยวะส่วนแรกๆที่ทำหน้าที่ ในการสร้างสารที่ทำหน้าที่เป็นระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกาย ซึ่งสารหรือเซลล์ที่ผลิตได้ในช่วงแรกๆนี้ มันจะยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ ซึ่งเมื่อมันผลิตออกมาสู่ร่างกายแล้ว มันก็จะมีการเจริญเติบโตต่อไปจนกลายไปเป็นเม็ดเลือดขาว ทำหน้าที่เป็นระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกายต่อไป ส่วนของระบบการสร้างภูมิคุ้มกันภายในร่างกายที่เป็นส่วนที่สอง ก็คือ มันก็จะสร้างจาก ม้าม ไขกระกูดูก ต่อม Harderian gland ต่อม Pineal gland และนอกจากนี้ยังมี เซลล์ที่ทำหน้าที่เป็นระบบภูมิคุ้มกันอีกหลายส่วน เช่น MALT , BALT , GALT , CALT , และนอกจากนี้ยังมีเซลล์พวก Lymphoid cell ต่างๆ ที่อยู่ตามอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกายที่ทำหน้าที่ผลิตเซลล์ภูมิคุ้มกันด้วย เซลล์ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกายนี้ มันจะมีการเคลื่อนที่กระจายกันออกไปตามส่วนต่างๆของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นที่ใต้ผิวหนัง หรือที่ระบบทางเดินหายใจ มันจะคอยทำหน้าที่ดักจับสิ่งแปลกปลอมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเชื้อโรค หรือสิ่งที่ก่อให้เกิดอันตรายต่างๆกับร่างกาย เพื่อป้องกันไม่ให้มันเคลื่อนที่เข้ามาก่ออันตรายกับร่างกายได้ ซึ่งเซลล์กลุ่มพวกนี้จะเรียกว่า ระบบภูมิคุ้มกันเฉพาะที่ และนอกจากนี้ ภายในร่างกายจะมีระบบภูมิคุ้มกันอีกอย่างหนึ่งที่เรียกว่า ระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกาย ซึ่งเซลล์กลุ่มพวกนี้มันจะอยู่ภายในระบบกระแสเลือดของไก่ภายในร่างกาย หน้าที่มันก็คือ จะทำหน้าที่ทำลายสิ่งแปลกแปลมต่างๆ ที่เข้าสู่ร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นเชื้อที่ก่อโรค หรือสิ่งมีชีวิตต่างๆ หลังจากที่มันผ่านเข้ามาภายในร่างกายได้แล้ว เซลล์จำพวกเม็ดเลือดขาวก็จะเข้าไปดักจับกิน และทำลายอีกต่อหนึ่ง ซึ่งจุดมุ่งหมายหลักก็เพื่อที่จะไม่ให้ร่างกายไก่ ได้รับอันตรายจากเชื้อก่อโรคนั้นเอง

การพัฒนาการของระบบภูมิคุ้มกันของตัวอ่อน ของไก่
ในการพัฒนาการของระบบภูมิคุ้มกันของตัวอ่อนของไก่ที่เกิดมานั้น จะมีการพัฒนาตั้งแต่เริ่มแรกเลย ก็คือตั้งแต่ไก่มีการแบ่งเซลล์ของร่างกายภายในฟองไข่ โดยมันจะมีการพัฒนาหรือสร้างเม็ดเลือดขาวขึ้นมาจากกลุ่มของเซลล์ระบบภูมิคุ้มกันที่จะเจริญเติบโตต่อไปเป็นส่วนต่างๆของร่างกาย ซึ่งเซลล์เริ่มแรกที่มีการพัฒนาขึ้นนี้เรียกว่า Lymphoid stem cell โดยเมื่อไก่เจริญเติบโตเต็มที่แล้ว เซลล์ภูมิคุ้มกันกลุ่มนี้มันจะ มีการสร้างขึ้นมาอย่างรวดเร็ว ที่อวัยวะส่วนที่เรียกว่า ต่อมเบอร์ซ่า และ ต่อม ไทมัส ในการสร้างเซลล์ที่เกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันจากอวัยวะทั้ง 2 ส่วนนี้ มันจะมีความแตกต่างกันในไก่แต่ละตัว และนอกจากนี้มันยังขึ้นกับขนาดของอวัยวะทั้ง 2 ส่วนด้วย ชนิดของเซลล์ของภูมิคุ้มกันที่สร้างขึ้นมาจากต่อมเบอร์ซ่า และต่อมไทมัส นี้ มันจะมีลักษณะที่แตกต่างจากเซลล์ของระบบภูมิคุ้มกันที่ผลิตจากส่วนของ ม้าม หรือต่อม ซีคอนทอลซิล ภายในร่างกายอีกด้วย เมื่อกล่าวถึงเซลล์ต้นกำเนิดของระบบภูมิคุ้มกันแล้ว Stem cell มันจะทำการเคลื่อนที่ไปยังต่อมไทมัสของไก่ในช่วงของการแบ่งเซลล์ เมื่อไก่มีการเจริญเติบโตที่อายุ 6.5 ; 12 และ 18 วันตามลำดับ และมันจะเคลื่อนที่ไปที่ต่อมเบอร์ซ่าของไก่ในช่วงของการแบ่งเซลล์ ที่อายุ ระหว่าง 7.5 และ 14 วัน ตามลำดับ ซึ่งเซลล์ลิมโฟไชด์ นี้มันจะมีการพัฒนา หรือเปลี่ยนแปลงรูปร่างไปเมื่อไก่มีการเจริญเติบโตที่มากขึ้น ในการเจริญพัฒนาของ T-Cell นั้น มันจะพัฒนา receptor ได้สมบูรณ์เต็มที่เมื่อไก่อายุ 14-24 วัน ในส่วนของ B-Cell นั้น มันจะมีการพัฒนาการที่แตกต่างออกไปโดย มันจะขึ้นอยู่กับ อิมมุโนโกบุลิน ที่อยู่ภายในกระแสเลือด ซึ่งเป็น IgM จะใช้เวลา 12 วัน แต่ถ้าเป็น IgG จะใช้เวล 14 วัน ในส่วนของระบบการสร้างภูมิคุ้มกันส่วนเสริมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ม้าม ต่อมซีคอลทอลซิล และแมกเคลใดเวอติคุลัม นั้น มันจะมีการพัฒนาการที่สมบูรณ์ตั้งแต่อยู่ภายในไข่ในช่วงของการฟักแล้ว ซึ่งถ้าจะว่าไปแล้ว B-Cell มันสามารถที่จะตรวจพบได้ตั้งไก่กำลังฟักอยู่ในตู้ฟักอยู่เลย ซึ่งสามารถที่จะตรวจพบได้บริเวณต่อมทอลซิล ซึ่งจะแตกต่างจาก IgM จะพบได้หลังจากที่ฟักออกมาจากไข่แล้ว ในส่วนของ T-Cell จะสามารถพบได้ในลำไส้ ส่วนที่เรียกว่า lamina propria และชั้น epithelium ของลำไส้ และพบได้ที่ม้ามของไก่ได้ด้วย ซึ่งในบางครั้ง มันก็สามารถที่จะสร้างสาร cytotoxin ออกมาฆ่าเชื้อต่างๆ ได้ด้วย เช่นกัน

มันจะเกิดอะไรขึ้น ถ้าให้อาหารลูกไก่ช้า หลังฟักออกจากไข่
ในการเลี้ยงไก่ที่เป็นแบบระบบ อุตสาหกรรมนั้น การฟักไข่อาจจะพบมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ถึง 2 วัน จากวันปกติ ซึ่งมันก็จะสามารถเกิดขึ้นได้อยู่แล้ว โดยจะพบได้ทั้งลูกไก่ที่ฟักออกมาช่วงก่อนและหลังจากค่าปกติที่ได้มีการกำหนดเอาไว้ ดังนั้นก่อนที่จะดึงถาดไข่ออกจากตู้เกิด ก็ควรให้แน่ใจว่า ลูกไก่ฟักออกมาเกือบจะหมดแล้ว หลังจากที่ดึงถาดไข่แล้ว จะต้องนำลูกไก่ออกมาแยกเพศถ้าจำเป็นและหลังจากนั้นก็จะต้องนำมาทำวัคซีน เมื่อเสร็จขบวนการต่างๆที่โรงฟักแล้ว ก็จะต้องนำลูกไก่มาไส่กล่องตามความเหมาะสมเพื่อที่จะรอการเคลื่อนย้ายไปยังฟาร์มต่างๆไป ตามปกติแล้ว ลูกไก่ที่ฟักมาออกมาจากไข่แล้วนั้น ไม่จำเป็นที่จะต้องได้รับอาหารหรือน้ำเลย ในช่วง 36 – 48 ชั่วโมงแรกที่ฟักออกมา แต่ว่ามันก็จะเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่จะทำให้การเจริญเติบโตของไก่ที่จะนำไปเลี้ยงที่ฟาร์มไม่ดีตามมาด้วย ดังนั้นอาจจะกล่าวได้ว่า ช่วงของเวลาที่ลูกไก่ได้รับอาหารหลังจากที่ฟักออกมาจากไข่นั้น จะเป็นสิ่งที่สำคัญมากต่อการเจริญเติบโตของไก่ต่อไป เมื่อนำไปเลี้ยงที่ฟาร์ม

แหล่งอาหารของลูกไก่แรกเกิด
ปัจจัยหลายๆอย่างที่มีผลกระทบต่อการสร้างภูมิคุ้มกันของภายในร่างกายของไก่ที่ฟักออกมาจากไข่นั้นจะมีอยู่หลายๆปัจจัย ซึ่งปัจจัยที่สำคัญมากอย่างหนึ่งคือ การได้รับอาหารของลูกไก่หลังจากที่ฟักออกมาจากไข่เร็วมากน้อยขนาดใหนนั้นเอง หลังจากที่ลูกไก่ฟักออกมาแล้ว ลูกไก่จะได้รับพลังงาน และสารโปรตีน ในการดำรงชีวิตและการจริญเติบโต มาจากถุงไข่แดงที่อยู่ในช่องท้อง ดังที่กล่าวมาแล้ว ถุงไข่แดงของไก่จะประกอบไปด้วยสารอาหารที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตและภูมิคุ้มกันต่อโรคต่างๆที่ถ่ายทอดมาจากพ่อ-แม่ ซึ่งเมื่อลูกไก่ได้รับเข้าไปแล้วมันก็จะนำไปใช้ในการเจริญของลูกไก่ในช่วงแรก โดยปกติแล้วเราจะพบว่ามีการคงเหลืออยู่ของถุงไข่แดงหลังจากที่ลูกไก่อายุเกิน 4 วันไปแล้ว แต่ก็แน่นอนละถ้าเรามีการจัดการการให้อาหารลูกไก่ตั้งฟักออกมาอย่างรวดเร็ว ไม่เกิน 48 ชั่วโมงหลังฟักออกมาแล้วละก็ ปัญหาเรื่องของการคงอยู่ของถุงไข่แดงของลูกไก่ก็จะมีน้อยมาก ดังรูปที่ 2: และนอกจากนี้ ในงานวิจัยต่างๆนั้น ได้กล่าวว่า ถ้าลูกไก่แรกเกิดมันมีอาหาร หรือกินอาหารเข้าไปที่ลำไส้แล้ว อาหารนี้มันจะช่วยเข้าไปกระตุ้นให้ลูกไก่ดูดซึมไข่แดงจากถุงไข่แดงได้ดีมากยิ่งขึ้น ซึ่งในทางเดียวกัน ถ้าไข่แดงมีการถูกนำไปใช้ได้มากแล้ว ลูกไก่ก็ยิ่งจะได้รับประโยชน์จากไข่แดงมากขึ้นเท่านั้น

ประโยชน์ของการให้อาหารในช่วงแรกเร็ว คือ การพัฒนาการของระบบภูมิคุ้มกันที่ดี ในไก่
ช่วงระยะเวลาที่ให้อาหารลูกไก่ หลังจากที่ฟักออกมาจากไข่แล้วนั้น จะเป็นช่วงที่มีความสำคัญมากต่อการเจริญเติบโต และพัฒนาการของตัวไก่ในเวลาต่อไป ในทางการปฏิบัติแล้ว ลูกไก่ที่ฟักออกมาจากไข่ที่โรงฟักแล้วนั้น มันจะมีลูกไก่บางส่วนที่ไม่สามารถที่จะใช้ประโยชน์จากอาหารที่มีอยู่ภายในถุงไข่แดงได้เลย ซึ่งคิดโดยประมาณ จะมี 2-5% ของลูกไก่ที่ฟักออกมาในกลุ่มนั้นๆ ซึ่งผลกระทบที่จะตามมาก็คือ ลูกไก่กลุ่มนั้นๆ มันจะมีการเจริญเติบโตที่ไม่ดี เกิดการแคระแกร็นตามมา การเจริญเติบโตก็จะไม่ดี การนำอาหารไปใช้ในการเจริญเติบโตก็จะไม่ดี ระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกายก็จะไม่ดี หรือมีการพัฒนาการที่ไม่เต็มที่ต่อไป และสุดท้ายก็จะกระทบกับ ผลการผลิตไก่ คุณภาพซากไก่ที่ส่งเข้าโรงเชือด ก็จะไม่ดี ตามมาด้วย
สิ่งหนึ่งที่เราสามารถที่จะปฏิบัติได้เลยในทางการจัดการก็คือ หลังจากที่ลูกไก่ฟักออกมาจากไข่ที่โรงฟักแล้ว เราจะต้องทำการให้อาหารให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยในทางเทคนิดเราจะเรียกว่า การให้อาหารในช่วงแรก หรือ Early nutrition ซึ่งการปฏิบัติแบบนี้จะเป็นการกระตุ้นการใช้ของไข่แดงของลูกไก่ให้มากขึ้น กระตุ้นการเจริญเติบโตและพัฒนาการของลำไส้ของลูกไก่ และเพิ่มการหลั่งของสารเอมไซม์ต่างๆ ที่เป็นประโยชน์จากตับอ่อนของไก่ให้มากและเร็วขึ้น ซึ่งเมื่ออวัยวะต่างๆภายในร่างกายไก่เจริญเติบโตอย่างเต็มที่แล้ว ก็จะพบว่ามีการย่อยอาหารและการดูดซึมอาหารที่เป็นประโยชน์ต่างๆ เข้าไปสู่ภายในร่างกายที่มากขึ้นด้วย สุดท้ายก็จะส่งผลทำให้มีการเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อ และการเจริญเติบโตของไก่ที่มากขึ้นตามมา
การจัดการการให้อาหารที่ถูกต้องและมีสูตรอาหารที่เหมาะสมนั้น มันจะไปช่วยในการพัฒนาการของระบบภูมิคุ้มกันต่างๆภายในร่างกายให้มีการพัฒนาที่เต็มที่ ทั้งระบบ ภูมิคุ้มกันหลักของร่างกาย และระบบภูมิคุ้มกันเสริมของร่างกาย ระบบภูมิคุ้มกันส่วนหนึ่งที่อยู่ภายในร่างกายที่สำคัญมากๆ ก็คือระบบภูมิกันที่อยู่ภายในลำไส้ของไก่ ซึ่งระบบภูมิคุ้มกันชนิดนี้มันจะมีการเจริญเติบโตที่เต็มที่ได้นั้นมันจะต้องได้รับการกระตุ้นจากอาหารที่ให้ไก่กินในช่วงแรกต้นตั้งแต่แรกเกิด โดยภูมิคุ้มกันดังที่กล่าวนี้มันจะมีอยู่ที่ผิวของลำไส้ของไก่นั้นเอง ซึ่งก็ได้มีงานวิจัยได้กล่าวเอาไว้ว่า การให้อาหารในลูกไก่แรกเกิดที่ช้านั้น มันจะไม่มีการไปกระตุ้นการพัฒนาการของลำไส้ของลูกไก่เลย แต่มันจะมีการพัฒนาระบบภูมิคุ้มกันระบบอื่นๆแทน เช่น การพัฒนาระบบ GALT , ระบบของต่อมเบอร์ซ่า , ระบบของต่อมซีคอนทอลซิล , และที่ แมกแคลไดเวอร์ติคุลัม ที่อยู่ที่ลำไส้ของไก่ ซึ่งกล่าวโดยสรุปก็คือ การให้อาหารลูกไก่ที่ช้ามากๆนั้น มันจะไปมีผลในการยับย้บยั้งการเจริญเติบโต และการพัฒนาของระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกายไก่ ตามมานั้นเอง
ซึ่งในรายงานการวิจัยฉบับนี้ ได้มีการทดลองเกี่ยวกับการจัดการอาหารในช่วงเริ่มต้น คือ ตั้งแต่ฟักออกมาจากไข่จนถึงอายุ 3 สัปดาห์ เพื่อดูการพัฒนาการของระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกายลูกไก่ ซึ่งจากการทดลองผลที่ได้ก็คือ ลูกไก่จะมีการพัฒนาการของต่อมเบอร์ซ่าที่ช้ามาก และความสมบรูนร์ของต่อมเบอร์ซ่านั้นก็จะแย่มาก ( ดังรูปที่ 3 ) แต่ว่าลูกไก่กลุ่มที่ได้รับอาหารทันทีหลังจากที่มีการฟักออกมาจากไข่นั้น จะมีขนาดและการเจริญเติบโตของต่อมเบอร์ซ่าที่แตกต่างกันกับกลุ่มทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งจากการทดลองนี้สรุปได้ว่า การให้อาหารในลูกไก่แรกเกิดในปริมาณที่มากและรวดเร็วทันทีนั้น มันจะช่วยในการกระตุ้นการเจริญเติบโตของระบบภูมิคุ้มกันต่างๆ ภายในร่างกายของไก่ที่มากขึ้น
นอกจากนี้ ในลูกไก่กลุ่มที่มีการทดลอง ให้อาหารช้าไปมากกว่า 24 ชม. นั้น จะพบว่ามีการเจริญเติบโตของม้ามที่ไม่ดี และพบว่าที่อายุ 21 วัน น้ำหนักของต่อเบร์ซ่าของไก่ก็จะต่ำลงมากด้วย ซึ่งการเจริญเติบโตและน้ำหนักของม้ามที่มากที่สุดก็คือ ไก่กลุ่มที่ให้อาหารที่รวดเร็วที่สุดหรือทันทีที่ฟักออกมาจากไข่เลย และยิ่งถ้าลูกไก่ไม่ได้รับอาหารหลังจากเกิดมากกว่า 48 ชม.แล้วละก็ จะทำให้การเจริญเติบโตของม้ามนั้นต่ำที่สุด และน้ำหนักของม้ามนั้นต่ำที่สุดตามไปด้วย ( ดังรูปที่ 4 ) และสุดท้ายสมารถที่จะสรุปได้ว่า การจำกัดอาหารของลูกไก่แรกเกิดนั้น จะมีผลไปยับยั้งการพัฒนาการของ การพัฒนาการของระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกาย เป็นอย่างมาก

การกระตุ้นการพัฒนาการของระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกายโดยการให้อาหารไก่ทันทีหลังจากฟักออกจากไข่
ในระบบการสร้างภูมิคุ้มกันภายในร่างกายของไก่นั้น จะมีปัจจัยหลายๆอย่างเข้ามามีผลในการเกี่ยวข้องกับการพัฒนาการในระบบต่างๆ อย่างเช่น ปัจจัยที่มีผลให้มีการหลั่ง Corticosteriods ที่มากขึ้น ซึ่งถ้ามีสารชนิดนี้มากภายในร่างกายมันจะเป็นตัวไปยับยั้งการสร้างสารภูมิคุ้มกันภายในร่างกายตามมา แต่โดยทั่วไปแล้ว ในหลักการของการเลี้ยงไก่นั้น เราจะมีการกระตุ้นให้ร่างกายมีการสร้างสารที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายขึ้นมาเอง โดยการฉีดวัคซีนให้ลูกไก่หลังจากที่ลูกไก่มีการฟักออกมาแล้ว และเมื่อไม่นานมานี้ ได้มีการทดลองในไก่อายุ 19 วัน เกี่ยวกับการกระตุ้นให้มีการเกิดภูมิคุ้มกันขึ้นภายในร่างกายไก่ ซึ่งเป็นการใช้เม็ดเลือดแดงของแกะฉีดเข้าไปภายในร่ายกายไก่อายุ 14 วัน เพื่อดูการตอบสนองต่อระบบภูมิคุ้มกันของไก่ ซึ่งผลจะพบว่า ไก่จะมีการตอบสนองต่อระบบภูมิคุ้มกันที่มากกว่า การให้อาหารทันทีในลูกไก่แรกเกิดเพียงอย่างเดียว และนอกจากนี้ ผลของการวัดระดับ Titer ที่อายุไก่ 21 วัน โดยวิธี ELISA นั้น ก็จะพบว่าสามารถที่จะกระตุ้นการเพิ่มขึ้นของภูมิคุ้มกันได้มากกว่า การใช้วัคซีน RD เพียงชนิดเดียว ด้วยเช่น และนอกจากนี้ การให้วัคซีนทั้ง 2 ชนิดนี้ มีผลกระตุ้นให้มีการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันได้มากว่าการให้อาหารในลูกไก่ในทันทีเพียงอย่างเดียว และมากกว่ากลุ่มที่ให้อาหารช้าไป 24 ชม. และ 48 ชม. ด้วยเช่นกัน ( ดังภาพที่ 5 ) ซึ่งสรุปง่ายๆก็คือ การให้อาหารลูกไก่เร็วที่สุดจะเป็นสิ่งที่ดีมากๆ ต่อการสร้างระบบภูมิคุ้มกัน และถ้ามีการให้วัคซีนร่วมด้วยก็จะเป็นสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดการตอบสนองต่อการสร้างสารที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันได้มากขึ้นเท่านั้น

การให้อาหารในลูกไก่ที่รวดเร็ว เป็นการเริ่มต้นที่ดีสำหรับการเจริญเติบโต
จากที่กล่าวมาทั้งหมด จะพบว่า การให้อาหารกับลูกไก่ในทันทีที่ฟักออกมาจากไข่นั้น ถือได้ว่าเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญมากที่จะเป็นตัววัดอัตราการเจริญเติบโตของลูกไก่ต่อไปในอนาคต โดยทั่วไปแล้ว ปริมาณของไข่แดงที่ติดมากับลูกไก่นั้น จะมีปริมาณที่เพียงพอสำหรับให้ลูกไก่มีชีวิตอยู่ได้ ประมาณ 3-4 วัน หลังจากที่ฟักออกมาเป็นลูกไก่ แต่ว่า ปริมาณของไข่แดงที่มีอยู่นั้น มันจะมีปริมาณที่ไม่เพียงพอที่จะทำให้ไก่มีการเจริญเติบโตของร่างกาย ไม่เพียงพอต่อการเจริญและพัฒนาการของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายด้วย ซึ่งจากการทดลองดังที่กล่าวมา จะพบว่า ถ้าลูกไก่ที่เกิดมานั้น ได้รับอาหารในทันทีแล้ว มันจะช่วยทำให้ไก่มีการเจริญเติบโตที่มากขึ้น ดีขึ้น และการพัฒนาการของระบบภูมิคุ้มกันของไก่ก็จะดีขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า ทำใมเราจะต้องให้อาหารในลูกไก่ที่ ช้าเกิน ออกไปด้วย ซึ่งสิ่งควรทำให้เร็วที่สุดก็คือ เมื่อลูกไก่ฟักออกมา เราจะต้องทำการให้อาหารในลูกไก่ให้เร็วที่สุด ให้ลูกไก่รับอาหารให้เร็วที่สุด เพื่อที่จะให้ร่างกายไก่มีการพัฒนาที่มากที่สุด และเพื่อให้ระบบภูมิคุ้มกันของไก่มีการพัฒนามากที่สุดตามไปด้วย และสุดท้าย ผลกำไรจากการเลี้ยงไก่ ก็จะมากที่สุด ตามมาด้วยเช่นกัน

ภาคผนวก
ตารางที่ 1 : ระบบภูมิคุ้มกันของไก่ : อวัยวะหรือตำแหน่งที่ใช้ในการสร้างภูมิคุ้มกัน : โครงสร้างและหน้าที่ของภูมิคุ้มกันต่างๆ
อวัยวะที่ใช้ในการสร้างภูมิคุ้มกัน
ตำแหน่งที่อยู่ของอวัยวะที่ใช้ในการสร้างภูมิคุ้มกัน
โครงสร้างของอวัยวะที่ใช้สร้างระบบภูมิคุ้มกัน
หน้าที่ของอวัยวะนี้
ต่อเบอร์ซ่า
อยู่ที่โคเอกา ตรงก้นไก่
กลมเหมือนไข่ ข้างในมีเซลล์ที่คล้ายต่อมน้ำเหลืองร่วมด้วย
ผลิตภูมิคุ้มกัน และพัฒนา บีลิมโฟ”ซด์ ภายในร่างกาย
ต่อมไทมัส
อยู่แนบชิดคอของไก่ทั้ง 2 ข้าง
เป็นพูเล็กๆ เรียงต่อกัน ข้างละประมาณ 6-8 ก้อน
ผลิตภูมิคุ้มกัน และพัฒนา ทีลิมโฟ”ซด์ ภายในร่างกาย
ม้าม
เป็นก้อนกลมอยู่ภายในช่องท้อง
ก้อนลักษณะกลม มีขนาดไม่แน่นอน
เป็นตัวสร้างภูมิคุ้มกันของระบบร่างกาย
Meckel’s diverticurum
อยู่ที่กึ่งกลางลำไส้
เป็นส่วนของลำไส้ที่ติดกับสะดือ แล้วแยกออกมาเมื่อไก่โตขึ้น เป็นตุ่มเล็กๆ
เป็นตัวสร้างภูมิคุ้มกันเฉพาะที่ภายในร่างกาย
ต่อมซีกอล ทอนซิล
เป็นต่อมอยู่ส่วนบนสุดของลำไส้ใหญ่
เป็นตุ่มเล็กๆ แบนๆ
เป็นตัวสร้างภูมิคุ้มกันเฉพาะที่ภายในร่างกาย
ต่อม เพเยอร์เพต
อยู่ตรงส่วนรอยต่อของลำไส้เล็กส่วนต้นกับลำไส้เล็กส่วนกลาง
เป็นแผ่นเล็กๆ แนบอยู่กับผนังลำไส้
เป็นตัวสร้างภูมิคุ้มกันเฉพาะที่ภายในร่างกาย



รูปที่ 1 : ระบบภูมิคุ้มกันของสัตว์ปีก
ซึ่งรายละเอียดต่างๆ สามารถที่จะแบ่งออกได้เป็น ส่วนต่างๆ ตามรายละเอียด ดังต่อไปนี้
อวัยวะที่ใช้ในการสร้างภูมิคุ้มกัน : แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
ส่วนเริ่มต้น ( Primary lymphoid ) ซึ่งก็ได้แก่ ต่อมเบอร์ซ่า ของไก่ที่อยู่ที่ส่วนก้นของไก่
ส่วนอื่นๆ หรือส่วนเสริม ( Secondary lymphoid ) ซึ่งก็ได้แก่ ม้าม ไขกระดูก ต่อม Harderian ซึ่งอยู่ที่ตาของไก่ ต่อม Pineal gland GALT* , BALT* , CALT* , และ Lymphoid nodules ต่างๆ
ชนิดของ Cel; ร่างกายที่ทำหน้าที่เป็นภูมิคุ้มกัน : จะประกอบไปด้วยระบบเม็ดเลือดขาวภายในร่างกาย ระบบ T-Cells, ระบบ B-Cells, Macrophages, NK cells
สารเคมีชนิดที่ทำหน้าที่เป็นระบบภูมิคุ้มกัน : ซึ่งก็จะเป็นพวก Immunoglobulins ซึ่งก็ได้แก่ IgY, IgA, IgM, และนอกจากนี้ยังมีพวก Complement ต่างๆ , Cytokines เป็นต้น

*GALT = gut-associated lymphoid tissue ;
*BALT = bronchial-associated lymphoid tissue;
*CALT = conjunctival-associated lymphoid tissue;

รูปที่ 2 : แสดงการให้อาหารกบลูกไก่ที่รวดเร็วภายใน 24 ชม. หลังจากที่ลูกไก่ฟักออกมาจากไข่ เพื่อดูการเจริญเติบโตของร่างกาย และการดูดซึมไข่แดงภายในถุงไข่แดงเข้าไปใช้ภายในร่างกายไก่
จากรูปภาพ จะพบได้ว่า หลังจากที่ลูกไก่ฟักออกมาจากไข่แล้ว จะมีการให้อาหารลูกไก่ที่ 0 ชม. , 24 ชม. , 48 ซม. ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มการทดลอง โดยจะมีการวัดปริมาณของไข่แดงที่เหลืออยู่หลังที่เลี้ยงไก่ไปเล้ว 3 ช่วงคือ ที่ 0 ชม. , 72 ชม. , และที่ 96 ชม. ตามลำดับ
ซึ่งจากการทดลองจะพบว่า ลูกไก่ที่กินอาหารที่รวดเร็วทันที หรือตั้งแต่เริ่มจากฟักออกมาเป็นตัวนั้น จะมีการดูดซึมไข่แดงเข้าไปใช้ภายในร่างกายมากที่สุด และลูกไก่กลุ่มที่มีการดูดซึมไข่แดงเข้าไปใช้ภายในร่างกายน้อยที่สุดที่คือ ลูกไก่กลุ่มที่ให้อาหารช้าไป 48 ชม. นั้นเอง

รูปที่ 3 : แสดงเกี่ยวกับ การให้อาหารในลูกไก่แรกเกิดที่ 0 ชม. , 24 ชม. , 48 ชม. หลังฟักออกมาจากไข่ เพื่อที่จะดูเรื่องของการพัฒนาการของต่อมเบอร์ซ่า และการเจริญเติบโตของ ต่อมเบอร์ซ่า ของไก่ ที่อายุ 21 วัน
จากรูปภาพ ผลการทดลองจะพบว่า ลูกไก่กลุ่มที่ให้อาหารช้าไป 24 และ 48 ชม. หลังฟักออกมาจากไข่นั้น จะมีการฝ่อของต่อมที่อายุ 21 วันมากที่สุด

รูปที่ 4 : การทดลองการให้อาหารในลูกไก่ที่ช้าไป 48 ชม. หลังจากที่ฟักออกมาจากไข่ เพื่อที่จะดูการเจริญเติบโตของม้าม และน้ำหนักของม้ามที่อายุ 21 วันของไก่
ซึ่งจากผลการทดลองจะพบว่า ลูกไก่กลุ่มที่ให้อาหารเร็วที่สุดทันทีที่ออกมาจากไข่ จะมีการเจริญเติบโตของม้ามดีที่สุด และม้ามก็จะมีน้ำหนักมากที่สุดตามไปด้วย ส่วนลูกไก่กลุ่มที่ได้รับอาหารช้าไป 48 ชม. หลังจากฟักออกมาจากไข่ ก็จะเป็นกลุ่มที่มีการเจริญเติบโตของม้ามน้อยที่สุด และน้ำหนักของม้ามน้อยที่สุด เช่นกัน

รูปที่ 5: แสดงให้เห็นว่า ลูกไก่กลุ่มที่ได้รับอาหารทันทีหลังจากที่มีการฟักออกมาจากไข่นั้น จะมีการตอบสนองต่อระบบภูมิคุ้มกันที่มีการทำวัคซีนทั้งชนิด SRBC และชนิด RD vaccination
ซึ่งจากผลการทดลองจะพบว่า ลูกไก่กลุ่มที่ได้รับอาหารทันทีหลังจากที่มีการฟักออกมาจากไข่นั้น จะมีการตอบสนองต่อระบบภูมิคุ้มกันที่เกิดจากการทำวัคซีนที่มากขึ้นด้วย ซึ่งจะแตกต่างจากลูกไก่ที่ได้รับอาหารช้าไป 24 ชม. และ 48 ชม. ตามลำดับ และนอกจากนี้ ระดับของภูมิคุ้มกันที่ได้ก็จะขึ้นกับชนิดของวัคซีนที่ใช้ทำด้วยเช่นกัน หรือจะกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การที่ลูกไก่ได้รับอาหารทันทีหลังจากฟักออกมาเป็นตัวนั้นถือได้ว่าเป้นสิ่งที่สำคัญที่สุด และถ้าได้รับการทำวัคซีนร่วมด้วยนั้นก็จะทำให้ประสิทธิภาพของการทำวัคซีน มีประสิทธิภาพที่สูงมากขึ้นตามไปด้วย

เอกสารอ้างอิง
· Panda A.K. and M.R.. Reddy . 2007. Boosting the chick’s immune system through early nutrition , Poultry International , July : 22 - 26 p.

1 ความคิดเห็น:

CHANE กล่าวว่า...

ทำไมมันไม่เห็นรูปอ่าคับ