การปรับระดับรายน้ำไก่กินให้เหมาะสม กับ การเจริญเติบโตของไก่
( Set drinkers at the right height for the best broiler performance )
แปลและเรียบเรียงโดย น.สพ.ชัชวาลย์ สอนศรี
นายสัตวแพทย์ฝ่ายสุขภาพไก่เนื้อ ฟาร์มบริษัท
บ.สหฟาร์ม จำกัด และ บริษัท โกลเด็นไลน์ จำกัด 99 ม4 ต,ศิลาทิพย์ อ.ชัยบาดาล
จ.ลพบุรี 15130, Broiler red box. เดือน เมษายน 2551
ในการปรับระดับรายน้ำไก่กินที่สูงๆนั้น มันจะทำให้สิ่งรอนอนของไก่ไม่เสีย สิ่งรองนอนจะแห้ง ไม่จับกันเป็นก้อน ไม่ต้องยุ่งยากในการเปลี่ยนสิ่งรองนอนใหม่ แต่ว่าสิ่งที่คุณคิดมันอาจจะผิดก็ได้ เพราะว่า การจัดการรายน้ำที่สูงๆนั้น มันจะก่อให้เกิดผลเสียกับการเลี้ยงไก่มากกว่า คือ มันจะมีผลทำให้ FCR สูงขึ้น และน้ำหนักไก่ที่ได้ ก็จะต่ำลงไปด้วย ซึ่งสุดท้ายก็จะทำให้ผลการเลี้ยงไก่ ไม่ดีตามไปด้วย
ต้นกำหนดของรายงานวิจัยฉบับนี้คือ เมื่อไม่นานมานี้ทางผู้เขียนงานวิจัยได้มีการแจ้งทางจดหมายจาก ดร. ซูซาน วัตรกิน เกี่ยวกับงานทดลองขนาดเล็กๆ ภายในฟาร์มไก่เนื้อ ซึ่งทำร่วมกับผู้ร่วมงานของเค้า จำนวน 4 โรงเรือน ซึ่งจุดประสงค์หลัก ของการทดลองนี้ก็เพื่อ จะศึกษาเรื่องของ การกินน้ำของไก่ภายในโรงเรือนที่เลี้ยงอยู่ ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร
ซึ่งในงานทดลองนี้ ดร. วัตรกิน ได้ทำการปรึกษากับ ดร. ทอม แทบเลอร์ ซึ่งเป็นนักวิจัยที่ทำงานอยู่ที่มหาวิทยาลัย และเป็นผู้จัดการฟาร์มวิจัยแห่งนั้นด้วย โดยได้คุยกันเกี่ยวกับเรื่องของการจัดการระบบการให้น้ำที่เป็นแบบ Nipple ว่าจะจัดการแบบใด ควรจัดการให้สูงหรือต่ำถึงจะดี ซึ่งปัญหาที่เค้าพบที่ฟาร์มวิจัยที่มหาวิทยาลัยนี้คือ รายน้ำไก่กินที่เค้าจัดการอยู่นั้น จะค่อนข้างสูงมาก ซึ่งมุมของคอไก่ที่ยึดคอกินน้ำที่ระดับรายน้ำนั้นจะทำมุมเป็น 90 องศา.เลยทีเดียว โดย ดร. ซูซาน ได้คุยกับผู้จัดการฟาร์มวิจัยที่มหาวิทยาลัยนี้ และผู้ปฏิบัติงานที่ฟาร์มวิจัยด้วย เกี่ยวกับเรื่องของการจัดการระดับรายน้ำไก่กินว่า ปัญหาของเค้าก็คือ การปรับระดับรายน้ำแบบต่ำๆ ถ้าเค้าปรับระดับรายน้ำไก่กินให้ต่ำลงมากๆนั้น มันจะมีผลทำให้สิ่งรองนอนของไก่ใต้รายน้ำเปียกชื้น เน่าเสีย เหม็น และจับกันอัดเป็นแผ่นแน่น มากขึ้นตามมา ซึ่งหลังจากที่ได้พูดคุยกันในรายละเอียดทั้งหมดแล้ว ดร. วัตรกิน ก็ได้ทำการวางแผนการทดลอง ในฟาร์มวิจัย นั้นเลย
ซึ่ง ดร. วัตรกิน ก็ได้อธิบายว่า , เค้าได้ให้ผู้จัดการฟาร์มวิจัยนี้ ทำการลดระดับของรายน้ำไก่กิน ให้ต่ำลงมากกว่าปกติ 2 โรงเรือนที่ทำการทดลอง ซึ่งการปรับระดับรายน้ำไก่กินนี้ จะเริ่มทดลองเมื่อไก่อายุ 14 วัน จนถึงไก่อายุ 37 วัน ซึ่งก็คือไก่จับพอดี โดยการปรับระดับองศาของมุมไก่กินเป็น 45 องศา. ( ซึ่งจากเดิมที่เป็น 90 องศา. ) ซึ่งการจัดการการทดลองแบบนี้ คร. เค้าจะมีการจัดการทดลองกับอุปกรณ์การให้น้ำไก่กินทั้ง 2 แบบ ที่มีอยู่ภายในฟาร์มวิจัย ( ซึ่งในฟาร์มวิจัยนี้ จะมีอุปกรณ์การให้น้ำไก่กินอยู่ 2 แบบ คือ ที่มาจาก บ. แคมเบอร์แลนด์ และ แองจี้ ลูบริงร์ ส่วนของลูกไก่ที่นำมาเลี้ยงในฟาร์มวิจัยนี้ จะมาจากฟาร์มข้างนอก ซึ่งทั้ง 4 โรงเรือน จะมาจากฟาร์ม พ่อ-แม่ พันธ์เดียวกัน คือ ฟาร์ม ไซมอน ซึ่งเป็นฟาร์มที่ เลี้ยงไก่แบบครบวงจร
ในการทดลองนี้ จะพบว่า เมื่อทำการลดระดับของรายน้ำลง ในโรงเรือนที่ทดลองก็จะพบว่า น้ำหนักของไก่ในโรงเรือนที่ทดลองจะพบว่า มีน้ำหนักที่มากขึ้นมาก และ FCR ก็จะต่ำลงกว่าไก่กลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งในที่นี้ จากการทดลองในฟาร์มวิจัยแห่งนี้ ผลการทดลองจะให้ผลไปในทิศทางเดียวกันของอุปกรณ์การให้น้ำทั้ง 2 ชนิดที่ใช้ในการทดลอง ทั้ง 2 กลุ่มทดลอง ( อุปกรณ์การให้น้ำไก่กินทั้ง 2 ยี้ห้อ ) และอีกอย่างหนึ่งที่พบจากการทดลองก็คือ สิ่งรองนอนของไก่กลุ่มที่แห้ง ไม่เปียก ไม่จับกันเป็นแผ่นแข็งแน่น นั้นจะพบว่า ไก่กลุ่มนี้จะมีขนาดของตัวไก่ล็กกว่าไก่กลุ่มที่ลดระดับรายน้ำลงอย่างชัดเจน ซึ่งกล่าวโดยสรุป จะพบว่า ไก่กลุ่มที่ทดลองลดระดับรายน้ำไก่กินให้ต่ำลง จะมีค่า FCR ดีกว่ากลุ่มที่มีรายน้ำสูง อยู่ 6 จุด และมีน้ำหนักที่มากกว่า อยู่ 62 g.
จากปัญหาที่มักจะกล่าวกันเสมอว่า การจัดการระดับของรายน้ำไก่กินที่ต่ำลงนั้น มักจะทำให้สิ่งรองนอนของไก่ที่เลี้ยงนั้น เสียมากกว่าปกตินั้น แต่ว่า จากการทดลองในฟาร์มวิจัยแห่งนี้ พบว่า ผลที่ได้นั้นจะไม่เป็นไปตามที่ได้เข้าใจกันเหมือนสมัยก่อน โดยในงานวิจัยในฟาร์มนี้ จะพบว่า จำนวนคันของรถบรรทุกที่ขนออกจากโรงเรือน ในโรงเรือนที่ทำการวิจัยของทั้ง 2 กลุ่ม มีจำนวนที่ไม่แตกต่างกันเลย
หลังจากนั้น ดร. วัตรกิน ได้กล่าวว่า ทำไม ในการจัดการระดับรายน้ำไก่กินภายในฟาร์ม ทำไมไม่มีการจัดการระดับรายน้ำให้เหมาะสมกับอายุของไก่ที่เลี้ยงในแต่ละอายุของไก่นั้นๆ ซึ่งสิ่งที่สำคัญที่สุด สำหรับการจัดการฟาร์มที่จำเป็นที่จะต้องทำคือ จะต้องกลับมาคิดใหม่ว่า การจัดการระดับรายน้ำภายในฟาร์มของเรานั้นยังมีการจัดการที่ถูกต้องเหมาะสมอยู่หรือไม่ โดยถ้าเรามีการจัดการระบบการให้น้ำไก่กินอย่างถูกต้องแล้ว ซึ่งสิ่งที่จะเห็นได้ชัดเจนก็คือ ผลการเลี้ยงไก่เนื้อที่ออกมานั้นมันจะมีแนวโน้มไปในทางที่ดีขึ้น ซึ่งผลการเลี้ยงก็จะดีขึ้นอย่างชัดเจนตามมาด้วย
กล่าวโดยสรุปแล้วว่า ในงานทดลองนี้ เราไม่สามารถที่จะกล่าวได้ว่า ระหว่างระดับรายน้ำที่สูง กับ ระดับรายน้ำที่ต่ำนั้น ไก่กลุ่มใหนกินน้ำตลอดช่างอายุการเลี้ยงที่ได้มากกว่ากัน แต่สิ่งหนึ่งที่เราเห็นได้ชัดเจนจากการทดลองนี้ก็คือ สิ่งรองนอนที่เปียกชื้น ที่แข็งจับกันเป็นแผ่นแน่น นั้นไม่ได้มีจำนวนที่แตกต่างกันเลย และสิ่งที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดก็คือ ผลการเลี้ยงไก่ ในกลุ่มที่จัดการรายน้ำไก่กินต่ำนั้น จะมีน้ำหนักไก่ที่เพิ่มขึ้น ค่าของ FCR ที่ต่ำลดลง และ สุดท้ายจริงๆก็คือ ผลกำไรที่มากขึ้นตามมา เพราะว่า การจัดการลดระดับรายน้ำลงนั้น เป็นสิ่งที่เราไม่ได้มีการลงทุนใดๆ เพิ่มขึ้นเลย
ภาคผนวก
ตารางที่ 1 : การจัดการระดับรายน้ำ แบบต่างๆ สำหรับการเลี้ยงไก่ เมื่อเปรียบเทียบกับผลการเลี้ยงไก่ที่ได้มา ( วัตถุประสงค์หลัก จะให้ดูที่ การจัดการรายน้ำที่สูง การจัดการแบบที่ไม่ทำให้สิ่งรองนอนเสีย ซึ่งห้ดูผลการเลี้ยงไก่ว่า จะเป็นอย่างไร )
โรงเรือนที่
ระบบการให้น้ำภายในฟาร์ม
ระดับความสูงของรายน้ำ
อัตราการใหลของน้ำภายในรายน้ำ
BW. เฉลี่ยไก่จับ 37 วัน(kg.)
FCR
จำนวนสิ่งรองนอนเสีย/รถบรรทุก(คัน)
1
A
สูงปกติ
ต่ำ
2.100
1.74
7
2
A
ต่ำ
ต่ำ
2.150
1.68
6
3
B
ต่ำ
สูง
2.127
1.69
6
4
B
สูงปกติ
สูง
2.054
1.75
5
รูปที่ 1 : แสดงรูปภาพ ที่บ่งบอกว่า เมื่อลดระดับรายน้ำลงแล้ว จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการเลี้ยงไก่ จับไก่ที่อายุ 37 วัน
จากข้อมูลระหว่าง ไก่กลุ่มรายน้ำสูงปกติ กับ ไก่กลุ่มรายน้ำลดต่ำลง จะพบว่า น้ำหนักไก่จับจะได้ 2.077 kg. และ 2.139 kg. ตามลำดับ ส่วน FCR จะมีค่า 1.745 และ 1.685 ตามลำดับ
เอกสารอ้างอิง
· Terrence O keefe . 2007. Set drinkers at the right height for the best broiler performance , Poultry International , July : 14-14 p.
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น