วันศุกร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2554

งานแปลเดือน ธันวาคม 2010

ประจำเดือน ธันวาคม 2010 แปลและเรียบเรียงโดย น.สพ.ชัชวาลย์ สอนศรี ผช.ผจญ. วิชาการ-สุขภาพไก่เนื้อ ระบบสุขศาสตร์ป้องกันโรค มันเป็นการลงทุนที่ดีเยี่ยม ที่คุณสามารถทำได้ (Biosecurity – the best investment you can make) สิ่งหนึ่งที่มักพูดกันจนติดปากในหมู่ของคนที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับการปศุสัตว์ คือ ระบบสุขศาสตร์ป้องกันโรค หรือ Biosecurity system นั้นเอง ดังนั้นคำๆนี้มันคืออะไร ทำไมเราจึงต้องเน้นย้ำหรือพูดกันอยู่ทุกๆวัน เดียวมาฟังรายละเอียดต่อไป ในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงไก่นั้น สิ่งหนึ่งที่เราจะต้องพึงระมัดระวัง หรือป้องกันไม่ให้มันติดต่อมาสู่มนุษย์ได้นั้นก็คือ โรคไข้หวัดนก หรือโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส H5 : N1 ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสไข้หวัดนกที่มีความรุนแรงมาก สามารถที่จะก่อโรคในคนได้ เพื่อไม่ให้ติดต่อเข้ามาสู่คน ดังนั้นในระบบปศุสัตว์ทั่วไป จึงจะต้องมีระบบสุขศาสตร์ป้องกันโรค เพื่อที่จะได้ใช้เป็นด่านในการป้องกันเชื้อไข้หวัดนก หรือเชื้อไวรัส H5 : N1 ไม่ให้ติดต่อเข้ามาสู่คนนั้นเอง หลักการทางวิทยาศาสตร์ของการจัดการระบบนี้ โดยทั่วไปแล้ว ในการเลี้ยงสัตว์ปีก จะต้องมีการจัดการให้สัตว์ปีกมีสุขภาพที่ดี และมีสวัสดิภาพสัตว์ที่ดี ตามไปด้วย ซึ่งทั้งนี้ยังจะต้องรวมไปถึงไก่จะต้องได้รับอาหารที่ดีตามไปด้วย และนอกจากนั้นยังต้องมีระบบมาตรฐานต่างๆที่จะต้องเอามาคอยควบคุมขบวนการจัดการในการเลี้ยงไก่ด้วย ในทุกวันนี้ ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปีก หรือฟาร์มเลี้ยงไก่ ต่างก็ได้มีการปรับปรุงและพัฒนาระบบสุขศาสตร์ป้องกันโรคให้ดีขึ้นมาภายใต้พื้นฐานที่เป็นวิทยาศาสตร์ที่สามารถพิสูจน์ได้ จนทำให้สามารถที่จะนำระบบนี้ไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเป็นรูปธรรมภายในฟาร์มของตัวเอง ดังนั้นเมื่อฟาร์มต่างๆสามารถที่จะนำระบบพื้นฐานของระบบสุขศาสตร์ป้องกันโรคไปใช้อย่างจริงจังภายในฟาร์มได้แล้ว สิ่งหนึ่งที่ฟาร์มจะต้องมีการดำเนินการต่อไปก็คือ การที่จะพัฒนาระบบนี้ให้ดี หรือมีประสิทธิภาพที่เพิ่มมากขึ้น โดยหน่วยงานที่เรียกว่า OIE ก็ได้มีการออกข้อกำหนดของระบบนี้ให้สูงขึ้นกว่าระบบพื้นฐานที่ได้มีการทำกันอยู่ เพื่อที่จะได้ให้ทางฟาร์มนำไปปฏิบัติกัน ซึ่งต่อมาระบบนี้ ก็ได้ถูกเรียกว่า ระบบคอมพาทต์เม้น หรือ Compartmentalisation system นั้นเอง แต่ในความเป็นจริงแล้ว เราแทบที่จะไม่สามารถที่จะแยกระบบการเลี้ยงไก่ที่เป็นระบบอุสาหกรรมนี้ ออกจากเชื้อที่ก่อโรคที่มีอยู่ภายในพื้นที่ได้เลย แต่สิ่งหนึ่งที่เป็นสิ่งที่วิเศษสุดที่เรามองข้ามไปก็คือ ระบบการประเมินความเสี่ยงของโรคที่มีอยู่ภายในพื้นที่นั้น ซึ่งเจ้าสิ่งนี้เองมันจะเป็นตัวบอกเราว่า ฟาร์มที่ตั้งอยู่ในเขตนั้นๆมันมีความเสี่ยงต่อการระบาดของโรคต่างๆที่เรากลัวกันอยู่หรือไม่ แต่ปัญหาหลักที่ตามมาก็คือ ไม่ใช่ว่าระบบการประเมินความเสี่ยงที่เราทำอยู่นี้ มันจะสามารถที่จะป้องกันการปนเปื้อนได้จากทุกที่ได้ เพราะว่า เชื้อโรคที่ส่งผ่านมาจากโรงงานผลิตอาหารสัตว์ หรือมาจากโรงฟักไข่นั้น มันก็ก็ยังไม่มีความสัมพันธ์กับการประเมินความเสี่ยงที่มีอยู่ภายในฟาร์มนั้นๆเลย ดังนั้นโอกาสที่จะเกิดการส่งผ่านเชื้อโรคจากที่ดังกล่าวมันก็สามารถที่จะเกิดขึ้นได้ทั้งนั้น การจัดการสิ่งแวดล้อม ในฟาร์มเลี้ยงไก่ทุกฟาร์ม จะต้องมีการอธิบาย หรือมีการอบรมให้พนักงานทุกคนรู้ว่า พื้นที่ส่วนใหนในบริเวรฟาร์มที่เรามีการกำหนด หรือกั้นเขตแดนให้พนักงานทุกคนปฏิบัติตามหลักของระบบสุขศาสตร์การป้องกันโรคให้ชัดเจน และสิ่งนี้จะต้องกำหนดให้ชัดและจะต้องให้พนักงานทุกคนปฏิบัติตามให้ได้ด้วย โดยทั่วไปแล้ว การจัดการระบบฟาร์มเลี้ยงสัตว์ มักไม่ต้องการให้แขกเข้าไปเยี่ยม หรือเข้าไปภายในฟาร์มอยู่แล้ว ดังนั้นประตูทางเข้าฟาร์มจะต้องมีการปิดล็อกอยู่ตลอดเวลา และประตูทางเข้าโรงเรือนจะต้องทำการปิดล็อกทุกครั้งหลังจากที่ไม่มีพนักงานปฏิบัติงานอยู่ภายในโรงเรือนแล้ว ซึ่งการจัดการในลักษณะนี้ก็จะเป็นการช่วยป้องกันไม่ให้สิ่งแปลกปลอกต่างๆที่อยู่ภายนอกฟาร์ม หรือภายนอกโรงเรือนเข้าไปข้างในได้ เพื่อป้องกันไม่ให้มีผลกระทบกับไก่ที่อยู่ภายในฟาร์มตามมา ถึงอย่างไรก็ตาม ในการจัดทำระบบสุขศาสตร์ป้องกันโรคภายในฟาร์มนี้ เราจะต้องเลือกพื้นที่ที่เหมาะสม มีความเสี่ยงไม่มาก ซึ่งจะต้องเป็นฟาร์มที่ไม่อยู่ใกล้กับฟาร์มที่มีการเลี้ยงไก่อื่นๆ หรือ จะต้องเป็นฟาร์มที่ไม่อยู่ติดกับแหล่งที่มีการเลี้ยงไก่พื้นบ้าน เพื่อป้องกันการปนเปื้อนเชื้อต่างๆ เข้ามาภายในฟาร์ม การจัดการบุคคล ในการจัดการบุคคลนั้น สิ่งแรกที่จะต้องพิจารณาคือ ก่อนที่แขกจะเข้าฟาร์ม หรือโรงเรือนนั้น เค้าปลอดเชื้อแค่ไหน และหลังจากที่เค้าออกจากโรงเรือนแล้ว เค้าจะต้องไม่นำเชื้อต่างๆ ออกไปจากฟาร์มด้วย ซึ่งสิ่งนี้ จะต้องพึงระวังให้มากในกรณีที่มีแขกเข้าไปเยี่ยมฟาร์มด้วย และนอกจากนี้ เราจะต้องดูด้วยว่าแขกที่เข้าเยี่ยมนั้น เค้ามีเชื้อโรค หรือเค้ากำลังป่วยอยู่หรือเปล่า ดังนั้นก่อนที่เค้าจะเข้าฟาร์ม จะต้องให้กรอกประวัติ และรายละเอียดอื่นๆเอาไว้ด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้เค้าเอาเชื้อต่างๆเข้าไปภายในฟาร์ม และในส่วนที่เค้าจะเข้าไปภายในโรงเรือน จะต้องให้เค้าปฏิบัติตามข้อกำหนดของระบบสุขศาสตร์ป้องกันโรคของฟาร์มให้ถูกต้อง โดยก่อนเข้าโรคเรือนจะต้องมีการล้างฆ่าเชื้อ ทำความสะอาดมือ สวมชุมที่ทางฟาร์มจัดเตรียมไว้ให้ และสวมรองเท้าบูซ ให้ถูกต้อง ก่อนที่แขกจะเข้าไปภายในโรงเรือนและทำการสัมผัสตัวไก่ เจ้าของฟาร์มจะต้องทำการอธิบายระบบการป้องกันสัตว์พาหะให้แขกฟังก่อน เพื่อที่จะให้เค้ารู้ว่าเราใช้เหยื่อพิษอะไรบ้าง และเค้าจะต้องทำการล้างมือ ฆ่าเชื้อให้ถูกต้อง และนอกจากนี้จะต้องให้เค้าทำการจุ่มเท้าฆ่าเชื้อ หรือเปลี่ยนรองเท้าบูซใหม่ ก่อนเข้าไปภายในโรงเรือนเลยก็ได้ ซึ่งระบบการเปลี่ยนรองเท้าใหม่ก่อนที่จะมีการเข้าไปภายในโรงเรือนนั้น จะถือได้ว่าเป็นระบบที่มีความสำคัญมากที่จะช่วยในการลดการปนเปื้อนเชื้อที่ก่อนโรค ที่จะเข้าไปสู่ตัวไก่ได้ โดยทั่วไปแล้ว ทั่วโลกก็ได้มีการจัดการให้บุคคลทุกคนก่อนที่จะเข้าไปภายในโรงเรือนไก่ พ่อแม่พันธ์ มีการอาบน้ำเปลี่ยนเสื้อผ้ากันอยู่แล้ว และนอกจากนี้ ฟาร์มไก่เนื้อบางที่ก็ได้มีการประยุกต์นำระบบการอาบน้ำก่อนเข้าฟาร์มนี้ไปใช้ด้วย ในการเข้าตรวจเยี่ยมฟาร์มสัตว์โดยทั่วไปแล้ว แขกจะต้องเข้าฟาร์มที่ไก่มีอายุน้อยก่อนเข้าฟาร์มที่ไก่มีอายุมาก หรือเข้าฟาร์มเลี้ยงไก่เนื้อก่อนเข้าฟาร์มที่เลี้ยงไก่พันธ์รุ่น เป็นต้น สำหรับโปรแกรมการตรวจเยี่ยมฟาร์มที่หลักๆแล้วก็คือ แขกมักจะเข้าฟาร์มไก่มีอายุน้อยก่อนเข้าฟาร์มไก่ที่มีอายุมาก อยู่แล้ว และในส่วนอื่นๆที่มักจะพบคือ บางบริษัทที่ผลิตไก่ ก็มักจะให้ บุคคลที่ไม่ใช่พนักงานของบริษัทที่เข้ามาสังเกตการณ์เฉยๆ ออกจากเขตเลี้ยงไก่ไปก่อน ก่อนที่แขกที่จะเข้ามาเยี่ยมฟาร์มจะเข้าไปตรวจดูประสิทธิภาพของการเลี้ยงไก่ภายในฟาร์ม ซึ่งทั้งนี้น่าจะเป็นการลดความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนต่างๆ เข้าไปภายในฟาร์ม การจัดการยานพาหนะและอุปกรณ์ ถ้าไม่มียานพาหนะ หรือรถยนต์ไม่จำเป็นที่จะต้องเข้าไปภายในฟาร์ม ในหัวข้อนี้เราก็ไม่จำเป็นที่จะต้องกล่าวถึงกัน แต่ในทางกลับกันถ้ายานพาหนะจะต้องเข้าไปภายในฟาร์มด้วยแล้ว ยิ่งจำเป็นที่จะต้องมีการล้าง ฆ่าเชื้อให้มากขึ้น โดยจะต้องทำการล้างทั้งข้างในและข้างนอกตัวรถ และนอกจากนี้พนักงานขับรถก็จะต้องมีการปฏิบัติตามกฎระเบียบของระบบสุขศาสตร์ป้องกันโรคอย่างเคร่งครัดด้วย อุปกรณ์ และเครื่องมือต่างๆที่นำมาจากฟาร์มอื่นๆ แล้วจะนำมาเข้าฟาร์ม มันถือได้ว่าเป็นสิ่งที่มีความเสี่ยงต่อการนำพาเชื้อโรคเข้าไปภายในฟาร์มเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นภายในฟาร์มแต่ละฟาร์มจะต้องมีเครื่องมือและอุปกรณ์ เป็นของตัวเองจะดีที่สุด ไม่ควรไปนำมาจากฟาร์มอื่นๆ และนอกจากนี้อุปกรณ์ต่างๆจะต้องเก็บไว้ในเขตที่มีการจัดการระบบสุขศาสตร์อย่างเคร่งครัด ในส่วนของอุปกรณ์ที่แขกจำเป็นที่จะต้องนำเข้าไปภายในฟาร์มด้วยก่อนที่จะนำเข้าไปก็จำเป็นที่จะต้องมีการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อ ก่อนเสมอ ระบบสุขศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานที่ปฏิบัติภายในฟาร์ม ก็ไม่ได้เป็นตัวที่จะควบคุมความเสี่ยงของสิ่งที่จะเกิดขึ้นในช่วงที่ไม่มีไก่ หรือช่วงพักเล้าระหว่างการเลี้ยงได้ ดังนั้นภายในฟาร์มจะต้องมีการจัดการระบบ ควบคุมสัตว์พาหะภายในฟาร์มด้วย โดยเฉพาะหนู ซึ่งถ้าเป็นช่วงที่ข้างนอกฟาร์มมีอาหารน้อยมันก็จะเข้ามาหากินภายในฟาร์ม ซึ่งหนูมันก็จะเป็นตัวที่นำเชื้อโรคต่างๆเข้ามาติดไก่ได้ ดังนั้นเราจะต้องควบคุมและกำจัดมันโดยใช้ยาเบื่อ แต่ให้พึงระลึกเสมอว่า ภายในฟาร์มในช่วงที่ไม่มีไก่นั้นมัน ก็ยังคงจะมีเชื้อโรค และเชื้อโรคนี้ มันก็สามารถที่จะติดต่อไปยังไก่รุ่นต่อไปได้ การควบคุมสัตว์ปีกและนกหากินภายในฟาร์ม พนักงานของฟาร์มและแขกที่จะเข้าตรวจเยี่ยมฟาร์มจะต้องพึงระลึกเสมอว่า ไม่ให้ตัวเองไปปนเปื้อนสัตว์ปีกตามธรรมชาติที่มาหากินภายในฟาร์ม หรือสัมผัสก่อนที่จะเข้าฟาร์ม ไม่ว่าจะเป็นการสัมผัสโดยทางตรงหรือสัมผัสโดยทางอ้อมก็ตาม เพราะว่ามันจะมีความเสี่ยงสูงมากที่จะนำเชื้อโรคเข้าไปติดไก่ภายในโรงเรือน สำหรับนกป่าหรือนกอพยพ ก็จะเป็นอีกตัวหนึ่งที่เป็นพาหะนำเชื้อ H5N1 ไปปนเปื้อนให้หลายๆพื้นที่ ซึ่งถ้ามันเข้ามาหากินภายในฟาร์ม มันก็จะปล่อยเชื้อเอาไว้ในพื้นที่ของฟาร์ม หลังจากนั้นพนักงานภายในฟาร์มก็จะไปสัมผัสมันโดยไม่รู้ตัว และอีกอย่างหนึ่งจะต้องควบคุมดูแลให้ดีคือ สิ่งรองนอนของไก่ที่อยู่ภายนอกโรงเรือน มันก็มีโอกาสสัมผัสกับเชื้อนี้ได้มากเช่นกัน ดังนั้น สิ่งรองนอนของไก่ก่อนที่จะนำเข้าไปภายในโรงเรือน จะต้องตรวจสอบและป้องกันให้ดี ว่าไม่ได้มีการปนเปื้อนเชื้อโรค ที่มากับนกป่าหรือนกอพยพ และนอกจากนี้ โรงเรือนจะต้องเป็นโรงเรือนที่ปิดมิดชิด ป้องกันไม่ให้นกเข้าไปสัมผัสกับไก่ที่อยู่ภายในโรงเรือนได้ และการจัดการสิ่งแวดล้อมภายในฟาร์ม ก็จะต้องทำไม่ให้มีนกป่า หรือนกธรรมชาติเข้ามาอาศัย หรือเข้ามาหากินภายในฟาร์มอีกด้วย ในช่วงของการจับไก่ ก็มักจะมีไก่บางตัวที่เหลือที่ไม่ได้จับส่งโรงงาน ซึ่งก็อาจจะเป็นไก่ตัวเล็ก แคระแกร็น ดังนั้นเมื่อเราพบไก่กลุ่มนี้เหลืออยู่ภายในโรงเรือน เราก็จะต้องนำมาฆ่าทำลายโดยทันที เพื่อป้องกันไม่ให้มันเป็นตัวอมโรค และไม่ให้แพร่กระโรคไปยังที่อื่นๆต่อไป และนอกจากนี้ อาหารหกหล่น ที่อยู่ภายในโรงเรือน หรือตามถังไซโล ก็มักจะเป็นตัวที่ดึงดูดนก และหนูให้เข้ามาหากินภายในฟาร์ม ดังนั้นเมื่อเราพบเห็นก็จะต้องรีบทำความสะอาดโดยทันที การควบคุมหนูและแมลง หนูและแมลง ในที่นี่ก็มักจะหมายถึง แมลงวันและแมลงปีกแข็ง ซึ่งมักจะพบทั่วไปภายในโรงเรือน สัตว์ในกลุ่มพวกนี้มันมักจะเป็นตัวที่นำเชื้อโรคให้เข้ามาติดไก่ภายในโรงเรือน ซึ่งเราจะต้องมีการควบคุมมันให้ดี ในการกำจัดหนูนั้นเราก็มันจะใช้เหยื่อพิษ นำมาวางหล่อให้หนูมากิน ซึ่งก็ถือได้ว่าเป็นโปรแกรมที่สำคัญที่จะต้องทำภายในฟาร์มตลอดเวลา ในการจัดการสิ่งแวดล้อมภายในฟาร์ม ก็จำเป็นที่จะต้องทำให้ไม่มีหนูมาอาศัยอยู่ภายในบริเวณของฟาร์ม และในส่วนของหลังคาโรงเรือนก็จะเป็นอีกส่วนหนึ่งที่จะต้องมีการปิดให้มิดชิด เพื่อป้องกันไม่ให้หนูเข้ามาทางนี้ได้ บทสรุปและวิจารณ์ ระบบสุขศาสตร์ป้องกันโรคภายในฟาร์ม หรือ Biosecurity system นั้น ถือได้ว่าเป็นที่มีความสำคัญต่อการป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดโรคขึ้นภายในฟาร์มได้ และโดยมากแล้วระบบสุขศาสตร์ป้องกันโรคภายในฟาร์มตามที่ว่ามานี้ โดยมากแล้วมันก็ไม่ได้มีความแตกต่างจากระบบการปฏิบัติงานภายในฟาร์มประจำวันเท่าใดนั้น แต่ถ้าเราไม่มีการปฏิบัติตามระบบสุขศาสตร์ป้องกันโรค เราคิดว่าระบบของสมบรูณ์แบบแล้ว พนักงานภายในฟาร์มไม่มีการปฏิบัติตามข้อกำหนดตามโปรแกรม ซึ่งนั้นมันก็จะหมายความว่า ปัญหาสุขภาพไก่ ระบบสวัสดิภาพของสัตว์ ภายในฟาร์ม มันก็จะเกิดปัญหาตามมา เช่นกัน ยกตัวอย่าง อย่างเช่น ถ้าโปรแกรมระบบสุขศาสตร์ป้องกันโรคภายในฟาร์มของเราเป็นโปรแกรมที่สมบรูณ์แบบแล้ว แต่พนักงานยังปฏิบัติไม่ถูกต้อง หรือไม่ปฏิบัติตามโปรแกรม นั้นมันก็จะมีคำถามกับมาว่า ทำไมระดับหัวหน้างานไม่มีการ อบรมพนักงานให้เค้าเค้าใจ ให้เค้าปฏิบัติ ระบบที่เราได้ตั้งขึ้นมาให้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นภายในฟาร์ม ในการฝึกอบรมนั้น จะต้องประกอบไปด้วยส่วนสนับสนุนภายในฟาร์มและวิทยากรที่มีความรู้มาทำการอบรมให้ (ซึ่งวิทยากรในที่นี้ให้เน้นไปที่ ผู้ที่มีความชำนาญในด้านการจัดการฟาร์ม จะเป็นสิ่งที่ดี) ซึ่งจะเป็นความคุ้นเคยสำหรับงานในฟาร์มและจะเข้ากับพนักงานที่ปฏิบัติงานภายในฟาร์มไก่ดี โดยจุดมุ่งหมายก็เพื่อที่จะทำให้ไก่มีสุภาพที่ดี และปลอดโรค ประสิทธิภาพของโปรแกรมสุขศาสตร์ป้องกันโรคภายในฟาร์มนั้น มันจะไม่ไปสู่จุดมุ่งหมายได้ถ้าไม่มีคู่มือรายละเอียด ขั้นตอนในการปฏิบัติเอาไว้ที่ชัดเจน แต่บางที่มันก็มักจะไปขัดกับความเชื่อของคนที่เคยเลี้ยงไก่มานานๆ ว่าสิ่งที่เค้าปฏิบัติอยู่นั้นมันเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องก็ได้ ดังนั้นเราจะต้องอธิบายให้คนกลุ่มเหล่านี้เข้าใจ โดยอาจจะยังไม่รีบร้อนก็ได้ ซึ่งในขั้นแรกก็อาจจะต้องจัดคนให้เหมาะสมกับงานต่างๆภายในฟาร์ม หลังจากนั้นก็ค่อยให้คนที่เค้าเห็นด้วยค่อยปฏิบัติให้ดูจนเกิดผลสำเร็จ แล้วจากนั้นคนที่เค้าไม่เชื่อเค้าก็จะกับมาเห็นด้วยกับเราเอง ในตอนนี้ ระบบสุขศาสตร์ป้องกันโรคภายในฟาร์ม ได้ทำให้หลายๆบริษัทสามารถที่จะควบคุมและป้องกันปัญหาการติดเชื้อที่เกิดขึ้นภายในฟาร์มได้แล้ว ซึ่งจุดมุ่งหมายของระบบนี้ก็เพื่อที่จะทำให้ฟาร์มที่เลี้ยงไก่นั้นปลอกจากโรคระบาด และสามารถที่จะแข่งขันกับฟาร์มอื่นๆที่มีอยู่ทั่วโลกได้ ดังนั้นระบบสุขศาสตร์ป้องกันโรคที่ดี จึงเป็นสิ่งที่ฟาร์มจำเป็นจะต้องทำ เอกสารอ้างอิง · Roy Mutimer .2010. Biosecurity – the best investment you can make , International poultry production , V18(8) : 7-9 p.

ไม่มีความคิดเห็น: