วันจันทร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2553

ประจำเดือน มิถุนายน 2010
เรียบเรียงโดย น.สพ.ชัชวาลย์ สอนศรี
ผช.ผจญ. วิชาการ-สุขภาพไก่เนื้อ


การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของ อาร์ติฟอส และ แคลโกฟอส ในไก่เนื้อไก่ประกัน
( Comparison Evaluation of Athephos and Calgophos in broiler farms )


บทคัดย่อ
การทดลองวิจัยเรื่อง การศึกษาเปรียบเทียบประสิทิภาพของ อาร์ทีฟอส และ แคงโกฟอส ในไก่เนื้อไก่ประกัน ครั้ง จะมีการแบ่งการทดลองออกเป็น 3 กลุ่มการทดลอง คือ กลุ่มที่ 1: จะเป็นไก่กลุ่มที่มีการใช้อาร์ทีฟอส กลุ่มที่ 2: จะไก่กลุ่มที่มีการใช้แคลโกฟอส และไก่กลุ่มที่ 3 : จะเป็นไก่กลุ่มควบคุม ที่ไม่มีการใช้ผลิตภัณฑ์ทั้ง 2 อย่างเลย ไก่ที่ทดลองจะเลี้ยงไก่ที่อายุ 42-43 วัน ซึ่งจากผลการทดลอง จะมีการวัดผลอยู่ 2 อย่างคือ 1: เรื่องของไก่ขาเจ็บ หรือ ไก่ขาพิการที่พบอยู่ภายในฝูง และ 2 : ในส่วนของข้อมูลการเลี้ยงไก่ไก่ ซึ่งก็จะมี เปอร์เซ็นการสูญเสียสะสม น้ำหนักไก่จับ ค่า FCR และค่า PI จากการทดลอง จะสรุปได้ว่า การใช้ผลิตภัณฑ์ทั้ง 2 ชนิด เพื่อนำมาละลายน้ำให้ไก่กิน ไม่ได้มีส่วนช่วยทำให้ผลผลิตไก่ที่เลี้ยงดีขึ้นเลย และปัญหาของไก่ขาเจ็บ ไก่ขาพิการ ก็มีค่าอยู่ไกล้เคียงกัน ซึ่งรายละเอียดต่างๆ จะมีอยู่ในรายงานผลการทดลอง และมีอยู่ในส่วนของการสรุปและวิจารณ์ผลการทดลอง ซึ่งจากรายงานฉบับนี้จะถือได้ว่าเป้นข้อมูลที่จะได้มีกีนำไปประยุกต์ใช้ในการเลี้ยงไก่เนื้อไก่ประกันต่อไป

คำสำคัญ : อาร์ติฟอส , แคลโกฟอส , ไก่เนื้อ , ผลผลิต

บทนำ
ในการเจริญเติบโตของไก่นั้น แร่ธาตุหรือสารอาหารต่างๆ จะเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของไก่มาก ซึ่งถ้ามองไปที่ระบบโครงสร้งของร่างกายไก่แล้ว การเจริญเติบโตของกระดูกที่ไม่สมบรูณ์ ก็จะเป็นปัญหามากต่อการเลี้ยงการจัดการไก่เนื้อภายในฟาร์ม เพราะว่า ถ้าไก่ที่เลี้ยงเกิดปัญหาขาอ่อน ไก่แสดงอาการขาเจ็บ หรือแม้แต่เกิดความผิดปกติของขา มันก็ย่อมจะส่งผลทำให้การกินน้ำ การกินอาหารของไก่ไม่ดีตามไปด้วย ทำให้ไก่ที่เลี้ยงไม่มีสวัสดิภาพสัตว์ที่ดี และสุดท้ายก็จะทำให้ผลผลิตไก่เนื้อที่เลี้ยงนั้นไม่ดีตามไปด้วย ดังนั้นการใช้สารเสริมอย่างเช่น อาร์ติฟอส ก็จะเป็นอีกแนวทางเลือกอีกแนวทางหนึ่งที่จะช่วยลดปัญหาของไก่ขาเจ็บได้ หรือสามารถทำให้การเจริญเติบโตของกระดูกดีขึ้น ทำให้กระดูกแข็งแรงขึ้น สุดท้ายก็จะมีผลทำให้ไก่แข็งแรงและทำให้ผลผลิตไก่เนื้อที่ฟาร์มดีตามไปด้วย ดังนั้นถ้าจะกล่าวโดยสรุปก็คือ ผลิตภันฑ์อทีฟอส และผลิตภัณฑ์แคลโกฟอส มันจะสามารถไปมีผลช่วยส่งเสริมทำให้ระบบการเจริญเติบโตของกระดูกดีขึ้นนั้นเอง
ผลิตภัณฑ์อาร์ติฟอส และผลิตภัณฑ์แคลโกฟอส มันจะเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดหนึ่งที่ใช้ในการผสมในน้ำไก่กินหรือในน้ำที่สัตว์ต่างๆกิน เพื่อเพิ่มแร่ธาตุให้กับกับสัตว์ ซึ่งส่วนประกอบหลักของ อาทีฟอสและแคลโฟอสจะประกอบไปด้วย ฟอสฟอรัส แคลเชียม โซเดียม แมกนีเซียม และธาตุที่จำเป็นอื่นๆ ซึ่งจุดมุ่งหมายที่นำไปใช้ก็เพื่อจะทำให้ระบบโครงร่างของไก่เจริญเติบโต แข็งแรง ลดปัญหาเรื่องของไก่ขาอ่อน ลดปัญหาเรื่องของไก่ขาเจ็บ ทำให้ปัญหาไก่ขาเจ็บลดลง ช่วยทำให้ไก่ที่เลี้ยงอยู่ภายในฟาร์มมีสวัสดิภาพสัตว์ที่ดีมากขึ้น และช่วยให้ไก่กินน้ำกินอาหารได้มากขึ้น และกระตุ้นการเผาผลาญอาหาร ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายพัฒนาดีขึ้น สุดท้ายจะทำให้ผลผลิตในการเลี้ยงไก่ที่ฟาร์มดีขึ้นด้วย ดังนั้นในการทดลองนี้ จะเป็นการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของ อทีฟอส และ แคลโกฟอส ในฟาร์มไก่ประกัน โดยแบ่งการทดลองออกเป็น โรงเรือนทดลองผลิตภัณฑ์ อาร์ทีฟอส 1 โรงเรือน โรงเรือนทดลองแคลโกฟอส 1 โรงเรือน และโรงเรือนควบคุม หรือโรงเรือนที่ไม่มีการใช้สารทั้ง 2 อย่าง จำนวน 1 โรงเรือน ซึ่งการให้ อทีฟอส และ แคลโกฟอส นี้จะเป็นการให้โดยการละลายน้ำให้ไก่กิน โดยวัตถุประสงค์หลักคือ เพื่อที่จะดูว่าอัตราการเจริญเติบโตของไก่ทั้ง 3 กลุ่ม จะมีความแตกต่างกันหรือไม่ และสุดท้ายก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าการศึกษาวิจัยในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจต่อไป

อุปกรณ์และวิธีการทดลอง
อุปกรณ์การทดลอง
1. ผลิตภัณฑ์อาร์ติฟอส จากบริษัท ไบโอเว็ต อินเตอร์เทรด จำกัด
2. ผลิตภัณฑ์แคลโกฟอส จากบริษัท เวอร์แบค ประเทศไทย จำกัด
3. ไก่เนื้อ จำนวน 72,180 ตัว ซึ่งมีทั้งหมด 3 โรงเรือน โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 2 โรงเรือน และกลุ่มควบคุม 1 โรงเรือน ตามรายละเอียดที่ได้กล่าวมา
วิธีการทดลอง
1. เลือกทดลองในฟาร์มไก่ประกัน จำนวน 3 ฟาร์ม โดยจะเลือกมาฟาร์มละ 1 โรงเรือน ซึ่งจะแบ่งออกเป็นกลุ่มทดลอง ดังที่กล่าวมา
2. .แบ่งกลุ่มการทดลองออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มที่ใช้ อาร์ติฟอส จะให้เป็นกลุ่มทดลอง กลุ่มที่ 1 ( Treatment group 1 ) 2.กลุ่มที่ใช้ แคลโกฟอส จะให้เป็นกลุ่มทดลอง กลุ่มที่ 2 ( Treatment group 2 ) และ 3.กลุ่มที่ไม่ได้ใช้อาร์ติฟอส และ แคลโกฟอส จะให้เป็นกลุ่มควบคุม ( Control group )
3. ไก่เนื้อที่ใช้ในการทดลอง จะมีโรงเรือนละประมาณ 20,000 – 30,000 ตัวต่อโรงเรือน
4. เริ่มทำการทดลองโดยให้ อาร์ติฟอส และ แคลโกฟอส 1 ช่วง คือช่วงอายุ 10-15 วัน ( โดยขนาดของผลิตภัณฑ์ทั้ง 2 ชนิด ที่นำมาใช้ จะใช้ตามข้อแนะของบริษัท เป็นหลัก )
5. ทำการเก็บรวบรวมข้อมูล ผลผลิตต่างๆ เช่น อัตราการสูญเสียสะสม น้ำหนักไก่จับ FCR PI และผลกำไรต่อตัว
6. เมื่อได้ข้อมูลครบแล้ว ก็จะทำการรวบรวมและวิเคราะห์ผลทางสถิติ
7. สรุปผลงานทดลอง และนำเสนอกับผู้ที่เกี่ยวข้อง ต่อไป

การเก็บข้อมูล
· จะมีการเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการผลิตทั้งหมด คือ เปอร์เซ็นสูญเสียสะสม น้ำหนักไก่จับ FCR PI และกำไรต่อตัว

ผลการทดลอง
รายละเอียดของการทดลอง
ฟาร์ม
สาขา
กลุ่ม
จำนวนไก่ลง
วันที่ไก่ลง
PS/HAT.
Grade
สมชาย
บึงสามพัน
Athephos
17,040
11/5/2010
G1/G/HB
a
น้ำอ้อย
ชัยนาท
Calgophos
27,680
26/5/2010
GP/2/CB
A
สุริยน
บึงสามพัน
Control
27,460
17/5/2010
Mix/2/HB
A

ผลการเลี้ยงไก่เนื้อ
ฟาร์ม
กลุ่ม
อายุจับ(วัน)
สูญเสีย
น้ำหนัก
FCR
PI
สมชาย
Athephos
42
1.88
2.35
1.70
323.64
น้ำอ้อย
Calgophos
43
2.57
2.72
1.78
346.52
สุริยน
Control
42
4.95
2.33
1.76
299.46

ต้นทุนค่ายาและกำไรต่อตัว
ฟาร์ม
กลุ่ม
% อาหารที่ใช้
ค่ายา
กำไร/ตัว
สมชาย
Athephos
13.03%
0.76
15.89
น้ำอ้อย
Calgophos
15.75%
0.89
15.56
สุริยน
Control
12.87%
0.94
12.87

สรุปและวิจารณ์ผลการทดลอง
ในการทดลองนี้ ก็จะเป็นการนำเสนอ เปรียบเทียบประสิทธิภาพของผลิตภันธ์ 2 ชนิด คือ ผลิตภัณฑ์อาร์ทีฟอส และ ผลิตภัณฑ์แคลโกฟอส โดยจะแบ่งการทดลองออกเป็น 3 กลุ่ม ซึ่งกลุ่มทดลองจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม และกลุ่มควบคุมมีอีก 1 กลุ่ม ในการทดลองครั้งนี้ จะเป็นการทดลองกับไก่ที่เลี้ยงอายุมาก และเป็นไก่ที่ต้องการน้ำหนักที่ส่งเข้าโรงเชือดมาก ซึ่งเป็นขนาดไก่ที่โรงเชือดกำหนดไว้ให้เลี้ยงตามนี้ ดังนั้นจึงเป้นสิ่งที่ดีที่จะได้มีการทดสอบผลิตภัณฑ์ทั้ง 2 ชนิดนี้ เพราะว่า ผลิตภัณฑ์ทั้ง 2 ชนิดนี้ มันเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นแร่ธาตุที่ใช้ในการเสริมสร้างโครงร่างของร่างกายไก่ ดังถ้าเลี้ยงไก่ที่มีขนาดตัวโตๆ น้ำหนักไก่มากๆ ก็จะเป็นการชี้ชัดว่าผลิตใดที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดที่จะช่วยเสริมสร้างระบบโครงร่างของร่างกายไก่ ให้สามารถที่จะรับน้ำหนักได้ดี ซึ่งทั้งนี้เราสามารถที่จะ วิเคราะห์ได้โดยดูทั้ง จำนวนไก่ที่แสดงอาการขาเจ็บ จำนวนไก่พิการภายในโรงเรือน และดูผลผลิตไก่ที่เลี้ยงได้ด้วย แต่ในการทดลองนี้ จะเป็นการนำเสนอข้อมูลที่ข้อมูลเกี่ยวข้อกับการผลิตไก่เป็นหลัก เพราะว่าจากเท่าที่ดูปริมารของไก่ที่แสดงอาการขาเจ้บ หรือไก่พิการที่พบอยู่ภายในโรงเรือนที่ทำการทดลอง ก็พบว่ามีปริมาณที่ไม่แตกต่างกัน ซึ่งโดยเฉลี่ยก็จะพบอยู่ประมาณ 1-1.5 % ของฝูง โดยเปรียบเทียบกับไก่ปกติภายในโรงเรือน ดังนั้นในการทดลองนี้จึงเป็นการนำเอาเฉพาะข้อมูงที่เป็นผลผลิตไก่เนื้อมาเปรียบเทียบกันเท่านั้น ซึ่งรายละเอียดต่างๆ ก็มีดังต่อไปนี้
การสูญเสียสะสม : ไก่จับที่ อายุ 42 วัน จะพบว่าไก่ในกลุ่มทดลอง ทั้ง 2 กลุ่ม จะมีการสูญเสียที่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน แต่ไก่กลุ่มควบคุมจะพบว่ามีการสูญเสียที่สูงมาก โดยการสูญเสียนี้จะพบตั้งแต่ช่วงไก่เล็ก และก็จะพบการสูญเสียสูงอีกครั้งหนึ่งในช่วงไก่ก่อนจับ โดยปัญหาหลักของฟาร์มที่เป็นกลุ่มควบคุมก็จะเป็นเรื่องของการจัดการฟาร์มมากกว่า ซึ่งจะพบว่า ในช่วงไก่ก่อนจับประมาณ 5 วัน ภายในโรงเรือนจะไม่สามารถควบคุมชื้นได้ ดังนั้นก็จะมีผลทำให้ความชื้นภายในโรงเรือนสูงขึ้น และการจะไปมีผลต่อการระบายความร้อนออกจากร่างกายของไก่ ส่งผลทำให้ไก่ตัวโตๆ ตายสูงมากขึ้น จึงมีผลทำให้ไก่กลุ่มควบคุมมีอัตราการสูญเสียที่สูงกว่า แต่ถ้าตัดเปอร์เซ็นต์การสูญเสียของไก่กลุ่มควบคุมในช่วงท้ายออก ก็จะพบว่า การสูญเสียของไก่ทั้ง 3 กลุ่ม ไม่มีความแตกต่างกันเลย และจะพบว่าการสูญเสียของไก่ทั้ง 3 กลุ่ม จะต่ำกว่า มาตรฐาน อีกด้วย
น้ำหนักไก่จับ : ในการเลี้ยงไก่ในชุดที่มีการทดลองนี้ จะเป็นนดยบายให้มีการเลี้ยงไก่ที่มีขนาดใหญ่ หรือจะให้เลี้ยงไก่ขนาด 2.4 – 2.6 kg. เพื่อส่งเข้าโรงเชือด ผลิตเป็นสินค้าตามออร์เดอร์ที่ลูกค้าสั่งมา แต่จากผลการทดลองนี้จะพบว่า ลูกไก่ที่นำมาทดลองนั้นจะมีทั้ง 3 แบบเลย คือ เป็นลูกไก่ GP ลูกไก่ A และลูกไก่ a ซึ่งฟาร์มที่ได้น้ำหนักสูงที่สุด คือฟาร์มที่ใช้ผลิตภัณฑ์แคลโกฟอส แต่ว่าฟาร์มนี้ จะเป็นลูกไก่ที่มาจากพ่อ แม่ พันธุ์ GP ซึ่งลูกไก่กลุ่มนี้จะเป็นลูกไก่ที่มีขนาดใหญ่มากที่อายุ 1 วัน และจะเป็นไก่ที่มีอัตราการเจริญเติบโตที่สูงมาก ดังนั้นในการเลี้ยงที่อายุเท่ากัน จึงมีผลทำให้ฟาร์มที่เลี้ยงลูกไก่ GP มีน้ำหนักที่มากกว่า แต่ถ้าพิจารณาฟาร์มที่มีลูกไก่ a ที่ใช้ผลิตภัณฑ์อาร์ทีฟอส ก็พบว่า น้ำไก่ที่ได้นั้นไกล้เคียงกับกลุ่มควบคุม ซึ่งเป็นลูกไก่ A ดังนั้นในการทดลองนี้ ปัจจัยจากคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่นำมาใช้ ก็ไม่น่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับอัตราการเจริญเติบโตของไก่ หรือช่วยทำให้ไก่เจริญเติบดตดีขึ้น ปัจจัยหลักน่าจะเป็นเรื่องของ ขนาดของลูกไก่ที่นำมาเลี้ยง หรือแหล่งของลูกไก่ที่นำมาเลี้ยงมากกว่า จะมีผลทำให้อัตราการเจริญเติบโตของในการทดลองนี้
ค่า FCR : ในส่วนของค่า FCR นั้น จะพบว่าค่าที่มากที่สุดและค่าที่ต่ำที่สุด จะมีความแตกต่างกัน 8 จุด ซึ่งค่าของ FCR นี้จะมาจาก การที่ไก่กินอาหารเข้าไป แล้วผลิตเป็นเนื้อหรือน้ำหนัก ออกมา ดังนั้นถ้าไก่กินอาหารมากแล้วได้น้ำหนักน้อยก็จะเป้นสิ่งที่ไม่ดี แต่จากการทดลองนี้ จะพบว่า ไก่ที่มีน้ำหนักมากที่สุด กับมีค่า FCR สูงที่สุดด้วยเช่นกัน ดังนั้น ผลิตภัณฑ์ที่นำมาทดลองทั้ง 2 ชนิดนี้ ก็ไม่ได้บอกว่าจะช่วยลดค่า FCR ของไก่ให้ต่ำลงได้เลย โดยเมื่อเทียบกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมแล้ว จะพบว่ากลุ่มทดลองจะมีค่า FCR สูงกว่ากลุ่มควบคุมด้วยซ้ำไป แต่เมื่อวิเคราะห์ดูว่าค่า FCR ของทั้ง 3 กลุ่มนี้ จะมีเกณฑ์ที่ต่ำ และอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่ยอมรับได้ทั้ง 3 กลุ่ม นั้นแสดงว่า คุณภาพของอาหารที่นำมาทดลองในการทดลองนี้ อยู่ในเกณฑืที่ดี
ค่า PI : สำหรับค่า PI นี้ เมื่อทั้ง 3 กลุ่มทดลองแล้วจะพบว่า กลุ่มควบคุมจะมีค่า PI ที่ต่ำที่สุด แต่เมื่อมาวิเคราะห์กับปัญหาที่ทำให้ค่า PI ของกลุ่มทดลองต่ำที่สุดนั้น ก็มาจาเรื่องของอัตราการตายของไก่สูงกว่ากลุ่มอื่น แต่ถ้ามองอีกมุมหนึ่งที่ว่า ไก่กลุ่มควบคุมมีการใช้อาหารอาหารที่น้อยกว่า น้ำหนักไก่ก็ออกมาไกล้เคียงกับกลุ่มอื่น และค่า FCR ก็ออกมาไกล้เคียงกับกลุ่มอื่นแล้ว กลุ่มควบคุมน่าจะมีค่า PI ที่สูงที่สุด ถ้าไม่มีปัญหาเรื่องของการจัดการเข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนั้นก็สามารถที่จะสรุปได้ว่า ผลิตภัณฑ์ทั้ง 2 ชนิดที่นำมาทดลองนี้ ไม่เกี่ยวข้องกับการผลิตเลย หรือไม่มีส่วนเกี่ยวข้องที่ทำให้ไก่มีการเจริญเติบโตที่เพิ่มขึ้นเลย
ค่ายาและกำไรต่อตัว : จากทั้งหมด ทั้ง 3 กลุ่มการทดลองจะพบว่า ค่ายาที่ใช้ก็ไกล้เคียงกัน แต่จะมีกลุ่มควบคุมที่มีค่ายาสูงกว่ากลุ่มอื่นๆ เนื่องมาจากไก่กลุ่มนี้กระปัญหาการจัดการทำให้ไก่มีเสียงหวัดเล็กน้อย ก็เลยจะต้องให้ยาเพิ่มเติม จึงมีผลทำให้ค่ายาสูงกว่ากลุ่มอื่นๆ แต่ถ้ามองโดยภาพรวมแล้ว จะพบว่าก็อยุ่ในช่วงที่ไม่แตกต่างกันมาก ในส่วนของกำไรในการเลี้ยงไก่นั้น จะพบว่ากลุ่มควบคุมจะมีกำไรต่ำที่สุด เนื่องมาจากปัญหาดังที่กว่ามาทั้งงหมด ไม่ใช่ว่าไก่ทดลองกลุ่มนี้ไม่ได้ใช้ผลิตภัณฑ์ดังที่กล่าวมาเลยทำให้ ได้กำไรน้อน
กล่าวโดยสรุป ในการทดลองครั้งนี้ จะพบว่าผลการเลี้ยงไก่ทั้ง 3 กลุ่มนี้ จะให้น้ำหนักที่ไกล้เคียงกันมาก เพราะว่า ทางบริษัทต้องการไก่ที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งจากการทดลองการใช้ผลิตภัณฑ์ของทั้ง 2 บริษัท นี้จะพบว่า ไม่ได้มีส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเจรอญเตอบโตของไก่ที่เลี้ยงเลย ไม่ว่าลูกไก่ที่นำมาทดลองจะเป้นลูกไก่ที่แตกต่างกันก้ตาม สุดท้ายนี้ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ข้อมูลการวิจัยครั้งนี้ จะเป้นข้อมูลที่มีประดยชน์ ที่สามรถที่จะไปใหช้ให้เกิดประในครั้งต่อไป

ภาคผนวก
รายละเอียด เกี่ยวกับ อาร์ติฟอส
ส่วนประกอบ
1.เป็นแร่ธาตุที่มีความจำเป็นในการสร้างอวัยวะของร่างกาย ได้แก่ ฟอสเฟต แคลเซียม ใช้ในการสร้างกระดูก เปลือกไข่ แร่ธาตุที่มีหน้าที่ในการกระตุ้นการสร้างพลังงานของร่างกาย (ATP อะดีนาซีนไตรฟอสเฟต) ซึ่งเป็นพื้นฐานกิจกรรมของสัตว์ ในรูปแบบที่มีการดูดซึมอย่างรวดเร็วในปริมาณสูง
2.เป็นแร่ธาตุที่มีความจำเป็นในการสร้างขบวนการต่างๆ เช่น การสืบพันธุ์ การเผาผลาญอาหาร ได้แก่ สังกระสี เหล็ก ทองแดง แมกนีเซียม และแมงกานีส
3.เป็นสื่อที่ทำให้การกระจายตัวของแร่ธาตุเป็นไปได้อย่างสมดุล
สรรพคุณ
ในไก่เนื้อ : กระตุ้นการเจริญเติบโตทำให้ไก่มีโครงร่างที่แข็งแรง ไม่มีอาการพิการจากการขาดฟอสเฟต เช่น กระดูกเกิดการผิดรูปจนต้องคัดทิ้งเป็นลูกไก่สูญเสีย นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ กระตุ้นการเผาผลาญ ทำให้ไก่มีสุขภาพแข็งแรงต้านทานการติดเชื้อได้เป็นอย่างดี
ขนาดและวิธีใช้
ในไก่ และสัตว์ : ละลายน้ำให้กิน ขนาด 1 ส่วน ต่อน้ำ 1000 ส่วน ให้กินติดต่อกัน 3-5 วัน
ส่วนประกอบของอาร์ติฟอส
Phosphorus 110 g.
Calcium 15 g.
Sodium 15 g.
Magnexium 22 mg.
Zinc 2200 mg.
Iron 1500 mg.
Copper 110 mg.
Manganess 2500 mg.
จัดจำน่ายโดย
บริษัท ไบโอเว็ต อินเตอร์เทค จำกัด 2176 ซ.ลาดพร้าว 101 ถ.ลาดพร้าว แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุ่งเทพ 10240

รายละเอียดเกี่ยวกับแคลโกฟอส
สรรพคุณ
· ผสมในน้ำดื่ม ให้สัตว์ เพื่อเสริมแร่ธาตุ
วิธีใช้และอัตราส่วนผสม
· ผสม แคลโกฟอส 1.24 กิโลกรัม ( 1 ลิตร ) ต่อน้ำ 200 ลิตร ให้สัตว์กินติตต่อกัน 1 สัปดาห์
คำเตือนหรือข้อควรระวัง
· ควรเก็บไว้ในที่แห้งและเย็น พ้นจากแสงแดด
ส่วนประกอบของอาร์ติฟอส
Phosphorus 82.74 g.
Calcium 14.19 g.
Sodium 7.02 g.
Magnexium 9.69 g.
Zinc 2.07 g.
Cobol 0.019 g.
Copper 0.497 g.
Manganess 1.94 g.
สารปรุงแต่งอาหารสัตว์ 2.58 mg.
สื่อ เติมจนครบ 1 mg.
จัดจำน่ายโดย
บริษัท เวอร์แบค ประเทศไทย จำกัด 222 อาคารฐานเศรษกิจ ชั้น11 โชน ดี3 หมู่ 9 ถ.วิภาวดีรังสิต เขตจตุจักร กรุงเทพ 10240

เอกสารอ้างอิง
· เอกสาร รายละเอียดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ อาร์ติฟอส บริษัท ไบโอเว็ต อินเตอร์เทค จำกัด
· เอกสาร รายละเอียดเกี่ยวกับผลิตภันฑ์ แคลโกฟอส บริษัท เวอร์แบค แอนนิมอลเฮลล์ จำกัด

1 ความคิดเห็น:

eadinzahn กล่าวว่า...

Gambling & Casinos - JT Hub
JT Hub 서귀포 출장안마 has teamed 오산 출장샵 up with JT Holdings to bring you their latest 사천 출장마사지 casino games, which include the best of their kind. 순천 출장샵 The JTG slots are made up 강원도 출장마사지 of