วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2552

งานวิจัย เรื่อง อาร์ติฟอส

ประจำเดือน กันยายน 2009
แปลและเรียบเรียงโดย น.สพ.ชัชวาลย์ สอนศรี
ผช.ผจญ. วิชาการ-สุขภาพไก่เนื้อ


การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของ อาร์ติฟอส ในไก่เนื้อไก่ประกัน
( Comparison Evaluation of Athephos in broiler farms )


บทคัดย่อ
ในการทดลองเปรียบเทียบประสิทธิภาพของ อาร์ติฟอส ในฟาร์มไก่เนื้อไก่ประกันนี้ ได้มีการแบ่งการทดลองออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่มีการใช้ อาร์ติฟอส ( Treatment group ) และกลุ่มที่ไม่มีการใช้ อาร์ติฟอส( Control group )
สำหรับการใช้อาร์ติฟอสนั้นจะให้โดยการละลายน้ำ ซึ่งขนาดของการให้นั้น จะให้ 1 ส่วนต่อน้ำ 1000 ส่วน โดยแบ่งให้เป็น 2 ช่วงอายุคือ ช่วงอายุ 10-13 วัน และช่วงอายุ 20-25 วัน ซึ่งผลการทดลองพบว่า ไก่เนื้อกลุ่ม Control จะมีผลการเลี้ยงที่ดีกว่าไก่เนื้อกลุ่ม Treatment ถึงม้าว่าไก่เนื้อกลุ่ม Control จะมีการสูญเสียที่สูงกว่าก็ตาม และถ้าพิจารณาที่คุณภาพซากของไก่ที่ส่งเข้าโรงเชือด ก็จะพบว่าไก่ทดลองทั้ง 2 กลุ่ม มีคุณภาพซากที่ไม่แตกต่างกัน และสุดท้ายถ้าพิจารณาที่กำไรของการเลี้ยงไก่เนื้อ ก็จะพบว่าไก่เนื้อกลุ่ม Control จะมีผลกำไรมากกว่าไก่เนื้อกลุ่ม Treatment ซึ่งทั้งนี้ก็เพราะว่า ไก่เนื้อกลุ่ม Control มีน้ำหนักที่ดีกว่า และมีค่า FCR ที่ต่ำกว่านั้นเอง

คำสำคัญ : อาร์ติฟอส , ไก่เนื้อ , ผลผลิต , คุณภาพซาก

บทนำ
ในการเจริญเติบโตของไก่นั้น แร่ธาตุหรือสารอาหารต่างๆ จะเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของไก่มาก ซึ่งถ้ามองไปที่ระบบโครงสร้งของร่างกายไก่แล้ว การเจริญเติบโตของกระดูกที่ไม่สมบรูณ์ ก็จะเป็นปัญหามากต่อการเลี้ยงการจัดการไก่เนื้อภายในฟาร์ม เพราะว่า ถ้าไก่ที่เลี้ยงเกิดปัญหาขาอ่อน ไก่แสดงอาการขาเจ็บ หรือแม้แต่เกิดความผิดปกติของขา มันก็ย่อมจะส่งผลทำให้การกินน้ำ การกินอาหารของไก่ไม่ดีตามไปด้วย ทำให้ไก่ที่เลี้ยงไม่มีสวัสดิภาพที่ดี และสุดท้ายก็จะทำให้ผลผลิตไก่เนื้อที่เลี้ยงนั้นไม่ดีตามไปด้วย ดังนั้นการใช้สารเสริมอย่างเช่น อาร์ติฟอส ก็จะเป็นอีกแนวทางเลือกอีกแนวทางหนึ่งที่จะช่วยลดปัญหาของไก่ขาเจ็บได้ หรือสามารถทำให้การเจริญเติบโตของกระดูกดีขึ้น ทำให้กระดูกแข็งแรงขึ้น สุดท้ายก็จะมีผลทำให้ไก่แข็งแรงและทำให้ผลผลิตไก่เนื้อที่ฟาร์มดีตามไปด้วย ดังนั้นถ้าจะกล่าวโดยสรุปก็คือ อทีฟอส จะสามารถไปมีผลช่วยส่งเสริมทำให้ระบบการเจริญเติบโตของกระดูกดีขึ้นนั้นเอง
อาร์ติฟอส เป็นสารชนิดหนึ่งที่ใช้ในการผสมในอาหรสัตว์เพื่อเพิ่มแร่ธาตุให้กับกับสัตว์ ซึ่งส่วนประกอบหลักของ อาทีฟอสจะประกอบไปด้วย ฟอสฟอรัส แคลเชียม โซเดียม แมกนีเซียม และธาตุที่จำเป็นอื่นๆ ซึ่งจุดมุ่งหมายที่นำไปใช้ก็เพื่อจะทำให้ระบบโครงร่างของไก่เจริญเติบโต แข็งแรง ลดปัญหาเรื่องของไก่ขาอ่อน ลดปัญหาเรื่องของไก่ขาเจ็บ ทำให้ปัญหาไก่ขาเจ็บลดลง ช่วยทำให้ไก่ที่เลี้ยงอยู่ภายในฟาร์มมีสวัสดิภาพที่มากขึ้น และช่วยให้ไก่กินน้ำกินอาหารได้มากขึ้น และกระตุ้นการเผาผลาญอาหาร ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายพัฒนาดีขึ้น สุดท้ายจะทำให้ผลผลิตในการเลี้ยงไก่ที่ฟาร์มดีขึ้นด้วย ดังนั้นในการทดลองนี้ จะเป็นการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของ อทีฟอส ในฟาร์มไก่ประกัน โดยกำหนดให้มีการทดลองสาขาละ 2 ฟาร์ม โดยแบ่งเป็นโรงเรือนทดลอง 1 โรงเรือนต่อฟาร์ม และโรงเรือนควบคุม 1 โรงเรือนต่อฟาร์ม ซึ่งการให้ อทีฟอสนี้จะเป็นการให้โดยการละลายน้ำ โดยวัตถุประสงค์หลักคือ เพื่อที่จะดูว่าอัตราการเจริญเติบโตของไก่ และคุณภาพซากไก่ที่เข้าโรงเชือดของไก่ทดลองทั้ง 2 กลุ่ม จะมีความแตกต่างกันหรือไม่ และสุดท้ายก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าการศึกษาวิจัยในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจต่อไป

อุปกรณ์และวิธีการทดลอง
อุปกรณ์การทดลอง
1. สารอาร์ติฟอส จากบริษัท ไบโอเว็ต อินเตอร์เทรด จำกัด
2. ไก่เนื้อ จะนวน 60,000 จาก จำนวน 3 โรงเรือน

วิธีการทดลอง
1. เลือกฟาร์มไก่ประกัน สาขาละ 2 ฟาร์ม โดยจะเลือกเอาฟาร์มที่มี 2 โรงเรือนเป็นหลัก
2. .แบ่งกลุ่มการทดลองออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มที่ใช้ อาร์ติฟอส จะให้เป็นกลุ่มทดลอง ( Treatment group ) และ 2.กลุ่มที่ไม่ใช้อาร์ติฟอส จะให้เป็นกลุ่มควบคุม ( Control group )
3. ไก่เนื้อที่ใช้ในการทดลอง จะมีโรงเรือนละประมาณ 10,000 – 15,000 ตัวต่อโรงเรือน
4. เริ่มทำการทดลองโดยให้ อาร์ติฟอส 2 ช่วง คือช่วงอายุ 10-13 วัน และ 20-25 วัน ตามลำดับ ( โดยขนาดของ อาร์ติฟอสที่ใช้ จะใช้ตามที่บริษัทกำหนดคือ 2-3 ลิตร ต่อน้ำ 1000 ลิตร และให้กินหมดภายใน 3 ชั่วโมง )
5. ทำการเก็บรวบรวมข้อมูล ผลผลิตต่างๆ เช่น อัตราการสูญเสียสะสม น้ำหนักไก่จับ FCR PI และผลกำไรต่อตัว
6. ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลคุณภาพซากไก่ที่เข้าโรงเชือด เช่น ไก่ตายช่วงขนส่ง ไก่พิการ ซากผอม CRD Avian cellulites ปีกช้ำ น่องช้ำ เป็นต้น
7. เมื่อได้ข้อมูลครบแล้ว ก็จะทำการรวบรวมและวิเคราะห์ผลทางสถิติ
8. สรุปผลงานทดลอง และนำเสนอกับผู้ที่เกี่ยวข้อง

การเก็บข้อมูล
1. ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการผลิตทั้งหมด คือ เปอร์เซ็นสูญเสียสะสม น้ำหนักไก่จับ FCR PI และกำไรต่อตัว
2. ข้อมูลคุณภาพซากไก่ที่ส่งเข้าโรงเชือด คือ ไก่ตายระหว่างการขนส่ง ไก่พิการ ไก่ซากผอม ปีกช้ำ หน่องช้ำ CRD และ Avian cellulites

ผลการทดลอง
รายละเอียดของการทดลอง
ฟาร์ม
สาขา
กลุ่ม
จำนวนไก่ลง
วันที่ไก่ลง
PS
Grade
ชัยวฒน์
บึงสามพัน
Treatment
13000
20/7/2009
ไก่นอก
A
ศิริพร
บึงสามพัน
Treatment
9500
20/7/2009
ไก่นอก
A
ทัศนี
บึงสามพัน
Control
9000
20/7/2009
ไก่นอก
A

ผลการเลี้ยงไก่เนื้อ
ฟาร์ม
กลุ่ม
อายุจับ(วัน)
สูญเสีย
น้ำหนัก
FCR
PI
ชัยวฒน์
Treatment
40
3.17
2.41
1.82
319.82
ศิริพร
Treatment
40
0.86
2.35
1.84
317.01
ทัศนี
Control
40
4.92
2.6
1.75
352.97

ต้นทุนค่ายาและกำไรต่อตัว
ฟาร์ม
กลุ่ม
ค่ายา
กำไร/ตัว
ชัยวฒน์
Treatment
0.93
11.15
ศิริพร
Treatment
1.19
10.26
ทัศนี
Control
0.99
14.89

คุณภาพซากไก่เข้าโรงเชือด
ฟาร์ม
กลุ่ม
พิการ %
ข้อเข่าเท้าฯ %
น่องช้ำ %
อกช้ำ %
ปีกช้ำ %
ชัยวฒน์
Treatment
0.03
92.75
0.31
0.07
0.97
ศิริพร
Treatment
0.07
92.33
0.55
0.07
0.93
ทัศนี
Control
0.06
96.50
0.44
0.08
0.57

ฟาร์ม
กลุ่ม
ซากผอม %
ผิวหนังฯ %
เข่าอักเสบ %
Callulitis %
C.R.D. %
ชัยวฒน์
Treatment
0.38
0.00
12.31
0.91
0.05
ศิริพร
Treatment
0.53
0.00
13.54
0.75
0.10
ทัศนี
Control
0.27
0.00
16.87
0.30
0.06

สรุปและวิจารณ์ผลการทดลอง
จากผลการทดลองดังที่กล่าวมา สามารถสรุปได้ดังนี้
การสูญเสียสะสม : ไก่จับที่ อายุ 40 วัน ไก่กลุ่มควบคุมจะมีการสูญเสียที่สูงกว่ากลุ่มทดลอง ซึ่งฟาร์มทัศนีจะสูญเสีย 4.92% เพราะว่าไก่หายที่โรงเชือดประมาณ 2% จึงส่งผลทำให้การสูญเสียสะสมสูงกว่ากลุ่มทดลอง
น้ำหนักไก่จับ : จะพบว่า ไก่กลุ่มควบคุมคือฟาร์มทัศนี จะมีน้ำหนักไก่จับ สูงกว่ากลุ่มทดลอง อย่างชัดเจน เพราะว่าช่วงท้ายไก่ฟาร์มทัศนีกินอาหารได้มาก โดยภาพรวมแล้วสุขภาพไก่ทั้ง 3 ฟาร์ม ปกติดี
ค่า FCR และ PI : จะพบว่า ฟาร์มทัศนีจะมีค่า FCR ต่ำกว่ากลุ่มทดลอง ซึ่งส่งผลทำให้ค่า PI สูงกว่าไก่กลุ่มทดลองตามไปด้วย ซึ่งเหตุผลก็เพราะว่า ฟาร์มทัศนีมีน้ำหนักไก่จับที่สูง ถึงแม้การสูญเสียจะสูงก็ตาม
ค่ายาและกำไรต่อตัว : ค่ายาของทั้ง 2 กลุ่มทดลองจะพบว่ามีค่าใกล้เคียงกัน คือประมาณ 1 บาทต่อตัว แต่ถ้ามาวิเคราะห์ที่ผลกำไรของการเลี้ยงจะพบว่า ฟาร์มทัศนี ซึ่งเป็นไก่กลุ่มควบคุมจะมีกำไรสูงที่สุด เพราะว่าค่า FCR ที่ต่ำและ น้ำหนักไก่จับมากนั้นเอง
คุณภาพซาก : ถ้านำเฉพาะค่าของ %ซากผอม มาวิเคราะห์แล้วจะพบว่า ไก่กลุ่มควบคุมจะมีค่าที่ต่ำกว่าไก่กลุ่มทดลอง หรือแม้กระทั้งว่า ดูภาพรวมของคุณภาพซากแล้วก็จะพบว่า ไก่กลุ่มควบคุมก็จะมีแนวโน้มคุณภาพซากที่ดีกว่าไก่กลุ่มทดลอง ซึ่งทั้งนี้อาจจะบอกไม่ได้เลยว่า อาร์ติฟอส สามารถที่จะช่วยทำให้คุณภาพซากของไก่ที่ส่งเข้าโรงเชือดดีขึ้น

ภาคผนวก
รายละเอียด เกี่ยวกับ อาร์ติฟอส
ส่วนประกอบ
1.เป็นแร่ธาตุที่มีความจำเป็นในการสร้างอวัยวะของร่างกาย ได้แก่ ฟอสเฟต แคลเซียม ใช้ในการสร้างกระดูก เปลือกไข่ แร่ธาตุที่มีหน้าที่ในการกระตุ้นการสร้างพลังงานของร่างกาย (ATP อะดีนาซีนไตรฟอสเฟต) ซึ่งเป็นพื้นฐานกิจกรรมของสัตว์ ในรูปแบบที่มีการดูดซึมอย่างรวดเร็วในปริมาณสูง
2.เป็นแร่ธาตุที่มีความจำเป็นในการสร้างขบวนการต่างๆ เช่น การสืบพันธุ์ การเผาผลาญอาหาร ได้แก่ สังกระสี เหล็ก ทองแดง แมกนีเซียม และแมงกานีส
3.เป็นสื่อที่ทำให้การกระจายตัวของแร่ธาตุเป็นไปได้อย่างสมดุล
สรรพคุณ
ในไก่เนื้อ : กระตุ้นการเจริญเติบโตทำให้ไก่มีโครงร่างที่แข็งแรง ไม่มีอาการพิการจากการขาดฟอสเฟต เช่น กระดูกเกิดการผิดรูปจนต้องคัดทิ้งเป็นลูกไก่สูญเสีย นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ กระตุ้นการเผาผลาญ ทำให้ไก่มีสุขภาพแข็งแรงต้านทานการติดเชื้อได้เป็นอย่างดี
ขนาดและวิธีใช้
ในไก่ และสัตว์ : ละลายน้ำให้กิน ขนาด 1 ส่วน ต่อน้ำ 1000 ส่วน ให้กินติดต่อกัน 3-5 วัน
ส่วนประกอบของอาร์ติฟอส
Phosphorus 110 g.
Calcium 15 g.
Sodium 15 g.
Magnexium 22 mg.
Zinc 2200 mg.
Iron 1500 mg.
Copper 110 mg.
Manganess 2500 mg.
จัดจำน่ายโดย
บริษัท ไบโอเว็ต อินเตอร์เทค จำกัด 2176 ซ.ลาดพร้าว 101 ถ.ลาดพร้าว แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุ่งเทพ 10240

เอกสารอ้างอิง
· เอกสาร รายละเอียดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ อาร์ติฟอส บริษัท ไบโอเว็ต อินเตอร์เทค จำกัด

ไม่มีความคิดเห็น: