วันพฤหัสบดีที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

การทดลองวัคซีน Vaxxitex ในไก่ประกัน

การทดลองเปรียบเทียบโปรแกรมวัคซีนในไก่ประกัน
( Comparison Evaluation of Vaccination program in broiler farms )



ประจำเดือน เมย-มิย 2009
เรียบเรียงโดย น.สพ. ชัชวาลย์ สอนศรี
ผช.กรรมการผู้จัดการ


บทคัดย่อ
ในการทดลองนี้จะเป็นการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของโปรแกรมวัคซีนที่ใช้ในไก่ประกัน โดยโปรแกรมที่นำมาทดสอบจะมีทั้งหมด 3 โปรแกรม ดังรายละเอียดในวิธีการทดลอง ซึ่งจากผลการทดลองจะพบว่า ผลการเลี้ยงไก่ กลุ่มที่ 3 จะให้ผลการเลี้ยงไก่ที่ดีที่สุด หรือดีกว่ากลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 ตามลำดับ ในส่วนของระดับภูมิและคุณภาพซากที่เข้าโรงเชือดนั้น จะพบว่า ทั้ง 3 กลุ่มทดลองจะให้ผลที่ไม่แตกต่างกันเลย จากการทดลองนี้ถ้ามีการนำไปใช้ในกิจการไก่ประกันก็สามารถจะนำไปประยุกต์ใช้ได้ แต่จะต้องมีการจัดการฟาร์มที่ดี มีการจัดการระบบสุขศาสตร์ป้องกันโรคก่อนเข้าฟาร์มให้ดีด้วย เพื่อป้องกันความเสี่ยงของเชื้อโรคที่จะเข้าไปก่อโรคกับไก่ ดังนั้นการจัดการฟาร์มที่ดี การจัดการระบบสุขศาสตร์ป้องกันโรคที่ดี จะถือได้ว่าเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับที่จะป้องกันเชื้อที่จะก่อโรคกับในฟาร์ม

คำสำคัญ : ไก่เนื้อ , ไก่ประกัน , วัคซีน , โปรแกรมวัคซีน

บทนำ
โรคเบอร์ซ่าอักเสบติดต่อ หรือ กัมโบโร เป็นโรคที่มีความสำคัญต่อธุรกิจการเลี้ยงไก่เนื้อ และไก่ไข่ทั่วโลก รวมทั้งในประเทศไทย เป็นเหตุให้ในพื้นที่ยังมีการใช้วัคซีนกันอย่างแพร่หลาย วัคซีนที่ใช้มีทั้งชนิดเชื้อเป็นและเชื้อตาย ขณะเดียวกันเนื่องจากเชื้อโรคกัมโบโร นั้นมีทั้ง strain ที่ทำให้เกิดอาการทางคลินิก (Clinical Sign) ซึ่งเกิดการติดเชื้อได้ตั้งแต่อายุ 3 สัปดาห์ขึ้นไป จนถึงประมาณ 5สัปดาห์ และแบบที่ไม่แสดงอาการ (Sub-Clinical Sign) ซึ่งเกิดขึ้นได้ในช่วง 1-3 สัปดาห์แรกของการเลี้ยง หรือตลอดชั่วอายุการเลี้ยง ซึ่งปัญหาที่พบ มันจะนำมาซึ่งปัญหาการฝ่อของทั้ง ต่อม Thymus และต่อม Bursa ของไก่ และสุดท้ายมันจะส่งผลทำให้ระบบสร้างภูมิคุ้มกันของไก่บกพร่องไปและทำให้ผลิตผลการเสี้ยงไก่เนื้อเสียตามไปด้วยได้กล่าวเอาไว้ว่า โรคกัมโบโร หรือ โรคเบอร์ซ่าอักเสบติดต่อ หรือโรคไอบีดี ( Gumboro disease , Infectious bursal disease IBD ) มีรายงานการเกิดโรคในครั้งแรกที่เมืองกัมโบโร มลรัฐเดลาแวร์ ประเทศอเมริกา เมื่อปี พศ. 2500 ซึ่งรายงานโดย Cosgrove เป็นคนแรก การเกิดโรคสามารถที่จะเกิดได้กับการเลี้ยงไก่ทุกชนิด อายุที่มักจะพบคือ ปะมาณ 3-6 สัปดาห์แรกของการเลี้ยงไก่ เชื้อที่เข้าไปก่อโรคจะมีผลไปทำลายต่อมเบอร์ซ่าเป็นส่วนใหญ่
โรคกัมโบโร เกิดจากการติดเชื้อ ไวรัส ในกลุ่มเบอร์น่าวิริดี (Birnaviridae ) ซึ่งเป็น RNA virus ชนิดสายคู่ โดยแบ่งไวรัสออกเป็น 2 ซีโรไทป์ ซึ่งซีโรไทป์ที่ 1 เท่านั้นที่จะเป็นชนิดที่ก่อโรค โดยมันจะมีความรุนแรงมากและมีความรุนแรงปาน กลาง ก็ได้ ส่วนซีโรไทป์ที่ 2 นั้น โดยมากแล้วจะไม่ก่อโรค
วัคซีนเชื้อเป็นที่มีใช้ทั่วไปในปัจจุบันจะแบ่งออกได้เป็นกลุ่มวัคซีน Mild Strain หรือ Intermediate Strain ซึ่งมักนิยมใช้ในฝูงไก่พ่อ-แม่พันธุ์ ซึ่งมีความเสี่ยงของเชื้อในพื้นที่ต่ำ เนื่องจากรอบของการเลี้ยงและระดับของระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ โดยรวมนั้นดีกว่าสมัยก่อน ขณะที่วัคซีนอีกกลุ่มหนึ่งเป็น Strong Vaccine หรือ Intermediate Plus Strain ซึ่งมักนิยมใช้ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงของเชื้อสูงอย่างเช่น ในฝูงของไก่เนื้อทั่วไป แม้จะทราบกันดีว่ามีผลต่อต่อม bursa โดยตรง
การติดเชื้อกัมโบโรในพื้นที่ หรือ field strain นั้นจะมีการปนเปื้อนมาจากสิ่งแวดล้อมและสัตว์พาหะบริเวณฟาร์มไก่เนื้อ การที่เชื้อในพื้นที่สามารถที่จะเข้าไปในตัวไก่ได้ก่อนอายุ 2 สัปดาห์ หรือก่อนที่เชื้อวัคซีนจะเข้าไปในร่างกาย หรือเพิ่มจำนวนนั้น มันจะก่อผลกระทบต่ออวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการสร้างภูมิคุ้มกันในร่ายกาย หรือนำมาซึ่งความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง เป็นเหตุให้เกิดการติดเชื้อ bacteria หรือ virus อื่น ๆ แทรกซ้อนได้ง่าย และจะส่งผลเสียโดยตรงทั้งช่วงระหว่างการเลี้ยง และช่วงท้ายของการเลี้ยงไก่ สุดท้ายก็จะส่งผลทำให้คุณภาพซากของไก่ที่ส่งเข้าโรงงานไม่ดีต่อไป
ดังนั้นเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการติดเชื้อกัมโบโรในพื้นที่ อันส่งผลกระทบระยะยาวต่อความสามารถในการสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทั้งเชื้อจากวัคซีน เช่น New Castle และ Infectious Bronchitis และ Bacteria อื่นๆเช่น E. coli, Streptococcus spp. และ Staphylococcus spp. อันเป็น secondary infection ที่พบได้ประจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหา Chronic Respiratory Disease; CRD หรือ Cellulitis ที่พบทั้งในฟาร์มและในโรงงานแปรรูป ดังนั้น การทำวัคซีนชนิดใหม่ของบริษัท Merial น่าจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ทางฟาร์มไก่เนื้อน่าจะได้ทำการทดลองเปรียบเทียบกับวัคซีน IBD ( blen ) ตัวเดิมที่ใช้อยู่ เพื่อให้ได้เป็นข้อมูลที่จะใช้นำไปติดสินใจใช้วัคซีนภายในฟาร์มไก่เนื้อในอนาคตข้างหน้า
โดยวัตถุประสงค์ของการทดลองเพื่อเพิ่มทางเลือกของการใช้วัคซีนชนิดที่สามารถป้องกันโรคกัมโบโรชนิดที่สามารถเข้าไปในร่างกายได้ก่อนเชื้อพื้นที่การเลี้ยงและเพื่อเป็นข้อมูลกับผู้ที่มีความสนใจต่อไป

อุปกรณ์และวิธีการทดลอง
อุปกรณ์การทดลอง
1. ไก่ทดลองทั้งหมด สาขาละ 12 ฟาร์ม
2. วัคซีน Vaxxitex จากบริษัท เมเรียล
วิธีการทดลอง
1. แบ่งไก่ทดลองออกเป็น 3 กลุ่ม คือ1.ทำ NDW + IB(H120) Spary FULL DOSE รวม ฉีด VAXXITEK ฉีดจากโรงฟัก ไม่ทำวัคซีนที่ฟาร์ม และ 2.ทำ NDW + IB(H120) Spary HALF DOSE จากโรงฟัก ไม่ทำวัคซีนที่ฟาร์ม และ 3.ไม่ทำวัคซีนจากโรงฟัก และ ที่ฟาร์ม
2. ไก่กลุ่มทดลองแต่ละกลุ่ม จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มอีก คือ ฟาร์มไก่กลุ่มเกรด A. และฟาร์มไก่กลุ่มเกรด C. โดยแต่ละกลุ่มจะมีจำนวน 2 ฟาร์ม
3. ทำวัคซีนตามโปรแกรม ตามที่ได้มีการวางแผนเอาไว้ แล้วทำการส่งไก่มาที่ฟาร์มที่ได้กำหนดเอาไว้ ในแต่ละสาขา
4. ทำการเก็บข้อมูลผลการเลี้ยงทั้งหมด คือ อัตราการสูญเสียสะสม น้ำหนักไก่จับ FCR และ PI รวมทั้งคุณภาพซากของไก่ที่ส่งเข้าโรงเชือดด้วย
5. และนอกจากนี้ยังมีการเก็บตรวจระดับภูมิคุ้มกัน ในไก่แต่ละกลุ่มที่มีการทำวัคซีนด้วย
6. ทำการวิเคราะห์ข้อมูลและนำเสนอกับผู้ที่เกี่ยวข้องต่อไป

ผลการทดลอง
ผลการทดลองสรุปได้ว่า ไก่กลุ่มที่ 3 คือกลุ่มที่ไม่ทำวัคซีนเลยทั้งจากโรงฟักและที่ฟาร์ม มีผลการผลการเลี้ยงดีที่สุด ตามเอกสารที่แนบมา
ในส่วนของผลทางภูมิคุ้มกัน และ คุณภาพซากไก่ที่ส่งเข้าโรงเชือด พบว่า มีผลที่ไม่แตกต่างกัน ทุกกลุ่มที่ทดลอง

สรุปและวิจารณ์
· ถึงแม้ว่าการทดลองนี้ ไก่กลุ่มที่ 3 จะมีผลการเลี้ยงดีที่สุดแต่เมื่อนำมาวิเคราะห์ทางสถิติแล้วจะพบว่า ผลการเลี้ยงของไก่ทั้ง 3 กลุ่ม ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติเลย(p<0.05) นั้นก็แสดงว่าโปรแกรมวัคซีนที่ทดลองไม่มีผลต่อปรอสทธิภาพการเลี้ยงไก่
· ผลทางห้องปฏิบัติการเกี่ยวกับ ระดับของภูมิคุ้มกันของไก่ทดลองทั้ง 3 กลุ่มนั้น เมื่อนำมาวิเคราะห์พบว่า จะมีค่าที่ไม่แตกต่างกัน ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะว่าภายในฟาร์มเลี้ยงไก่ไม่มีเชื้อที่จะก่อโรคก็ได้ทำให้ระดับภูมิคุ้มกันต่อโรคไม่เพิ่มสูงขึ้น
· ส่วนคุณภาพซากที่เข้าโรงเชือดนั้น พบว่าไก่ทดลองทั้ง 3 กลุ่ม มีค่าไม่แตกต่างกัน นั้นก็แสดงว่า โปรแกรมวัคซีนไม่มีผลต่อคุณภาพซากไก่ที่เข้าโรงเชือด
· ดังนั้นจากที่กล่าวมาทั้งหมด จะพบว่า โปรแกรมวัคซีนที่ทดลองทั้ง 3 โปรแกรมนี้ไม่มีความแตกต่างกัน แต่ถ้าจะมองไปที่ความเสี่ยงของการเกิดโรค โปรแกรมวัคซีนที่ 3 อาจจะมีความเสี่ยงมากกว่าโปรแกรมอื่น เพราะว่า ไม่ได้มีการทำวัคซีนอะไรเลย ซึ่งถ้าบริเวณภายมีเชื้อโรคก็อาจจะทำให้เกิดการสูญเสียที่มากก็ได้

เอกสารอ้างอิง
1. เอกสารประการบรรยาย วัคซีน Vaxxitex ของบริษัท เมเรียล

ไม่มีความคิดเห็น: