วันศุกร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2551

งานแปลเดือน ธันวาคม 2008

โรคเลือดจางในไก่เปรียบเสมือนปิศาจร้ายในเงามืด
( Chick Anaemia Virus is a hidden menace )


แปลและเรียบเรียงโดย น.สพ.ชัชวาลย์ สอนศรี
นายสัตวแพทย์ฝ่ายสุขภาพไก่เนื้อ ฟาร์มบริษัท
บ.สหฟาร์ม จำกัด และ บริษัท โกลเด็นไลน์ จำกัด 99 ม4 ต,ศิลาทิพย์ อ.ชัยบาดาล
จ.ลพบุรี 15130, Broiler red box. เดือน พย 2551


การติดเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคเลือดจางในไก่มันสามารถติดได้ 2 วิธีคือ 1.ติดมาจากแม่โดยผ่านมาทางไข่ฟัก และ 2.ติดจากสิ่งแวดล้อมภายในฟาร์ม ซึ่งการติดเชื้อทั้ง 2 วิธีนี้สามารถเกิดได้มากพอๆกัน ทุกวันนี้อาการของการเกิดโรคเลือดจางในไก่ที่จะแสดงอาการที่ชัดเจนเหมือนเมื่อก่อนนั้นจะพบได้น้อยมากในหลายประเทศ แต่สิ่งหนึ่งที่ยังคงพบอยู่คือ อัตราการสูญเสียเนื่องจากการติดเชื้อยังคงพบว่ามีอัตราที่สูงอยู่ ดังนั้นสิ่งหนึ่งที่เจ้าของฟาร์มจะต้องระลึกเสมอคือ จะต้องเข้าใจกลไกของการเกิดโรคและกลไกของการติดเชื้อให้ดีเพื่อที่จะได้ป้องกันแก้ไขปัญหาการติดเชื้อได้
ปัญหาของการเกิดโรคเลือดจางในไก่นั้นถือได้ว่าเป็นโรคที่ก่อให้เกิดผลเสียหายทางธุรกิจที่สูงมาก ซึ่งโรคที่เกิดนั้นมันจะมีทั้งที่แสดงอาการหรือไม่แสดงอาการก็ได้ แต่ในปัจจุบันนี้ปัญหาของโรคเลือดจางในไก่ที่มีผลกระทบต่อระบบธุรกิจคือการเกิดโรคที่ไม่แสดงอาการเป็นหลัก โรคเลือดจางในไก่ถูกค้นพบครั้งแรกเมื่อปี คศ. 1979 ซึ่งนับตั้งแต่นั้นมาโรคนี้ก็ได้ก่อให้เกิดความเสียหายทางธุรกิจการเลี้ยงไก่เป็นอย่างมาก โรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัสที่เรียกว่า โคโรน่าไวรัส ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสที่มีขนาดเล็กมาก ซึ่งมันจะมีความคงทนต่อค่าความเป็นกรด-ด่าง คงทนต่อยาฆ่าเชื้อกลุ่มอีเทอร์ กลุ่มโคโรฟอร์ม และคงทนต่อความร้อนด้วย ปัญหาหลักๆของโรคนี้คือ มันจะทำให้ไก่มีอัตราการตายที่สูงมาก ต้นทุนการใช้ยาเพื่อที่จะป้องกันการติดเชื้อแทรกซ้อนจะสูงขึ้นและสุดท้ายจะส่งผลทำให้อัตราการเจริญเติบโตต่ำลง ผลผลิตสุดท้ายก็จะต่ำลงด้วย สำหรับการเกิดโรคทั่วๆแล้วจะเกิดขึ้นในช่วงของการเลี้ยงไก่พ่อแม่พันธุ์ โดยเชื้อไวรัสจะเข้าไปภายในไก่ในช่วงที่เป็นไปพันธ์รุ่น หลังจากนั้นแม่ไก่ก็จะถ่ายเชื้อมาสู่ลูกและจะทำให้เกิดโรคกับลูกไก่เนื้อที่อายุตั้งแต่ 10-14 วันเป็นต้นไปจนถึงประมาณ 21 วัน อัตราการตายเนื่องจากการเกิดโรคนี้ประมาณ 60% อาการของไก่เนื้อที่พบคือ ไก่เนื้อจะแคระแกร็น ผิวหนังซีด แสดงอัตราการป่วยสูง ที่ผิวหนังจะพบการติดเชื้อแทรกซ้อนมาก พบการติดเชื้อราทั่วทั้งร่างกายและอวัยวะที่ใช้ในการสร้างภูมิคุ้มกันจะฝ่อลีบเล็กลง โดยทั่วๆไปแล้วไข่ที่มาจากแม่ที่ติดเชื้อมันจะมีผลกระทบกับลูกไก่ในช่วง 3-6 สัปดาห์แรกของการให้ไข่เท่านั้น ซึ่งในช่วงที่ว่านี้มันก็จะก่อให้เกิดความสูญเสียทางธุรกิจที่สูงมาก จากการประเมินความเสียหายที่ประเทศอเมริกาพบว่า ในปีหนึ่งๆจะเสียหายเนื่องจากโรคนี้ประมาณ 50 ล้านเหรียนเลยทีเดียว
วิการรอยโรคที่พบในปัจจุบันนี้จะพบวิการที่จำเพาะได้น้อยมากในฝูงพ่อแม่พันธุ์ที่มีการจัดการแบบสมัยใหม่ และอาการเนื่องจากโรคนี้มันก็จะไม่แสดงอาการที่ชัดเจนเหมือนเมื่อก่อนอีกแล้ว สาเหตุก็อาจจะเป็นเพราะว่า การจัดการที่ฟาร์มพ่อแม่พันธุ์มีการทำวัคซีนที่ดีขึ้นและมีการกระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกันก่อนที่ไก่จะเริ่มไข่ ดังนั้นเมื่อแม่พันธุ์ติดเชื้อแล้วมันก็จะมีการถ่ายเชื้อออกมาสู่ลูกไก่เนื้อที่น้อยลงทำให้อาการที่เกิดขึ้นกับไก่เนื้อนั้นน้อยลงตามไปด้วย ดังนั้นสิ่งหนึ่งที่ฟาร์มพ่อแม่พันธุ์จะต้องพิจารณาให้ดีคือ โปรแกรมวัคซีนที่ฟาร์มพ่อแม่พันธุ์จะต้องทำให้ถูกต้องและจะต้องตรวจให้มีความมั่นใจว่าภูมิคุ้มกันต่อโรคเลือดจางในไก่พ่อแม่พันธุ์ก่อนที่จะไข่อยู่ในระดับที่จะสามารถป้องกันการเกิดโรคในลูกไก่เนื้อได้
ในการป้องกันโรคเลือดจางในไก่นั้นเจ้าของฟาร์มจะต้องเข้าใจกลไกของการเกิดโรคให้ดีและจะต้องมีการวางแผนเลือกชนิดของวัคซีนที่จะนำมาใช้ให้ดีก็จะสามารถป้องกันการเกิดโรคเลือดจางแบบแสดงอาการได้ ถึงอย่างไรก็ตาม จากการวิจัยในห้องปฏิบัติการที่ประเทศไอร์แลนด์พบว่าไก่เนื้อกลุ่มที่ป่วยเป็นโรคเลือดจางแบบที่ไม่แสดงอาการนี้ มันสามารถส่งผลกระทบกับธุรกิจการเลี้ยงไก่เนื้อได้มากเช่นกัน คือ จะมีผลทำให้น้ำหนักไก่ลดลง ทำให้ผลการเลี้ยงไก่ต่ำลงได้ ซึ่งผลเสียหายทางธุรกิจนี้มันเทียบเท่าได้กับการเกิดโรคเลือดจางแบบแสดงอาการในไก่เนื้อเลยทีเดียว

การแพร่ระบาดของเชื้อแบบแนวระนาบ
การติดเชื้อ CAV ในการเลี้ยงไก่เนื้อนั้น สามารถที่จะเกิดขึ้นได้ทุกช่วงอายุของการเลี้ยงไก่ แต่การติดเชื้อนี้มันจะลดลงเมื่อไก่มีอายุที่มากกว่า 2-3 สัปดาห์เป็นต้นไป ในลูกไก่เนื้อเมื่อนำมาเลี้ยงที่ฟาร์มมันจะสามารถป้องกันการติดเชื้อที่อยู่ภายในพื้นที่ได้โดยภูมิคุ้มกันที่ได้รับมาจากพ่อแม่ ซึ่งภูมิคุ้มกันที่ได้รับมาจากพ่อแม่นั้นมันอาจจะเกิดขึ้นจากการทำวัคซีนในพ่อแม่พันธุ์หรือการสัมผัสเชื้อที่อยู่ภายในฟาร์มก็ได้ ซึ่งการส่งถ่ายภูมิคุ้มกันจากพ่อแม่ไปสู่ลูกนั้นถือได้ว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับการป้องกันไก่เนื้อไม่ให้เกิดโรค แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ความสม่ำเสมอของระดับภูมิคุ้มกันที่ส่งต่อไปให้ลูกนั้นมีก็จะมีความสำคัญเช่นเดียวกัน และนอกจากนี้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับโรคกดภูมิคุ้มกันในไก่ ก็ย่อมจะมีผลเกี่ยวข้องกับระดับการป้องกันการเกิดโรคเลือดจางในไก่ทั้งสิ้น นอกจากนี้ปัญหาของการติดเชื้อไวรัสอื่นๆร่วม เช่น การติดเชื้อเลือดจางร่วมกับโรคมาเร็ค โรคReo virus โรคกัมโบโร ก็ย่อมจะมีผลทำให้ความรุนแรงของการเกิดโรคเลือดจางในไก่เนื้อที่เลี้ยงภายในฟาร์มมีความรุนแรงมากขึ้นเท่านั้น จากที่ได้กล่าวมาแล้วการติดเชื้อโรคเลือดจางในไก่นั้นมันสามารถเกิดขึ้นได้ทั้ง 2 แบบคือ การติดมาจากพ่อแม่พันธุ์และการติดเชื้อที่ฟาร์มไก่เนื้อ แต่ถ้าเปรียบเทียบทั้ง 2 แบบจะพบว่าการติดเชื้อที่ก่อให้เกิดโรคที่รุนแรงมากที่สุดคือ การติดเชื้อที่ฟาร์มไก่เนื้อแบบระยะเวลานานๆ นั้นเอง
ในการทำวัคซีน CAV ในไก่พ่อแม่พันธุ์แบบละลายน้ำหรือวิธีการทำวัคซีนที่ไม่ดีนั้น มันจะมีผลทำให้ระดับของภูมิคุ้มกันในไก่พ่อแม่พันธุ์จะไม่ดีซึ่งมันก็จะมีผลกระทบลูกไก่ตามมา โดยระดับของภูมิคุ้มกันที่ส่งถ่ายจากพ่อแม่มาสู่ลูกนั้นจะต่ำซึ่งก็จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคตามมา
ในการเลี้ยงไก่เนื้อนั้น ในบางครั้งเมื่อมีการจับไก่เนื้องส่งเข้าโรงเชือดแล้วมันอาจจะสามารถตรวจพบภูมิคุ้มกันของโรคเลือดจางในไก่ที่ส่งโรงเชือดได้เช่นกัน ซึ่งจากที่กล่าวมาก็แสดงว่าไก่เนื้อที่เลี้ยงอยู่ภายในฟาร์มนั้นมันมีการติดเชื้อเชื้อโรคเลือดจางภายในฟาร์มแล้ว ในการติดเชื้ออีกส่วนหนึ่งที่มักจะเป็นปัญหาลูกไก่เนื้อที่มาจากจากฝูงที่แตกต่างกัน เพราะว่าแต่ละฝูงจะมีระดับภูมิคุ้มกันที่ไม่เท่ากันหรือมีบางฝูงที่ติดเชื้อมาจากพ่อแม่พันธุ์แล้วเมื่อนำมาฟักรวมกันมันก็จะมีผลทำให้เชื้อไวรัสที่ติดมากับลูกไก่แพร่กระจายไปสู่ฝูงอื่นๆได้ด้วยเช่นกัน หรือแม้หลังจากนั้น เมื่อไก่นื้อที่ไม่มีภูมิคุ้มนำมาเลี้ยงภายในฟาร์มแล้วไก่กลุ่มนี้มันก็จะสามารถติดเชื้อโรคเลือดจางภายในฟาร์มได้ด้วย แต่แนวทางการป้องกันแก้ไขก็สามารถที่จะทำได้เช่นกัน เช่น การล้างทำความสะอาดโรงเรือนจะต้องมีการล้างให้สะอาดและฆ่าเชื้อให้ดี ในการฆ่าเชื้อภายในโรงเรือนนั้นจะต้องรวมไปถึงสิ่งรองนอนของไก่ด้วยเพื่อป้องกันปัญหาเชื้อ CAV ปนเปื้อนมากับสิ่งรองนอนไก่

การสืบสวนย้อนกลับหาสาเหตุของโรค
การที่มีห้องปฏิบัติการที่ดีๆ และสามารถตรวจวิเคราะห์ได้อย่างรวดเร็วนั้น มันจะเป็นกุญแจที่สำคัญมากที่จะสามารถติดสาเหตุของการเกิดโรคได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะการป้องกันแก้ไขปัญหาการติดเชื้อโรคเลือดจางที่ฟาร์ม เพราะว่าในปัจจุบันนี้ โรคเลือดจางในฝูงไก่เนื้อนั้น มันมักจะไม่มีการแสดงอาการของโรคให้เห็นเหมือนสมัยก่อนแล้ว ดังนั้นฐานข้อมูลในการตรวจวิเคราะห์ในไก่เนื้อนั้นจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ซึ่งทั่วโลกก็ได้มีการจัดทำฐานข้อมูลมาตั้งแต่ปี 1984 แล้ว โดยฐานข้อมูลนี้สามารถที่จะวิเคราะห์แยกได้เลยว่าโรงเรือนที่ติดเชื้อกับโรงเรือนที่ไม่ติดเชื้อนั้นมันมีความแตกกัน ซึ่งนอกจากข้อมูลทางห้องปฏิบัติการแล้วข้อมูลผลผลิตทั้งหมดก็จะต้องมีการเก็บรวบรวมเอาไว้ด้วย โดยทั่วๆไปแล้วโรงเรือนที่ติดเชื้อมันมักจะมีผลผลิตที่ต่ำกว่าโรงเรือนที่ไม่ติดเชื้อเสมอ
จากการศึกษาอุบัติการณ์ของการเกิดโรคเมื่อปี 1989 ในไก่เนื้อจำนวน 50 ฝูง โดยศึกษาไก่เนื้อจำนวน 1 ล้านตัว โดยไก่ทั้ง 50 ฝูงจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มแรกจะมี 25 ฝูง จะเป็นไก่เนื้อฝูงที่มีการติดเชื้อ และอีกกลุ่มจะเป็น 25 ฝูงหลัง จะเป็นไก่เนื้อที่ไม่มีการติดเชื้อ ซึ่งเมื่อมีการตรวจไก่เนื้อกลุ่มที่ติดเชื้อแล้วจะพบว่าไก่เนื้อกลุ่มนี้จะตรวจพบภูมิคุ้มกันต่อโรค CAV ภายในตัวไก่เนื้อด้วย และนอกจากนี้เมื่อเลี้ยงไก่ไปแล้วจะพบว่าไก่จะแสดงอาการป่วย พบอาการปีกช้ำอย่างชัดเจน และจะพบอัตราการตายสูงที่สูงมาก
อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาที่ผ่านมา จะพบว่าไก่เนื้อกลุ่มที่ติดเชื้อกับไก่เนื้อกลุ่มปกติจะมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยเมื่อนำเอาผลการเลี้ยงระหว่าง 2 กลุ่มมาเปรียบเทียบกัน ระหว่างกลุ่มที่ปกติกับกลุ่มที่ป่วยด้วยโรค CAV จะได้ข้อมูลดังนี้ ค่า FCR ดีกว่า 2% , น้ำหนักไก่จับดีกว่า 2.5% , ผลกำไรจะดีกว่า 13.0%
จากการศึกษาปัญหาโรคเลือดจางในไก่เนื้อที่ผ่านมา จะมีคำพูดที่กล่าวว่า ไก่เนื้อที่มีการติดเชื้อไวรัสโรคเลือดจางกับไก่เนื้อกลุ่มที่ไม่ติดเชื้อ เมื่อดูที่ผลการเลี้ยงจะพบว่า ไก่เนื้อกลุ่มที่ไม่ติดเชื้อจะมีผลการเลี้ยงที่ดีกว่าและมีผลกำไรที่ดีกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
เมื่อไม่นานมานี้ มีการศึกษาพบว่า ไก่เนื้อกลุ่มที่มีการติดเชื้อ CAV แต่ไม่ป่วยแสดงอาการของโรค จะพบว่ามีผลการเลี้ยงที่แย่กว่าไก่เนื้อกลุ่มที่ไม่ติดเชื้ออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเช่นกัน ดังนั้นการจัดการโปรแกรมวัคซีนในฟาร์มพ่อแม่พันธุ์ที่ดีหรือจัดการวิธีการทำวัคซีนที่ดีจะเป็นสิ่งที่จะช่วยลดปัญหาการเกิดโรคเลือดจางในการเลี้ยงไก่ได้เป็นอย่างดี และสุดท้ายจะส่งผลทำให้ผลการเลี้ยงไก่เนื้อที่ฟาร์มดีขึ้นตามมาด้วย ซึ่งเป้าหมายของการทำวัคซีนที่ดีในฟาร์มพ่อแม่พันธุ์นั้นก็เพื่อที่จะป้องกันการติดเชื้อไวรัสโรคเลือดจางในลูกไก่เนื้อที่ฟาร์มนั้นเอง ประเด็นต่อมา ถ้าไก่เนื้อที่เลี้ยงอยู่ภายในฟาร์มมีการติดเชื้อไวรัสแบบกดภูมิแล้ว เช่น โรคมาเร็ค โรคกัมโบโร มันก็จะส่งผลทำให้ไก่เนื้อที่เลี้ยงอยู่ภายในฟาร์มสามารถที่จะติดเชื้อได้ แต่จะเป็นการติดเชื้อแล้วไก่เนื้อจะไม่แสดงอาการของโรคเลือดเลือดจางให้เห็น ซึ่งผลที่ตามมาก้คือมันจะส่งผลทำให้ผลการเลี้ยงไก่เนื้อที่ฟาร์มต่ำลงเช่นกัน ดังนั้นการเลี้ยงการจัดการไก่เนื้อที่ฟาร์มจะต้องมีการจัดการให้ดี โดยจะต้องเริ่มตั้งแต่การล้างทำความสะอาดโรงเรือนและการฆ่าเชื้อภายในโรงเรือน ภายในฟาร์มให้ดีก่อนที่จะมีการลงไก่ เพื่อที่จะป้องกันการติดเชื้อไวรัสกลุ่มที่ก่อให้การกดภูมิคุ้มกัน เช่น โรคมาเร็ค โรคกัมโบโร เป็นต้น ซึ่งจุดมุ่งหมายสูงสุดคือ ให้ลูกไก่มีภูมิคุ้มกันต่อการติดเชื้อโรคเลือดจางที่ฟาร์มไก่เนื้อ และเพื่อที่จะลดการสูญเสียต่างๆที่จะตามมา

การป้องกันปัญหาโดยภาพรวม
ได้มีการทดลองใช้ยาฆ่าเชื้อชื่อ Virucidol ในประเทศอังกฤษ เพื่อที่จะใช้ในการฆ่าเชื้อ CAV ซึ่งผลจะพบว่า ยาฆ่าเชื้อตัวนี้สามารถที่จะฆ่าเชื้อไวรัส CAV ได้ โดยใช้อัตราส่วน 1: 250 , ดังนั้นจึงสามารถที่จะใช้ยาฆ่าเชื้อตัวนี้ฆ่าเชื้อหรือทำลายเชื้อ CAV ได้ ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าการเลือกใช้ยาฆ่าเชื้อตามที่ผู้ผลิตแนะนำเพื่อที่จะใช้ในการฆ่าเชื้อไวรัสโรคเลือดจางนั้นจะเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก โดยการฆ่าเชื้อจะต้องมีการฆ่าเชื้อทั้งภายในโรงเรือนเลี้ยงไก่นื้อและอุปกรณ์กรต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงไก่ให้ดี
โดยทั่วไปแล้ว ประสิทธิภาพของยาฆ่าเชื้อและวิธีการฆ่าเชื้อที่ดีนั้นถือได้ว่าเป็นสิ่งมีความสำคัญมาก เช่น น้ำไก่กินจะต้องมีการฆ่าเชื้อให้ดี อุปกรณ์การให้น้ำภายในโรงเรือนจะต้องมีการฆ่าเชื้อให้สะอาด ไม่ว่าจะเป็นระบบรายน้ำ ถังให้น้ำหรือระบบ Nipple โดยยาฆ่าเชื้อที่ใช้ภายในฟาร์มนั้นก็ให้ขึ้นอยู่กับเจ้าของฟาร์มเป็นผู้พิจารณาว่ายาฆ่าเชื้อตัวใหนมีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้ในการฆ่าเชื้อภายในฟาร์ม โดยจุดมุ่งหมายสูงสุดก็เพื่อป้องกันการปนเปื้อนเชื้อต่างๆภายในระบบรายน้ำ และจะต้องทำให้น้ำสะอาดก่อนที่จะนำไปใช้ให้ไก่กิน และไก่เนื้อที่เลี้ยงอยู่ภายในฟาร์มนั้นก็จะไม่ป่วยด้วยโรคต่างๆตามมาด้วย
ในการป้องกันการติดเชื้อโรคเลือดจางภายในฟาร์มนั้นจะเป็นสิ่งที่ทำได้ยากมาก แต่สิ่งหนึ่งที่สำคัญมากก็คือจะต้องทำการป้องกันไม่ให้เชื้อ CAV ติดเข้ามาสู่ไก่หรือถ้าติดก็จะต้องให้น้อยที่สุดด้วย ดังนั้นการจัดการระบบสุขศาสตร์ป้องกันโรคภายในฟาร์มที่ดีนั้นจะเป็นสิ่งที่สำคัญมาก โดยเฉพาะเรื่องของการฆ่าเชื้อต่างๆ เช่น ก่อนเข้าฟาร์มจะต้องมีบ่อจุ่มฆ่าเชื้อล้อรถ มีโรงเรือนสเปรย์ฆ่าเชื้อก่อนที่จะเข้าฟาร์ม แขกที่จะเข้าตรวจเยี่ยมฟาร์มจะต้องมีการฆ่าเชื้อ อาบน้ำเปลี่ยนชุดก่อนที่จะเข้าฟาร์ม สุดท้ายก่อนที่จะเข้าไปภายในโรงเรือนเลี้ยงไก่เนื้อจะต้องมีการล้างมือและฆ่าเชื้อก่อนที่จะเข้าไปสำผัสไก่ก่อนทุกครั้ง จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้จะถือได้ว่าเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับการป้องกันโรคเลือดจางที่จะเกิดขึ้นกับไก่เนื้อที่ฟาร์มที่จะมีการติดเชื้อเป็นแบบแนวระนาบหรือเป็นการติดเชื้อที่ฟาร์มนั้นเอง



เอกสารอ้างอิง
· Stephen A.L. . 2008 . Chick Anaemia Virus is a hidden menace , world poultry , V24 (8) : 24-25 p.

ไม่มีความคิดเห็น: