วันพุธที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2551

งานวิชาการ เดือน มกราคม 2008

ความสัมพันธ์ของ สิ่งรองนอนที่เปียกชื้น กับ การเพิ่มขึ้นของเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อโรค
( Wet litter problems relate to host – microbiota interactions )

แปลและเรียบเรียงโดย น.สพ.ชัชวาลย์ สอนศรี
นายสัตวแพทย์ฝ่ายสุขภาพไก่เนื้อ ฟาร์มบริษัท
บ.สหฟาร์ม จำกัด และ บริษัท โกลเด็นไลน์ จำกัด 99 ม4 ต,ศิลาทิพย์ อ.ชัยบาดาล
จ.ลพบุรี 15130, Broiler red box. เดือน กุมภาพันธ์ 2551


สิ่งรองนอนของไก่ที่เปียกชื้นนั้น มันจะก่อให้เกิดผลเสียกับการเลี้ยงไก่หลายๆอย่าง เช่น ทำให้ไก่ป่วย ไก่สุขภาพไม่ดี ไก่ที่เลี้ยงภายในฟาร์มไม่มีสวัสดิภาพสัตว์ และผลกระทบสุดท้ายก็จะทำให้ผลการเลี้ยงไก่ไม่ดี ตามมา และถ้าสิ่งรองนอนของไก่ภายในโรงเรือนมีลักษณะที่ไม่ดี มันก็จะเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่จะเหนี่ยวนำทำให้เกิดปัญหา ฝ่าเท้าอักเสบที่มากขึ้นด้วย และสุดท้ายมันก็จะเหนี่ยวนำทำให้เกิดปัญหา ไก่ขาเจ็บ ผ่าเท้าเจ็บ เดินไม่ได้ ซึ่งจะส่งผลทำให้ไก่ที่เลี้ยงภายในโรงเรือนอยู่อย่างไม่สุขสบาย ตามมา ปัญหาของการเกิดผ่าเท้าอักเสบในการเลี้ยงไก่นั้น มันจะเป็นปัญหาหนึ่งที่สำคัญมากที่ขัดต่อข้อกำหนดของระบบสวัสดิภาพสัตว์ หรือ Animal welfare ที่กำหนดขึ้นโดยกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นข้อกำหนดหลักที่ประเทศกลุ่มสหภาพยุโรปกำหนดขึ้นมาสำหรับใช้ในการควบคุมการเลี้ยงไก่ เพื่อให้ไก่มีสุขภาพและสวัสดิภาพสัตว์ที่ดี จากปัญหาผ่าเท้าอักเสบที่พบว่าเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในการเลี้ยงไก่เนื้อภายในฟาร์มนั้น โดยมากแล้วมักจะเป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของความหนาแน่นของการลงไก่เนื้อที่เลี้ยงภายในฟาร์ม เป็นหลักนั้นเอง
ปัญหาของพื้นเปียกชื้น จะเป็นปัญหาหนึ่งที่ก่อให้เกิดปัญหาต่างๆกับการเลี้ยงไก่เนื้อภายในฟาร์มตามมา ซึ่งปัญหาดังที่กล่าวมาอาจจะเกี่ยวข้องในหลายๆเรื่อง คือ การจัดการอาหารไก่ การจัดการต่างๆภายในฟาร์ม และปัญหาสุดท้ายที่จะตามมาอีกคือ ปัญหาสุขภาพของไก่เนื้อ ที่เลี้ยงอยู่ภายในฟาร์ม เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2006 ที่ผ่านมา ได้มีการควบคุมการใช้สารเร่งการเจริญเติบโตหรือ Growth promotant ที่ใช้ในการผสมอาหารสำหรับการเลี้ยงไก่ขึ้นมา แต่ถึงอย่างไรก็ตาม เมื่อไม่นานมานี้ ได้มีกฏหมายที่ออกมาจากกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปว่าให้สามารถที่จะให้ใช้สารเร่งการเจริญเติบโตในอาหารสำหรับการเลี้ยงไก่ได้ก็ตาม แต่ตอนนี้ไม่มีการอนุญาติให้ใช้แล้ว ซึ่งทงแก้ไขสำหรับการผลิตอาหารไก่นั้น ทางโรงงานอาหารไก่จะต้องมีปรับปรุงหรือเปลี่ยนวิธีการผลิตอาหารให้ดีขึ้นโดยการให้ผสมอาหารต่างๆเพื่อที่จะทำให้อาหารสำหรับไก่กินนั้นมีคุณภาพที่ดีเท่าเดิมหรือดีมากกว่าเดิมแต่จะต้องไม่มีการใช้สารเร่งการเจริญเติบโต เมื่อเราพูดถึงสารเร่งการเจริญเติบโตที่ผสมในอาหารไก่กินนั้น มันก็จะเป็นตัวหนึ่งที่เรารู้ถึงกลไกของการทำงานหรือการออกฤทธิ์ของสารนั้นๆได้ค่อยข้างชัดเจน ในการทดลองเกี่ยวกับเรื่องนี้หลายๆครั้งเราก็ได้มีการตั้งสมมุติฐานต่างๆเอาไว้ว่า จะให้สารเร่งการเจริญเติบโตนี้มันเกิดผลอย่างไรกับสิ่งที่เรากำลังจะทดลองอยู่ ซึ่งโดยทั้งๆไปแล้ว ในหลายๆงานทดลองก็มักจะพบว่า การใช้สารเร่งการเจริญเติบโตนี้ มันจะมีจุดมุ่งหมายที่จะเน้นไปที่ การยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ภายในลำไส้ของไก่ โดยเฉพาะลำไส้ส่วนต้น ซึ่งโดยมากแล้วเราก็มักจะรู้กันว่าเชื้อจุลินทรีย์ในลำไส้นั้น มันจะมีการเจริญเติบโตที่สูงมากที่สุดที่ลำไส้เล็กส่วนต้นของไก่ โดยเฉพาะกลุ่มเชื้อจุลินทรีย์ที่เรียกว่า Dysbacteriosis ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียกลุ่มที่มีผลในการทำลายลำไส้ของไก่ ซึ่งเมื่อมันก่อโรคขึ้นแล้ว มันก็จะไปยับยั้งการย่อยของอาหารไก่ที่กินเข้าไป หลังจากนั้นมันก็จะกระตุ้นการเพิ่มขึ้นของเชื้อแบคทีเรียกลุ่มที่เป็นพิษต่อร่างกายให้มากขึ้น และสุดท้ายแล้วมันก็จะกระตุ้นให้เกิดการอักเสบขึ้นภายในลำไส้ของไก่ตามมา เมื่อเกิดการอักเสบของลำไส้ไก่แล้ว มันก็จะลดการดูดซึมของสารอาหารภายในลำไส้เข้าสู้ร่างกาย หลังจากนั้น น้ำหนักของไก่ก็จะลดลง อัตราการเจริญเติบโตของไก่ก็จะลดลง และการเจริญเติบโตของระบบโครงสร้างของร่างกายไก่ก็จะลดลงด้วย
เมื่อพูดถึงเรื่องของสารเร่งการเจริญเติบโตแล้ว จะพบว่า สารเสริมหรือสารเร่งการเจริญเติบโตนั้น มันจะมีการดูดซึมที่ลำไส้เล็ก ตรงส่วนที่เรียกว่า Villi ของลำไส้ ซึ่งส่วนนี้มันจะมีลักษณะเป็นติ่งขนาดเล็กๆ ที่ยื่นออกมาจากลำไส้เพื่อที่ใช้ในการดักจับหรือดูดเอาสารอาหารต่างๆเข้าไปสู่ภายในร่างกายของไก่ แต่ในทางตรงกันข้ามกัน ถ้าลำไส้ของไก่เนื้อถูกทำลายหรือ Villi ของไก่เนื้อถูกทำลายมากๆ ลำไส้ไก่ก็จะไม่สามารถที่จะดูดซึมสารอาหารที่จำเป็นหรือเป็นประโยชน์เข้าสู่ร่างกายได้ และที่แย่กว่านั้น เชื้อโรคที่เป็นพิษต่างๆ มันก็จะสามารถเข้าสู่ร่างกายของไก่ได้โดยง่ายขึ้นในทางแผลของลำไส้ สุดท้ายก็จะทำให้ไก่ตัวนั้นป่วยตามมา
แต่อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่กล่าวมานี้ เมื่อเราใช้สารเร่งการเจริญเติบโต หรือสารเสริมที่มีฤทธิ์ที่คล้ายๆกัน มันก็สามารถที่จะไปฆ่าเชื้อ และรักษาแผลต่างๆที่เกิดภายในลำไส้ให้หายได้เป็นปกติด้วย เช่นกัน ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นสารเร่งการเจริญเติบโต หรือสารเสริมอื่นๆ ที่มีฤทธิ์ที่คล้ายๆกัน มันก็สามารถที่จะช่วยในการรักษา หรือควบคุมเชื้อแบคทีเรียภายในลำไส้ ให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม และช่วยทำให้สภาพของของลำไส้ และ Villi ของลำไส้ เจริญเติบโตอยู่ในสภาพที่ดี ได้เช่นกัน

สิ่งรองนอนที่เปียกชื้น กับ ปัญหาต่างๆที่จะตามมา
ในการจัดการการเลี้ยงไก่เนื้อที่เป็นระบบอุตสาหกรรมนั้น จะต้องมีการจัดการที่เป็นระบบ ภายในฟาร์มไก่จะต้องอยู่อย่างสุขสบาย ไม่ป่วย มีการเจริญเติบโตที่เหมาะสมกับสายพันธุ์ที่เลี้ยง ซึ่งปัจจัยสิ่งหนึ่งที่มักจะเกี่ยวข้องกับการเลี้ยงไก่เสมอก็คือ สิ่งรองนอนของไก่ภายในโรงเรือน เพราะว่า สิ่งรองนอนนี้มันจะสัมผัสกับตัวของไก่ตลอดเวลา ซึ่งถ้าสิ่งรองนอนนั้นเสียหรือเปียกชื้นแล้วมันก็ย่อมจะมีผลกระทบกับผลผลิตไก่และสุขภาพของไก่ที่เลี้ยงตามมา การที่สิ่งรองนอนของไก่จะเสียหรือเปียกชื้นนั้น มันไม่ได้เกิดขึ้นง่ายนัก สาเหตุหลักของปัญหานี้คือ ปัญหาน้ำหยดจากรายน้ำภายในโรงเรือนที่มากเกินไป และนอกจากนี้ปัญหาอื่นๆที่มักจะพบร่วมด้วยก็เช่น ไก่ที่เลี้ยงภายในโรงเรือน แสดงอาการท้องเสีย ถ่ายเป็นน้ำ มันก็จะเหนี่ยวนำทำให้เกิดปัญหาสิ่งรองนอนเสียได้เช่นกัน และปัญหาอื่นๆที่ตามมาอีกคือ จะทำให้เกิดจากสมดุลของอิเลคโตไลด์ภายในร่างการของไก่เสียไป ไก่จะมีการปัสสาวะมาก ไก่จะมีการขับถ่ายมาก และนอกจากนี้ถ้าไก่เกิดการหอบ หายใจที่มากขึ้นแล้ว ก็จะส่งผลทำให้เกิดความชื้นภายในโรงเรือนสูงขึ้นได้มากเช่นกัน
ในปัจจุบันนี้ อาหารไก่เนื้อมักจะมีความชื้นไม่เกิน 10% และ ปริมาณของความชื้นที่ผลิตขึ้นจากการย่อยสลายอาหารนั้น ปกติ จะไม่เกิน 0.14 glkcal. เมื่อเปรียบเทียบกับพลังงานของอาหารที่ได้ ในส่วนของความชื้นที่เกิดขึ้นจากการกินน้ำของไก่นั้น ส่วนมากแล้วจะเกิดขึ้นไม่เกิน 80% เมื่อเทียบกับน้ำที่กินเข้าไป และนอกจากนี้น้ำที่ไก่กินเข้าไปมันก็จะขับถ่ายออกมาเป็นปัสสาวะ ซึ่งก็จะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้สิ่งรองนอนของไก่เปียกชื้น ส่วนปัญหาหลักที่จะทำให้สิ่งรองนอนของไก่เปียกชื้นคือ การถ่ายเป็นน้ำของไก่ ซึ่งจะจัดได้ว่าเป็นปัจจัยหลักเลยก็ว่าได้ ปัญหาของการถ่ายเป็นน้ำนี้มักจะมีสาเหตุมาจาก โรคลำไส้อักเสบหรือโรคท้องเสีย ในไก่ ในการเกิดปัญหาท้องเสียในไก่นั้น กลไกของการเกิดโรคก็อธิบายได้ง่ายมากคือ เริ่มต้นจาก น้ำที่ไก่กินเข้าไปนั้น มันไม่สามารถที่จะดูดซึมเข้าไปภายในร่างกายได้ เมื่อมันสะสมอยู่ภายในลำไส้ที่มากๆ มันก็จะผสมกับอุจจาระ ทำให้อุจจระเหลว เหมือนน้ำ เสร็จแล้วเมื่อไก่มันถ่ายออกมา อุจจาระก็จะมีลักณะที่เป็นน้ำ และวสุดท้ายก็จะทำให้เกิดปัญหาสิ่งรองนอนเปียกชื้นตามมา หรือในบางครั้งมันก็จะเกิดร่วมกันกับการถ่ายปัสสาวะของไก่ออกมามากกว่าปกตินั้นเอง ซึ่งจะเหนี่ยวนำทำให้เกิดปัญหาหลักของสิ่งรองนอนเปียกชื้น ในการจัดการอาหารไก่ ที่จะมีผลทำให้เกิดสิ่งรองนอนเปียกชื้นนั้น อาหารที่ให้ไก่มักจะมีปัญหา ดังนี้ :
· ปริมาณของ สารอิเลคโตไลด์ ที่ผสมลงไปในอาหารที่ให้ไก่กิน ( ตามความคิดเห้นจากผู้แปล : สารอิเล็กโตไลน็ต่างๆ โดยเฉพาะเกลือที่ผสมลงไปในอาหารไก่นั้น ถ้ามันมีมากๆ แล้วมันจะไปกระตุ้นให้ร่างกายขับเกลือออกจากร่างกาย เมื่อร่างกายขับเกลือออกจากร่างกายแล้ว เกลือมันก็จะดึงน้ำออกมาจากร่างกายด้วย จึงทำให้เกิดการขับน้ำออกจากร่างกายในปริมาณที่มากขึ้น ตามมา )
· ปริมาณของโปรตีนที่ผสมอยู่ และ อัตราการย่อยได้ของโปรตีน ( ความคิดเห็นจากผู้แปล : การที่ให้โปรตีนมีมากเกินไป หรือ โปรตีนที่ให้มันไม่ย่อยนั้น มันก็จะไปสะสมที่ลำไส้ส่วนกลางและส่วนท้ายของไก่ ซึ่งเชื้อแบคทีเรียที่อยู่บริเวณนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เชื้อ Clostridium spp. มันก็จะใช้โปรตีนในการเจริญเติบโดย เพิ่มจำนวนที่มากขึ้น แล้วมันก็จะบ่อยสารพิษออกมา ทำให้เกิดลำไส้อักเสบ และเกิดท้องเสีย ตามมา )
· คุณภาพของไขมัน ที่ผสมในอาหาร ( ตามความคิดเห็นจากผู้แปล : ถ้าไขมันที่ให้เข้าไปนั้นมีคุณภาพที่ไม่ดีแล้ว ร่างกายก็จะไม่สามารถที่จะนำไขมันนั้นไปใช้ในขบวนการ Metabolism ของเซลล์ของร่างกายได้ จึงทำให้ร่างกายขาดพลังงาน ดังร่างกายจึงต้องดึงคาร์โบ”ฮเดรทและโปรตีนมาทำการสังเคราะห์ให้ได้พลังงานแทน เมื่อร่างกายเกิดสภาพที่ไม่สมดุลขึ้นภายในร่างกาย ร่างกายไก่ก็จะเพิ่มการขับน้ำออกมาจากร่างกายมากขึ้นตามไปด้วย )
· ( สาร NSP ) หรือสารกลุ่มคาร์โบโฮเดรทที่ไม่ใช่แป้ง รวมเอมไชด์ที่ใช้ในการย่อย ( ตามความคิดเห็นจากผู้แปล : เมื่อไก่กินอาหารกลุ่มที่เป็นคาร์โบโฮเดรท ที่ไม่สามารถที่จะย่อยได้เข้าไปมากๆ แล้ว สารกลุ่มนี้มันจะเคลื่อนที่ลงไปที่ลำไส้ส่วนกลางและส่วนท้าย หลังจากนั้น มันก็จะไปห่อหุ้มโปรตีนและเชื้อโรคพวก Clostridium spp. เอาไว้ ทำให้เชื้อกลุ่มนี้เจริญเติบโต เพิ่มจำนวนขึ้น สร้างสารพิษมากขึ้น สุดท้ายทำให้ลำไส้อักเสบ และเกิดท้องร่วง ตามมา )
· เทคโนโลยี ของการผลิตอาหารสัตว์ ( ตามความคิดเห็นจากผู้แปล : น่าจะเกี่ยวข้องกับคุณภาพของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตอาหารไก่ และ ความสะอาดของอาหารไก่ที่ผลิตได้ จะมีผลต่อคุณภาพของอาหารที่นำมาใช้ และสุดท้ายก็จะมีผลกระทบกับไก่ที่เลี้ยงตามมา )
ในการให้สารอิเล็กโตไลด์ ผสมในอาหารมากๆนั้น ตัวของมันเองไปมีผลทำให้ไตเพิ่มการกระตุ้นการขับของเหลวออกจาก
ร่างกายมากขึ้น และนอกจากนี้มันก็จะมีการเพิ่มการขับสารพวก Uric acid หรือผลึกของโปรตีนที่ไม่ละลายน้ำ ออกมาจากร่างกายเพิ่มขึ้นก็ได้ ซึ่งปัจจัยทั้ง 2 ส่วนที่กล่าวมานี้ มันจะทำให้ร่างกายขับของเสียหรือน้ำออกมาจากร่างกายให้มากขึ้น สุดท้ายมันก็จะทำให้เกิดปัญหาสิ่งรองนอนเปียกชื้นตามมา ในส่วนของสาร NSP นั้น มันจะมีผลทำให้สารอาหารต่างๆที่ไก่กินลงไปนั้นเคลื่อนที่ไปภายในลำไส้ที่ช้าลง ทำให้เกิดการย่อยและการดูดซึมสารอาหารต่างๆได้น้อยลงตามไปด้วย
ในการย่อยอาหารและการดูดซึมสารอาหารที่ลำไส้ลดลงนั้น สาเหตุหลักๆ ก็มักจะเกิดจาก การที่เชื้อแบคทีเรียที่อยู่ภายในลำไส้เกิดการเพิ่มจำนวนที่มากขึ้นมากๆ ทำให้การย่อยและการดูดซึมไม่ดี กล่าวโดยทั่วไป ถ้าจำนวนของเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ภายในลำไส้อยู่แบบไม่สมดุลแล้ว คือ มีจำนวนที่มากเกินไป หรือมีเชื้อที่ก่อโรคมากกว่าเชื้อที่เป็นประโยชน์แล้ว ในสภาวะนี้มันก็จะไม่ส่งผลดีต่อลำไส้ของไก่ทั้งสิ้น ในส่วนของไขมันที่ไก่กินเข้านั้น เมื่อลำไส้มีปริมาณของเชื้อแบคทีเรียในปริมาณที่มากๆแล้ว มันก็จะไปขัดขวางการย่อยสลายไขมันนั้นๆ เมื่อลำไส้ย่อยไขมันไม่ได้ หรือได้น้อย ก็จะทำให้ได้กรดไขมันอิ่มตัวที่จำเป็นสำหรับที่จะนำไปใช้ในร่างกายมีปริมาณน้อยลงหรือไม่พอที่จะนำไปใช้ สุดท้ายก็จะมีผลกระทบกับร่างกายไก่ตามมา จากปัญหาทั้งหมดที่กล่าวมา มันจะเกี่ยวโยงไปถึงการย่อยอาหารของไก่ การดูดซึมสารอาหารของไก่ และสุดท้ายก็จะเหนี่ยวนำทำให้เกิดปัญหาสิ่งรองนอนเปียกชื้นตามมาด้วย
ท้ายที่สุดแล้ว อาหารไก่ผลิตขึ้นนั้น จะต้องให้ผ่านความร้อยด้วย เพราะว่าสาร NSP ที่ไม่สามารถที่จะย่อยได้นั้น มันจะไปขัดขวางการย่อยอาหารของตัวอื่นๆและตัวของมันเองด้วย ทำให้ไก่ไม่ได้รับสารอาหารจากที่ไก่กินเข้าไปได้อย่างเต็มที่ หรือทางแก้อีกทางหนึ่งก็คือ ในสูตรของอาหารไก่นั้นจะต้องไม่ทำการผสม NSP หรืออาจจะมีการใส่สารเอมไซด์เข้าไปเพื่อที่จะช่วยย่อย NSP ในอาหารของไก่ให้ดียิ่งขึ้นได้ เพื่อให้ไก่สามารถที่จะใช้อาหารที่กินเข้าไปได้อย่างเต็มที่

แบคทีเรียชนิดที่ทำให้ก่อโรคในไก่
แบคทีเรียชนิดที่ก่อให้เกิดโรค หรือ Dysbacteriosis นั้น มันจะมีการอาศัย และเจริญเติบโตอยู่ที่ลำไส้เล็กของไก่ ซึ่งปริมาณที่พบอยู่ภายในลำไส้เล็กของไก่นั้น จะพบมากกว่า 105 CFM. / g.ของของเหลวในลำไส้เล็ก ซึ่งโดยส่วนมากแล้วแบคทีเรียกลุ่มนี้จะเป็นเชื้อที่ก่อให้เกิดโรคภายในลำไส้ไก่ เมื่อจุลินทรีย์ที่อยู่ภายในลำไส้เล็กมีการเจริญเติบโตเพิ่มจำนวนขึ้นมากๆ แล้ว มันจะทำให้การเคลื่อนที่ของอาหาร หรือของเหลวที่อยู่ภายในลำไส้เล็กนั้น มีการเคลื่อนที่ที่เร็วกว่าปกติ ซึ่งผลที่กระทบตามมาก็คือ จะมีผลทำให้การดูดดึมสารอาหารที่ลำไส้ไก่ลดต่ำลง ซึ่งจะทำให้ไก่ได้รับอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายน้อยหรือไม่เพียงพอ อาหารที่ไก่กินโดยส่วนมากจะใช้เพื่อการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ภายในลำไส้มากกว่า เมื่อเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ภายในลำไส้เจริญเติบโตมากขึ้นแล้ว มันก็จะไปแย่งสารอาหารที่ไก่กินเข้าไป เพิ่มการหมักอาหารที่ไก่กินเข้าไป ทำให้อาหารนั้นเสีย บูดเน่าไม่สามารถที่จะนำไปใช้เพื่อการเจริญเติบโตของไก่เนื้อได้ แต่ถึงอย่างไรก็ตาม การหมักของสารอาหารที่เป็นพวกคาร์โบโฮเดรทนั้น สารที่ได้จากการหมักมันมักจะไม่ค่อยเป็นพิษหรือเป็นอันตรายต่อร่างกายสัตว์มากนัก แต่ว่าถ้าสัตว์เกิดการหมักสารอาหารกลุ่มที่เป็นพวก โปรตีนและไขมัน แล้ว มันก็ย่อมจะก่อให้เกิดความเสียหายกับตัวของไก่ นั้นๆ มากกว่า เพราะเหตุผล ดังนี้
1. ไขมันที่เกิดจากการหมักภายในร่างกายของไก่นั้น มันจะไม่สามารถที่จะนำไป Metabolites ได้ เพราะว่า น้ำดีที่หลั่งออกมาเพื่อที่จะนำไปย่อยไขมันนั้น มันจะไม่สามารถที่จะจับกับไขมันที่จะย่อยได้ ดังนั้นเมื่อมันไม่สามารถที่จะจับไขมันได้ มันก็ไม่สามารถที่จะย่อยได้ สุดท้ายไขมันนั้นก็ไม่สามารถที่จะนำไปใช้ต่อไปได้ หรือมันอาจจะเกิดขบวนการ Dehydroxylation ภายในร่างกาย ซึ่งจะก่อให้เกิดเป็นพิษขึ้นภายในร่างกายของไก่ได้ตามมา
2. ในส่วนของโปรตีน เมื่อมันเกิดขบวนการหมักขึ้นภายในลำไส้ของไก่แล้ว มันจะก่อให้เกิดสารพิษหลายๆชนิดตามมา คือ biogenic amines , urea และ ammonia ซึ่งสารทั้งหมดนี้ มันจะก่อให้เกิดการระคายเคืองขึ้นภายในลำไส้ของไก่ ลดการเจริญเติบโตของไก่ ที่เลี้ยงอยู่ภายในฟาร์ม เป็นต้น
ในการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ภายในลำไส้ของไก่นั้น มันจะมีปัจจัยกระตุ้นที่สำคัญก็คือ สารอาหารที่ไก่กินเข้า
ไป ซึ่งถ้าอาหารที่ไก่กินเข้าไปนั้นมากและมีคุณค่าที่เหมาะสมกับการเจริญเติบของเชื้อแบคทีเรียแล้ว ก็ย่อมจะทำให้เชื้อแบคทีเรียที่อยู่ภายในลำไส้เจริญเติบโตเพิ่มจำนวนขึ้นมาก ซึ่งผลกระทบที่จะตามมาคือ มันจะไปมีผลทำให้สารอาหาร หรือของเหลวที่อยู่ภายในลำไส้ของไก่นั้น เคลื่อนที่ไปในลำไส้ไก่เร็วมากขึ้นกว่าเดิม และสุดท้ายจะทำให้การดูดซึมสารอาหารที่เป็นประโยชน์เข้าสู่ร่างกายไก่ได้น้อยลง ซึ่งก็จะมีผลต่อการผลิตไก่เนื้อตามมา ( ตามตารางที่ 1 )
อาหารไก่ที่ผสม HMC นั้น สามารถที่จะเคลื่อนที่ได้อย่างรวดเร็วภายในลำไส้ มากกว่าอาหารธรรมดา ในอาหารไก่ทดลองกลุ่มที่ปลอดเชื้อ หรือมีเชื้อแบคทีเรียภายในลำไส้เล็กน้อย จะมีผลกระทบกับอาหารไก่ที่มีส่วนผสมของ HMC เพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่เมื่อเทียบกับไก่กลุ่มปกติหรือกลุ่มที่มีเชื้อแบคทีเรียภายในลำไส้มาก จะพบว่ากลุ่มนี้มีผลกระทบมากกว่า ในไก่ทดลองกลุ่มปกติหรือกลุ่มที่มีเชื้อในลำไส้มาก จะมีการเคลื่อนที่ของอาหารเหลวที่อยู่ภายในลำไส้เร็วมากกว่าไก่กลุ่มที่มีเชื้อในลำไส้น้อย ซึ่งก็จะมีผลทำให้เกิดการดูดซึมของสารอาหารภายในลำไส้ที่น้อยหรือลดลงด้วยและสุดท้ายก็จะมีผลทำให้เกิดของเหลวที่มีลักษณะเหลวเหมือนคลีมสะสมอยู่ภายในลำไส้ที่มากขึ้นกว่าปกติ สุดท้ายก็จะทำให้เกิดการสะสมของเชื้อแบคทีเรียภายในลำไส้ส่วนบนมากขึ้น เมื่อเกิดการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียขึ้นภายในลำไส้มากๆแล้ว ลำไส้มันก็จะมีการขับสิ่งคัดหลั่งต่างๆออกจากที่ลำไส้ให้มากขึ้น ซึ่งมันเป็นกลไกการต่อต้านเชื้อของร่างกายที่เกิดขึ้น ดังนั้นจึงทำให้ภายในลำไส้มีการสะสมของของเหลวที่มากขึ้นเมื่อลำไส้ติดเชื้อ ซึ่งสุดท้ายก็จะทำให้อาหารเหลวที่อยู่ภายในลำไส้ของไก่เกิดการเคลื่อนที่ที่เร็วมากขึ้นตามมา ในอาหารไก่กลุ่มที่ผสมสาร HMC 2% นั้น จะมีผลทำให้เกิดการเหนี่ยวนำการหลั่งของของเหลวออกมาที่ลำไส้ในปริมาณที่มากกว่าปกติ โดยเมื่อทำการผ่าดูภายในบริเวณลำไส้ก็จะพบว่ามีการสะสมของของเหลวเป็นจำนวนที่มากขึ้นจริง เมื่อทำการวัดปริมาณของของเหลวที่มีลักษณะที่เหมือนคลีมนั้นจะพบว่า เพิ่มขึ้นประมาณ 15 ถึง 58 เท่าเมื่อเทียบกับลำไส้ปกติ
แต่สำหรับแป้งที่เป็นส่วนผสมของอาหารไก่นั้น มันจะไม่มีผลกระทบกับการย่อยได้เมื่อลำไส้ของไก่ที่การเพิ่มขึ้นของเชื้อแบคทีเรียที่ลำไส้ส่วนบนมากขึ้น แต่สำหรับไขมันแล้ว มันจะมีผลกระทบเพียงเล็กน้อยเท่านั้น คือมันจะลดอัตราการย่อยได้ภายในลำไส้ลงเล็กน้อย สำหรับปริมาณของพลังงานที่ผลิตได้จากอาหารไก่ที่กินเข้าไปนั้น อาหารกลุ่มที่ผสม HMC ในไก่ทดลองกลุ่มปกติ หรือกลุ่มที่มีเชื้อมากภายในลำไส้นั้น จะสามารถผลิตพลังงานได้ลดลงประมาณ 12.8 % เมื่อเทียบกับอาหารปกติ แต่ถ้าใช้อาหารกลุ่มเดียวกันนี้ในไก่กลุ่มที่ไม่มีเชื้อ จะสามารถผลิตพลังได้เพิ่มขึ้น 3.6 % เมื่อเทียบกับอาหารปกติ แต่ว่าโดยทั้งหมดแล้ว ถ้าอาหารที่ใช้นั้นมีการผสมเอมไซด์ลงไปด้วยแล้ว มันก็สามารถที่จะไปช่วยในการย่อยอาหารที่ไก่กินเข้าไปนั้นได้ดีกว่าอาหารที่ไม่ผสมอะไรเลย โดยเฉพาะอาหารกลุ่มที่ผสม HMC น่าจะมีการใช้เอมไซด์ร่วมด้วย จะช่วยทำให้อาหารที่ไช้นั้นมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้นมาก

การดูดน้ำเข้าสู่ร่างกาย
จากที่กล่าวมาทั้งหมดแล้ว จะพบว่าการที่ลำไส้ของไก่ที่ลี้ยงมีการสะสม หรือการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียที่มากกว่าปกติแล้วนั้น จะมีผลโดยตรงที่จะทำให้เกิดการขับน้ำออกจากร่างกายไก่ได้ในปริมาณที่มากกว่าปกติสุดท้ายแล้วก็จะเหนี่ยวนำทำให้เกิดปัญหาสิ่งรองนอนเปียกชื้นตามมา แต่ว่าการจัดการน้ำไก่กินนั้นก็ถือได้ว่าเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากเหมือนกันเพราะว่าน้ำที่ไก่กินเข้าไปนั้นมันจะเข้าไปช่วยในการเจริญเติบโตของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการย่อยอาหาร และขบวนการ Metabolites ของ cell ต่างๆภายในร่างกายไก่ ซึ่งถ้าการจัดการน้ำไก่กินมีการจัดการที่ไม่เหมาะสมแล้ว มันก็จะเหนี่ยวนำทำให้เกิดปัญหาสิ่งรองนอนของไก่เปียกชื้นตามมาได้เช่นกัน ซึ่งโดยปกติแล้วไก่เนื้อที่มีสุขภาพที่ดี มันก็จะมีการดูดเอาน้ำที่อยู่ภายในลำไส้ของไก่นั้นเข้าไปสู่ร่างกายเป็นลักษณะที่ปกติอยู่แล้ว ซึ่งกลไกของการดูดน้ำจากลำไส้ไก่เข้าไปสู่ร่างกายไก่นั้นมันจะเกิดขึ้นโดย ขบวนการ ออสโมติก ระหว่างลำไส้ของไก่กับเส้นเลือดที่อยู่รอบๆลำไส้ของไก่นั้นเอง โดยน้ำที่อยู่ภายในลำไส้ของไก่จะค่อยๆ ซึมเข้าไปภายในเส้นเลือดแล้วหลังจากนั้น น้ำก็จะเคลื่อนที่ไปตามเส้นเลือดเข้าไปสู่อวยวะต่างๆของร่างกายต่อไป
จากรูปที่ 1 : จะพบว่า ภายในลำไส้ของไก่ที่มีอาหารเหลวอยู่นั้น จะมีแรงดันที่สูงขึ้นเพื่อที่จะดันเอาน้ำเข้าไปสู่เส้นเลือดภายในร่างกาย ซึ่งค่าของความดันเลือด หรือน้ำเลือดที่อยู่ภายในเส้นเลือด จะมีค่าอยู่ประมาณ 320 mOsm/l. ซึ่งการที่น้ำในลำไส้เล็กจะใหลเข้าไปในเส้นเลือดได้ แรงดันภายในลำไส้จะต้องไม่มากนัก ถึงจะเกิดขบวนการ ออสโมซีส ได้ ซึ่งในการทดลองนี้ จะมีการใช้ CMC ผสมเข้าไปในอาหารไก่เนื้อเพื่อที่จะทำให้อาหารไก่เนื้อมีความเหนียวข้น หนืด มากขึ้นภายในลำไส้ และกระตุ้นการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียภายในลำไส้ด้วย ซึ่งเมื่อไก่กินอาหารที่ผสม CMC เข้าไปแล้ว มันจะไปทำให้อาหารเหลวที่อยู่ภายในลำไส้ของไก่เกิดการแบ่งชั้นกันออกเป็นชั้นๆ ระหว่างของเหลวเหนียวข้นกับน้ำที่เป็นเกลือ หลังจากนั้นมันจะไปขัดขวางการดูดซึมของน้ำจากลำไส้เข้าไปสู่เส้นเลือด ในอาหารสูตรที่ไม่ผสม CMC นั้น มันจะลดขบวนการการเกิด ออสโมซีส ที่เร็วมาก หลังจากที่มันเคลื่อนที่ผ่านจากลำไส้เล็กส่วนต้นไปสู่ลำไส้เล็กส่วนกลางและท้ายตามลำดับ ซึ่งโดยสรุปแล้ว อาหารที่ผสม CMC เมื่อไก่มันกินเข้าไป พอมันเคลื่อนที่ไปสู่ลำไส้เล็กส่วนท้ายๆ มันจะทำให้แรงดันภายในลำไส้ลดลงมาก ซึ่งจะทำให้อัตราการดูดน้ำที่ลำไส้เล็กส่วนท้ายๆ พบมากขึ้นเช่นกัน โดยเมื่อไก่มันดูดเอาน้ำเข้าไปในลำตัวที่มากขึ้นแล้ว ก็จะทำให้มันขับน้ำออกมาน้อย สุดท้ายก็จะทำให้สิ่งรองนอนของไก่นั้นแห้งตามมา ซึ่งผลที่ได้ก็จะมีลักษณะที่เหมือนกับการทดลองนี้ ส่วนการดูดซึมน้ำและเกลือแร่มันก็จะสัมพันธ์กับปริมาณความเข้มข้นของ CMC ที่ผสมในอาหารไก่ โดยเมื่อความเข้มข้นของ CMC มากขึ้นจะมีผลทำให้การดูดน้ำและเกลือแร่ที่ลำไส้เล็กส่วนท้ายลดลงมาก ซึ่งผลที่ตามมาก็คือ มันจะทำให้สิ่งรองนอนเปียกชื้นตามมา
เชื้อจแบคทีเรียที่อยู่ภายในลำไส้เล็ก มันจะมีการแพร่กระจายไปทั้วลำไส้ หลังจากที่ไก่กินอาหารเข้าไปแล้ว เพราะว่าจะมีการเคลื่อนที่ตามอาหารภายในลำไส้ ซึ่งเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ภายในลำไส้มันจะกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งของเหลวออกมาสู่ภายในลำไส้มากขึ้น แต่ว่าปฏิกิริยานี้มันจะเกิดขึ้นมากเมื่ออาหารที่อยู่ภายในลำไส้มีการเคลื่อนที่แบบช้าๆ และท้ายที่สุดมันก็จะทำให้การดูดซึมอาหารภายในลำไส้ลดต่ำลงมากเช่นกัน ในส่วนของสารละลาย จำพวก น้ำ อิเล็กโตไลด์ เกลือต่างๆ มันจะลดการดูดซึมเข้าสู่เส้นเลือดลดลงมาก เมื่อความเข้มข้น ของของเหลวในลำไส้เพิ่มมากขึ้น และสุดท้ายเมื่อน้ในลำไส้มีมาก มันก็จะถูกปล่อยออกสู่สิ่งนอนมาก จะมีผลทำให้สิ่งรองนอนเปียกชื้นตามมา กล่าวโดยสรุป การที่จะบอกว่าสิ่งรองนอนจะดี หรือจะเปียกนั้นชื้นนั้น ปัจจัยหนึ่งที่จะเป็นตัดสินได้ก็คือ สุขภาพของไก่ที่เลี้ยง และการขับถ่ายน้ำออกมาสู่สิ่งรองนอนของมันนั้นเอง


อัตราการพบ Cell ที่แสดงให้เห็นว่าเกิดปัญหาขึ้นที่บริเวณนั้น
ภายในลำไส้ จะมีต่อมที่เรียกว่า คลิป ( Crypts ) ซึ่งมันจะอยู่ที่ส่วนด้านล่างของ Villi ของลำไส้ ซึ่งต่อมที่ว่านี้มันจะเคลื่อนที่ไปทั่วของ Villi ของลำไส้ และจะเคลื่อนที่ขึ้นไปด้านบนของส่วนของ Villi เมื่อมันตายแล้ว ซึ่งลักษณะของการทำงานของมันนั้น จะมีมากหรือน้อยมันจะขึ้นอยู่กับการเคลื่อนใหวของขนที่อยู่ที่ส่วนของ Villi ซึ่งถ้ามันเคลื่อนที่มากต่อมนี้มันก็จะปล่อยสารเคมีหรือเอมไซด์ออกมามากด้วยเช่นกัน ลักษณะของการเคลื่อนที่ของเซลล์ที่กล่าวมานี้ มันจะมีการเคลื่อนที่ไปทั่วของ Vili ของลำไส้ไก่ ซึ่งมันจะมีลักษณะที่แตกต่างกันกับสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนม เพราะสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนม เซลล์ที่กล่าวมานี้มันจะอยู่ประจำที่ไม่มีการเคลื่อนที่ไปยังส่วนต่างๆ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วมันที่อยู่ที่ฐานของลำไส้ของสัตว์ชนิดนั้นๆเลย
เชลล์ภายในลำไส้ดังที่กล่าวมานี้ มันจะมีการเคลื่อนที่กลับไปมาระหว่างช่องรอยต่อของเซลล์ลำไส้ที่อยู่บนลำไส้ของไก่ หรือส่วนที่เป็น Villi นั้นเอง ซึ่งก็เหมือนดังที่กล่วมาว่า การเคลื่อนที่ของเซลล์ภายในนี้มันจะมีการเคลื่อนที่มากหรือน้อยนั้น มันก็จะขึ้นอยู่กับการทำงานของขนหรือส่วนที่เรียกว่าแปรงที่อยู่ที่ส่วนยอดบนของ Villi ของลำไส้นั้นเอง ซึ่งถ้าขนทำงานมาก ส่วนของเซลล์ภายในลำไส้ก็จะมีการเคลื่อนที่กลับไปกลับมาภายในลำไส้ที่มากขึ้นด้วยเช่นกัน
กล่าวโดยทั่วไปแล้วเซลล์ภายในที่กล่าวถึงนี้ มันจะทำหน้าที่อยู่สองอย่างด้วยกันก็คือ การที่จะสั่งให้ส่วนของเซลล์ของ Villi นั้นตาย หรือช่วยในการป้องกันกันการตายของเซลล์ของ Villi นั้นๆด้วย ซึ่งจากการทดสอบในหลอดแก้วเกี่ยวกับการย่อยสลายของคาร์โบโฮเดรท ชนิด Lipopolysaccharide (LPS) โดยจุลินทรีย์นั้น มันจะทำให้ได้น้ำตาลชนิดที่เรียกว่า Dextran ขึ้นมา ซึ่งเมื่อนำเอาน้ำตาลชนิดไปใส่ในลำไส้ไก่แล้ว น้ำตาลนี้มันสามารถที่จะถูกดูดซึมเข้าไปภายในลำไส้ของไก่ได้ด้วย ซึ่งลักษณะของการดูดซึมน้ำตาลน้ำนี้มันจะมีการดูดซึมผ่านผิวของ Villi แล้วเข้าไปในเส้นเลือด แล้วเข้าสู่ร่างกายของไก่ต่อไป ซึ่งเมื่อมันดูดซึมเข้ามาแล้วมันจะแพร่จากเซลล์หนึ่งไปสู่อีกเซลล์หนึ่งตรงส่วนที่เป็นรายต่อของเซลล์ ซึ่งขบวนการนี้มันจะเกิดขึ้นเป็นขบวนการต่อๆไปหลายส่วนและหลายกลุ่มของเซลล์ โดยอาศัยผนังของลำไส้เป็นจุดที่กำหนดตำแหน่งของจุดที่จะแสดงขบวนการของการเกิดวงจรต่างๆ ตามภาพที่ 1
จากรายงานของ Yu et al. (2005) พบว่า ในส่วนของลำไส้ที่เป็นส่วนของเซลล์ที่อยู่บนผนังของลำไส้ส่วนที่อยู่ติดกันนั้น มันจะสามารถที่จะกระตุ้นให้เกิดขึ้นได้มากขึ้นเฉพาะส่วนของเซลล์ที่อยู่ติดกันได้ ซึ่งการทดลองนี้จะสามารถที่จะเกิดขึ้นได้มากในลำไส้เล็กส่วนกลางของไก่เนื้อ ( ตามตารางที่ 2 ) ซึ่งเมื่อเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ภายในลำไส้ทำงาน มันก็จะไปมีผลทำให้ HMC ที่ผสมอยู่ภายในอาหารไก่เกิดการเกาะกลุ่มกันขึ้นมาก ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นภายในลำไส้ก็คือ เยื่อหุ้มเซลล์ที่อยู่ติดกันระหว่างเซลล์นั้นๆมันจะเพิ่มการส่งผ่านของๆเหลวระหว่างเซลล์ที่มากขึ้น เชื้อแบคทีเรียที่อยู่ภายในลำไส้ของไก่ มันจะมีทั้งที่เป็นประโยชน์และที่ก่อโรคกับไก่ ซึ่งขบวนการดังที่กล่าวมาที่เกิดขึ้นภายในลำไส้ของไก่นั้น มันจะไปกระตุ้นทำให้เชื้อแบคทีเรียที่อยู่ภายในลำไส้เพิ่มจำนวนที่มากยิ่งขึ้น โดยสิ่งที่จะพบได้ตามมาก็คือ ลำไส้ของไก่จะเกิดการตอบสนองขึ้น โดยจะพบว่า มีวิการของการอักเสบ บวมแดงเกิดขึ้น จากตารางที่ 2 จะพบว่า เลือดที่อยู่ที่ผนังของลำไส้จะเคลื่อนที่ขึ้นมาสู่ส่วนบนของผิวของลำไส้ จึงทำให้เกิดอาการบวมแดงขึ้นมาได้ และหลังจากนั้นมันก็จะเหนี่ยวนำทำให้ผิวของลำไส้ไก่ด้านในหนาตัวขึ้นอย่างชัดเจน และสิ่งที่สำคัญที่สุดนั้น จะพบว่าการเคลื่อนที่ของของเหลวต่างๆ ที่เกิดขึ้นระหว่าเซลล์ หรือระหว่างลำไส้กับเซลล์นั้น จะเกิดขึ้นไม่ดีตามมาด้วย
จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ หลักการก็มีอยู่ว่า ถ้าภายในลำไส้ของไก่มีแบคทีเรียจำนวนมาก หรือมีแบคทีเรียที่ก่อโรคมากแล้ว มันจะไปมีผลทำให้ความสมดุลภายในลำไส้ของไก่เสียไป ซึ่งสุดท้ายแล้วของเหลวที่อยู่ภายเซลล์ของลำไส้ และที่อยู่ภายในหลอดเลือดก็จะใหลออกมาสู่ลำไส้มากขึ้น ขบวนการที่เกิดขึ้นนี้จะเกิดโดยอาศัยขบวนการออสโมซีส และผลเสียที่ตามที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ มันจะทำให้ไก่ถ่ายเป็นน้ำ ไก่แสดงอาการท้องเสีย และจะพบสิ่งรองนอนของไก่เสียตามมา


ปัญหาของโรคบิด และโรคลำไส้อักเสบที่เกิดขึ้นในไก่
ในการเลี้ยงไก่เนื้อ ปัญหาหนึ่งที่พบมากคือ ไก่เนื้อที่เลี้ยงนั้นป่วยเป็นโรคลำไส้อักเสบ ซึ่งสาเหตุจะมาจากการติดเชื้อ Clostridium ที่อยู่ภายในลำไส้ของไก่นั้นเอง และการที่เชื้อชนิดมันจะเพิ่มจำนวนขึ้นได้ ส่วนมากแล้วก็จะมาจากอาหารไก่ ที่ไม่ได้ผสมยากันบิดและไม่ได้ผสมสารเร่งการเจริญเติบโตเป็นระยะเวลานานๆนั้นเอง การเกิดโรคนี้ได้นั้น สิ่งหนึ่งที่ไม่ควรมองข้ามก็คือ อาหารไก่ที่ผสมพวก ข้าวบาเล่ ข้าวฟ้าง จำนวนมากๆ ซึ่งวัตถุดิบนี้ มันจะย่อยได้ไม่ดี ซึ่งเมื่อมันย่อยได้ไม่มันก็จะยังคงเป็นก้อนอยู่ภายในลำไส้ของไก่ หลังจากนั้นเมื่อมันเคลื่อนที่ลงไปตามลำไส้ของไก่ มันก็จะห่อหุ้มเอาเชื้อแบคทีเรียชนิดต่างๆเอาไว้ ซึ่งก็จะมีทั้งเชื้อที่เป็นประโยชน์และเชื้อที่ก่อโรค สุดท้ายเชื้อที่มันห่อหุ้มเอาไว้นั้นมันก็จะมีการเพิ่มจำนวนมากขึ้น และมันก็จะเหนี่ยวนำทำให้เกิดโรคตามมา และนอกจากนี้ การเกิดโรคบิดเพียงเล็กน้อย หรือเป็นแบบไม่แสดงอาการนั้น ก็จะเป็นสาเหตุหนึ่งที่กระตุ้นให้เกิดปัญหาของโรคลำส้อักเสบตามมาได้ แต่ถ้ามองในมุมเดียวที่ว่า ปัญหาที่เกิดที่ลำไส้เป็นสาเหตุที่มาจากเชื้อ Eimeria app. อย่างเดียวนั้นมันก็ไม่ถูก เพราะว่าเมื่อเราใช้ยาป้องกันโรคบิดผสมในอาหารให้ไก่เป็นระยะเวลานานๆแล้ว มันจะไปมีผลทำให้เชื้อ Clostridium ที่อยู่ภายในลำไส้เพิ่มจำนวนขึ้นมาจนทำให้เกิดเป็นโรคลำไส้อักเสบตามมาก็ได้
ไก่ที่มีปัญหาการติดเชื้อ Clostridium นั้น มันจะแสดงอาการออกมาให้เห็นได้อย่างชัดเจน คือ มันจะมีอัตราการตายที่สูงมากๆ การกินน้ำและอาหาร จะลดลงอย่างมาก และก็จะพบว่าอัตราการเจริญเติบโตก็จะลดลงตามมาด้วย จากการทดลอง ในไก่เนื้อ โดยการกระตุ้นให้เกิดการติดเชื้อ Clostridium ขึ้นในไก่เนื้อ ซึ่งในการกระตุ้นนี้จะใช้เชื้อบิดเป็นตัวเหนี่ยวนำก่อน หลังจากที่ไก่มีการติดเชื้อแล้ว จะพบว่าไก่ที่ติดเชื้อนั้นจะลดการกินน้ำ ลดการกินอาหารลงไป 50% ของปกติ ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นนั้น จะเกิดขึ้นภายใน 24 – 36 ชั่วโมงเท่านั้นเอง ตามปกติแล้วหลังจากที่มีการติดเชื้อไปแล้ว 7-10 วัน ไก่จะลดการกินน้ำ ลดการกินอาหารลง ประมาณ 15-20% เมื่อเทียบกับไก่กลุ่มที่ไม่ได้รับเชื้อ ในงานทดลองอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อ Clostridium เพื่อที่จะดูผลของลำไส้ไก่นั้น จะพบว่าไก่เนื้อกลุ่มที่ติดเชื้อ Clostridium นั้น ลำไส้ของไก่จะเสียหายมาก วิการรอยโรคที่พบชัดเจนก็คือ ลำไส้ไก่จะเป็นเนื้อตาย มีของเหลวใหลออกมาสู่ลำไส้ จำนวนมาก จำนวนของเชื้อแบคทีเรียภายในลำไส้ก็จะเพิ่มขึ้นมากตามไปด้วย และที่ลำคัญภายในลำไส้จะพบโคโลนีของเชื้อ Clostridium perfrigens จำนวนมากด้วย เมื่อลำไส้เกิดความเสียหายมากแล้ว มันจะขับน้ำออกมาสู่ภายในลำไส้มากขึ้น และสุดท้ายมันก็จะขับออกมาจากร่างกาย ซึ่งมันจะเหนี่ยวนำทำให้สิ่งรองนอนของไก่เปียก หรือเสียตามมา ปัญหาของการติดเชื้อดังที่กล่าวมานี้ สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะ จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ เมื่อลำไส้เกิดความเสียหายมากๆแล้ว มันจะขับของเหลวออกมาสู่ลำไส้ไก่จำนวนที่มากขึ้น และสุดท้ายมันก็จะถูกขับออกมาสู้สิ่งรองนอนตามมา และเมื่อทำการผ่าซากไก่ที่ตายด฿ก็จะพบว่า ที่ลำไส้ของไก่จะเป็นเนื้อตายและมีของเหลวเหนียวข้นสะสมอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งลักษณะของวิการที่พบนี้ก็คือ โรคลำไส้อักเสบ ( Necrotic enteritis ) การแก้ไขหรือการรักษาก็ไม่ใช่เรื่องย่งยากมากนัก ซึ่งสามารถที่จะทำได้ดังนี้คือ อาหารไก่เนื้อจะต้องผสมยากันบิด เพื่อควบคุมการเจริญเติบโตของเชื้อ Clostridium และเชื้อบิด ภายในลำไส้ของไก่ และนอกจากนี้ ถ้าไก่ป่วยเป็นโรคแล้ว ก็สามารถที่จะใช้ยาปฏิชีวนะรักษาได้ เพื่อที่จะช่วยทำให้สภาพของลำไส้ของไก่ดี หรือแข็งแรงมากขึ้น







ภาคผนวก
ตารางที่ 1 : ผลผลิตไก่เนื้อ : สภาพภายในของลำไส้ และสภาพของสารอาหารที่ผ่านการย่อยแล้วภายในลำไส้ของไก่ ที่อายุไก่ 21 วัน ตรวจวิเคราะห์เชื้อภายในลำไส้ จะไม่มีเชื้อโรคปนเปื้อน ส่วนอาหารที่กินเข้าไปนั้น จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่มี และไม่มี สารประกอบ Highly methylated citrus ( HMC ) pectin ที่มา : Langhout et al., 2000
สูตรของอาหารไก่ ที่ใช้ในการทดลอง

ข้าวโพด
ข้าวโพด+ 30g. HMC/kg.
SEM
Significance
ไก่ปกติที่ใช้ในการทดลอง
น้ำหนักของไก่ที่เพิ่มขึ้น
773
696
6.4
*
FCR
1.33
1.54
0.008
*
สภาพของลำไส้ไก่




อัตราการเคลื่อนที่ของของเหลวในลำไส้ ,mPa.s
1.7
60.8
0.35
*
ค่าของ Ph ที่ลำไส้ส่วนท้าย
6.6
5.5
0.184
*
ประสิทธิภาพของการย่อย ของ :




% ความแห้งของอาหาร
71.6
64.8
0.25
*
% ไขมันหยาบ
81.3
65.7
0.66
*
% แป้ง
96.9
95.3
0.11
*
AMEn, Kj/Kg
13.32
11.81
0.071
*
ไก่ปลอดเชื้อ ที่ใช้ในการทดลอง
น้ำหนักของไก่ที่เพิ่มขึ้น
737
694
11.2
*
FCR
1.32
1.36
0.012
NS
สภาพของลำไส้ไก่




อัตราการเคลื่อนที่ของของเหลวในลำไส้ ,mPa.s
2.2
7.3
0.39
*
ค่าของ Ph ที่ลำไส้ส่วนท้าย
7.9
7.8
0.03
NS
ประสิทธิภาพของการย่อย ของ :




% ความแห้งของอาหาร
74.4
74.6
0.70
NS
% ไขมันหยาบ
93.9
94.8
0.32
NS
% แป้ง
98.9
98.9
0.15
NS
AMEn, Kj/Kg
13.76
14.26
0.095
*



ตารางที่ 2 : ในลำไส้เล็กส่วนกลางของไก่ ในส่วนที่เป็นกล้ามเนื้อของลำไส้ไก่ และในส่วนของเซลล์ของกล้ามเนื้อของผนังลำไส้ของไก่นั้น ไก่เนื้ออายุ 21 วัน ซึ่งเลี้ยงด้วยอาหารไก่ที่ผสม ถั่วเหลือง ข้าวโพด และ โดยอาหารไก่ที่ใช้ในการทดลองนี้จะผสม สารแป้งเหนียว ( Highly methylated citrus ; HMC ) เข้าไปด้วย และกลุ่มควบคุมจะไม่มีการผสมแป้งเหนียวเลย ที่มาของข้อมูล : Van der kils and Versantvoot, 1999 )

Corn- soy diet


No HMC
Plus 3% HMC
P
LSD
Mannitol
3.80
12.80
<0.001
3.30
Glysar
7.80
5.60
0.09
2.70


รูปที่ 1 : แสดงขบวนการการเกิด ออสโมซีส ระหว่างลำไส้ กับเส้นเลือดที่อยู่รอบๆลำไส้ ซึ่งอาหารไก่ที่ใช้ในการเลี้ยง จะเป็นอาหารที่ผสม Carboxy methyl cellulose ( CMC ) ซึ่งมันจะทำให้เกิดของเหลวที่เหนียวหนืดขึ้นที่ลำไส้ส่วนต้น ส่วนกลาง และส่วนท้าย ซึ่งการวัดอัตราการเกิด ออสโมซีส นั้นจะวัดทั้งหมด 5 จุด ตามรายละเอียด คือ
จุดที่ทำการวัดการเกิดขบวนการ ออสโมซีด คือ ที่ลำไส้เล็กส่วนต้น ลำเล็กส่วนกลาง 2 จุดตามแนวยาวของลำไส้ และลำไส้เล็กส่วนท้าย 2 จุด ตามแนวยาวของลำไส้
จุดประสงค์ของการวัด ก็คือ เพื่อที่จะดูว่าแต่ละส่วของลำไส้ ( ตลอดแนวความยาวของลำไส้เล็กของไก่ ) มีอัตราการดูดน้ำเข้าสู่ร่างกาย หรือการเกิดขบวนการ ออสโมซีส มากน้อยเพียงใด
วิธีการ ก็คือ ใช้อาหารที่ผสม CMC ที่ระดับที่แตกต่างกัน ตั้งแต่ 0% ; 0.5% ; 1% ตามลำดับ ผสมในอาหารไก่ แล้วเมื่อไก่กินเข้าไปแล้ว มันก็จะไปเกิดเป็นอาหารเหลวที่ลำไส้ส่วนต่างๆ เพื่อทำให้อาหารเหลวในลำไส้เคลื่อนที่ได้อย่างช้า เพื่อที่จะทำให้เกิดขบวนการ ออสโมซีส ในลำไส้ของไก่ได้ดียิ่งขึ้น
ผลการทดลอง สรุปได้ว่า :
ที่ลำไส้เล็กส่วนต้น : มีอัตราการเกิดขบวนการ ออสโมซีส มากที่สุด และระหว่างอาหารทั้ง 3 สูตร จะพบว่า จะเกิดขบวนการ ออสโมซีส ที่ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ลำไส้เล็กส่วนกลาง ช่วงที่ 1 : จะพบขบวนการการเกิด ออสโมซีส รองลงมาจากส่วนที่ 1 และขบวนการการเกิด ออสโมซีส ของอาหารทั้ง 3 สูตร จะมีความแตกต่างกันอย่างนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ลำไส้เล็กส่วนกลาง ช่วงที่ 2 : จะพบขบวนการการเกิด ออสโมซีส รองลงมาจากส่วนที่ 2 และขบวนการการเกิด ออสโมซีส ของอาหารทั้ง 3 สูตร จะมีความแตกต่างกันอย่างนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ลำไส้เล็กส่วนท้าย ช่วงที่ 1 : จะพบขบวนการการเกิด ออสโมซีส รองลงมาจากส่วนที่ 3 และขบวนการการเกิด ออสโมซีส ของอาหารทั้ง 3 สูตร จะมีความแตกต่างกันอย่างนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ลำไส้เล็กส่วนท้าย ช่วงที่ 2 : จะพบขบวนการการเกิด ออสโมซีส รองลงมาจากส่วนที่ 4 และขบวนการการเกิด ออสโมซีส ของอาหารทั้ง 3 สูตร จะมีความแตกต่างกันอย่างนัยสำคัญทางสถิติ และนอกจากนี้จะพบว่า ที่ลำไส้เล็กส่วนท้ายสุดนี้ อาหารสูตรที่ 1 จะไม่มีการดูดซึมของน้ำเข้าสู่เส้นเลือดเลย และที่น่าสังเกตก็คือ การที่ลำไส้จะมีการดูดซึมน้ำเข้าสู่ร่างกายได้นั้น การเคลื่อนที่ของอาหารภายในลำไส้จะต้องเคลื่อนที่ให้ช้ามากๆ เท่านั้น ถึงจะเกิดขบวนการ ออสโมซีส ขึ้นภายในลำไส้

รูปที่ 2 : ขบวนการการเกิดการเคลื่อนย้ายของสารอาหารต่างๆภายในเซลล์หรือระหว่างเซลล์นั้น จะสามารถเกิดขึ้นได้จาก 2 ส่วนคือ ส่วนที่เป็นเซลล์ติดต่อกับภายนอกและส่วนที่เป็นส่วนของเซลล์ติดต่อกับเซลล์โดยตรง และในส่วนของฐานของเซลล์จะเป็นส่วนที่ใช้ในการแบ่งเซลล์และที่เป็นลำไส้ออกจากกัน ซึ่งมันจะเป็นตัวที่ใช้ในการป้องกันการเคลื่อนที่ของ Mucus และสารที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันต่างๆของร่างกายไม่ให้ออกไปจากลำไส้ได้ และในส่วนภายในลำไส้ก็จะเป็นที่ตั้งของเซลล์ต่างๆ ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับดูดซึมอาหารเข้าสู่ร่ายกาย และเป็นที่ผลิตเอมไชด์ต่างๆที่สำคัญภายในลำไส้ด้วย ( หรือจะเป็นส่วนที่เรียกกันว่า เซลล์ภายในลำไส้ )
กล่าวโดยทั่วไปแล้ว ที่ลำไส้ของไก่จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ ส่วนที่อยู่ภายนอกลำไส้ไก่ และส่วนที่อยู่ภายในลำไส้ของไก่ โดยส่วนที่อยู่ภายนอกของลำไส้ก็คือส่วนที่เป็นกล้ามเนื้อของลำไส้ของไก่ที่มีทั้งกล้ามเนื้อและเส้นเลือด โดยเมื่อดูดซึมสารอาหารเข้ามาแล้ว มันจะเข้าสู่เส้นเลือดแล้วนำเข้าสู่ร่างกายเป็นต้นไป และนอกจากนี้มันก็จะป้องกันในส่วนของของเหลวๆต่างๆและสารอิมมูลต่างๆ ไม่ให้ออกไปสู่ภายนอกลำไส้ของไก่
ในส่วนภายในลำไส้ของไก่ ก็จะประกอบไปด้วย ส่วนที่เป็น Villi ที่ทำหน้าดูดซึมสารอาหารต่างๆ เข้าสู่ร่างกาย และนอกจากนี้ยังมีส่วนที่ทำหน้าที่ผลิตเอมไชด์และอิมมูลต่างๆขึ้นใช้ภายในร่างกาย ได้ด้วย ซี่งจากทั้งสองส่วนนี้มันจะมีการทำงานที่สอดคล้องสัมพันธุ์กันตลอดเวลา

เอกสารอ้างอิง
· Van der klis J.D. and M. lensing . 2007. Wet litter problems relate to host – microbiota interactions , World poultry , V23(8) : 20 - 22 p.

1 ความคิดเห็น:

Jajaa_DeKMaL กล่าวว่า...

ขอบคุณสำหรับบทความค่ะพี่หมอได้ให้ประโยชน์อย่างเหลือหลายเพราะกำลังทำสัมมนาเรื่องปัญหาสุขภาพไก่เนื้อเนื่องจากวัสดุรองพื้นอยู่ค่ะ แล้วก็อยากจะรบกวนอะไรนิดหน่อยได้มั้ยคะ
แบบว่ากำลังหาบทความเกี่ยวกับความหนาแน่นในการเลี้ยงไก่หน่ะคะถ้าพี่หมอพอจะมีก็ช่วยส่งให้หน่อยได้มั้ยคะที่เมลล์ jajaa_42@hotmail.com หรือใม่ก็รบกวนช่วยโพสขึ้นเวบก็ได้ค่ะ ขอบพระคุณเป็นอย่างสูงค่ะ