วันศุกร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2551

งานแปลเดือน มิย 2008

ผลเสียเนื่องจาก การจัดการการกกลูกไก่ที่ไม่ดี ในฟาร์มไก่เนื้อ
( The true cost of cold chicks )


แปลและเรียบเรียงโดย น.สพ.ชัชวาลย์ สอนศรี
นายสัตวแพทย์ฝ่ายสุขภาพไก่เนื้อ ฟาร์มบริษัท
บ.สหฟาร์ม จำกัด และ บริษัท โกลเด็นไลน์ จำกัด 99 ม4 ต,ศิลาทิพย์ อ.ชัยบาดาล
จ.ลพบุรี 15130, Broiler red box. เดือน มิย. 2551


ในรายงานฉบับนี้ จะเป็นการเล่าถึงประสบการณ์ของคุณมาติน ที่เค้าได้สัมผัสกับกับการจัดการลูกไก่เนื้อภายในฟาร์ม ซึ่งคุณมาตินนี้ เค้าทำงานเป็นผู้เชี่ยวชาญของโรฟักแห่งหนึ่ง โดยรายละเอียดต่างๆ เค้าได้รายงาน ดังต่อไปนี้
จุดเริ่มแรกของการเขียนงานวิจัยฉบับนี้ เค้าได้เดินทางไปดูโรงฟักที่ทางตอนใต้ของประเทศกลุ่มยุโรป เพราะว่าเค้าได้รับการร้องเรียนว่า ลูกไก่ที่นำไปเลี้ยงที่ฟาร์มไก่เนื้อมีอัตราการสูญเสียที่สูงมากในสัปดาห์แรก ซึ่งจากที่เค้าไปดูจะพบว่า อัตราการตายในลูกไก่สะสมสัปดาห์แรก จะมีค่า 3 – 4 % จากการดูลักษณะของลูกไก่ก่อนที่จะนำมาเลี้ยงที่ฟาร์ม เค้าพบว่าลูกไก่ที่ออกมาจากโรงฟักมันก็มีลักษณะที่ดี มันไม่น่าที่จะมีอัตราการตายสูงที่ฟาร์มากขนาดนี้
ลักษณะที่เค้าไปตรวจสอบที่ฟาร์มไก่เนื้อที่เกิดปัญหา คือ ขั้นแรกเค้าก็ไปดูการบันทึกข้อมูล ในส่วนของ อุณหภูมิภายในโรงเรือนเลี้ยงไก่ และอัตราการกินน้ำอาหารของไก่ ซึ่งจากข้อมูลที่พบ จะพบว่า ข้อมูลต่างๆนั้นจะเป็นปกติ ทั้งหมด
แต่ถึงอย่งไรก็ตาม เมื่อเค้าดูข้อมูลลูกไก่ที่นำไปเลี้ยงที่ฟาร์มอื่นที่มาจากโรงฟักเดียวกัน เค้าพบว่า อัตราการตายสะสมเฉลี่ยสะสมมีค่าที่ต่ำมาก ซึ่งจากที่ดูข้อมูลหลยๆฟาร์ม พบว่ามีค่าเฉลี่ยที่ต่ำกว่า 1 % , แต่เมื่อนำข้อมูลทั้งหมดมาทำการปรึกษาเพื่อที่จะหาข้อสรุปถึงปัญหาที่เกิดขึ้น เค้ากับไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนที่จะเป็นสาเหตุขอการเกิดปัญหานั้นจริงๆ

การตรวจติดตามสาเหตุของปัญหา
เค้าเริ่มต้นการติดตามหา สาเหตุของการเกิดปัญหาโดยการไปดูตั้งแต่ ขบวนการฟักที่โรงฟัก ดูขบวนการการออกลูกไก่และการคัดลูกลูกไก่ก่อนที่จะส่งไปที่ฟาร์มไก่เนื้อ สังเกตุลักษณะพฤติกรรมของลูกไก่ที่ห้องส่งลูกไก่และดูอุณหภูมิ สภาพสิ่งแวดล้อมภายในห้องนั้น ซึ่งจากที่เค้าดูพบว่า ทุกอย่างที่พบจะอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ทั้งหมด หลังจากนั้นเค้าก็ไปสำรวจที่รถขนส่งลูกไก่ไปที่ฟาร์ม ซึ่งเค้าก็ได้ไปดูที่การบันทึกข้อมูลอุณหภูมิ ความชื้น ภายในรถขนส่ง เค้าพบว่า รถใช้เวลาเดินทางจากโรงฟักไปฟาร์มไก่เนื้อ ใช้เวลา 1 ชั่วโมง และอุณหภูมิ ก็ประมาณ 25 องศา C. ซึ่งก็ถือได้ว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดีมากๆ หลังจากนั้นเค้าก็ได้ติดตามรถขนส่งลูกไก่มาที่ฟาร์มไก่เนื้อ ซึ่งเค้าก็ได้มาสังเกตุการลงลูกไก่ที่ฟาร์มไก่เนื้อ โดยที่ฟาร์มนี้จะมีภรรยาของเจ้าของฟาร์มและพนักงานเลี้ยงไก่ที่ช่วยกันลงลูกไก่
ที่ฟาร์มไก่เนื้อ สิ่งแรกที่พบ ลักษณะของโรงเรือนที่ใช้ในการเลี้ยงไก่เนื้อก็จัดได้ว่าเป็นโรงเรือนที่ดี ส่วนสิ่งรองนอนของไก่ที่ฟาร์มจะมีการใช้ขี้เลื่อย ที่มีความหนาประมาณ 2 – 3 ซม. ระบบการให้น้ำและให้อาหารก็อยู่ในสภาพที่ดี ส่วนความเข้มของแสงก็ถือได้ว่ามีความเข้มที่สูง ซึ่งสรุปได้ว่า การเตรียมการสำหรับลงลูกไก่เนื้อที่ฟาร์ม จะอยู่ในสภาพที่ดี และเมื่อเค้าดูอุณหภูมิภายในโรงเรือก่อนลงลูกไก่ จะมีค่าอยู่ที่ 34 องศา C. แต่ถึงอย่างไรก็ตาม อุณหภูมิที่ว่านี้ ก็จะมีตัววัดค่าอยู่ที่ระดับความสูง จากพื้นโรงเรือน ประมาณ 1.3 เมตร อยู่ดี
หลังจากนั้น เค้าก็ได้ตั้งข้อสงสัยว่า แล้อุณหภูมิที่พื้นของโรงเรือน หรือสิ่งรองนอนของไก่จะเป็นเท่าใหร่ ซึ่งเค้าสงสัยว่าที่สิ่งรองนอนของไก่มันอาจจะเย็นมากๆ ก็ได้ เพราะว่า ถ้าอุณหภูมิของสิ่งรองนอนมันเย็นมากๆ มันก็จะส่งผลทำให้ อัตราการตายในสัปดาห์สูงมากเช่นกัน สิ่งที่ได้ทำก็คือ เค้าลงมือทำการตรวจสอบด้วยตัวของเค้าเอง โดยการถอดรองเท้าแล้วทำการเดินไปบนสิ่งรองนอนของไก่ภายในโรงเรือน ซึ่งเค้าก็มีความรู้ว่ามันเย็นสะท้านมาถึงขาของเค้าเลย หลังจากนั้นเค้าก็ให้ภรรยา ของเจ้าของฟาร์มเอาแก้มมาแนบลงไปที่สิ่งรองนอนของไก่ ผลก็คือ แก้มของเค้าเย็นชาเลยทีเดียว และหลังจากนั้นเค้าก็ได้มีการนำเครื่องมือมาวัด ผลของอุณหภูมิที่วัดได้ที่สิ่งรองนอนของไก่ มีค่าเท่ากับ 25 องศา C. ซึ่งถือได้ว่าเป็นอุณหภูมิที่ต่ำมากสำหรับ ลูกไก่เนื้อ อายุ 1 วัน

ผลของอุณหภูมิที่พื้นของสิ่งรองนอนที่ต่ำๆ
ลูกไก่แรกเกิด มันจะมีระบบควบคุมอุณหภูมิภายในร่างกายของมันไม่ค่อยดี โดยมากแล้วอุณหภูมิภายในตัวของมันมักจะมีการแปรผันไปตามอุณหภูมิของสิ่งแวดล้อม เป็นส่วนใหญ่ โดยทั่วไปแล้วลูกไก่อายุ 7-10 วัน จะมีระบบการควบคุมอุณหภูมิของร่างกายที่ไม่ค่อยดีนัก หรืออาจจะกล่าวได้ง่ายๆก็คือ ในช่วงอายุนี้ อุณหภูมิของร่างกายไก่มันจะมีการแปรผันตรงกับอุณหภูมิของสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวมัน เมื่อเกิดสภาวะที่วิกฤตรอบตัวของมัน มันก็จำเป็นที่จะต้องใช้พลังที่มีอยู่ในตัวของมันให้มากขึ้นเพื่อที่จะเอาไปต้านกับสิ่งที่มากระทบกับตัวของมัน เมื่อมันมีการใช้พลังงานออกไปมากแล้ว สิ่งที่ตามมาก็คือ มันจะไปมีผลกระทบกับสุขภาพและการเจริญเติบโตของไก่ ซึ่งสุดท้ายก็จะพบว่า ลูกไก่จะเกิดอาการ ซึม ตายสูง ถุงไข่แดงติดเชื้อ เกิดอาการแห้งน้ำ และ ซากผอม ตามมา
ในท้ายที่สุดแล้ว สิ่งหนึ่งที่เกษตรผู้เลี้ยงเห็นพร้องต้องกันก็คือ ก่อนที่จะลงลูกไก่ ภายในโรงเรือนไก่เนื้อก็จำเป็นที่จะต้อง เพิ่มความร้อนที่พื้นของสิ่งรองนอนของไก่ก่อน โดยจำป็นที่จะต้องเปิดอุปกรณ์ให้ความร้อนเอาไว้อย่างน้อย 36 – 48 ชม. ก่อนที่จะนำไก่มาลงภายในโรงเรือนนั้นๆ โดยจุดประสงค์หลักก็เพื่อที่จะป้องกันไม่ให้ความเย็นที่พื้นแกลบแพร่เข้าไปสู่ตัวลูกไก่ ซึ่งจะกล่าวโดยทั่วไปแล้ว ปัญหาเรื่องของอากาศเย็นที่พื้น หรือสิ่งรองนอนของไก่นั้น จะมีผลกระทบกับลูกไก่ มากกว่าอุณหภูมิของอากาศที่เย็น หรือมันจะมีผลกระทบมากกว่าลมเย็นๆภายในโรงเรือนที่มากระทบกับตัวมัน ในการจัดการการเลี้ยงไก่เนื้อ โดยทั่วไปแล้ว การให้ความร้อนที่สิ่งรองนอนของไก่ก่อนที่จะมีการนำไก่ไปลงเลี้ยง ถือได้ว่าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาว จะต้องถือปฏิบัติให้เคร่งครัด ซึ่งขบวนการการให้ความร้อนสิ่งรองนอนของไก่ก่อนที่จะมีการลูกไก่มาลงเลี้ยงนั้น สามารถที่จะทำได้หลายหลายวิธี ซึ่งมันจะจัดอยู่ในส่วนหนึ่งของรูปแบบการจัดการการเลี้ยงไก่เนื้อปกติ ถ้าเป็นไปได้ ก่อนที่จะลงแกลบ หรือสิ่งรองนอน โดยเฉพาะพื้นโรงเรือนที่เป็นคอนกรีตอาจจะต้องมีการให้ความร้อนก่อนที่จะลงสิ่งรองนอนใหม่ด้วยซ้ำไป
ในการตรวจสอบอุณหภูมิที่พื้นสิ่งรองนอนของไก่ ก่อนที่จะลงลูกไก่ใหม่ จำเป็นจะต้องใช้อุปกรณ์วัดอุณหภูมิก่อน ซึ่งอาจจะใช้เทอร์มิเตอร์วางที่พื้น หรือเครื่องยิงอินฟาเรดยิงไปที่พื้นเพื่อดูอุณหภูมิก็ได้ ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว อุณหภูมิจะต้องอยู่ในช่วง 28 – 30 องศา C. ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่เหมาะกับการเลี้ยงไก่ในสัปดาห์แรก หรือเหมาะกับช่วงของการลงไก่ในช่วงแรก โดยจะพบลักษณะของไก่เนื้อที่ลงเลี้ยงวิ่งกระจายตัวกันดี แต่ถ้าลงลูกไก่ไปแล้ว พบว่าลูกไก่แสดงอาการขนหยอง และนอนหมอบติดกับสิ่งรองนอน ทางผู้เลี้ยง หรือเจ้าของฟาร์มก็จำเป็นที่จะต้องทำการเพิ่มอุณหภูมิภายในโรงเรือนขึ้นไปอีก จนกว่าจะเห็นลูกไก่วิ่ง กระจายตัวกันไปทั่วโรงเรือน ซึ่งถ้าภายในโรงเรือนมีอุณหภูมิที่เย็นๆ แล้ว ไก่ที่เลี้ยงมันก็จะได้รับอากาศที่เย็น แล้วหลังจากนั้นไก่มันก็จะนอนมาก หรือมันก็จะมีการนั่งอยู่บนสิ่งรองนอนนานมากๆ แล้วหลังจากนั้น มันก็จะมีผลกระทบกับขาของไก่ตามมา โดยจะพบว่าไก่ที่จับเข้าไปที่โรงเชือด มันจะพบไก่ขาเจ็บที่มากขึ้น คุณภาพซากของไก่ไม่ดี ก็จะพบมากขึ้น ดังนั้นเครื่องมือที่ให้ความร้อนภายในโรงเรือน จำเป็นที่จะต้องมีการติดตั้งเอาไว้ให้พร้อมที่จะมีการใช้ตลอดเวลา เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปํญหาขึ้นกับการเลี้ยงไก่ภายในโรงเรือน
ในการเลี้ยง การจัดการไก่เนื้อนั้น เจ้าของฟาร์ม หรือผู้จัดการฟาร์มจำเป็นที่จะต้องมีการติดต่อ หรือปฏิสัมพันธ์กับทางโรงฟักไก่ให้ดี เพื่อที่จะได้ทราบสถานะของลูกไก่ที่จะนำมาเลี้ยงภายในฟาร์มไก่เนื้อ โดยมากแล้วในการจัดการที่ฟาร์มไก่เนื้อ ถ้าทางเจ้าของฟาร์ม หรือทางผู้จัดการฟาร์มมีการจัดการ โดยการให้ความร้อนกับสิ่งรองนอนของไก่ก่อนที่จะนำลูกไก่มาเลี้ยง มักจะไม่ค่อยพบปัญหากับลูกไก่ที่เลี้ยงภายในฟาร์ม ซึ่งถ้าดูที่อัตราการสูญเสียของไก่เนื้อสัปดาห์แรกแล้ว จะพบว่า จะมีค่าอยู่ประมาณ 0.4 % เท่านั้นเอง

ผลกระทบเนื่องจากการจัดการการกกที่ไม่ดี
ปัญหาในเรื่องของการจัดการการกกที่ไม่ดีนั้น ผลกระทบที่พบตามมาที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงไก่ก็คือ มันจะมีผลทำให้การตายของไก่สูงมาก โดยจะพบว่าในสัปดาห์แรก ลูกไก่ที่นำมาลงเลี้ยง จะมีการสูญเสียสะสม ประมาณ 3 – 4 % เลยทีเดียว ซึ่งจะพบว่ามันจะส่งผลทำให้อัตราการสูญเสียสูงกว่าค่าที่ตั้งเอาไว้สำหรับการเลี้ยงไก่นั้นมากๆ ดังนั้นในเบื้องต้น สำหรับการจัดการการเลี้ยงไก่เนื้อ ทางผู้ที่ดูแล หรือเจ้าของฟาร์มจำเป็นที่จะต้องตรวจติดตามโดยละเอียด ซึ่งก็ตั้งแต่การขนส่งลูกไก่มาจากโรงฟัก โดยจะต้องดูอุณหภูมิความชื้น ภายในรถขนส่งลูกไก่จะต้องเหมาะสม ลูกไก่ไม่เครียด หลังจากนั้นพอลงไก่ที่ฟาร์ม และการจัดการการเลี้ยงไก่ที่ฟาร์ม ก็จะต้องให้เหมาะสม มีการตรวจติดตามอย่างไกล้ชิด โดยเฉพาะเรื่องของการจัดการในช่วงที่อากาศเย็น จะต้องมีการจัดการให้เหมาะสม ไก่ไม่เครียด
ผลเสียหายที่ชัดเจนเลย ในเรื่องของปัญหาการกกไก่ คือ เมื่อจับไก่ส่งโรงเชือด ที่น้ำหนักไก่ 2.2 กิโลกรัม จะพบว่า ค่า FCR จะสูงขึ้น อีก 4 จุด ซึ่งถือได้ว่าเป็นค่าที่สูงมาก โดยในความเป็นจริงแล้ว ถ้ามีการจัดการการกกที่เหมาะสมแล้ว ในการเลี้ยงไก่เนื้อ 1 ตัว จะสามารถที่ประหยัดการใช้อาหารไปได้ 88 g. โดยถ้าเราเลี้ยงไก่เนื้อ 1 โรงเรือน ประมาณ 30,000 ตัว จะสามารถประหยัดอาหารไปได้ 2.6 ตันต่อโรงเรือน ซึ่งถ้าในหนึ่งโรงเรือนมีการเลี้ยงไก่ 7 รุ่นต่อปี จะสามารถลดการใช้อาหารไปได้ 18.48 ตันต่อโรงเรือน ดังนั้นสามารถที่จะกล่าวได้อย่างง่ายๆ คือ ถ้าฟาร์มไก่เนื้อมีการจัดการการกกลูกไก่ที่ดีแล้ว มันจะช่วยให้การเลี้ยงไก่นั้น ประหยัดอาหารไปได้มาก ขนาดของตัวไก่ที่เลี้ยงภายในโรงเรือนก็จะมีความสม่ำเสมอกันดี น้ำหนักไก่ที่จับส่งเข้าโรงเชือดก็จะมีสม่ำเสมอกัน คุณภาพซากไก่ก็จะดีตามมา และสุดท้ายก็จะพบว่า ผลผลิตไก่เนื้อก็จะดีตามมา ต้นทุนการผลิตก็จะต่ำ ดังนั้น สุดท้าย เรื่องที่ง่ายที่สุดก็คือ ก่อนที่จะลงเลี้ยงไก่เนื้อที่ฟาร์ม ผู้เลี้ยงไก่ หรือเจ้าของฟาร์ม อย่าลืมให้ความร้อนกับสิ่งรองนอนของไก่ หรือ อย่าลืม Pre – heat ก่อน นะครับ



เอกสารอ้างอิง
· Martin T.. 2007. The true cost of cold chicks , world poultry , v23(12) : 35-35 p.

ไม่มีความคิดเห็น: