วันศุกร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2551

งานแปลเดือน ธันวาคม 2008

โรคเลือดจางในไก่เปรียบเสมือนปิศาจร้ายในเงามืด
( Chick Anaemia Virus is a hidden menace )


แปลและเรียบเรียงโดย น.สพ.ชัชวาลย์ สอนศรี
นายสัตวแพทย์ฝ่ายสุขภาพไก่เนื้อ ฟาร์มบริษัท
บ.สหฟาร์ม จำกัด และ บริษัท โกลเด็นไลน์ จำกัด 99 ม4 ต,ศิลาทิพย์ อ.ชัยบาดาล
จ.ลพบุรี 15130, Broiler red box. เดือน พย 2551


การติดเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคเลือดจางในไก่มันสามารถติดได้ 2 วิธีคือ 1.ติดมาจากแม่โดยผ่านมาทางไข่ฟัก และ 2.ติดจากสิ่งแวดล้อมภายในฟาร์ม ซึ่งการติดเชื้อทั้ง 2 วิธีนี้สามารถเกิดได้มากพอๆกัน ทุกวันนี้อาการของการเกิดโรคเลือดจางในไก่ที่จะแสดงอาการที่ชัดเจนเหมือนเมื่อก่อนนั้นจะพบได้น้อยมากในหลายประเทศ แต่สิ่งหนึ่งที่ยังคงพบอยู่คือ อัตราการสูญเสียเนื่องจากการติดเชื้อยังคงพบว่ามีอัตราที่สูงอยู่ ดังนั้นสิ่งหนึ่งที่เจ้าของฟาร์มจะต้องระลึกเสมอคือ จะต้องเข้าใจกลไกของการเกิดโรคและกลไกของการติดเชื้อให้ดีเพื่อที่จะได้ป้องกันแก้ไขปัญหาการติดเชื้อได้
ปัญหาของการเกิดโรคเลือดจางในไก่นั้นถือได้ว่าเป็นโรคที่ก่อให้เกิดผลเสียหายทางธุรกิจที่สูงมาก ซึ่งโรคที่เกิดนั้นมันจะมีทั้งที่แสดงอาการหรือไม่แสดงอาการก็ได้ แต่ในปัจจุบันนี้ปัญหาของโรคเลือดจางในไก่ที่มีผลกระทบต่อระบบธุรกิจคือการเกิดโรคที่ไม่แสดงอาการเป็นหลัก โรคเลือดจางในไก่ถูกค้นพบครั้งแรกเมื่อปี คศ. 1979 ซึ่งนับตั้งแต่นั้นมาโรคนี้ก็ได้ก่อให้เกิดความเสียหายทางธุรกิจการเลี้ยงไก่เป็นอย่างมาก โรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัสที่เรียกว่า โคโรน่าไวรัส ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสที่มีขนาดเล็กมาก ซึ่งมันจะมีความคงทนต่อค่าความเป็นกรด-ด่าง คงทนต่อยาฆ่าเชื้อกลุ่มอีเทอร์ กลุ่มโคโรฟอร์ม และคงทนต่อความร้อนด้วย ปัญหาหลักๆของโรคนี้คือ มันจะทำให้ไก่มีอัตราการตายที่สูงมาก ต้นทุนการใช้ยาเพื่อที่จะป้องกันการติดเชื้อแทรกซ้อนจะสูงขึ้นและสุดท้ายจะส่งผลทำให้อัตราการเจริญเติบโตต่ำลง ผลผลิตสุดท้ายก็จะต่ำลงด้วย สำหรับการเกิดโรคทั่วๆแล้วจะเกิดขึ้นในช่วงของการเลี้ยงไก่พ่อแม่พันธุ์ โดยเชื้อไวรัสจะเข้าไปภายในไก่ในช่วงที่เป็นไปพันธ์รุ่น หลังจากนั้นแม่ไก่ก็จะถ่ายเชื้อมาสู่ลูกและจะทำให้เกิดโรคกับลูกไก่เนื้อที่อายุตั้งแต่ 10-14 วันเป็นต้นไปจนถึงประมาณ 21 วัน อัตราการตายเนื่องจากการเกิดโรคนี้ประมาณ 60% อาการของไก่เนื้อที่พบคือ ไก่เนื้อจะแคระแกร็น ผิวหนังซีด แสดงอัตราการป่วยสูง ที่ผิวหนังจะพบการติดเชื้อแทรกซ้อนมาก พบการติดเชื้อราทั่วทั้งร่างกายและอวัยวะที่ใช้ในการสร้างภูมิคุ้มกันจะฝ่อลีบเล็กลง โดยทั่วๆไปแล้วไข่ที่มาจากแม่ที่ติดเชื้อมันจะมีผลกระทบกับลูกไก่ในช่วง 3-6 สัปดาห์แรกของการให้ไข่เท่านั้น ซึ่งในช่วงที่ว่านี้มันก็จะก่อให้เกิดความสูญเสียทางธุรกิจที่สูงมาก จากการประเมินความเสียหายที่ประเทศอเมริกาพบว่า ในปีหนึ่งๆจะเสียหายเนื่องจากโรคนี้ประมาณ 50 ล้านเหรียนเลยทีเดียว
วิการรอยโรคที่พบในปัจจุบันนี้จะพบวิการที่จำเพาะได้น้อยมากในฝูงพ่อแม่พันธุ์ที่มีการจัดการแบบสมัยใหม่ และอาการเนื่องจากโรคนี้มันก็จะไม่แสดงอาการที่ชัดเจนเหมือนเมื่อก่อนอีกแล้ว สาเหตุก็อาจจะเป็นเพราะว่า การจัดการที่ฟาร์มพ่อแม่พันธุ์มีการทำวัคซีนที่ดีขึ้นและมีการกระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกันก่อนที่ไก่จะเริ่มไข่ ดังนั้นเมื่อแม่พันธุ์ติดเชื้อแล้วมันก็จะมีการถ่ายเชื้อออกมาสู่ลูกไก่เนื้อที่น้อยลงทำให้อาการที่เกิดขึ้นกับไก่เนื้อนั้นน้อยลงตามไปด้วย ดังนั้นสิ่งหนึ่งที่ฟาร์มพ่อแม่พันธุ์จะต้องพิจารณาให้ดีคือ โปรแกรมวัคซีนที่ฟาร์มพ่อแม่พันธุ์จะต้องทำให้ถูกต้องและจะต้องตรวจให้มีความมั่นใจว่าภูมิคุ้มกันต่อโรคเลือดจางในไก่พ่อแม่พันธุ์ก่อนที่จะไข่อยู่ในระดับที่จะสามารถป้องกันการเกิดโรคในลูกไก่เนื้อได้
ในการป้องกันโรคเลือดจางในไก่นั้นเจ้าของฟาร์มจะต้องเข้าใจกลไกของการเกิดโรคให้ดีและจะต้องมีการวางแผนเลือกชนิดของวัคซีนที่จะนำมาใช้ให้ดีก็จะสามารถป้องกันการเกิดโรคเลือดจางแบบแสดงอาการได้ ถึงอย่างไรก็ตาม จากการวิจัยในห้องปฏิบัติการที่ประเทศไอร์แลนด์พบว่าไก่เนื้อกลุ่มที่ป่วยเป็นโรคเลือดจางแบบที่ไม่แสดงอาการนี้ มันสามารถส่งผลกระทบกับธุรกิจการเลี้ยงไก่เนื้อได้มากเช่นกัน คือ จะมีผลทำให้น้ำหนักไก่ลดลง ทำให้ผลการเลี้ยงไก่ต่ำลงได้ ซึ่งผลเสียหายทางธุรกิจนี้มันเทียบเท่าได้กับการเกิดโรคเลือดจางแบบแสดงอาการในไก่เนื้อเลยทีเดียว

การแพร่ระบาดของเชื้อแบบแนวระนาบ
การติดเชื้อ CAV ในการเลี้ยงไก่เนื้อนั้น สามารถที่จะเกิดขึ้นได้ทุกช่วงอายุของการเลี้ยงไก่ แต่การติดเชื้อนี้มันจะลดลงเมื่อไก่มีอายุที่มากกว่า 2-3 สัปดาห์เป็นต้นไป ในลูกไก่เนื้อเมื่อนำมาเลี้ยงที่ฟาร์มมันจะสามารถป้องกันการติดเชื้อที่อยู่ภายในพื้นที่ได้โดยภูมิคุ้มกันที่ได้รับมาจากพ่อแม่ ซึ่งภูมิคุ้มกันที่ได้รับมาจากพ่อแม่นั้นมันอาจจะเกิดขึ้นจากการทำวัคซีนในพ่อแม่พันธุ์หรือการสัมผัสเชื้อที่อยู่ภายในฟาร์มก็ได้ ซึ่งการส่งถ่ายภูมิคุ้มกันจากพ่อแม่ไปสู่ลูกนั้นถือได้ว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับการป้องกันไก่เนื้อไม่ให้เกิดโรค แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ความสม่ำเสมอของระดับภูมิคุ้มกันที่ส่งต่อไปให้ลูกนั้นมีก็จะมีความสำคัญเช่นเดียวกัน และนอกจากนี้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับโรคกดภูมิคุ้มกันในไก่ ก็ย่อมจะมีผลเกี่ยวข้องกับระดับการป้องกันการเกิดโรคเลือดจางในไก่ทั้งสิ้น นอกจากนี้ปัญหาของการติดเชื้อไวรัสอื่นๆร่วม เช่น การติดเชื้อเลือดจางร่วมกับโรคมาเร็ค โรคReo virus โรคกัมโบโร ก็ย่อมจะมีผลทำให้ความรุนแรงของการเกิดโรคเลือดจางในไก่เนื้อที่เลี้ยงภายในฟาร์มมีความรุนแรงมากขึ้นเท่านั้น จากที่ได้กล่าวมาแล้วการติดเชื้อโรคเลือดจางในไก่นั้นมันสามารถเกิดขึ้นได้ทั้ง 2 แบบคือ การติดมาจากพ่อแม่พันธุ์และการติดเชื้อที่ฟาร์มไก่เนื้อ แต่ถ้าเปรียบเทียบทั้ง 2 แบบจะพบว่าการติดเชื้อที่ก่อให้เกิดโรคที่รุนแรงมากที่สุดคือ การติดเชื้อที่ฟาร์มไก่เนื้อแบบระยะเวลานานๆ นั้นเอง
ในการทำวัคซีน CAV ในไก่พ่อแม่พันธุ์แบบละลายน้ำหรือวิธีการทำวัคซีนที่ไม่ดีนั้น มันจะมีผลทำให้ระดับของภูมิคุ้มกันในไก่พ่อแม่พันธุ์จะไม่ดีซึ่งมันก็จะมีผลกระทบลูกไก่ตามมา โดยระดับของภูมิคุ้มกันที่ส่งถ่ายจากพ่อแม่มาสู่ลูกนั้นจะต่ำซึ่งก็จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคตามมา
ในการเลี้ยงไก่เนื้อนั้น ในบางครั้งเมื่อมีการจับไก่เนื้องส่งเข้าโรงเชือดแล้วมันอาจจะสามารถตรวจพบภูมิคุ้มกันของโรคเลือดจางในไก่ที่ส่งโรงเชือดได้เช่นกัน ซึ่งจากที่กล่าวมาก็แสดงว่าไก่เนื้อที่เลี้ยงอยู่ภายในฟาร์มนั้นมันมีการติดเชื้อเชื้อโรคเลือดจางภายในฟาร์มแล้ว ในการติดเชื้ออีกส่วนหนึ่งที่มักจะเป็นปัญหาลูกไก่เนื้อที่มาจากจากฝูงที่แตกต่างกัน เพราะว่าแต่ละฝูงจะมีระดับภูมิคุ้มกันที่ไม่เท่ากันหรือมีบางฝูงที่ติดเชื้อมาจากพ่อแม่พันธุ์แล้วเมื่อนำมาฟักรวมกันมันก็จะมีผลทำให้เชื้อไวรัสที่ติดมากับลูกไก่แพร่กระจายไปสู่ฝูงอื่นๆได้ด้วยเช่นกัน หรือแม้หลังจากนั้น เมื่อไก่นื้อที่ไม่มีภูมิคุ้มนำมาเลี้ยงภายในฟาร์มแล้วไก่กลุ่มนี้มันก็จะสามารถติดเชื้อโรคเลือดจางภายในฟาร์มได้ด้วย แต่แนวทางการป้องกันแก้ไขก็สามารถที่จะทำได้เช่นกัน เช่น การล้างทำความสะอาดโรงเรือนจะต้องมีการล้างให้สะอาดและฆ่าเชื้อให้ดี ในการฆ่าเชื้อภายในโรงเรือนนั้นจะต้องรวมไปถึงสิ่งรองนอนของไก่ด้วยเพื่อป้องกันปัญหาเชื้อ CAV ปนเปื้อนมากับสิ่งรองนอนไก่

การสืบสวนย้อนกลับหาสาเหตุของโรค
การที่มีห้องปฏิบัติการที่ดีๆ และสามารถตรวจวิเคราะห์ได้อย่างรวดเร็วนั้น มันจะเป็นกุญแจที่สำคัญมากที่จะสามารถติดสาเหตุของการเกิดโรคได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะการป้องกันแก้ไขปัญหาการติดเชื้อโรคเลือดจางที่ฟาร์ม เพราะว่าในปัจจุบันนี้ โรคเลือดจางในฝูงไก่เนื้อนั้น มันมักจะไม่มีการแสดงอาการของโรคให้เห็นเหมือนสมัยก่อนแล้ว ดังนั้นฐานข้อมูลในการตรวจวิเคราะห์ในไก่เนื้อนั้นจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ซึ่งทั่วโลกก็ได้มีการจัดทำฐานข้อมูลมาตั้งแต่ปี 1984 แล้ว โดยฐานข้อมูลนี้สามารถที่จะวิเคราะห์แยกได้เลยว่าโรงเรือนที่ติดเชื้อกับโรงเรือนที่ไม่ติดเชื้อนั้นมันมีความแตกกัน ซึ่งนอกจากข้อมูลทางห้องปฏิบัติการแล้วข้อมูลผลผลิตทั้งหมดก็จะต้องมีการเก็บรวบรวมเอาไว้ด้วย โดยทั่วๆไปแล้วโรงเรือนที่ติดเชื้อมันมักจะมีผลผลิตที่ต่ำกว่าโรงเรือนที่ไม่ติดเชื้อเสมอ
จากการศึกษาอุบัติการณ์ของการเกิดโรคเมื่อปี 1989 ในไก่เนื้อจำนวน 50 ฝูง โดยศึกษาไก่เนื้อจำนวน 1 ล้านตัว โดยไก่ทั้ง 50 ฝูงจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มแรกจะมี 25 ฝูง จะเป็นไก่เนื้อฝูงที่มีการติดเชื้อ และอีกกลุ่มจะเป็น 25 ฝูงหลัง จะเป็นไก่เนื้อที่ไม่มีการติดเชื้อ ซึ่งเมื่อมีการตรวจไก่เนื้อกลุ่มที่ติดเชื้อแล้วจะพบว่าไก่เนื้อกลุ่มนี้จะตรวจพบภูมิคุ้มกันต่อโรค CAV ภายในตัวไก่เนื้อด้วย และนอกจากนี้เมื่อเลี้ยงไก่ไปแล้วจะพบว่าไก่จะแสดงอาการป่วย พบอาการปีกช้ำอย่างชัดเจน และจะพบอัตราการตายสูงที่สูงมาก
อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาที่ผ่านมา จะพบว่าไก่เนื้อกลุ่มที่ติดเชื้อกับไก่เนื้อกลุ่มปกติจะมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยเมื่อนำเอาผลการเลี้ยงระหว่าง 2 กลุ่มมาเปรียบเทียบกัน ระหว่างกลุ่มที่ปกติกับกลุ่มที่ป่วยด้วยโรค CAV จะได้ข้อมูลดังนี้ ค่า FCR ดีกว่า 2% , น้ำหนักไก่จับดีกว่า 2.5% , ผลกำไรจะดีกว่า 13.0%
จากการศึกษาปัญหาโรคเลือดจางในไก่เนื้อที่ผ่านมา จะมีคำพูดที่กล่าวว่า ไก่เนื้อที่มีการติดเชื้อไวรัสโรคเลือดจางกับไก่เนื้อกลุ่มที่ไม่ติดเชื้อ เมื่อดูที่ผลการเลี้ยงจะพบว่า ไก่เนื้อกลุ่มที่ไม่ติดเชื้อจะมีผลการเลี้ยงที่ดีกว่าและมีผลกำไรที่ดีกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
เมื่อไม่นานมานี้ มีการศึกษาพบว่า ไก่เนื้อกลุ่มที่มีการติดเชื้อ CAV แต่ไม่ป่วยแสดงอาการของโรค จะพบว่ามีผลการเลี้ยงที่แย่กว่าไก่เนื้อกลุ่มที่ไม่ติดเชื้ออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเช่นกัน ดังนั้นการจัดการโปรแกรมวัคซีนในฟาร์มพ่อแม่พันธุ์ที่ดีหรือจัดการวิธีการทำวัคซีนที่ดีจะเป็นสิ่งที่จะช่วยลดปัญหาการเกิดโรคเลือดจางในการเลี้ยงไก่ได้เป็นอย่างดี และสุดท้ายจะส่งผลทำให้ผลการเลี้ยงไก่เนื้อที่ฟาร์มดีขึ้นตามมาด้วย ซึ่งเป้าหมายของการทำวัคซีนที่ดีในฟาร์มพ่อแม่พันธุ์นั้นก็เพื่อที่จะป้องกันการติดเชื้อไวรัสโรคเลือดจางในลูกไก่เนื้อที่ฟาร์มนั้นเอง ประเด็นต่อมา ถ้าไก่เนื้อที่เลี้ยงอยู่ภายในฟาร์มมีการติดเชื้อไวรัสแบบกดภูมิแล้ว เช่น โรคมาเร็ค โรคกัมโบโร มันก็จะส่งผลทำให้ไก่เนื้อที่เลี้ยงอยู่ภายในฟาร์มสามารถที่จะติดเชื้อได้ แต่จะเป็นการติดเชื้อแล้วไก่เนื้อจะไม่แสดงอาการของโรคเลือดเลือดจางให้เห็น ซึ่งผลที่ตามมาก้คือมันจะส่งผลทำให้ผลการเลี้ยงไก่เนื้อที่ฟาร์มต่ำลงเช่นกัน ดังนั้นการเลี้ยงการจัดการไก่เนื้อที่ฟาร์มจะต้องมีการจัดการให้ดี โดยจะต้องเริ่มตั้งแต่การล้างทำความสะอาดโรงเรือนและการฆ่าเชื้อภายในโรงเรือน ภายในฟาร์มให้ดีก่อนที่จะมีการลงไก่ เพื่อที่จะป้องกันการติดเชื้อไวรัสกลุ่มที่ก่อให้การกดภูมิคุ้มกัน เช่น โรคมาเร็ค โรคกัมโบโร เป็นต้น ซึ่งจุดมุ่งหมายสูงสุดคือ ให้ลูกไก่มีภูมิคุ้มกันต่อการติดเชื้อโรคเลือดจางที่ฟาร์มไก่เนื้อ และเพื่อที่จะลดการสูญเสียต่างๆที่จะตามมา

การป้องกันปัญหาโดยภาพรวม
ได้มีการทดลองใช้ยาฆ่าเชื้อชื่อ Virucidol ในประเทศอังกฤษ เพื่อที่จะใช้ในการฆ่าเชื้อ CAV ซึ่งผลจะพบว่า ยาฆ่าเชื้อตัวนี้สามารถที่จะฆ่าเชื้อไวรัส CAV ได้ โดยใช้อัตราส่วน 1: 250 , ดังนั้นจึงสามารถที่จะใช้ยาฆ่าเชื้อตัวนี้ฆ่าเชื้อหรือทำลายเชื้อ CAV ได้ ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าการเลือกใช้ยาฆ่าเชื้อตามที่ผู้ผลิตแนะนำเพื่อที่จะใช้ในการฆ่าเชื้อไวรัสโรคเลือดจางนั้นจะเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก โดยการฆ่าเชื้อจะต้องมีการฆ่าเชื้อทั้งภายในโรงเรือนเลี้ยงไก่นื้อและอุปกรณ์กรต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงไก่ให้ดี
โดยทั่วไปแล้ว ประสิทธิภาพของยาฆ่าเชื้อและวิธีการฆ่าเชื้อที่ดีนั้นถือได้ว่าเป็นสิ่งมีความสำคัญมาก เช่น น้ำไก่กินจะต้องมีการฆ่าเชื้อให้ดี อุปกรณ์การให้น้ำภายในโรงเรือนจะต้องมีการฆ่าเชื้อให้สะอาด ไม่ว่าจะเป็นระบบรายน้ำ ถังให้น้ำหรือระบบ Nipple โดยยาฆ่าเชื้อที่ใช้ภายในฟาร์มนั้นก็ให้ขึ้นอยู่กับเจ้าของฟาร์มเป็นผู้พิจารณาว่ายาฆ่าเชื้อตัวใหนมีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้ในการฆ่าเชื้อภายในฟาร์ม โดยจุดมุ่งหมายสูงสุดก็เพื่อป้องกันการปนเปื้อนเชื้อต่างๆภายในระบบรายน้ำ และจะต้องทำให้น้ำสะอาดก่อนที่จะนำไปใช้ให้ไก่กิน และไก่เนื้อที่เลี้ยงอยู่ภายในฟาร์มนั้นก็จะไม่ป่วยด้วยโรคต่างๆตามมาด้วย
ในการป้องกันการติดเชื้อโรคเลือดจางภายในฟาร์มนั้นจะเป็นสิ่งที่ทำได้ยากมาก แต่สิ่งหนึ่งที่สำคัญมากก็คือจะต้องทำการป้องกันไม่ให้เชื้อ CAV ติดเข้ามาสู่ไก่หรือถ้าติดก็จะต้องให้น้อยที่สุดด้วย ดังนั้นการจัดการระบบสุขศาสตร์ป้องกันโรคภายในฟาร์มที่ดีนั้นจะเป็นสิ่งที่สำคัญมาก โดยเฉพาะเรื่องของการฆ่าเชื้อต่างๆ เช่น ก่อนเข้าฟาร์มจะต้องมีบ่อจุ่มฆ่าเชื้อล้อรถ มีโรงเรือนสเปรย์ฆ่าเชื้อก่อนที่จะเข้าฟาร์ม แขกที่จะเข้าตรวจเยี่ยมฟาร์มจะต้องมีการฆ่าเชื้อ อาบน้ำเปลี่ยนชุดก่อนที่จะเข้าฟาร์ม สุดท้ายก่อนที่จะเข้าไปภายในโรงเรือนเลี้ยงไก่เนื้อจะต้องมีการล้างมือและฆ่าเชื้อก่อนที่จะเข้าไปสำผัสไก่ก่อนทุกครั้ง จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้จะถือได้ว่าเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับการป้องกันโรคเลือดจางที่จะเกิดขึ้นกับไก่เนื้อที่ฟาร์มที่จะมีการติดเชื้อเป็นแบบแนวระนาบหรือเป็นการติดเชื้อที่ฟาร์มนั้นเอง



เอกสารอ้างอิง
· Stephen A.L. . 2008 . Chick Anaemia Virus is a hidden menace , world poultry , V24 (8) : 24-25 p.

วันพุธที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2551

รายงานวิจัย เดือน ธันวาคม 2008

การสืบค้นเอกสาร เรื่อง Avian cellulitis ในไก่เนื้อ

( Review paper of Avian cellulitis in Broilers )


เรียบเรียงโดย น.สพ.ชัชวาลย์ สอนศรี
นายสัตวแพทย์ฝ่ายสุขภาพไก่เนื้อ ฟาร์มบริษัท
บ.สหฟาร์ม จำกัด และ บริษัท โกลเด็นไลน์ จำกัด 99 ม4 ต,ศิลาทิพย์ อ.ชัยบาดาล
จ.ลพบุรี 15130, Broiler red box. เดือน พฤษภาคม 2551


บทคัดย่อ
การเกิดโรค Avian cellulitis ในไก่เนื้อนั้น ถือได้ว่าเป็นโรคที่ก่อให้เกิดความเสียหายสูงมากกับอุตสาหกรรมการเลี้ยงไก่ โดยจะไปทำให้คุณภาพซากของไก่ไม่ดี ไก่ซากผอม ไก่ติดเชื้อที่ผิวหนัง ผัวหนังของไก่เน่าไม่สวย และพบไก่คัดทิ้งที่โรงเชือดสูงมาก โรค Avian cellulitis ในไก่เนื้อ สามารถเกิดขึ้นได้ 2 แบบ คือ 1.เกิดจากไก่เนื้อกินเชื้อที่ก่อโรคเข้าไปในร่างกาย หรือติดมาจากโรงฟัก และ 2.เกิดจากการติดเชื้อจากสิ่งแวดล้อมผ่านทางผิวหนังที่เป็นแผล ซึ่งการเกิดโรคแบบที่สองนี้จะเป็นแบบที่ทำให้เกิดวิการของโรค Avian cellulitis ในไก่เนื้อมากที่สุด เชื้อที่ทำให้เกิดโรค Avian cellulitis ได้แก่ E.coli ; S.aureus ; Actinomyces pyogenes และEeysipelothrix rhusiopathiae ซึ่งจะพบว่าเชื้อที่ก่อโรคที่สำคัญที่สุดก็คือ เชื้อ E.coli โดยจะพบมากถึง 91.80% และ Serotype ของเชื้อ E.coli ที่ก่อโรคมากที่สุดคือ Serotype O78 : O2 = 52.22% : 14.44 % ตามลำดับ การเกิดโรค Avian cellulitis โดยปกติแล้วมันจะเกิดกับไก่ที่มีสุขภาพดี และมักจะเกิดกับไก่ที่ตัวโตๆ ด้วย วิการของการเกิดโรคที่เด่นชัดก็คือ จะพบการติดเชื้อที่เนื้อเยื้อชั้นใต้ผิวหนังของไก่ จะพบหนองสีเหลืองสะสมอยู่เป็นจำนวนมากที่ชั้นใต้ผิวหนัง วิการของการเกิดโรคมักจะพบที่ ส่วนของช่องท้องและที่ต้นขาส่วนบนของไก่ การติดเชื้อมักจะผ่านเข้าสู่ร่างกายทางผิวหนังที่เป็นแผลแล้วเข้าไปก่อโรคที่ชั้นใต้ผิวหนัง แผลที่ผิวหนังของไก่โดยมากแล้วมักจะเกิดจากการข่วนกันของไก่ภายในโรงเรือน การเกิดโรค Avian cellulitis จะมีความรุนแรงมากหรือน้อย จะขึ้นอยู่กับจำนวนของแผล ขนาดของแผลที่ผิวหนังของไก่ และปริมาณของเชื้อ E.coli ที่อยู่ภายในสิ่งรองนอนของไก่ โดยถ้าไก่เป็นแผลที่ผิวหนังมากและสิ่งรองนอนของไก่มีเชื้อ E.coli มาก ก็จะมีผลทำให้ความรุนแรงของการเกิด โรค Avian cellulitis สูงมากขึ้นตามไปด้วย ในส่วนของความรุนแรงของเชื้อ E.coli ที่ก่อโรคจะพบว่า เชื้อ E.coli ที่แยกได้จากวิการของรอยโรค Avian cellulitis จะมีความรุนแรงมากกว่าเชื้อ E.coli ที่แยกได้จากมูลไก่ และนอกจากนี้ยังพบว่า ความรุนแรงของเชื้อ E.coli ยังขึ้นอยู่กับพื้นที่ หรือที่ตั้งของฟาร์มนั้นๆด้วย เชื้อ E.coli จัดเป็นเชื้อที่มีความทนทานมาก โดยเมื่อมีการล้างทำความสะอาดโรงเรือนและฆ่าเชื้อเสร็จแล้ว หลังจากนั้นอีก 191 วัน ก็ยังสามารถที่จะตรวจพบเชื้อ E.coli อยู่ภายในโรงเรือนนั้นได้ ดังนั้นการป้องกันการเกิดโรค Avian cellulitis ที่ดีที่สุดก็คือ การป้องกันไม่ให้ผิวหนังของไก่เกิดแผล และพยายามลดปริมาณของเชื้อ E.coli และเชื้อจุลินทรีนย์ต่างๆ ในสิ่งรองนอนของไก่ให้เหลือน้อยที่สุด เท่าที่จะทำได้

คำสำคัญ : Avian cellulitis , Broiler , E.coli , Colibacillosis , ไก่เนื้อ

บทนำ
ปัญหาของการเกิด Avian cellulitis นั้น มักจะมีความสัมพันธ์กับ ปัญหาของการเกิด Colibacillosis โดยเมื่อไก่เนื้อป่วยด้วยโรคนี้แล้ว มันมักจะเหนี่ยวนำทำให้เกิดปัญหาของโรค Avian cellulitis ตามมา ( 1 ) : ( 3 )ตามรูปที่ 2,3 ซึ่งในการเลี้ยงไก่เนื้อที่เป็นระบบอุตสาหกรรมนั้น โดยทั่วไปแล้วปัญหาของการเกิดโรค Avian cellulitis ถือได้ว่าเป็นปัญหาที่มีความสำคัญมาก ( 5) และเมื่อมันเกิดโรค Avian cellulitis ขึ้นแล้วก็จะเกิดปัญหาการคัดไก่ทิ้งที่โรงเชือดมากขึ้นตามไปด้วย โดยจะพบไก่ซากผอม คุณภาพซากไก่ไม่ดีที่โรงเชือดจำนวนมาก ตามรูปที่ 5
จากรายงานของ ( 7 ) กล่าวไว้ว่า ปัญหาของการเกิดโรค Avian cellulitis ในไก่เนื้อ มันจะเป็นปัญหาที่มีผลกระทบต่อการผลิตไก่เนื้อเป็นอย่างมาก โดยเมื่อเลี้ยงไก่เนื้อที่ฟาร์ม มันจะทำให้ผลผลิตไก่เนื้อนั้นไม่ดี การเจริญเติบโตของไก่เนื้อไม่ดี คุณภาพซากหรือไก่ซากผอมพบมากขึ้น และเมื่อจับไก่ส่งโรงเชือดก็จะพบว่า คุณภาพซากไก่จะไม่ดี มีไก่คัดทิ้งที่มากขึ้น และซากไก่ที่ได้ที่จะนำไปทำสินค้าต่างๆก็จะน้อยลง และสุดท้ายก็จะพบว่า จะเสียเวลาและค่าใช้จ่ายที่มากขึ้นในการตัดแต่งซากไก่ที่ไม่ดีที่โรงเชือด ดังนั้นในการเลี้ยงไก่เนื้อที่ฟาร์มจึงควรมีการป้องกันการเกิดโรค Avian cellulitis ให้ดีเพื่อไม่ให้ธุรกิจการเลี้ยงไก่เนื้อเสียหายตามมา
ปัญหาของการเลี้ยงไก่เนื้อที่เกี่ยวข้องกับโรค Avian cellulitis ก็คือ ปัญหาคุณภาพซากไก่ที่ส่งเข้าโรงเชือด โดยจะพบ ไก่ซากผอม ผิวหนังเน่า อักเสบ เพิ่มขึ้นจำนวนมาก จากรายงายของ ( 8 ) พบว่า เชื้อที่เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิด Avian cellulitis ในการเลี้ยงไก่เนื้อ ก็คือ เชื้อ E.coli โดยจากการตรวจแยกเชื้อไก่เนื้อกลุ่มที่เป็น Avian cellulitis จำนวน 353 ตัวอย่าง พบว่า สามารถที่จะแยกเชื้อ E.coli ได้ 341 ตัวอย่าง ซึ่งคิดเป็น 89% ของทั้งหมด ซึ่งก็สอดคล้องกับ ( 2 ) ว่า ไก่ที่เป็น Avian cellulitis จะพบว่ามีการติดเชื้อ E.coli มากถึง 91.80% เลยทีเดียว ดังนั้น จึงสามารถที่จะกล่าวได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติว่า ไก่เนื้อที่เป็น Avian cellulitis นั้น สาเหตุของปัญหาหลักๆก็คือ เกิดจากเชื้อ E.coli
เชื้อ E.coli ก็เป็นเชื้อที่สามารถที่จะพบได้โดยทั่วๆอยู่แล้ว ซึ่งตัวของมันเองนั้น ก็มีทั้งที่ก่อโรคและไม่ก่อโรค ซึ่งถ้านำมาแยกออกเป็น Serotype ก็จะได้ตาม ตารางที่ 1: โดยเชื้อ E.coli นี้มันสามารถที่จะก่อให้เกิดโรคได้หลายชนิด เช่น โรคระบบทางเดินหายใจ โรคถุงไข่แดงอักเสบ โรคหัวบวมหรือหัวปิงปอง ( โรคหัวปิงปอง = เป็นโรคที่ผู้เขียนตั้งขึ้นเอง ซึ่งลักษณะก็เหมือนกับลูกปิงปองนั้นเอง ) โรคลำไล้อักเสบ โรคติดเชื้อในกระแสเลือด และโรค Avian cellulitis ( 9 ) ซึ่งทั้งนี้ถ้าไก่เกิดโรคติดเชื้อ E.coli มักจะมีการเรียกรวมๆกันว่า Colibaciilosis ( 9 ) แต่การเกิดโรค Colibacillosis นั้น เชื้อ E.coli ที่เป็นตัวก่อโรคมักจะเป็นชนิดที่มีความรุนแรงที่ต่างกัน ซึ่งทั้งนี้แล้ว ก็จะขึ้นอยู่กับพื้นที่ที่เกิดโรค หรือขึ้นอยู่กับการเลี้ยงการจัดการของฟาร์มนั้น ( 9 ) หรือจะพูดกันง่ายๆ ก็คือ เชื้อ E.coli ในแต่ละพื้นที่ จะมีความรุนแรงแตกต่างๆกันนั้นเอง
ในรายงานการวิจัยฉบับนี้ จะเป็นการศึกษาถึง ผลของการเกิดโรค Avian cellulitiss ในไก่เนื้อว่า มีสาเหตุมาจากอะไร และจะส่งผลต่อการเลี้ยงไก่เนื้ออย่างไรบ้าง โดยจุดประสงค์หลัก ก็เพื่อที่จะได้นำมาเป็นข้อมูลสำหรับ การศึกษาการแก้ไขปัญหาและป้องกันปัญหา Avian cellulitis ที่จะเกิดขึ้นในการเลี้ยงไก่เนื้อฟาร์ม GLB , FFW ต่อไป โดยหวังเป็นอย่างว่า รายงานการวิจัยฉบับนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจ และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่อไปในอนาคต ข้างหน้า

ปัญหาและสาเหตุ
การเกิดโรค Avian cellulitis นั้น ส่วนมากแล้วจะมีผลมาจาก การติดเชื้อแทรกซ้อนที่ชั้นใต้ผิวหนังของไก่ ซึ่งโดยมากแล้วมักจะพบว่าเป็น เชื้อแบคทีเรียจำพวก E.coli เป็นหลัก ตามรูปที่ 3 ซึ่งจะมีสัดส่วนมากถึง 91.80% ของไก่เนื้อกลุ่มที่ป่วยเป็นโรค (2 ) โดยเมื่อนำมาแยกชนิดของเชื้อ E.coli แล้วจะพบว่าเป็นชนิด O78 มากถึง 52.22% ( 2 ) ซึ่งก็จะสอดคล้องกับปัญหาที่พบที่ฟาร์มไก่เนื้อ GLB , FFW ในช่วง 3-4 เดือนที่ผ่านมา ( 4 ) ตามตารางที่ 2 : และนอกจากนี้แล้ว ไก่เนื้อกลุ่มที่ป่วยเป็นโรค Avian cellulitis นั้น ยังสามารถที่จะแยกพบเชื้อจำพวก S.aureus และ Actinomyces pyogenes ได้อีกด้วย ( 2 ) และนอกจากนี้ ( 5 ) ได้กล่าวไว้ว่า เชื้อ Eeysipelothrix rhusiopathiae ก็สามารถที่จะทำให้ไก่เนื้อเกิดโรค Avian cellulitis ได้ด้วย เช่นกัน
ซึ่งจากรายงานทั้งหมด ปัญหาของการเกิด Avian cellulitis นั้น มันจะเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียหลายๆชนิดรวมกัน ซึ่งเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้โรคหลักๆ ก็คือ เชื้อ E.coli ซึ่งก็ตรงกับรายงานของ ( 7 ) : ( 8 ) : ( 11 ) โดยที่ ( 8 ) ได้มีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ความสอดคล้องกันระหว่าง การเกิดโรค Avian cellulitis กับ เชื้อ E.coli ที่แยกได้ที่วิการของรอยโรค และเชื้อ E.coli ที่แยกได้ที่ สิ่งรองนอนของไก่ โดยเชื้อ E.coli ที่แยกได้จากทั้ง 2 ที่นั้น จะนำมาทดสอบความเหมือนกันโดยวิเคราะห์ ลำดับของ DNA ซึ่งจากรายงานผลการวิจัยพบว่า เชื้อ E.coli ที่นำมาวิเคราะห์นั้น เป็นชนิดเดียวกัน ดังสามารถที่จะสรุปได้ว่า เชื้อ E.coli ที่ก่อโรค Avian cellulitis ในไก่เนื้อ จะเป็นเชื้อ E.coli ชนิดเดียวกันที่ปนเปื้อนมากับสิ่งรองนอนของไก่ ซึ่งก็จะเป็นเชื้อที่มีการปนเปื้อนอยู่ตามสิ่งแวดล้อมทั่วๆไป นั้นเอง

วิการรอยโรคของ Avian cellulitis
วิการรอยโรคของ การเกิดโรค Avian cellulitis นั้น ส่วนมากแล้วจะพบลักษณะของ การอับเสบของเนื้อเยื่อชั้นใต้ผิวหนัง จะมีลักษณะเป็นหนองสีเหลืองๆ ซึ่งโดยมากจะพบที่บริเวณใต้ผิวบริเวณช่องท้องของไก่เป็นหลัก ( 3 ) : ( 2 ) : ( 7 ) ตามภาพที่ 1,6 และจาก ( 2 ) ได้รายงานว่า มันสามารถที่จะพบได้บริเวณขาส่วนต้นของไก่ด้วย ( 2 ) ตามภาพที่ 4 ซึ่งวิการรอยโรคที่พบนั้นจะเป็นขบวนการการอักเสบเนื่องมาจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ( 3 ): ( 7) : ( 12 ) ภายในบริเวณชั้นใต้ผิวหนังของไก่เนื้อ
ในบริเวณที่เกิดโรค จะพบผิวหนังมีการหนาตัวขึ้น และที่ใต้ชั้นของผิวหนังจะพบว่ามีหนองสะสมอยู่ ( 2 ) : ( 5 ) และเมื่อนำมาส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศแล้วจะพบว่า มีเซลล์ของเม็ดเลือดขาวเข้ามาสะสมอยู่มาก นอกจากนี้ยังพบเซลล์ที่บ่งบอกถึงการขบวนการการอักเสบด้วย ( 2 ) : ( 5 ) ที่สำคัญที่ไม่อาจจะลืมได้ก็คือ วิการการเกิดโรค Avian cellulitis นั้น มันจะพบได้ชัดเจนมากเมื่อมีการจับไก่ส่งเข้าไปเชือดที่โรงเชือด ( 7 ) ดังนั้นการที่จะตรวจวิการรอยโรคที่ฟาร์มไก่เนื้อนั้น ถือได้ว่าเป็นเรื่องที่มีความยากมาก

ลักษณะของการเกิด Avian cellulitis
ในขบวนการการเกิดโรค Avian cellulitis สามารถที่จะเกิดขึ้นได้ 2 แบบ คือ 1. การที่ไก่เนื้อได้รับเชื้อ หรือกินเชื้อที่ก่อโรคเข้าไป ( 5 ) หรือติดเชื้อมาจากโรงฟัก และ 2. การที่ไก่เนื้อเกิดการติดเชื้อที่ผิวหนังของไก่ตรงบริเวณที่มีแผลตามลำตัวของไก่ ( 6 ) ซึ่งจากรายงานการวิจัยของ ( 6 ) ได้รายงานว่า ควมสัมพันธ์ของการเกิด Avian cellulitis นั้น จะมีความสัมพันธ์กันอยู่ 2 อย่างคือ แผลที่เกิดขึ้นที่ผิวหนังของไก่เนื้อ และ จำนวนของเชื้อ E.coli ที่มีอยู่ที่สิ่งรองนอนของไก่ ซึ่งจะพบว่า ถ้าไก่เนื้อมีแผลที่ผิวหนังมากและจำนวนของเชื้อ E.coli ที่พบที่สิ่งรองนอนของไก่มีจำนวนมากก็จะส่งผลทำให้เกิดโรค Avian cellulitis ที่มากขึ้นตามไปด้วย นอกจากนี้ ( 13 ) ยังได้กล่าวเพิ่มว่า การเกิดวิการของโรค Avian cellulitis นั้น โดยมากแล้วมักจะมีการติดเชื้อ E.coli ผ่านทางผิวหนังที่เป็นบาดแผลของไก่ ซึ่งโดยมากแล้ว แผลที่ผิวหนังของไก่มักจะพบที่หลังของไก่ ซึ่งเมื่อมันติดเชื้อเข้าไปแล้ว เชื้อมันก็จะเคลื่อนย้ายจากด้านบนลงสู่ด้านล่างของตัวไก่ หลังจากติดเชื้อผ่านไป 18 ชั่วโมงแล้ว มันก็จะเริ่มพบวิการรอยโรคที่ชัดเจนขึ้น และหลังจากนั้นอีก 3 สัปดาห์ วิการรอยโรคก็จะยึดแน่นติดกับผิวหนังและกล้ามเนื้อของไก่ ซึ่งสามารถที่จะมองเห้นได้อย่างชัดเจน
ในการเกิดโรค Avian cellulitis มันมักจะเกิดได้กับไก่ที่มีสุขภาพที่ดี สุขภาพปกติ แข็งแรงและมักจะพบได้กับไก่ที่ตัวโตๆด้วย ดังนั้นเราจึงไม่สามารถที่จะทราบได้เลยว่าไก่ตัวนั้นป่วยเป็นโรค Avian cellulitis จนกระทั้งจับมันส่งโรงเชือดแล้ว ( 7 ) เท่านั้น
จากรายงานการวิจัยของ ( 9 ) ได้กล่าวว่า ไก่เนื้อที่ป่วยเป็น Avian cellulitis นั้น เมื่อนำมาทำการแยกเชื้อ จะพบว่า เป็นเชื้อ E.coli ซึ่งก็สอดคล้องกับ ( 7 ) : ( 8 ) โดยเชื้อ E.coli ที่แยกได้นั้น เมื่อนำมา วิเคราะห์ความรุนแรงของเชื้อแล้วจะพบว่า เชื้อ E.coli ที่แยกได้จากวิการรอยโรค Avian cellulitis จะเป็นเชื้อ E.coli ชนิดที่มีความรุนมากกว่า เชื้อ E.coli ที่แยกได้จากมูลของไก่ตัวเดียวกัน นั้นก็หมายความว่า เชื้อ E.coli ที่ก่อโรค Avian cellulitis จะเป็นเชื้อชนิดที่มีความรุนแรงสูงมากๆ
นอกจากนี้ ( 13 ) ยังได้กล่าวเอาไว้อีกว่า การเกิด Avian cellulitis นั้นโดยมากแล้วมักจะเกิดจากกับการเลี้ยงไก่เนื้อที่มีอายุมากๆ ซึ่งจะพบชัดเจนที่อายุประมาณ 39 วัน ซึ่งวิการที่พบชัดเจนก็คือ มีการอักเสบที่ชั้นใต้ผิวหนังของไก่ และนอกจากนี้ Avian cellulitis ที่พบที่ไก่อายุน้อยๆ ส่วนมากจะเป็นการติดเชื้อมาจากลูกไก่ที่มาจากโรงฟัก ซึ่งสิ่งที่พบชัดเจนคือ ไก่ที่เป็นโรคนั้น มันมักจะมีการติดเชื้อภายในช่องท้องร่วมด้วย ซึ่งการเกิด Avian cellulitis ในไก่ที่อายุน้อยๆ นี้มักจะเรียกว่า Avian cellulitis Type 1 ซึ่งก็สอดคล้องกับ ( 14 ) และนอกจากนี้ ( 14 ) ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ถ้าพบปัญหา Avian cellulitis ที่ลูกไก่ที่มาจากโรงฟัก หรือไก่เนื้อที่อายุน้อยนั้น ก็ให้หมายถึงว่ามันเป็น Avian cellulitis Type 1 แต่ถ้าพบ Avian cellulitia ที่ไก่อายุมากๆ หรือสัปดาห์สุดท้ายก่อนจับแล้ว นั้นก็ให้เรียกว่า Avian cellulitis Type 2 และนอกจากนี้ยังได้อธิบายว่า ปัจจัยที่จะเหนี่ยวนำทำให้เกิดแผลที่ผิวหนังของไก่หลักๆ ก็คือ 1.พันธุ์ของไก่ที่เลี้ยง ซึ่งถ้าเป็นพันธุ์ที่เจริญเติบโตเร็วและขนขึ้นช้า ก็ย่อมจะมีผลมาก และพฤติกรรมการแสดงออกมามากก็ย่อมจะมีผลมาก 2.เพศของไก่ ซึ่งถ้าเป็นไก่เพศผู้และพวกขนขึ้นช้ามันก็ย่อมจะผลมาก 3.อาหารไก่ ถ้าไก่ได้รับอาหารที่ไม่ดี ก็ย่อมจะมีผลกระทบกับผิวหนังของไก่ 4.ความหนาแน่นของการลงไก่ ถ้าลงไก่ที่มีความหนาแน่นมากก็ย่อมจะส่งผลมากตามมา 5.การเลี้ยงการจัดการสองสัปดาห์สุดท้าย ถ้าจัดการไม่ดีก็ย่อมจะส่งผลกระทบตามมา เช่น ไก่อดอาหาร เป็นต้น
ดังนั้น กล่าวโดยสรุปว่า ปัญหาหลักของการเกิด Avian cellulitis ในการเลี้ยงไก่เนื้อ ภายในฟาร์มที่เป็นแบบอุตสาหกรรมนั้น คือ การที่ไก่เนื้อเป็นแผลที่ผิวหนังมาก มันก็ย่อมจะมีการติดเชื้อ E.coli จากสิ่งแวดล้อมมาก และสุดท้าย มันก็ย่อมจะส่งผลทำให้เกิด Avian cellulitis มากขึ้นตามมาด้วยเช่นกัน

ผลกระทบเนื่องจากการเกิดโรค Avian cellulitis
จากรายงานของ ( 7 ) จะพบว่า ไก่เนื้อ กลุ่มที่ป่วยเป็นโรค Avian cellulitis มันจะก่อให้เกิดผลกระทบกับอุสาหกรรมการเลี้ยงไก่เนื้อเป็นอย่างมาก โดยมันจะเริ่มส่งผลกระทบตั้งแต่การเลี้ยงไก่เนื้อที่ฟาร์ม ซึ่งมันจะส่งผลทำให้ผลผลิตไก่เนื้อที่ฟาร์มต่ำลง ไก่เนื้อเจริญเติบโตไม่ดี และเมื่อส่งไก่เนื้อเข้าไปโรงเชือดแล้ว ก็จะพบว่า คุณภาพซากของไก่เนื้อที่โรงเชือดนั้นจะไม่ดี ซากไก่ที่ได้นั้นมีคุณภาพที่ต่ำ ผิวหนังไม่สวย จำเป็นจะต้องคัดไก่ทิ้งจำนวนมาก เสียเวลาและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการตกแต่งซากไก่ที่มากขึ้น ซึ่งก็สอดคล้องกับ ( 9 ) : ( 10 ) พบว่า ไก่เนื้อกลุ่มที่ป่วยเป็นโรค Avian cellulitis นั้น มันจะมีผลกระทบทำให้คุณภาพซากไก่ที่ส่งเข้าโรงเชือดไม่ดี มีไก่คัดทิ้งที่ฟาร์มสูง ซึ่งเค้าก็พบว่าในประเทศบาร์ซิล ในปีหนึ่งๆ จะมีความเสียหายเนื่องจากโรค Avian cellulitis สูงถึง 40 ล้านเหรียนสหรัฐเลยทีเดียว

การป้องกันปัญหา Avian cellulitis ในไก่เนื้อ
จากที่กล่าวมาทั้งหมด ปัญหาของการเกิด Avian cellulitis ในไก่เนื้อนั้น ปัญหาหลักๆ จะเกิดจากการติดเชื้อ E.coli ผ่านทางผิวหนังของไก่ที่เป็นบาดแผล ( 13 ) ซึ่งเมื่อมันติดเชื้อผ่านเข้าไปภายในใต้ผิวหนังไก่แล้ว มันก็จะเกิดวิการของรอยโรคตามมา ซึ่งเมื่อวิเคราะห์กันให้ดีแล้วก็จะเห็นได้ว่า ปัญหาของ Avian cellulitis ที่เป็นปัญหาหลักๆ ก็คือ การเกิดบาดแผลที่ผิวหนังของไก่เนื้อที่เลี้ยงอยู่เท่านั้น ซึ่งถ้าเป็นแผลมาก หรือเป็นแผลรอยข่วนขนาดใหญ่ ก็ย่อมจะส่งผลทำให้เกิดอุบัติการณ์การการเกิดโรค Avian cellulitis มากขึ้นตามไปด้วย
ดังนั้น แนวทางการแก้ไขที่ดีที่สุดก็คือ การป้องกันไม่ให้ไก่เนื้อที่เลี้ยงอยู่นั้นไม่เป็นแผลที่ผิวหนัง ซึ่งการเกิดแผลที่ผิวหนังของไก่นั้น จะเกิดจากหลายๆ สาเหตุ เช่น การตื่นตกใจกระโดดขี่กัน ไก่ขาดอาหารโดยเมื่อให้อาหารแล้วมันจะรุมกินกันมากเลยทำให้มันข่วนกันมากขึ้น การกระตุ้นให้ไก่ภายในโรงเรือนลุกเดินหรือสุมกันมากขึ้นซึ่งสุดท้ายก็จะทำให้ผิวหนังเป็นแผลตามมา จาก ( 14 ) กล่าวว่า ปัญหาหลักของการเกิด Avian cellulitis ในการเลี้ยงไก่เนื้อนั้น มันจะมาจากการติดเชื้อที่แผลที่ผิวหนังของไก่ ซึ่งเชื้อที่ก่อปัญหาคือ E.coli นั้นเอง แต่ก็ใช่ว่าเชื้อ E.coli ทุกตัวจะเป็นตัวที่ก่อโรค ซึ่งเค้าจะพบว่าเชื้อ E.coli บางตัวก็ไม่ได้ก่อให้เกิด Avian cellulitis ซึ่งจนถึงทุกวันนี้ก็ยังไม่มีใครเข้าใจกลไกของมันที่แท้จริง แต่จากรายงานของ ( 9 ) ก็สามารถที่จะอธิบายได้ว่า การที่เชื้อ E.coli ที่พบในร่างกายไก่มันไม่ก่อโรคทุกตัวนั้น ก็เพราะว่า เชื้อ E.coli มันมีความรุนแรงไม่เท่ากันทุกตัวนั้นเอง
กล่าวโดยสรุปก็คือ การป้องกันปัญหา Avian cellulitis ในการเลี้ยงไก่เนื้อ ที่ดีที่สุดก็คือ การจัดการไม่ให้ไก่ที่เลี้ยงอยู่ภายในโรงเรือนเกิดแผลที่ผิวหนังนั้นเอง ส่วนเรื่องของการใช้ยาปฏิชีวนะ เพื่อฆ่าเชื้อนั้น ( 13 ) ได้บอกเอาไว้ว่า มันไม่มีประโยชน์ เพราะว่า เชื้อ E.coli ที่ก่อให้เกิดปัญหา Avian cellulitis ในไก่เนื้อนั้น มันเกิดการดื้อต่อยาปฏิชีวนะไปหมดแล้ว

สรุปและวิจารณ์
จากรายงานการวิจัยที่ได้มีการกล่าวมาทั้งหมดนี้ ประเด็นหลักที่ได้มีการศึกษา หรือเรียบเรียงงานวิจัยนี้ขึ้นมา ก็คือ ปัญหาที่พบการเกิด Avian cellulitis ในการเลี้ยงไก่เนื้อฟาร์ม GLB , FFW ในช่วง 3-4 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งจากผลการแยกเชื้อไก่ที่ส่งตรวจที่ห้องปฏิบัติการ จะพบว่า มีแนวโน้มของการติดเชื้อ E.coli ชนิด O2 และ O78 มีแนวโน้มมากขึ้น ตามตารางที่ 2: ซึ่งก็ตรงกับ ( 2 ) ที่ได้รายงานเอาไว้ว่า เชื้อ E.coli ที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรค Avian cellulitis จะเป็น Serotype O78 , O2 = 52.22% , 14.44 % ตามลำดับ
จากที่ ( 7 ) ได้รายงานเอาไว้ว่า เชื้อที่ก่อให้เกิดโรค Avian cellulitis นั้นก็คือ เชื้อ E.coli และเชื้อ E.coli นี้ก็จะเป็นเชื้อที่สามารถแยกได้จากสิ่งรองนอนของไก่ทั่วๆไปด้วย และที่สำคัญเชื้อ E.coli นี้ก็จะเป็นชนิดเดียวกันกับที่พบได้ทั่วไปตามสิ่งแวดล้อมด้วยเสมอ ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า เชื้อ E.coli ที่ก่อโรค Avian cellulitis ในการเลี้ยงไก่เนื้อนั้น มันจะเป็นชนิดเดียวกันกับที่มีการกระจายอยู่ภายในสิ่งแวดล้อมทั่วไป ซึ่งนั้นก็หมายความว่า ถ้ามีปัจจัยที่เหนี่ยวนำที่จะสามารถที่จะทำให้เกิด Avian cellulitis ได้นั้น มันก็พร้อมที่จะเกิดขึ้นได้ทันเหมือนกัน ไม่ว่าฟาร์มนั้น หรือโรงเรือนนั้นจะตั้งอยู่ที่ใหนก็ตาม
โดยทั่วไปแล้ว สภาพของสิ่งแวดล้อมภายในฟาร์ม หรือ ภายในโรงเรือนก็จะประกอบไปด้วยเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อโรค และไม่ก่อโรคผสมปนกันหลายๆชนิดอยู่แล้ว โดยเฉพาะ เชื้อ E.coli ; S.aureus ; Actinomyces pyogenes และ Eeysipelothrix rhusiopathiae ซึ่งจัดเป็นเชื้อที่ก่อโรค Avian cellulitis ทั้งนั้นตามรายงานของ ( 2 ) : ( 5 ) : ( 7 ) : ( 8) ดังนั้นการที่ไก่เนื้อที่เลี้ยงอยู่ภายในฟาร์มจะเกิดโรค Avian cellulitis ได้นั้น มันจะต้องมีปัจจัยที่จะมากระตุ้น หรือเหนี่ยวนำทำให้มันเกิด เช่นจากรายงานวิจัยของ ( 6 ) ที่กล่าวว่า ถ้าไก่ไม่เป็นแผลที่ผิวหนัง หรือไม่มีรอยข่วนแล้ว โอกาศที่จะก่อให้เกิดโรค Avian cellulitis นั้น ก็จะน้อยมาก
ลักษณะโดยทั่วไปแล้ว เชื้อ E.coli มันสามารถที่จะคงทน หรือคงอยู่ภายในโรงเรือนเลี้ยงไก่ได้เป็นระยะเวลานานๆมาก ซึ่งจากการทดลองของ ( 8 ) พบว่า ถึงแม้ที่มีการล้างโรงเรือนและฆ่าเชื้อโรงเรือนอย่างดีแล้วก็ตาม เชื้อ E.coli ก็สามารถที่จะคงอยู่ภายในโรงเรือนเลี้ยงไก่ได้เป็นระยะเวลานานถึง 191 วันเลยทีเดียว ซึ่งจากที่กล่าวมา ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องพูดเลยว่าเรามีการขจัดเชื้อ E.coli ออกจากโรงเรือนเลี้ยงไก่ได้หมด เพราะว่า สิ่งรองนอนของไก่ที่เรานำมาใช้นั้น มันก็มีความเสี่ยงที่จะมีการปนเปื้อนเชื้อ E.coli มาด้วยอยู่ดี ดังนั้นการป้องกันไม่ให้เกิดแผลที่ผิวหนังของไก่ หรือป้องกันไม่ให้ไก่ข่วนกัน หรือป้องกันไม่ให้สิ่งรองนอนเสีย ก็ถือได้ว่าเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญมากสำหรับ การป้องการการเกิด Avian cellulitis ในการเลี้ยงไก่เนื้อ


เอกสารอ้างอิง
1. จิโรจ ศศิปรียจันทร์ . 2547 . การจัดการและโรคที่สำคัญในไก่เนื้อ , พิมพ์ครั้งที่ 3 , กรุงเทพ : 232 หน้า
2. Amin D.and Reza G..2002.Astudy on avian cellulitis in broiler chicken ,veterinarski arhiv ,v72(5) : 277-284p.
3. Poultry disease , 11ed
4. รายงานการตรวจวิเคราะห์ การแยก Serotype ของเชื้อ E.coli ในไก่เนื้อ ที่เลี้ยงที่ฟาร์มไก่เนื้อ GLB , FFW
5. Amin D. , Reza G. and Saleh Y..2004. A pathologic study on experimental Eeysipelothrix rhusiopathiae cellulitis in broiler chicken , veterinarski arhiv , V74(3) : 217-224 p.
6. Macklin K.S. ; Norton R.A. and McMortrey B.L..1999.Scratches as a component in the pathogenesis of avian cellulitis in broiler chickens exposed to cellulitis origin Escherichia coli isolates collected from different regions of the US , avian pathology , v28(6) : 573-578 p.
7. Norton R.A..1997. Avian cellulitis , world poultry science , V53 : 337 – 349 p.
8. Randall S.S. ; Joan S.J. ; Tim E.C. ; Caral l.c. ; Rob E.A. ; Westey O.J. and Dwight C.H..2000.Persistence of cellulitis – associated Escherichia coli DNA fingerprints in successive broiler chicken flocks , veterinary microbiology , V75(1) : 59-71p.
9. Benioto G.B. ; Luiz C.J. and Marilda C.V..2003 .Virulence factors and clonal relationships among Escherichia coli strains isolated from broiler chickens with cellulitis , Infect. Immun. , V71(7) : 4175-4177 p.
10. Sophie S.H. and William S..2002.Trends in cellulitis condemnations in the Ontario chicken industry between april 1998 and april 2001 , avian diseases , V47(3) : 537-548 p.
11. Peighambari S.M. ; Vaillancourt J.P. ; Wilson R.A. and Gyles C.L..1995.Characteristics of Escherichia coli isolates from avian cellulitis , avian diseases , V39 : 116-124 p.
12. Julia D.. Immaging gastrointestinal health and cellulitis , Novus international , Inc.
13. Norton R. A. ; Bilgili S. F. ; and McMurtrey B. c.. 1997 . A reproducible model for the induction of avian cellulitis in broiler chickens , avian disease , V41 : 422-428 p.
14. Scott G. .2007 . Skin scratches leading to cellulitis , Canadian poultry consultants Ltd.











ภาคผนวก
ตารางที่ 1 : ผลการแยก Serotype ของเชื้อ E.coli ในไก่เนื้อ กลุ่มที่ป่วยเป็นโรค Avian cellulitis ( 2 )
แยกเชื้อ ชนิด O group
จำนวนตัวไก่ที่พบ ( ตัว )
จำนวน % ที่พบ
O1
5
5.55
O2
13
14.44
O20
3
3.33
O36
2
2.22
O78
47
52.22
O115
1
1.12
ไม่สามารถแยกชนิดได้
19
21.12
รวม
90
100

ตารางที่ 2 : รายงานการตรวจวิเคราะห์ การแยก Serotype ของเชื้อ E.coli ในไก่เนื้อ ที่เลี้ยงที่ฟาร์มไก่เนื้อ GLB , FFW ( 4 )
MONTH
% POSITIVE 2007
% POSITIVE 2008
JAN
Non – Type(26.0%) ; O78(2%);O2(2%)
Non – Type(38.88%) ; O2(33.33%)
FEB
Non – Type (62.50%)
Non – Type(40.00%) ; O78(4.44%);O1(1.11%)
MAR
Non – Type (12.50%)

APR
0

MAY
Non – Type (50.00%)

JUN
Non – Type (33.33.00%)

JUL
Non – Type (16.67%)

AUG
Non – Type(41.67%) ; O1(8.33%)

SEP
Non – Type(50.64%) ; O78(5.12%);O1(2.56%)

OCT
0

NOV
Non – Type(75.00%) ; O2(25.00%)

DEC
Non – Type(24.24%) ; O78(4.54%);O2(1.51%)












รูปภาพ : ประกอบรายงาน การวิจัย เรื่อง Avian cellulitis


รูปที่ 1 : วิการรอยโรค ที่ใต้ผิวหนังช่องท้องไก่เนื้อ รูปที่ 2 : ไก่ที่แสดงอาการหัวบวม เนื่องจากติดเชื้อ E.coli


รูปที่ 3 : การติดเชื้อ E.coli ภายในตัวไก่เนื้อ รูปที่ 4 : วิการรอยโรค Avian cellulitis ที่ต้นขาส่วนบน

รูปที่ 5 : ไก่เนื้อซากผอม เนื่องจากติดเชื้อ E.coli รูปที่ 6 : วิการของโรค Avian cellulitis ที่ช่องท้องไก่