วันอังคารที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

งานวิจัย เดือน พฤษภาคม 2008

ไก่เนื้อ กับ ปัญหาการแตกไซต์ ( RSS )
( Runting and stunting concerns US broiler industry : RSS )


แปลและเรียบเรียงโดย น.สพ.ชัชวาลย์ สอนศรี
นายสัตวแพทย์ฝ่ายสุขภาพไก่เนื้อ ฟาร์มบริษัท
บ.สหฟาร์ม จำกัด และ บริษัท โกลเด็นไลน์ จำกัด 99 ม4 ต,ศิลาทิพย์ อ.ชัยบาดาล
จ.ลพบุรี 15130, Broiler red box. เดือน กค. 2551



อุบัติการณ์ของการเกิดปัญหาการแตกไซต์ในการเลี้ยงไก่เนื้อในประเทศอเมริกานั้น โดยส่วนมากแล้วมักจะพบว่ามีอุบัติการณ์ของการเกิดปัญหาอยู่เป็นช่วงๆของปี ซึ่งจากปัญหาดังกล่าวหน่วยงานวิจัยที่มีชื่อเสียงของประเทศอเมริกา ได้ทำการจัดการประชุมสัมมนาทางวิชาการเรื่อง ปัญหาสุขภาพของการเลี้ยงไก่ ที่เมืองโอเชียน ในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2007 ที่ผ่าน โดยมีเป้าหมายที่จะแก้ไขปัญหาของการแตกไชต์ของไก่ เพื่อไม่ให้กระทบกับธุระกิจของการเลี้ยงไก่เนื้อ ตามมา
ปัญหาของการแตกไซต์ของไก่นี้ พบว่า ได้มีการรายงานเอาไว้ตั้งแต่ปี คศ. 1980 แล้ว และในช่วงปี 2005 ที่ผ่านมาได้พบว่า มันก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นที่พื้นที่ทางส่วนใต้ของประเทศอเมริกา และแล้วในปี 2006 ที่ผ่านมา มันได้เกิดปัญหาขึ้นที่รัฐเดลาแวร์ ของอเมริกา ซึ่งก็เป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาในรายงานการวิจัยฉบับนี้ โดยขอบข่ายของการศึกษาก็คือ จะเกี่ยวข้องกับผลกระทบทางธุรกิจของการเลี้ยงไก่เนื้อ สาเหตุของการเกิดปัญหา เชื้อที่ก่อโรค กลไกของกรเกิดโรค และแนวทางการป้องกันการเกิดปัญหา ถ้ากล่าวถึงการเกิดโรคนี้แล้วโดยมากมันมักจะมีการเกิดขึ้นเป็นช่วง และมักจะเกิดขึ้นเฉพาะพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเท่านั้น และที่สำคัญโรคนี้จะไม่เป็นในระยะเวลานาน หรือไม่เป็นตลอดทั้งปี จากการสังเกตุในประเทศกลุ่มสหภาพยุโรปและออสเตเรีย จะพบว่า ปัญหาของไก่แตกไซต์จะพบมากในช่วงฤดูใบไม้ร่วง และมักจะพบกับลูกไก่ที่มาจากแม่ที่อายุต่ำกว่า 40 สัปดาห์ ส่วนลูกไก่ที่มาจากแม่ที่อายุมากๆ นั้น ส่วนมากมักจะไม่ค่อยพบปัญหา

ลักษณะอาการของโรค
ลักษณะอาการของโรคที่พบในไก่เนื้อ โดยมากแล้วจะเริ่มพบอาการเมื่อมีการเลี้ยงไก่ได้ 5 วัน และหลังจากนั้นก็จะพบว่า อาการของโรคก็จะมีการดำเนินต่อไปจนตลอดช่วงอายุของการเลี้ยงไก่ อาการที่พบได้ชัดเจนก็คือ ลูกไก่เนื้อที่ลงเลี้ยงในช่วงแรกมักจะสุมกันเป็นกลุ่มภายในโรงเรือน และหลังจากนั้นจะเริ่มพบขนาดของตัวไก่ที่โตไม่เท่ากัน และหลังจากนั้นจะมันก็จะเริ่มมีการสูญเสียหรือเพิ่มจำนวนมากขึ้น ซึ้งอัตราการตายจะพบสูงไปตลอดตั้งวันแรกไปจนถึงอายุ 14 วัน และจะพบขี้ไก่ติดตามขนบริเวณก้นของไก่มาก แต่โรค MAS ที่เกิดจากเชื้อ Reovirus เช่น ขนยุ่ง ขนหยอง หรือ หัวกระดูก Femurs หัว ผุ นั้นจะไม่พบในโรค RSS นี้ หลังจากนั้น เมื่อมีการเลี้ยงไก่เนื้อได้อายุ 4 สัปดาห์ ก็จะพบว่า ที่ผิวหนังของไก่ จะพบแผลเน่า ประสิทธิภาพของการทำวัคซีนต่างๆ ก็จะลดลง และไก่เนื้อก็จะมีการติดเชื้อ E.coli ที่ง่ายและรวดเร็วขึ้น และโดยทั่วไปแล้ว การเกิดโรคนี้มันมักจะมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคกดภูมิคุ้มกันในไก่เนื้อด้วย
ศ. จอร์น ท่านทำงานเป็นอาจารย์สอนอยู่ที่มหวิทยาลัยเดลาแวร์ และทำงานเป็นประธานของบริษัท Aviserve ได้ทำการรายงานเกี่ยวกับอุบัติการณ์ของการระบาดของโรค RSS ที่เกี่ยวของกับวิการของรอยโรค และชนิดของเชื้อโรคที่แยกจากไก่ที่ป่วยว่ามีความสัมพันธ์กับสภาพของสิ่งแวดล้อมที่ไก่อยู่อย่างไร จากรายงานพบว่า ไก่ที่ป่วยด้วยโรค RSS มันจะไม่มีวิการของรอยโรคที่แน่นอน หรือไม่มีวิการของรอยโรคที่เฉพาะเจาะจงของการเกิดโรคนี้ แต่จะพบเพียง ของเหลวที่อัดกันอยู่ภายในลำไส้ของไก่ และภายในลำไส้ไก่นั้นจะพบก๊าซสะสมอยู่เป็นจำนวนมากด้วย
นอกจากนี้ภายในลำไส้ของไก่ก็จะพบอาหารที่ไก่กินเข้าไปนั้นไม่ย่อย ผนังของลำไส้หลุดลอกและ ที่กองขี้ไก่จะพบเนื้อเยื้อสีส้มเหลืองปนอยู่ด้วย สุดท้ายแล้ว ไก่ที่เลี้ยงภายในฝูงนั้นจะพบว่ามีอัตราการตาย ประมาณ 20% ในส่วนของค่า FCR ของไก่เนื้อที่จับส่งโรงงาน จะพบว่ามีค่า ประมาณ 1.95 – 2.00 แต่ถ้าเป็นไก่เนื้อสุขภาพปกติ จะมีค่า FCR ประมาณ 1.85 – 1.90 , ส่วนค่าอัตราการเจริญเติบโตต่อวัน จะพบว่ามีค่าลดลงมาก จากปกติจะประมาณ 48 g. จะลดลงไปเหลือ 39 g. เท่านั้นเอง

กลุ่มของถุงน้ำภายในลำไส้
ศ. แฟดเดอริก ท่านทำงานที่มหาวิทยาลัยเออร์บาน และก็ยังทำหน้าที่เป็นหัวหน้าห้องปฏิบัติการที่มหาวิทยาลัยที่นั้นด้วย อาจารย์และคณะได้ทำการวิเคราะห์วิการรอยโรคของการเกิดโรค RSS ด้วยวิธีทางพยาธิวิทยา ซึ่งจากผลการวิเคราะห์จะพบว่า เซลล์ที่อยู่ที่ผิวของลำไส้ที่เรียกว่า Villi มันจะมีลักษณะที่สั้นลงมาก และนอกจากนี้จะพบว่า ชั้นกล้ามเนื้อของลำไส้จะมีลักษณะที่หนาตัวขึ้นมากตั้งแต่ลำไส่เล็กส่วนต้นไปจนถึงลำไส้เล็กส่วนกลาง ซึ่งเมื่อนำค่าความสูงของ Villi กับความหนาของกล้ามเนื้อที่ลำไส้มาหาค่าอัตราส่วนกันจะพบว่า มันมีค่าความห่างที่มากขึ้นมาก ซึ่งวิการที่กล่าวมานี้มันจะเปลี่ยนไปเป็นก้อนที่เป็นถุงน้ำ หลายๆถุง ภายในลำไส้ ซึ่งเราสามารถที่เห็นได้ด้วยตาเปล่าเลย ซึ่งถุงน้ำที่ว่านี้มันจะมีการขยายใหญ่ขึ้นมากจนไปทับต่อมต่างๆ ที่อยู่ที่ลำไส้ และเมื่อดูด้วยกล้องจุลทรรศแล้วจะพบว่ามีเซลล์ของเม็ดเลือดขาวแทรกเข้าไปเป็นจำนวนมาก และนอกจากนี้ยังพบว่าเซลล์ที่ต่อมเบอร์ซ่า และที่ต่อมไทมัส ของไก่มีการฝ่อลีบลงมากอีกด้วย ซึ่งเมื่อ ศ. ฮ๊อป ที่มหาวิทยาลัยเดลาแวร์เห็นผลกรทดลองเข้า เค้าก็เลยเอาผลการทดลองนั้นมาเปรียบบเทียบกับผลการศึกษาของเค้าและเค้าก็ได้มีการขยายผลการศึกษาออกไปถึงปัญหาของการเกิดโรคภายในพื้นที่เขตอื่นๆด้วย โดยสรุปแล้ว จะพบว่า การทดลองภายในห้องปกิบัติการ กับ ลักษณะของวิการรอยโรคที่เกิดขึ้นที่ฟาร์มในเขตพื้นที่ต่างๆ นั้น จะมีลักษณะที่เหมือนกัน ดังนั้น จึงเป็นที่มาของการศึกษาต่อไปว่า การเกิดโรค RSS นี้มัน มันน่าจะเกิดจากการติดเชื้ออะไร และมีการแพร่ระบาดได้อย่างไร ซึ่งเมื่อเค้าได้ทำการแยกเชื้อจากวิการของรอยโรคที่พบ ก็จะพบว่าโรค RSS ไม่สามรถที่จะแยกเชื้อไวรัสได้เลย แต่ถ้าเป็นโรค MAS นั้นจะสามารถที่จะแยกเชื้อไวรัสได้

การสืบค้นหาชนิดของเชื้อที่ก่อโรค
นักวิทยาศาสตร์ได้มีความพยายามที่จะสืบหาเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคนี้ โดยได้มีการนำวิการของโรคนั้นมาฉีดเข้าในไข่ฟักที่เป็นไข่ SPF และในตัวไก่ที่มีชีวิตโดยการฉีดเข้าไปที่ถุงลมของตัวไก่ แล้วดูวิการของรอยโรคที่เกิดขึ้น แล้วหลังจากนั้นเค้าก็ทำการเก็บเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดวิการขึ้น ซึ่งจากการวิเคราะห์หาเชื้อไวรัสในพื้นที่ที่ไก่เกิดการแคระแกร็นนั้น พบว่า สามารถที่จะแยกเชื้อไวรัสได้ 4 ชนิดด้วยกัน ซึ่งเชื้อไวรัสตัวหนึ่งที่ค้นพบที่สำคัญก็คือ เชื้อรีโอ ไวรัส ซึ่งเชื้อตัวนี้มันสามารถที่จะเหนี่ยวนำทำให้ไก่เกิดอาการแคระ เกร็น หรือแตกไชต์ขึ้นได้ แต่ไก่เนื้อกลุ่มที่นำมาทดลอง จะไม่สามารถที่จะเหนี่ยวนำทำให้เกิดโรค RSS ได้เลย (จะพบวิการของรอยโรคเท่านั้น) แต่เมื่อทำการวิเคราะห์ลักษณะของเชื้อไวรัสแล้ว จะพบว่ามันมีลักษณะที่คล้ายไวรัส Rotavirus ซึ่งตัวของมันสามารถที่จะทำให้เกิดลำไส้เป็นแผล ลำไส้อักเสบได้ และก็สามารถที่จะทำให้ต่อมเบอร์ซ่า และต่อมไทมัส เกิดการฝ่อลีบได้ และนอกจากนี้จะพบว่า เมื่อทำการแยกเชื้อไวรัสที่บริเวณลำไส้ไก่จะพบว่า เป็นกลุ่ม Astrovirus เป็นส่วนมาก แต่เมื่อวิเคราะห์แล้วพบว่าจะไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับกลุ่ม Rotavirus ซึ่งจากเชื้อไวรัสที่แยกได้นี่ มันอาจจะเป็นตัวที่มีช่วยร่วมที่จะเหนี่ยวนำทำให้เกิดโรค RSS ในไก่เนื้อได้ หรือมันอาจจะเป็นเชื้อไวรัสตัวเดียวที่เป็นเชื้อที่ก่อให้เกิดโรค RSS ก็ได้ หรือมันอาจจะเกิดขึ้นเนื่องจากการรวมตัวกันของเชื้อไวรัสหลายๆตัว รวมทั้งเชื้อ IBDV ด้วย หรือสุดท้ายอาจจะเป็นเชื้อที่เราไม่รู้เลยก็ได้ว่า มันเป็นเชื้อชนิดอะไร
เชื้อไวรัสที่มีการแยกได้นั้น โดยมากแล้วจะแยกได้ที่ทางตอนใต้ของอเมริกา และที่รัฐเดราแวร์ ซึ่งเชื้อไวรัสที่แยกได้นั้น มันจะแยกได้จากการฉีดเชื้อที่ลูกไก่อายุ 1 วัน โดยการทดลองเค้าจะทำการแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่ 1 : จะเป็นกลุ่มที่ฉีดเชื้อ ไวรัส ที่ก่อให้เกิดโรค MAS และกลุ่มที่ 2 : จะเป็นกลุ่มควบคุม ที่ไม่ได้มีการฉีดเชื้ออะไรเลย ซึ่งเมื่อดูน้ำหนักที่สัปดาห์แรก จะพบว่าไก่กลุ่มที่ฉีดเชื้อ จะมีน้ำหนัก 106 g แต่กลุ่มควบคุม จะได้ 162 g. และที่อายุ 10 วัน น้ำหนักไก่ กลุ่มที่ฉีดเชื้อ กับกลุ่มควบคุม จะเป็น 216 g. และ 325 g. ตามลำดับ และเมื่อทำการตรวจสอบจาก 3 รัฐ คือ อัลลบามา , มินิสซิบบี้ และที่จอร์เจีย จะพบว่า น้ำหนักของไก่ลดลง 30% และนอกจากนี้ เชื้อไวรัสที่แยกได้นั้น ก็จะเป็นเชื้อไวรัส ทั้ง 4 ชนิดที่เหมือนๆ กับเขตพื้นที่อื่นๆ ซึ่งเชื้อไวรัสจะสามารถแยกได้จากลำไส้เล็กส่วนต้น ส่วนกลาง และที่ใส้ตัน ของไก่ แต่จะไม่รายงานในส่วนของ ต่อมเบอร์ซ่าฝ่อ และเมื่อดูที่ม้าม จะพบว่าไม่ค่อยฝ่อ ขนาดก็ยังปกติ หลังจากนั้นเมื่อทำการดูด้วยกล้องจุลทรรศ ที่อายุ 4 สัปดาห์ จะพบว่า การติดเชื้อไวรัส จากไก่ที่ขับเชื้อออกมานั้น มันสามารถที่จะทำให้เกิดลำไส้อักเสบ เป็นแผลขึ้นได้ในไก่กลุ่มที่ไม่ติดเชื้อ หรือในไก่ที่ปกติด้วย
แต่อย่างหนึ่งที่เป็นข้อสังเกตก็คือ เชื้อไวรัสที่เป็นตัวก่อโรค RSS นี้อาจจะเป็นเชื้อ Reo virus ชนิดแบบที่ไม่ก่อให้เกิดอาการของโรค Reovirus ก็ได้ หรืออาจจะเป็นได้ว่า ฟาร์มเลี้ยงไก่เนื้อนั้นตั้งอยู่ในเขตฟาร์มไก่ที่เค้ามีการทำวัคซีน Reo ซึ่งเมื่อเค้ามีการทำวัคซีนแล้ว ไก่มันก็จะไม่ก่อให้เกิดโรค แต่เชื้อมันยังแฝงอยู่ในพื้น เชื้อกลุ่มพวกนี้แหละที่จะไปมีผลทำให้ไก่เนื้อกลุ่มที่ไม่ได้ทำวัคซีนเกิดโรค หรือวิการของโรค RSS ดังที่กล่าวมา ซึ่งปัญหาหลักๆ ของโรค RSS นี้ คือ มันจะไปมีผล T – cell ของม้ามฝ่อลีบ และจะไปมีผลทำให้ต่อมเบอร์ซ่อฝ่อด้วย ซึ่งปัญหาอย่างหนึ่งที่เราไม่สามารถที่จะรู้ได้เลยว่า ไก่ติดเชื้อ หรือเป็นเป็นปัญหาโรคกดภูมิคุ้มกันมันจะแสดงอาการของโรคอย่างไรบ้าง แต่สิ่งที่เราจะเห็นก็คือ เมื่อไก่มันเป็นโรคกดภูมิคุ้มกัน ไก่จะแสดงอาการ การติดเชื้อ E.coli ในจำนวนที่มากขึ้น หรือพบผิวหนังไก่เน่า เป็นแผล และจะพบการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายไก่เนื้อจะไม่ดี ปัจจุบันนี้ จะพบว่าไก่เนื้อมีการติดเชื้อ RSS ภายนื้นที่ที่มากขึ้น แต่ไก่กลุ่มที่ติดเชื้อนั้นมันมักจะไม่มีการแสดงอาการของโรคให้เห็น แต่สิ่งหนึ่งที่เห็นก็คือ ไก่เนื้อกลุ่มที่มีการเลี้ยงอยู่ภายในฟาร์มนั้น มันจะมีการแตกไซต์ให้เห็นได้อย่างชัดเจน ซึ่งสาเหตุหนึ่งที่น่าจะเป็นปัญหาก็คือ มันน่าจะมาจากการติดเชื้อ IBD ชนิดที่เป็นสายพันธุ์ที่ไม่ก่อให้เกิดโรค หรือ อาจจะเป็นการติดเชื้อโรคเลือดจางไก่เนื้อ หรืออาจจะเกิดขึ้นแม้กระทั้ง การเกิด Stress ขึ้นในระหว่างการเลี้ยงไก่เนื้อภายในฟาร์ม ก็ได้

การควบคุมและการป้องกัน การเกิดโรค RSS
ปัญหาอย่างหนึ่งที่จะต้องคิดคือ การติดเชื้อ IBD และการติดเชื้อ CAV หรือโรคเลือดจาง ซึ่งที่มาก็มักจะมาจากไก่พ่อแม่พันธุ์ที่ไม่มีการทำวัคซีนนั้นเอง จุดที่มักจะเป็นความเสี่ยงอีกจุดหนึ่งก็คือ ช่วงของการลงลูกไก่ภายในฟาร์มไก่เนื้อ ช่วงของการกกไก่ภายในฟาร์มจะต้องไม่ทำให้ไก่เครียด และให้เน้นที่ระบบสุขศาสตร์ป้องกันโรคภายในฟาร์มไก่เนื้อให้ดีด้วย นอกจากนี้ส่วนหนึ่งที่จะต้องมีการจัดการให้เป็นภาพรวมที่ชัดเจนก็คือ การจัดการโปรแกรมวัคซีนของฟาร์มพ่อแม่พันธุ์ เพื่อที่จะป้องกันการเกิดปัญหาดังที่กล่าวมา โดยวัคซีนที่ทำในพ่อแม่พันธุ์นั้น จะต้องให้มีความมั่นใจว่า สามารถที่จะถ่ายทอดไปสู่ลูกไก่ที่จะนำไปเลี้ยงต่อไปได้ ด้วย และระดับของภูมิคุ้มกันที่มากับลูกไก่นั้นจะต้องมีระดับที่เพียงพอที่จะสามารถป้องกันโรคติดเชื้อต่างๆ ได้ ซึ่งหลักของการทำวัคซีนในพ่อแม่พันธุ์นั้นจะต้องดูแลโดยนายสัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์มอย่างไกล้ชิด ซึ่งจะต้องดูให้ครอบคุมและไกล้ชิด ให้มากที่สุด
ในปัจจุบันนี้ ได้มีการศึกษาการเกิดโรค RSS ที่เกิดขึ้นนี้อย่างจริงจัง ทั้งในประเทศอเมริกา และยุโรป ซึ่งในประเทศกลุ่มยุโรป โรค RSS นี้มีการระบาดครั้งแรกที่ประเทศโปรแลนด์ และได้มีการแพร่กระจายไปในกลุ่มประเทศแอฟริกาด้วย ซึ่งก็ได้มีการตั้งชื่อโรคกลุ่มพวกนี้ใหม่ขึ้นมาด้วย เช่น ERS ซึ่งก็มักจะเป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อ Reovirus โดยมีการแยกเชื้อได้โดยบริษัท อินเตอร์เวท ที่อยู่ที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งในประเทศอเมริกา ที่กำลังเกิดโรค RSS ขึ้นนี้ กำลังมีการพัฒนาวิธีการตรวจวิเคราะห์แบบใหม่ขึ้น คือ การตรวจหา แอนตี่บอดี้ในกระแสเลือดไก่ หรือ การตรวจโดยวิธี PCR ซึ่งทั้งนี้ก็จะต้องมีการเปรียบเทียบกับเชื้อที่ตรวจพบที่ประเทศแทบยุโรป หรือแม้กระทั้งเปรียบเทียบกับวิการของรอยโรคที่เกิดขึ้นเมื่อปี 1980 ที่ผ่านมาด้วย

สรุปและวิจารณ์
บทสรุปสุดท้ายสำหรับงานวิจัยฉบับนี้ กระผม นายสัตวแพทย์ ชัชวาลย์ สอนศรี ซึ่งเป็นนายสัตวแพทย์ผู้ความฟาร์มไก่เนื้อ GLB และ FFW นั้น ขอสรุปในส่วนของรายละเอียดของการเกิดโรค RSS ในไก่เนื้อ ดังนี้
การเกิดโรค RSS ในไก่เนื้อที่เลี้ยงแบบครบวงจรนั้น ส่วนมากแล้วจะมีรายงานของการเกิดโรคและวิการของรอยโรคในต่างประเทศทั้งนั้น ซึ่งข้อมูลรายงานทางวิชาการในประเทศไทยนั้นจะพบว่ายังไม่มีรายงานที่ชัดเจน แต่จากที่ผมสังเกตุการเลี้ยงไก่เนื้อในฟาร์มไก่เนื้อทั้ง 2 โครงการคือ ฟาร์มโครงการ GLB และ FFW นั้น ผมจะพบว่า ไก่เนื้อที่เลี้ยงในวงรอบเดือน มกราคม – กุมภาพันธ์ 2008 และ วงรอบการเลี้ยงเดือน มีนาคม – เมษายน 2008 จะพบว่าไก่ที่เลี้ยงมีลักษณะของการแตกไซต์ที่สูงมาก แต่ผมก็ไม่สามารถที่จะบอกได้ว่า ไก่เนื้อที่แตกไซต์นั้น มันจะป่วยด้วยโรค RSS หรือไม่ เพราะในช่วงที่ผ่าน ผมยังไม่รู้ว่าในต่างประเทศมีการระบาดของโรคนี้อยู่ หรือสถานะของการระบาดของโรคนี้เป็ยังไง ดังนั้นไก่ที่แตกไซต์ที่พบที่ฟาร์มนั้นมันจะเป็นโรค RSS หรือเปล่า ยังไม่มีข้อมูลยืยยันแน่นอน ซึ่งผมของอธิบาย ดังนี้
ดังที่กล่าวมา การเกิดโรค RSS มันจะมีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัสหลายๆตัว เช่น เชื้อ Reovirus , การติดเชื้อโรคลือดจาง ( CAV ) , การติดเชื้อ IBD แบบที่ไม่ก่อให้เกิดโรค และนอกจากนี้มันสามารถที่จะเกิดได้จากโรคกดภูมิคุ้มกันต่างๆ ก็ได้ และนอกจากนี้ การเกิดความเครียสของไก่ระหว่างการเลี้ยงนั้น มันก็สามารถที่จะทำให้เกิดโรค RSS ได้เช่นกัน ซึ่งจากที่กล่าวมา จะพบว่า มันเป็นไปได้จากหลายๆสาเหตุมาก ซึ่งเมื่อมันเกิดโรคแล้ว สิ่งที่เราจะพบได้ชัดเจนคือ ไก่เนื้อที่เลี้ยงนั้นจะมีขนาดตัวที่ไม่เท่ากัน การเจริญเติบโตช้า ค่า FCR สูง สุดท้ายก็จะทำให้ผลผลิตไก่เนื้อไม่ดี และต้นทุนการเลี้ยงไก่เนื้อจะสูงตามมาด้วย
ในส่วนไก่เนื้อที่ผมเลี้ยงอยู่ภายในฟาร์ม GLB และ FFW ในวงรอบที่เกิดปัญหานี้ ผมจะพบว่า น้ำหนักไก่ที่เลี้ยงแต่ละตัวจะมีขนาดที่แตกต่างกันมาก ค่า FCR สูง เปอร์เซ็นต์การสูญเสียรวมสูงมาก และต้นทุนการผลิตจะสูงตามมา และเมื่อทำการผ่าซากไก่ตัวที่มีปัญหา จะพบการติดเชื้อ E.coli สูงมาก ต่อมเบอร์ซ่าและต่อมไทมัสจะฝ่อลีบขนาดปานกลาง หลอดลมแดงเล็กน้อย ส่วนของลำไส้จะไม่พบว่ามีแผลหรือพบเนื้อตาย และนอกจากนี้ ยังพบวิการของโรค Avian cellulites type II สูงมาก
และเมื่อนำไปตรวจทางห้องปฏิบัติการ จะพบว่า ไก่เนื้อที่เลี้ยงอยู่นั้นมีการติดเชื้อ IBD ในพื้นที่มากขึ้น ระดับของไตเตอร์ IBV จะมีแนวโน้มสูงขึ้น ระดับไตเตอร์ของ Reovirus มีแนวโน้มสูงขึ้น ส่วนผลทางห้องปฏิบัติการอื่นๆ จะพบว่ามีค่าเป็นปกติ หรืออยู่ในช่วงของค่าปกติ
ในส่วนของการเลี้ยงการจัดการภายในฟาร์ม เท่าที่ผมพิจารณาดู จะพบว่า ช่วงของการเลี้ยงไก่ที่ก่อปัญหานี้ มันจะเป็นช่วงของฤดูการที่มีอากาศหนาวมาก และเมื่อผู้จัดการฟาร์มมีการเปิดพัดลมที่มากๆ ก็ทำให้ไก่มันนอนสุมกันมาก อากาศหนาว มันก็จะเป็นสาเหตุของการเกิดความเครียดขึ้นในช่วงระหว่างการเลี้ยงในวงรอบที่เกิดปัญหาที่ผ่านมา ส่วนของปัจจัยในเรื่องของ อาหารไก่กินนั้น ในรายละเอียดลึกๆ ผมไม่สามารถที่จะชี้ได้ว่ามันเป็นปัญหาหรือมไม่ ดังนั้นผมขอสรุปว่าอาหารไก่กินในช่วงวงรอบการเลี้ยงนี้ไม่เป็นปัญหา ในส่วนของคุณภาพของลูกไก่ ผมจะถือว่าเป็นปัจจัยคงที่ ซึ่งก็หมายความว่า ลูกไก่เนื้อที่นำมาเลี้ยงนั้น จะเป็นลูกไก่ที่มีคุณภาพที่ดี
จากข้อมูลที่กล่าวมาทั้งหมด เมื่อนำเอาข้อมูลของการเกิดโรค RSS ในต่างประเทศ มาเปรียบเทียบกับ การเกิดโรคในฟาร์มไก่เนื้อ GLB และ FFW ในวงรอบที่เกิดปัญหา จะพบว่า สิ่งหนึ่งที่ไม่พบตามวิการของการเกิดโรค RSS คือ ไม่พบลำไส้ไก่เป็นแผล ไม่พบเนื่อตาย และไม่พบอาหารไก่ที่ไม่ย่อยภายในลำไส้ มูลของไก่ไม่มีเนื้อเยื่อของลำไส้หลุดรอกปนออกมา ดังนั้น จากข้อมูลเท่าที่มีอยู่ สิ่งหนึ่งที่เห็นชัดเจนคือ ปัญหาเรื่องของ การเกิดความเคลียด เนื่องจากอากาศหนาวเย็นในช่วงระหว่างการเลี้ยงที่ผ่านมา หรือ การเปิดพัดลมที่มากเกินไป รวมไปถึงอุณหภูมิการกกที่ไม่ได้ตามที่กำหนด หลังจากนั้น เมื่อไก่มันเกิดความเครียด มันก็จะเกิดสภาวะการกดภูมิกันขึ้นในตัวของไก่ ซึ่งเมื่อมันเกิดความเครียดแล้วมันก็จะมีการติดเชื้อต่างๆ ตามมา ไม่ว่าจะเป็นเชื้อไวรัสหรือเชื้อแบคทีเรีย และสุดท้ายก็จะมีการติดเชื้อ E.coli ที่สูงขึ้น ไก่กินอาหารไม่เท่ากัน การเจริญเติบโตก็จะไม่เท่ากัน ก็จะพบไก่มีการแตกไซต์ ตามมา ( ตามรูปที่ 2 ) และหลังจากนั้น ไก่ที่แตกไซต์ ที่ไม่โต ก็ไม่สามารถที่จะจับส่งโรงเชือดได้ จำเป็นที่จะต้องคัดทิ้งทุกวัน ( ตามรูปที่ 1 ) และ ไก่ที่ไม่สามารถที่จะจับส่งโรงเชือดได้นั้น ทางฟาร์มไก่เนื้อก็จำเป็นที่จะต้องคัดทิ้ง จึงส่งผลทำให้ เปอร์เซ็นต์การสูญเสียรวมของการเลี้ยงไก่เนื้อสูงมาก ตามมา ซึ่งจากข้อมูลที่สรุปที่ฟาร์ม จะพบว่า เฉพาะไก่ที่คัดทิ้ง หรือไก่กลุ่มที่แตกไซต์ จะมีประมาณ 1.25 % ของฝูงเลยทีเดียว สุดท้ายนี้ จึงสรุปได้ว่า ไก่เนื้อที่มีอาการแตกไซต์ ที่พบที่ฟาร์ม GLB และ FFW ในการเลี้ยง 2 วงรอบนั้น จะเกิดขึ้นจากปัญหา โรคกดภูมิคุ้มในไก่เนื้อ แต่ว่าปัญหาสเหตุหลักของปัญหานั้น มันน่าจะมาจากหลายๆ สาเหตุรวมกัน

ภาคผนวก
รูปที่ 1 : กราฟแสดง การสูญเสียรายวัน ของการเลี้ยงไก่เนื้อ ฟาร์ม GLB และ FFW วงรอบการเลี้ยงเดือน มีนาคม ถึง เมษายน 2008
ฟาร์ม GLB











ฟาร์ม FFW

รูปที่ 2 : แสดงลักษณะ ของไก่แตกไซต์



เอกสารอ้างอิง
· Simon M. S. . 2007. Runting and stunting concerns US broiler industry , world poultry , V23 (11) : 32 - 33 p.
· ข้อมูลการเลี้ยงไก่เนื้อฟาร์ม GLB และ FFW ประจำวงรอบเดือน มกราคม ถึง กุมภาพันธ์ 2008
· ข้อมูลการเลี้ยงไก่เนื้อฟาร์ม GLB และ FFW ประจำวงรอบเดือน มีนาคม ถึง เมษายน 2008

ไม่มีความคิดเห็น: